เสียงจากผู้รับบริการ

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

คุณสมชาย สอนดี ให้สัมภาษณ์

 

"...ผมเป็นคนที่ชอบวิ่งประจำครับ ไม่เคยตรวจร่างกายประจำปี เมื่อ 3 ปีก่อนเคยหน้ามืด แต่เดินต่อได้ เคยเป็นครั้งเดียว ผมไม่มีโรคประจำตัวนะ ครั้งนี้ผมลงวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร เป็นงานแรก หลังจากหยุดมา 3 ปี เพราะโควิด ผมมีเวลาซ้อมน้อย ช่วงกิโลเมตรที่ 8 วิ่งอยู่บนสะพานที่ 2 ระหว่างหลังสะพานรู้สึกเหนื่อย แล้วหน้ามืดและไม่รู้สึกตัว หลังจากหมดสติได้รับการช่วยด้วยการทำ CPR ผมรู้สึกตัวตอนขึ้นรถพยาบาล ได้ยินเสียงคุณหมอที่เป็นนักวิ่งพูดว่า “ดีใจมากเลยที่ช่วยพี่เขาได้” ผมก็น้ำตาไหลเลยครับ..."

..คิดแค่ว่ามีคนวิ่งชนเราหรือเปล่าคิดแค่นี้เลย ผมลืมตาไม่ขึ้น เจ็บหน้าอก เวียนหัว พูดไม่ได้ ตอนนั้นเราคิดว่าตัวเองมีโอกาสแค่ 50/50 ว่าจะอยู่หรือไป ตอนมาถึงโรงพยาบาลก็เข้าห้องฉุกเฉิน มีเครื่องออกซิเจน เครื่องต่างๆ เต็มตัวเราไปหมดเลย ตอนคุณหมอทำการรักษา ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ ผมรู้สึกตัวนะ ไม่เจ็บเลยครับ

ดีทุกอย่างเลยครับ
ทีมงานและโรงพยาบาลมีความพร้อม โดยที่ไม่ต้องรอเลย รวมถึงระบบการช่วยเหลือ การนำส่ง แม้กระทั่งห้องฉุกเฉิน ห้อง Cath Lab ห้อง CCU คุณหมอ และพยาบาล ถ้าผมไม่สบายอีกผมจะมาที่นี่อีกครับ

 

นพ.สมศักดิ์ เอกปรัชญากุล แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า

"...ตอนมาถึงโรงพยาบาลคุณสมชายรู้สึกตัวแล้วนะครับ ก็เริ่มการตรวจวินิจฉัยคนไข้ EKG มีความผิดปกติ มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เห็นได้จาก EKG ขั้นตอนต่อไปเลยรีบทำการสวนหัวใจฉีดดูว่าเส้นเลือดเป็นยังไง เส้นหัวใจเรามี 3 เส้น 1 ใน 3 เส้นตีบมาก ตีบเกือบตัน เราใช้วิธีการรักษาด้วยการสวนหัวใจ เส้นไหนตีบเราจะเอาสายสวนออกแล้วเอาบอลลูนเข้าไปรอยตามแล้วทำการขยายหลอดเลือดได้เลย หลังจากนั้นเอาขดลวดเข้าไปกางให้เป็นโครงค้ำยันหลอดเลือดไว้ ทั้งหมดทำในขั้นตอนเดียวกัน คนไข้เคสนี้ถือเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นนะครับ ไม่มีเลือดออกจากหัวใจ ไม่มีเลือดขึ้นสมอง ไม่กี่วินาทีก็หมดสติแล้ว การกู้ชีวิตสำคัญมากตั้งแต่ช่วง 5 นาทีแรกหลังหมดสติ ถ้าฟื้นมาได้ก็ต้องรีบทำการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 4 ชั่วโมง..."

คุณสมหมาย พรหมสถาพร

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

คุณสมหมาย พรหมสถาพร ให้สัมภาษณ์

 

"...โรคประจำตัวผมไม่มีครับ ผมเป็นคนชอบวิ่ง ชอบออกกำลังกายครับ ตรวจสุขภาพประจำปี พบคลอเรสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง  หลังจากออกกำลังกายและกลับไปตรวจใหม่ปรากฏว่าลง แต่ผมไม่เคยตรวจเกี่ยวกับเรื่องหัวใจ ระหว่างที่ผมวิ่งได้ระยะที่ 19 กิโลเมตร ผมไม่มีอาการเตือนอะไรเลยครับ หายใจได้ปกติ ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ภาพดับ ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้เลย ตอนคุณหมอทำการฉีดสีตอนทำการผ่าตัดผมรู้สึกตัวแต่ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้ครับ ฟื้นมายังตกใจอยู่เลย ผมถามภรรยาว่าเราเข้าเส้นชัยไหม แล้วเสื้อผมหล่ะ แล้วเหรียญผมหล่ะ..."

 

ผมคิดว่าคงไม่เกิดกับผม เพราะว่าผมผ่าน 21 กิโลเมตร มาหลายรอบและซ้อมตลอด คิดว่าน่าจะวิ่งได้เพราะวิ่งประจำ ผมรู้นะว่าการแข่งขันมันมีความเสี่ยง แต่ผมเต็มใจที่จะวิ่ง กล้าที่จะวิ่ง เลยมองข้างตรงนั้นไปครับ คิดว่าน่าจะไม่เป็นอะไร ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราไม่คาดฝันมาก่อนเลยครับ

 

ผมรู้สึกดีที่รอดมาได้ครับ เพราะเรายังมีครอบครัว มีภรรยาที่รักเราอยู่ พี่น้อง เพื่อน สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ขอบคุณทีมงานที่ทำให้ผมมีชีวิตฟื้นกลับมาอย่างดี ผมอาจจะใช้ชีวิตเอ็กซ์ตรีมเกินไป แต่ผมไม่กลัวที่จะใช้ชีวิตนะครับ แต่การได้ฟื้นกลับมาผมรู้สึกดี อยากฝากไปถึงคนที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพว่า อยากให้ฟังคุณหมอครับ ออกกำลังการไปทีละสเต็ป อย่าเพิ่งก้าวกระโดด อย่าใช้ชีวิตที่มันเอ็กซ์ตรีมเกินไป ใช้ชีวิตให้พอดีครับ

 

พญ.ไพลิน พาสพิษณุ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า

"...ดูจากกราฟหัวใจ พบว่ามีร่องรอยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนค่ะ ตอนหมอเจอคนไข้ยังเบลอๆ มึนๆ จำเหตุการณ์ อะไรไม่ได้ อยู่เลยค่ะ ทำ CT Scan สมองไม่เจอ ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ ไม่มีเลือดออกในสมอง เลยส่งเอนไซม์ เพื่อดูค่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ปรากฏว่าขึ้นประมาณ 1,500 กว่า ซึ่งปกติต้อง ไม่เกิน 45 คุณหมอดูกราฟแล้วน่าจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบเดิมอยู่แล้ว เลยทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ ปรากฏว่ากล้ามเนื้อหัวใจ ห้องล่างซ้าย บีบตัวไม่ค่อยดีอยู่ที่ประมาณ 53-54 % และ เจอว่าหัวใจ ทางฝั่งซ้าย ค่อนข้างโตกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย จึงได้ ทำการรักษาโดยฉีดสีสวนหัวใจ และพบว่าในผู้ป่วยรายนี้ มีการตีบที่รุนแรง อยู่ 3 จุด ซึ่งจุดที่สำคัญ คือจุดบริเวณขั้วหัวใจ (left main) ตีบเกิน 50% ซึ่งการรักษา สามารถทำได้ 2 วิธี วิธีแรกคือ การผ่าตัดบายพาส และอีกวิธีคือ การทำบอลลูนหัวใจใส่ขดลวด (Stent) ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกาย และความพร้อม ของคนไข้แต่ละคน ว่าวิธีไหนจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ และทีมรักษาได้เลือกวิธีทำบอลลูนหัวใจ ใส่ขดลวด ทั้งหมด 3 เส้น ใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 2 ชั่วโมง คนไข้ ตอนนี้อาการสบายดีแล้วค่ะ..."



อาการวูบหมดสติในคนไข้รายนี้ เกิดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากการวิ่งออกกำลังกายหนัก ทำให้หัวใจเต้นรัว ความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ฮอร์โมนอะดรีนาลีนในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หัวใจเกิดภาวะบีบตัวแรงส่งเลือดมาเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก ทำให้มีอาการจุกแน่นหน้าอกวูบไป และอาจเสียชีวิตได้หากช่วยไม่ทัน ซึ่งการเสียชีวิตขณะวิ่งส่วนมากเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งพบได้ในนักวิ่งที่อาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันอยู่แต่ไม่รู้ตัว จึงทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจต้องการไปเลี้ยงมากขึ้น แต่จู่ๆ หัวใจไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอ ทำให้หัวใจขาดเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจทำงานไม่ได้ การรักษาในผู้ป่วยรายนี้จึงรีบทำการรักษาโดยการฉีดสีสวนหัวใจ เพื่อดูว่ามีหลอดเลือดบริเวณตำแหน่งไหนตีบ เพื่อที่จะได้ทำแนวทางการแก้ไขและรักษาต่อไป

 

 

คุณทุเรียน บุญยืน

 

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจตีบและหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

คุณศักดิ์ชาย ดอกน้ำไม้ ให้สัมภาษณ์

 

“....ใช้เทคนิคสมัยใหม่ที่เสี่ยงน้อยหน่อยดูจากวิดีโอแล้วปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเดิมเยอะ เสร็จแล้วก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวหนึ่งสัปดาห์ก็จะกลับบ้าน...”

 

ก่อนที่จะเกิดอาการเหนื่อยคุณตาท่านนอนไม่ค่อยหลับ เพราะไปตรากตรำมาทั้งวัน ไปไหนต่อไหนจนไม่ได้พักผ่อน ก็เลยเกิดไม่มีแรง ก็เลยต้องพาไปเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเหนื่อยจากอะไร แต่เคยบอกว่า คุณหมอที่เคยตรวจแจ้งไว้ว่ามีลิ้นหัวใจรั่วมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้รักษา กินยาเฉพาะในเรื่องของกระดูกทับเส้นที่ต้นคอ โรคลมชัก และต่อมลูกหมากโต แต่ในเรื่องของลิ้นหัวใจ ท่านไม่ได้สนใจว่ามันจะเป็นอะไร เพราะว่ายังทำนู่นทำนี่ได้ปกติ ในช่วงนั้นมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ แล้วก็ไปตรากตรำมากก็เลยเกิดอาการเหนื่อยหอบ เเล้วก็หายใจไม่เต็มอิ่ม ก็เลยพาไปเข้าโรงพยาบาลแห่งแรก แต่เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของโควิด-19 ระบาดก็เลยยังไม่สามารถตรวจหาสาเหตุต่างๆ ของอาการเหนื่อยได้ จึงต้องรอไปอีกหลายวัน อาการก็หนักขึ้นเรื่อยๆ คนไข้ก็ไม่ยอมกินอะไร ร่างกายก็ทรุดลงไปเรื่อยๆ และพอดีมีคนแนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง ซึ่งเขาเคยมารักษาและมีญาติเคยมาเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ก็เลยติดต่อโรงพยาบาลรามคำแหงให้ส่งรถ Ambulance มารับ โดยนำข้อมูลการตรวจติดไปด้วยเลย ซึ่งคุณหมอมาตรวจแล้วพบว่าท่านมีอาการน้ำท่วมปอดจากหัวใจล้มเหลวสาเหตุในเบื้องต้นเกิดจากลิ้นหัวใจตีบขั้นรุนแรง

 

อย่างไรก็ตามอาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสาเหตุร่วมอยู่ด้วยก็ได้ จากนั้นอีกสามวันต่อมาเมื่อคุณลุงมีอาการดีขึ้น ก็มาพาคุณลุงไปฉีดสี ก็พบว่าคุณลุงมีหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วยจริงๆ จึงแนะนำให้คุณลุงทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ จึงตัดสินใจทำในวันนั้นเลย ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็เสร็จแล้ว ออกมาพูดคุยได้ตามปกติ ก็ตั้งใจว่าจะพักฟื้นจนดีแล้วค่อยรักษาลิ้นหัวใจตีบ แต่ระหว่างรอนั้นเกิดอาการน้ำท่วมปอดขึ้นมาอีก จึงต้องอยู่รักษาต่อ เลยต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลจนกระทั่งเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เพราะว่าถ้ากลับออกไป ก็จะมีปัญหาลักษณะเดิมอีก

 

ส่วนเรื่องการผ่าตัดลิ้นหัวใจ คือต้องบอกว่าไม่ใช่เป็นการผ่าตัดใหญ่เลย แต่ใช้วิธีสอดสายนำลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปครอบลิ้นเดิม โดยไม่ต้องเอาลิ้นเดิมออก คือใช้เทคนิคสมัยใหม่ที่เสี่ยงน้อยหน่อยดูจากวิดีโอแล้วปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเดิมเยอะ เสร็จแล้วก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวหนึ่งสัปดาห์ก็จะกลับบ้าน ปรากฏว่าระหว่างรอกลับบ้านท่านมีอาการหน้ามืดจะเป็นลมโชคดีที่เกิดขึ้นขณะอยู่ใน CCU ตรวจพบว่าหัวใจเต้นช้ามาก คุณหมอบัญชาจึงแนะนำให้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจโดยด่วน หลังจากใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแล้วท่านก็รู้สึกตัวดีสามารถพูดและยิ้มได้ ผมก็เลยโล่งอกครับหลังจากนั้นก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวอาทิตย์หนึ่งก็กลับบ้าน และคุณหมอนัดว่าอีกหนึ่งเดือนให้มาตรวจติดตามผลการรักษา ปรากฏว่าในช่วงก่อนมาตรวจ ท่านก็บอกว่ามีอาการวูบวาบอยู่เรื่อย ซึ่งพอถึงวันนัดก็เลยได้รับการตรวจจากคุณหมอบัญชา และคุณหมอได้ให้ติดเครื่อง Holter ติดตัวไว้ 2 วัน เพื่อวัดการเต้นของหัวใจ ผลปรากฏว่าท่านมีหัวใจเต้นผิดปกติทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น ซึ่งคุณหมอบอกว่าอาการนี้อาจทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้ คุณหมอก็เลยให้ยามาทาน หลังทานยาก็ไม่มีอาการดังกล่าวอีกเลย ตอนนี้ก็ยังทานยาต่อเนื่องอยู่และไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ