แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย - รพ.รามคำแหง

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย โรงพยาบาลรามคำแหง

 

ภายใต้การดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาตร์การกีฬา ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค /วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย

พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟูและดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย​ รวมถึงการให้ความรู้กับผู้ป่วยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและปอด

 

  • ด้วยอุปกรณ์การออกกำลังกายตามมาตรฐานสากลที่ทันสมัย
  • การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
  • เครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยเฝ้าระวังความผิดปกติระหว่างการออกกำลังกาย


ทั้งหมดนี้เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคุณ​ เพื่อให้คุณได้กลับไปทำฝันที่หัวใจต้องการ

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

 

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ดีอย่างไร ทำไมต้องทำ?

การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด (Cardiac Rehabilitation) เป็นกระบวนการที่มีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่ได้รับการทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวด หรือผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวไม่ว่าจะเป็น โรคปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คลายความวิตกกังวลมีความมั่นใจว่าจะสามารถใช้ชีวิตประจำวัน และออกกำลังกายได้อย่างปกติ และส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้คุณได้กลับไปทำฝันที่หัวใจต้องการ 

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย ช่วยให้หัวใจแข็งแรงได้อย่างไร?  

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกายจะทำการออกแบบและวางแผนการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยเป็นรายบุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งการออกกำลังกายนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญของขบวนการการฟื้นฟู ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคต่างๆ มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น จิตใจผ่อนคลาย ใช้ชีวิตประจำวันและการออกกำลังกายควบคุมอาการของโรคได้ ไม่มีอาการผิดปกติ ลดโอกาสการเกิดโรคซ้ำในอนาคต 

นอกจากนี้ แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย ยังมีบริการ ทดสอบสมรรถทางกาย ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่นักกีฬาต่างๆ ที่ต้องการวางแผนการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขันและผู้ที่สนใจดูแลรักษาสุขภาพทุกเพศทุกวัยสามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย

 

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด?

 

ผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจ :

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด หรือเคยทำการสวนหัวใจ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด
  • ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดหัวใจ เช่น การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Bypass)
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุกหัวใจ ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

 

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน 

นักกีฬาที่ต้องการวางแผนการฝึกซ้อมเพื่อการแข่งขัน

ผู้ที่สนใจดูแลรักษาสุขภาพโดยการออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 

 

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

ขั้นตอนในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดเป็นอย่างไร?

 

ที่แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย โรงพยาบาลรามคำแหง โดยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมดูแลคุณด้วยใจอย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย ผ่านขั้นตอนง่ายๆ 

 

1. เมื่อคุณมาที่แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย อาคาร 3 ชั้น 10 จะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกในการลงทะเบียนก่อนเข้ารับบริการให้คุณอยู่ที่หน้าเคาเตอร์

2. หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะทำการวัดสัญญาณชีพ เพื่อดูอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต วัดปริมาณออกซิเจนในเลือด และติดอุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG เพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจขณะพักว่าเต้นผิดปกติหรือไม่ มีสัญญาณบ่งชี้ว่าหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจได้รับบาดเจ็บหรือไม่ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

3. แพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะทำการวิเคราะห์องค์ประกอบของร่างกาย ดูความสมดุลของสัดส่วนกล้ามเนื้อไขมัน และองค์ประกอบอื่นๆ พร้อมสอบถามอาการ และประเมินสมรรถภาพร่างกายว่าสามารถทำกิจกรรมใดได้บ้าง เพื่อกำหนดเป้าหมายในการออกกำลังกายและฟื้นฟูองค์ประกอบร่างกายอย่างเหมาะสม จากนั้นก็จะทำการวางแผนและออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกายว่าควรใช้อุปกรณ์ใดบ้าง และควรออกกำลังกายแต่ละครั้งนานแค่ไหน และติดตามผลแบบเฉพาะบุคคล เพื่อนำมาปรับและวางแผนให้เหมาะสม

4. เจ้าหน้าที่จะพาเดินวอร์มอัพเพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมก่อนเริ่มออกกำลังกาย

5.เริ่มออกกำลังกายตามโปรแกรม โดยมีเจ้าหน้าที่และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ควบคุมโปรแกรมและดูแลอย่างใกล้ชิด และตลอดเวลาที่ออกกำลังกายก็จะมีการตรวจเช็คอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิตว่าเพิ่มขึ้นในระดับที่เหมาะสม หรือการตอบสนองของร่างกายเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ 

 

ซึ่งระหว่างที่เข้ารับการฟื้นฟูก็จะมีการเก็บข้อมูล ส่งต่อให้แพทย์ดูว่าพัฒนาการของสมรรถภาพหัวใจและปอดหลังเข้ารับการฟื้นฟูแต่ละครั้งเป็นอย่างไร เพื่อใช้วางแผนการรักษาหรือให้ยา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมทำกิจกรรมที่ต้องการทำได้อย่างเหมาะสมและไม่เกิดอันตราย...  

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

 

ทำไมต้องฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ที่โรงพยาบาลรามคำแหง?

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย โรงพยาบาลรามคำแหงเป็นแผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกายที่มีความเป็นเลิศ มุ่งเน้นเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟูและดูแลสมรรถภาพหัวใจและปอด ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำ แผนกแห่งนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องการฟื้นฟู ดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย รวมถึงให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในเรื่องที่เกี่ยวกับโรคหัวใจและปอด แผนกแห่งนี้ยังเพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์การออกกำลังกาย การทดสอบสมรรถภาพทางกาย และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ช่วยเฝ้าระวังความผิดปกติระวังการออกกำลังกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกายระดับมาตรฐานสากลที่ทันสมัยและครบวงจร อาทิเช่น

  • Telemetry cardiac rehab management system
    • ติดตามการทำงานของคลื่นหัวใจแบบ real time (ปัจจุบัน) ในขณะออกกำลังตามโปรแกรมฟื้นฟู ด้วยระบบ Telemetry cardiac rehab management system เพื่อให้ได้ทั้งความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการออกกำลัง ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดโดยผู้เชี่ยวชาญ สามารถเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปผลของการออกกำลัง เพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามความก้าวหน้าของอาการและประกอบการรักษาของผู้ป่วย

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

  • ECG telemetry transmitter
    • อุปกรณ์สำหรับเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และติดตามภาวะผิดปกติของหัวใจ โดยการดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่มีการออกกำลังกาย เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในขณะออกกำลังกาย

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

  • Leg ergometer + BP + spO2
    • จักรยานออกกำลังกายที่เชื่อมต่อกับระบบ cardiac rehab management system ใช้สำหรับการออกกำลังกายของผู้ป่วย โดยที่จักรยานจะถูกควบคุมความหนักและปริมาณงานที่ให้ผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยกำลังออกกำลังกาย เครื่องจะวัดและเก็บข้อมูลของความดันโลหิตและเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนในเลือดว่ามีความสมดุลกับการออกกำลังกายหรือไม่ จักรยานออกกำลังกายเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาให้ผู้ป่วย ตลอดจนฟื้นฟูและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพหัวใจที่แข็งแรงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

  • Arm ergometer + BP + spO2
    • จักรยานแขนออกกำลังกายที่เชื่อมต่อกับระบบ cardiac rehab management system ใช้สำหรับการออกกำลังกายของผู้ป่วย โดยที่จักรยานแขนจะถูกควบคุมความหนักและปริมาณงานที่ให้ผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยกำลังออกกำลังกาย เครื่องจะวัดและเก็บข้อมูลของความดันโลหิตและเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนในเลือดว่ามีความสมดุลกับการออกกำลังกายหรือไม่ จักรยานแขนเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน หัวไหล่ หน้าอก หลัง และลำตัวให้แข็งแรง รวมถึงความอดทนของกล้ามเนื้อ ตลอดจนฟื้นฟูและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสมรรถภาพหัวใจที่แข็งแรงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี 

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

  • Treadmill
    • ลู่เดินและวิ่ง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ออกกำลังกายเพื่อทำให้ผู้ป่วยมีความอดทนต่อระบบการทำงานต่างๆ ในร่างกายดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไหลเวียนโลหิต หรือการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ตลอดจนทำให้การทรงตัวและการเคลื่อนไหวดีขึ้น และยังช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพหัวใจให้มีความแข็งแรงขึ้นด้วย 

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

  • Hoist fitness multi station gym
    • อุปกรณ์เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยสามารถใช้อุปกรณ์นี้บริหารกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้หลายส่วน โดยสามารถกำหนดท่าออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ได้ตามที่ต้องการ

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

 

  • Rowing machine
    • อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยต้องใช้แขนและขาในการออกกำลังกายควบคู่กันไป การเคลื่อนไหวของร่างกายจะมีทั้งการดึงของแขนและการใช้ขาเพื่อถีบตัวออก ทำให้ผู้ป่วยได้บริหารกล้ามเนื้อทั้งส่วนบนและส่วนล่างของร่างกายไปพร้อมๆ กัน

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

  • Nustep T4R recumbent
    • อุปกรณ์ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน และผู้ที่มีการทรงตัวไม่ดี ผู้ที่ออกกำลังกายจะต้องใช้ทั้งแขนและขาเคลื่อนไหวในการออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน อุปกรณ์นี้ช่วยในการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา รวมถึงฟื้นฟูและส่งเสริมให้สมรรถภาพหัวใจแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย 

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย

  • Impetus air bike
    • เป็นอุปกรณ์จักรยานออกกำลังกายแบบที่มีแรงกระแทกต่ำ เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน และผู้ที่มีการทรงตัวที่ไม่ดี ผู้ที่ออกกำลังกายจะต้องใช้ทั้งแขนและขาเคลื่อนไหวในการออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน อุปกรณ์นี้ช่วยในการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและขา รวมถึงฟื้นฟูและส่งเสริมให้สมรรถภาพหัวใจแข็งแรงมากขึ้นอีกด้วย

 

 

** มาเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับสุขภาพของคุณด้วย "Health Start Program" โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด คลิก! 

 

 

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและการออกกำลังกาย มุ่งเน้นการฟื้นฟูดูแลหัวใจและปอดเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเกิดโรคซ้ำอีกในอนาคต ช่วยให้ฟื้นตัวเร็วขึ้น กลับคืนสู่สภาวะปกติ และทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณเกียรติ อัสรางชัย

 

ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

 

 

"....พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้…."

 

มี “ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคประจำตัวมานานกว่า 20 ปีแล้วโดยทานยาลดความดันฯ มาตลอด แล้วก็พบว่าเส้นเลือดหัวใจรวม 3 เส้นได้ตีบตันไปราวๆ 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จึงได้เข้ารับการรักษาด้วยการ “ทำบอลลูนขยายเส้นเลือด” ซึ่งทำได้เพียงเส้นเดียวเพราะอีก 2 เส้นมีลักษณะคดโค้งและคุณหมอเห็นว่าอายุมากเกรงว่าจะมีความเสี่ยง จึงพาคุณพ่อไปปรึกษาที่ “รพ.รามคำแหง” ส่งผลให้ได้รับการทำบอลลูนอีก 2 ตำแหน่งและผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย...หลังจากนั้นราวครึ่งเดือนได้เข้าคอร์สฟื้นฟูที่ แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด” ซึ่งเป็นขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งหลังจากได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้นแล้วด้วยเหตุผลคือ...เพื่อให้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้ตามปกติ ช่วยเหลือ ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมโรคได้ในระดับที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการกลับไปเกิดโรคซ้ำ...

 

“...แต่ละครั้ง อ.สิทธาจะให้ผมออกกำลังกายที่พอเหมาะกับร่างกาย ไม่เหนื่อยเกินไป แล้วก็พอที่ผมจะสามารถทำได้...นอกจากเดินก็ให้ขี่จักรยานออกกำลังขา ให้เดินสายพานในจังหวะที่เร็วกว่าผมเดินเองที่บ้าน เพื่อให้ผมก้าวขาได้ดีขึ้น แล้วก็มีให้ออกกำลังแขนโดยการดึงยางยืด ยืดเข้ายืดออก เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่แข็งแรงขึ้นด้วย แต่ละอย่างก็ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ก่อนหน้านี้ผมไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อน พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ตอนนี้มั่นใจว่าความดันไม่สูงมาก ก็จะทำให้การทำงานของหัวใจไม่หนักเกินไป...ยังคิดว่าจบคอร์สนี้แล้วจะต่ออีกสักคอร์ส คือมาทำ 6 ครั้งๆ ละประมาณ 50 นาที แต่ทำแล้วรู้สึกว่าได้ผลดีจริงๆ ครับ...”

 

ในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด, การออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค, วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย รพ.รามคำแหง ระบุว่าอยู่ที่ประมาณ 2-3 เดือน โดยจะมีการประเมินเป็นระยะว่าผู้ป่วยสามารถออกกำลังกาย หรือใช้แรงในระดับที่เหมาะสมได้อย่างปลอดภัยแล้วจริงๆ รวมถึงหัวใจและปอดมีการทำงานที่ดีขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจที่จะไปออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตตามปกติของตนเองได้ “...การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ต้องออกแบบและวางแผนร่วมกันระหว่างแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย กับผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยกันพิจารณาพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายว่าควรออกกำลังกายแบบใด ด้วยอุปกรณ์ชนิดใด ใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งนานเท่าใด ทั้งนี้ยังต้องมีการติดอุปกรณ์ติดตามผลการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต รวมถึงการตอบสนองของร่างกายว่าเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่อย่างใกล้ชิดไปพร้อมกัน เพราะบางกรณี เช่น คนที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจเกิดความผิดปกติเมื่อออกกำลังกาย หรือ คนที่เคยหัวใจวายมาก่อน เวลาออกกำลังกายไปถึงจุดหนึ่งแล้วหัวใจอาจจะขาด แรงปั๊มที่ดีทำให้ความดันตก ก็ต้องมีการปรับลดกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม คือต้องดูกราฟหัวใจให้ค่อยๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ ความดันก็ต้องค่อยไต่ขึ้นไป ไม่สูงมาก และไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...ที่สำคัญอีกคือ... “ต้องมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”

 

 

  • การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดหลังการรักษาโรคหัวใจ

  • คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอด และการออกกำลังกาย

  • การเตรียมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย

  • ออกกำลังกาย ช่วยลดเบาหวานได้จริงหรือ?

  • แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด โรงพยาบาลรามคำแหง

  • การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของผู้ป่วยโรคหัวใจ

  • กล้าที่จะฝันอีกครั้งกับแผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด รพ.รามคำแหง

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณเกียรติ อัสรางชัย

 

ผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ

 

 

"....พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้…."

 

มี “ความดันโลหิตสูง” เป็นโรคประจำตัวมานานกว่า 20 ปีแล้วโดยทานยาลดความดันฯ มาตลอด แล้วก็พบว่าเส้นเลือดหัวใจรวม 3 เส้นได้ตีบตันไปราวๆ 75 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จึงได้เข้ารับการรักษาด้วยการ “ทำบอลลูนขยายเส้นเลือด” ซึ่งทำได้เพียงเส้นเดียวเพราะอีก 2 เส้นมีลักษณะคดโค้งและคุณหมอเห็นว่าอายุมากเกรงว่าจะมีความเสี่ยง จึงพาคุณพ่อไปปรึกษาที่ “รพ.รามคำแหง” ส่งผลให้ได้รับการทำบอลลูนอีก 2 ตำแหน่งและผ่านพ้นไปด้วยความเรียบร้อย...หลังจากนั้นราวครึ่งเดือนได้เข้าคอร์สฟื้นฟูที่ แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด” ซึ่งเป็นขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งหลังจากได้รับการรักษาจนมีอาการดีขึ้นแล้วด้วยเหตุผลคือ...เพื่อให้สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตได้ตามปกติ ช่วยเหลือ ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น และสามารถควบคุมโรคได้ในระดับที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการกลับไปเกิดโรคซ้ำ...

 

“...แต่ละครั้ง อ.สิทธาจะให้ผมออกกำลังกายที่พอเหมาะกับร่างกาย ไม่เหนื่อยเกินไป แล้วก็พอที่ผมจะสามารถทำได้...นอกจากเดินก็ให้ขี่จักรยานออกกำลังขา ให้เดินสายพานในจังหวะที่เร็วกว่าผมเดินเองที่บ้าน เพื่อให้ผมก้าวขาได้ดีขึ้น แล้วก็มีให้ออกกำลังแขนโดยการดึงยางยืด ยืดเข้ายืดออก เพื่อให้กล้ามเนื้อแขนและไหล่แข็งแรงขึ้นด้วย แต่ละอย่างก็ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ก่อนหน้านี้ผมไม่ค่อยได้ออกกำลังกายมาก่อน พอได้มาออกกำลังกายแบบนี้ก็มั่นใจขึ้นว่าจะหลีกเลี่ยงการเกิดอาการเป็นลมหมดสติ หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้ ตอนนี้มั่นใจว่าความดันไม่สูงมาก ก็จะทำให้การทำงานของหัวใจไม่หนักเกินไป...ยังคิดว่าจบคอร์สนี้แล้วจะต่ออีกสักคอร์ส คือมาทำ 6 ครั้งๆ ละประมาณ 50 นาที แต่ทำแล้วรู้สึกว่าได้ผลดีจริงๆ ครับ...”

 

ในด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด, การออกกำลังกายเพื่อรักษาโรค, วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย รพ.รามคำแหง ระบุว่าอยู่ที่ประมาณ 2-3 เดือน โดยจะมีการประเมินเป็นระยะว่าผู้ป่วยสามารถออกกำลังกาย หรือใช้แรงในระดับที่เหมาะสมได้อย่างปลอดภัยแล้วจริงๆ รวมถึงหัวใจและปอดมีการทำงานที่ดีขึ้นแล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจที่จะไปออกกำลังกายหรือใช้ชีวิตตามปกติของตนเองได้ “...การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด ต้องออกแบบและวางแผนร่วมกันระหว่างแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย กับผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยกันพิจารณาพยาธิสภาพของผู้ป่วยแต่ละรายว่าควรออกกำลังกายแบบใด ด้วยอุปกรณ์ชนิดใด ใช้ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้งนานเท่าใด ทั้งนี้ยังต้องมีการติดอุปกรณ์ติดตามผลการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต รวมถึงการตอบสนองของร่างกายว่าเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่อย่างใกล้ชิดไปพร้อมกัน เพราะบางกรณี เช่น คนที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดอาจเกิดความผิดปกติเมื่อออกกำลังกาย หรือ คนที่เคยหัวใจวายมาก่อน เวลาออกกำลังกายไปถึงจุดหนึ่งแล้วหัวใจอาจจะขาด แรงปั๊มที่ดีทำให้ความดันตก ก็ต้องมีการปรับลดกิจกรรมการออกกำลังกายให้เหมาะสม คือต้องดูกราฟหัวใจให้ค่อยๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ ความดันก็ต้องค่อยไต่ขึ้นไป ไม่สูงมาก และไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด...ที่สำคัญอีกคือ... “ต้องมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับให้การช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที”