ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

ศูนย์หัวใจ

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมด้วยทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือดครบทุกสาขา ให้การดูแลรักษาหัวใจคุณตั้งแต่การป้องกัน ดูแลรักษาแก้ไขความผิดปกติของหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ ไปจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด เพื่อให้คุณได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างแข็งแรงอีกครั้ง

 

ศูนย์รักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบและความผิดปกติของหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด พร้อมให้การดูแลรักษาตลอด 24 ชั่วโมง ให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวดค้ำยัน แม้ในความผิดปกติที่ยากต่อการรักษา ด้วยการใช้หัวกรอกากเพชร (Rotablator) และหัวอัลตร้าซาวด์ภายในหลอดเลือด (IVUS) ช่วยลดโอกาสที่จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลงได้ การแก้ไขภาวะความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจและลิ้นหัวใจ ด้วยการสวนหลอดเลือดเพื่อขยายลิ้นหัวใจตีบและใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือวัสดุปิดผนังกั้นห้องหัวใจผ่านสายสวนหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด

 

 

ศูนย์หัวใจ

 

  • แผนกฉุกเฉินโรคหัวใจ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • แผนกขยายหลอดเลือดหัวใจ & ฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ
  • แผนกผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดโรคหัวใจทุกประเภท
  • แผนกผ่าตัดหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องหัวใจ-ปอดเทียม (Off Pump Surgery)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด (Cardiac Rehabilitation)

 

แผนกหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • หัวใจเต้นพลิ้ว AF
  • การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติ ด้วยเครื่อง CARTO Technology
  • การตรวจ & วินิจฉัยผู้ป่วย ที่มีปัญหาเรื่องหัวใจเต้นผิดจังหวะ (EP&RF Ablation)
  • แผนกบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter Monitor)
  • การวินิจฉัยและรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ต้นตอของความผิดปกติ ด้วย CARTO XP EP navigation system
  • การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร (Pacemaker)
  • เครื่องมือที่ช่วยตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ
  • การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT 128 Slice
  • การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเครื่อง ABI
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าด้วยเครื่อง EKG
  • การตรวจรักษาผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าหัวใจชนิดเต้นช้าโดยใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจใช้เครื่องวิทยุความถี่สูง
  • การตรวจรักษาผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าชนิดเต้นเร็วโดยการใช้เครื่อง CARTO
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงก่อนและหลังออกกำลังกาย (Exercise Stress Echocardiography)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหลังได้รับยา (Dobutamine Echocardiography)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านหลอดอาหาร (Trans Esophageal Echocardiography TEE)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงแบบ 3 มิติ (Echocardiography, Echo 3D)
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านหลอดอาหารแบบ 3 มิติ (Trans Esophageal Echocardiography TEE 3 D)
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ขณะออกกำลังกายด้วยเครื่อง EST (Exercise Stress Test)
  • เครื่องบันทึกคลื่นหัวใจผิดปกติแบบพกติดตัว Loop event recorder
  • การบันทึกความดันโลหิตแบบต่อเนื่องชนิดพกติดตัว Ambulatory Blood pressure monitoring system
  • การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt table Test)
  • รถพยาบาลฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ (Mobile CCU)
  • หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหอพักผู้ป่วยโรคหัวใจ (Cardiac care unit/ CCU cardio ward)
  • การรักษาโรคหัวใจและการผ่าตัดหัวใจ 

 

ศูนย์หัวใจศูนย์หัวใจ


ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหงให้การดูแลผู้ป่วยทุกท่านอย่างทุ่มเทและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยทางโรงพยาบาลมีบริการตลอด 24 ชั่วโมง ในกรณีฉุกเฉินที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 90 นาทีตามมาตรฐานสากล

 

  • ระบบกระแสไฟฟ้าหัวใจ 

    • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจรวมถึงการรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (ablation)
    • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ
    • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง ICD (implantable cardioverter defibrillator)
    • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง CRT (cardiac resynchronization therapy)
  • กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ 

    • การสวนหัวใจและการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
    • การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนและใส่ขดลวดค้ำยัน
  • หัวใจพิการแต่กำเนิด 

    • การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องบน
    • การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง
    • การผ่าตัดปิดเส้นเลือด ductus arteriosus ซึ่งเชื่อมอยู่ระหว่าง aorta และ pulmonary artery​​
  • ระบบลิ้นหัวใจ 

    • การผ่าตัดลิ้นหัวใจ
    • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด
  • กลุ่มหลอดเลือด 

    • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง
    • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต
    • การใส่ขดลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงแขนขา

 

 

ศัลยกรรมหัวใจและช่องอก 

 

  • กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ 
    • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบที่ใช้และไม่ใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม
    • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว​
  • กลุ่มลิ้นหัวใจ 

    • การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
    • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ​
  • กลุ่มหัวใจพิการแต่กำเนิด 

    • การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องบน
    • การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง
    • การผ่าตัดปิดเส้นเลือด ductus arteriosus
    • การผ่าตัดที่มีความซับซ้อนของหัวใจพิการแต่กำเนิด​
  • กลุ่มหลอดเลือด 

    • การผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง
    • การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง
    • การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในทรวงอก

 

การบริการทางการแพทย์ 

 

  • การตรวจวินิจฉัยทางหัวใจ
  • การผ่าตัดหัวใจ
  • การติดตามการทำงานของคลื่นหัวใจ
  • การตรวจเกี่ยวกับสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ
  • การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • การตรวจหัวใจด้วยสนามแม่เหล็ก
  • การตรวจปฏิบัติการหัวใจ
  • การตรวจหัวใจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 
  • ห้องบำบัดผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ 8 ห้อง

 

ศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด 

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมให้การดูแลรักษาตลอด 24 ชม ให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยการขยายหลอดเลือด ด้วยบอลลูนและขดลวดค้ำยัน แม้ในความผิดปกติที่ยากต่อการรักษา ด้วยการใช้หัวกรอกากเพรช (Rotablator) และหัวอัลตราซาวภายในหลอดเลือด IVUS ช่วยลดโอกาสที่จะต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดลงได้ การแก้ไขภาวะความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจและลิ้นหัวใจ ด้วยการสวนหลอดเลือด เพื่อขยายลิ้นหัวใจตีบ และใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือวัสดุปิดผนังกั้นห้องหัวใจผ่านสายสวนหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด รักษาหัวใจคุณด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ/แพทย์ผู้ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจ 

  • การตรวจรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ตลอด 24 ชั่วโมง
  • การตรวจวินิจฉัย เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การรักษาด้วยบอลลูน ขดลวด และหัวกรอกากเพชร
  • การตรวจรักษาผู้ป่วย ที่มีความผิดปกติของลิ้นหัวใจชนิดห้องขวาตีบ ด้วยบอลลูน
  • การตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของผนังกั้นห้องหัวใจด้วยวงขดลวด
  • การผ่าตัดหัวใจ และทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องหัวใจ-ปอดเทียม (Heart lung machine) และไม่ใช้เครื่องหัวใจ-ปวดเทียม (off pump surgery)
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและหัวใจ

 

ศูนย์หัวใจ

 

บริการตรวจวินิจฉัยทางโรคหัวใจ 

 

  • ตรวจความผิกปกติของหัวใจด้วย Cardiac MRI
  • ตรวจความผิดปกติของหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT 128 Slide
  • ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยเครื่อง Exercise Stress Test
  • ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง Echocardiogram
  • ตรวจหาสาเหตุภาวะเป็นลมหมดสติ Tilt table test
  • ตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
  • ตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเครื่อง ABI
  • ตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจพกพาเคลื่อนที่ตลอด 24-48 ชั่วโมงที่บ้าน ด้วยเครื่อง Holter monitor
  • ตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และมีอาการผิดปกติผ่านทางโทรศัพท์ Event loop recorder monitor
  • ตรวจวัดความดัน 24 ชั่วโมงด้วยเครื่อง ABPM

 

ศูนย์หัวใจศูนย์หัวใจศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจศูนย์หัวใจ

 

สายด่วน Hot Line 083-990-8989   ปรึกษาปัญหาโรคหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสุธี รังสาคร

 

ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น และติดเชื้อโควิด-19

คุณจัสมิน รังสาคร ลูกชายให้สัมภาษณ์

 

“ให้การรักษาแบบเข้าใจง่ายแบบอธิบายให้เข้าใจ เห็นภาพ แล้วก็รักษาไว รวดเร็วมาก”

 

คุณพ่อมีอาการแน่นหน้าอก เหมือนกินข้าวแล้วกลืนไม่ลงก็คือเป็นมาก็สักพัก ประมาณ 2 อาทิตย์ เขาก็คิดว่านอนน้อย หรือแบบว่าเป็นกรดไหลย้อนอะไรหรือเปล่า ก็ลองนอนพักเยอะขึ้น ก็ยังไม่ดี ทีนี้คือแน่นหน้าอกตลอด นอนไม่หลับ นอนไม่ได้ครับ ก็คือพอมาทราบทีหลังเหมือนเป็นอาการน้ำใกล้จะท่วมปอด เพราะเขานอนราบแล้วมันจะแน่น คือนอนไม่ได้เลย กลางคืนก็ไม่หลับ เช้าก็ไม่หลับ ก็จนคืนนั้นคุณพ่ออาการไม่ไหวแล้ว คือหายใจไม่ไหว ก็เลยไปโรงพยาบาลกันครับ โดยตรวจพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น รักษาด้วยการผ่าตัดทำบอลลูนครับ และในช่วงนั่นประจวบเหมาะกับช่วงโอไมครอนกำลังระบาดแล้วคุณพ่อติดโควิด แต่ก็ถือว่าดีที่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีเพราะช่วงนั่นหาเตียงยากครับ

 

หมอคือดูแลดีครับ เครื่องมือทันสมัย พร้อมทุกอย่างแล้วก็ให้คำแนะนำดีครับ ให้คำแนะนำในการรักษาดีว่าควรจะทำยังไงต่อไป ให้การรักษาแบบเข้าใจง่ายแบบอธิบายเข้าใจ เห็นภาพ แล้วก็รักษาไว รวดเร็วมาก แปปเดียวคุณพ่อเข็นออกมาแล้วครับ สุดท้ายที่อยากฝากนะครับ เรื่องของสุขภาพต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำหน่อย ถ้าเราไม่ดูแลตัวเอง ก็ต้องหันมาตรวจสุขภาพ และที่อยากฝากอีกเรื่องนึงที่สำคัญคือ บางทีโรคหัวใจนี่มันอันตรายตรงที่มันสะสมครับ คิดว่ามันมองเป็นกรดไหลย้อนก็ได้ มองเป็นอย่างอื่นก็ได้ ถ้าเป็นเนิ่น ๆ ตอนที่ยังเดินไหวรีบไปดีกว่า อย่าให้แบบนอนแล้วขึ้นเปลไปมันจะไม่ทันครับ 

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณทุเรียน บุญยืน

 

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจตีบและหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

คุณศักดิ์ชาย ดอกน้ำไม้ ให้สัมภาษณ์

 

“....ใช้เทคนิคสมัยใหม่ที่เสี่ยงน้อยหน่อยดูจากวิดีโอแล้วปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเดิมเยอะ เสร็จแล้วก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวหนึ่งสัปดาห์ก็จะกลับบ้าน...”

 

ก่อนที่จะเกิดอาการเหนื่อยคุณตาท่านนอนไม่ค่อยหลับ เพราะไปตรากตรำมาทั้งวัน ไปไหนต่อไหนจนไม่ได้พักผ่อน ก็เลยเกิดไม่มีแรง ก็เลยต้องพาไปเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเหนื่อยจากอะไร แต่เคยบอกว่า คุณหมอที่เคยตรวจแจ้งไว้ว่ามีลิ้นหัวใจรั่วมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้รักษา กินยาเฉพาะในเรื่องของกระดูกทับเส้นที่ต้นคอ โรคลมชัก และต่อมลูกหมากโต แต่ในเรื่องของลิ้นหัวใจ ท่านไม่ได้สนใจว่ามันจะเป็นอะไร เพราะว่ายังทำนู่นทำนี่ได้ปกติ ในช่วงนั้นมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ แล้วก็ไปตรากตรำมากก็เลยเกิดอาการเหนื่อยหอบ เเล้วก็หายใจไม่เต็มอิ่ม ก็เลยพาไปเข้าโรงพยาบาลแห่งแรก แต่เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของโควิด-19 ระบาดก็เลยยังไม่สามารถตรวจหาสาเหตุต่างๆ ของอาการเหนื่อยได้ จึงต้องรอไปอีกหลายวัน อาการก็หนักขึ้นเรื่อยๆ คนไข้ก็ไม่ยอมกินอะไร ร่างกายก็ทรุดลงไปเรื่อยๆ และพอดีมีคนแนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง ซึ่งเขาเคยมารักษาและมีญาติเคยมาเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ก็เลยติดต่อโรงพยาบาลรามคำแหงให้ส่งรถ Ambulance มารับ โดยนำข้อมูลการตรวจติดไปด้วยเลย ซึ่งคุณหมอมาตรวจแล้วพบว่าท่านมีอาการน้ำท่วมปอดจากหัวใจล้มเหลวสาเหตุในเบื้องต้นเกิดจากลิ้นหัวใจตีบขั้นรุนแรง

 

อย่างไรก็ตามอาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสาเหตุร่วมอยู่ด้วยก็ได้ จากนั้นอีกสามวันต่อมาเมื่อคุณลุงมีอาการดีขึ้น ก็มาพาคุณลุงไปฉีดสี ก็พบว่าคุณลุงมีหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วยจริงๆ จึงแนะนำให้คุณลุงทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ จึงตัดสินใจทำในวันนั้นเลย ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็เสร็จแล้ว ออกมาพูดคุยได้ตามปกติ ก็ตั้งใจว่าจะพักฟื้นจนดีแล้วค่อยรักษาลิ้นหัวใจตีบ แต่ระหว่างรอนั้นเกิดอาการน้ำท่วมปอดขึ้นมาอีก จึงต้องอยู่รักษาต่อ เลยต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลจนกระทั่งเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เพราะว่าถ้ากลับออกไป ก็จะมีปัญหาลักษณะเดิมอีก

 

ส่วนเรื่องการผ่าตัดลิ้นหัวใจ คือต้องบอกว่าไม่ใช่เป็นการผ่าตัดใหญ่เลย แต่ใช้วิธีสอดสายนำลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปครอบลิ้นเดิม โดยไม่ต้องเอาลิ้นเดิมออก คือใช้เทคนิคสมัยใหม่ที่เสี่ยงน้อยหน่อยดูจากวิดีโอแล้วปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเดิมเยอะ เสร็จแล้วก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวหนึ่งสัปดาห์ก็จะกลับบ้าน ปรากฏว่าระหว่างรอกลับบ้านท่านมีอาการหน้ามืดจะเป็นลมโชคดีที่เกิดขึ้นขณะอยู่ใน CCU ตรวจพบว่าหัวใจเต้นช้ามาก คุณหมอบัญชาจึงแนะนำให้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจโดยด่วน หลังจากใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแล้วท่านก็รู้สึกตัวดีสามารถพูดและยิ้มได้ ผมก็เลยโล่งอกครับหลังจากนั้นก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวอาทิตย์หนึ่งก็กลับบ้าน และคุณหมอนัดว่าอีกหนึ่งเดือนให้มาตรวจติดตามผลการรักษา ปรากฏว่าในช่วงก่อนมาตรวจ ท่านก็บอกว่ามีอาการวูบวาบอยู่เรื่อย ซึ่งพอถึงวันนัดก็เลยได้รับการตรวจจากคุณหมอบัญชา และคุณหมอได้ให้ติดเครื่อง Holter ติดตัวไว้ 2 วัน เพื่อวัดการเต้นของหัวใจ ผลปรากฏว่าท่านมีหัวใจเต้นผิดปกติทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น ซึ่งคุณหมอบอกว่าอาการนี้อาจทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้ คุณหมอก็เลยให้ยามาทาน หลังทานยาก็ไม่มีอาการดังกล่าวอีกเลย ตอนนี้ก็ยังทานยาต่อเนื่องอยู่และไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสมหมาย พรหมสถาพร

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

คุณสมหมาย พรหมสถาพร ให้สัมภาษณ์

 

"...โรคประจำตัวผมไม่มีครับ ผมเป็นคนชอบวิ่ง ชอบออกกำลังกายครับ ตรวจสุขภาพประจำปี พบคลอเรสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง  หลังจากออกกำลังกายและกลับไปตรวจใหม่ปรากฏว่าลง แต่ผมไม่เคยตรวจเกี่ยวกับเรื่องหัวใจ ระหว่างที่ผมวิ่งได้ระยะที่ 19 กิโลเมตร ผมไม่มีอาการเตือนอะไรเลยครับ หายใจได้ปกติ ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ภาพดับ ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้เลย ตอนคุณหมอทำการฉีดสีตอนทำการผ่าตัดผมรู้สึกตัวแต่ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้ครับ ฟื้นมายังตกใจอยู่เลย ผมถามภรรยาว่าเราเข้าเส้นชัยไหม แล้วเสื้อผมหล่ะ แล้วเหรียญผมหล่ะ..."

 

ผมคิดว่าคงไม่เกิดกับผม เพราะว่าผมผ่าน 21 กิโลเมตร มาหลายรอบและซ้อมตลอด คิดว่าน่าจะวิ่งได้เพราะวิ่งประจำ ผมรู้นะว่าการแข่งขันมันมีความเสี่ยง แต่ผมเต็มใจที่จะวิ่ง กล้าที่จะวิ่ง เลยมองข้างตรงนั้นไปครับ คิดว่าน่าจะไม่เป็นอะไร ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราไม่คาดฝันมาก่อนเลยครับ

 

ผมรู้สึกดีที่รอดมาได้ครับ เพราะเรายังมีครอบครัว มีภรรยาที่รักเราอยู่ พี่น้อง เพื่อน สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ขอบคุณทีมงานที่ทำให้ผมมีชีวิตฟื้นกลับมาอย่างดี ผมอาจจะใช้ชีวิตเอ็กซ์ตรีมเกินไป แต่ผมไม่กลัวที่จะใช้ชีวิตนะครับ แต่การได้ฟื้นกลับมาผมรู้สึกดี อยากฝากไปถึงคนที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพว่า อยากให้ฟังคุณหมอครับ ออกกำลังการไปทีละสเต็ป อย่าเพิ่งก้าวกระโดด อย่าใช้ชีวิตที่มันเอ็กซ์ตรีมเกินไป ใช้ชีวิตให้พอดีครับ

 

พญ.ไพลิน พาสพิษณุ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า

"...ดูจากกราฟหัวใจ พบว่ามีร่องรอยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนค่ะ ตอนหมอเจอคนไข้ยังเบลอๆ มึนๆ จำเหตุการณ์ อะไรไม่ได้ อยู่เลยค่ะ ทำ CT Scan สมองไม่เจอ ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ ไม่มีเลือดออกในสมอง เลยส่งเอนไซม์ เพื่อดูค่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ปรากฏว่าขึ้นประมาณ 1,500 กว่า ซึ่งปกติต้อง ไม่เกิน 45 คุณหมอดูกราฟแล้วน่าจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบเดิมอยู่แล้ว เลยทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ ปรากฏว่ากล้ามเนื้อหัวใจ ห้องล่างซ้าย บีบตัวไม่ค่อยดีอยู่ที่ประมาณ 53-54 % และ เจอว่าหัวใจ ทางฝั่งซ้าย ค่อนข้างโตกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย จึงได้ ทำการรักษาโดยฉีดสีสวนหัวใจ และพบว่าในผู้ป่วยรายนี้ มีการตีบที่รุนแรง อยู่ 3 จุด ซึ่งจุดที่สำคัญ คือจุดบริเวณขั้วหัวใจ (left main) ตีบเกิน 50% ซึ่งการรักษา สามารถทำได้ 2 วิธี วิธีแรกคือ การผ่าตัดบายพาส และอีกวิธีคือ การทำบอลลูนหัวใจใส่ขดลวด (Stent) ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกาย และความพร้อม ของคนไข้แต่ละคน ว่าวิธีไหนจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ และทีมรักษาได้เลือกวิธีทำบอลลูนหัวใจ ใส่ขดลวด ทั้งหมด 3 เส้น ใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 2 ชั่วโมง คนไข้ ตอนนี้อาการสบายดีแล้วค่ะ..."



อาการวูบหมดสติในคนไข้รายนี้ เกิดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากการวิ่งออกกำลังกายหนัก ทำให้หัวใจเต้นรัว ความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ฮอร์โมนอะดรีนาลีนในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หัวใจเกิดภาวะบีบตัวแรงส่งเลือดมาเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก ทำให้มีอาการจุกแน่นหน้าอกวูบไป และอาจเสียชีวิตได้หากช่วยไม่ทัน ซึ่งการเสียชีวิตขณะวิ่งส่วนมากเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งพบได้ในนักวิ่งที่อาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันอยู่แต่ไม่รู้ตัว จึงทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจต้องการไปเลี้ยงมากขึ้น แต่จู่ๆ หัวใจไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอ ทำให้หัวใจขาดเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจทำงานไม่ได้ การรักษาในผู้ป่วยรายนี้จึงรีบทำการรักษาโดยการฉีดสีสวนหัวใจ เพื่อดูว่ามีหลอดเลือดบริเวณตำแหน่งไหนตีบ เพื่อที่จะได้ทำแนวทางการแก้ไขและรักษาต่อไป

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

คุณสมชาย สอนดี ให้สัมภาษณ์

 

"...ผมเป็นคนที่ชอบวิ่งประจำครับ ไม่เคยตรวจร่างกายประจำปี เมื่อ 3 ปีก่อนเคยหน้ามืด แต่เดินต่อได้ เคยเป็นครั้งเดียว ผมไม่มีโรคประจำตัวนะ ครั้งนี้ผมลงวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร เป็นงานแรก หลังจากหยุดมา 3 ปี เพราะโควิด ผมมีเวลาซ้อมน้อย ช่วงกิโลเมตรที่ 8 วิ่งอยู่บนสะพานที่ 2 ระหว่างหลังสะพานรู้สึกเหนื่อย แล้วหน้ามืดและไม่รู้สึกตัว หลังจากหมดสติได้รับการช่วยด้วยการทำ CPR ผมรู้สึกตัวตอนขึ้นรถพยาบาล ได้ยินเสียงคุณหมอที่เป็นนักวิ่งพูดว่า “ดีใจมากเลยที่ช่วยพี่เขาได้” ผมก็น้ำตาไหลเลยครับ..."

..คิดแค่ว่ามีคนวิ่งชนเราหรือเปล่าคิดแค่นี้เลย ผมลืมตาไม่ขึ้น เจ็บหน้าอก เวียนหัว พูดไม่ได้ ตอนนั้นเราคิดว่าตัวเองมีโอกาสแค่ 50/50 ว่าจะอยู่หรือไป ตอนมาถึงโรงพยาบาลก็เข้าห้องฉุกเฉิน มีเครื่องออกซิเจน เครื่องต่างๆ เต็มตัวเราไปหมดเลย ตอนคุณหมอทำการรักษา ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ ผมรู้สึกตัวนะ ไม่เจ็บเลยครับ

ดีทุกอย่างเลยครับ
ทีมงานและโรงพยาบาลมีความพร้อม โดยที่ไม่ต้องรอเลย รวมถึงระบบการช่วยเหลือ การนำส่ง แม้กระทั่งห้องฉุกเฉิน ห้อง Cath Lab ห้อง CCU คุณหมอ และพยาบาล ถ้าผมไม่สบายอีกผมจะมาที่นี่อีกครับ

 

นพ.สมศักดิ์ เอกปรัชญากุล แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า

"...ตอนมาถึงโรงพยาบาลคุณสมชายรู้สึกตัวแล้วนะครับ ก็เริ่มการตรวจวินิจฉัยคนไข้ EKG มีความผิดปกติ มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เห็นได้จาก EKG ขั้นตอนต่อไปเลยรีบทำการสวนหัวใจฉีดดูว่าเส้นเลือดเป็นยังไง เส้นหัวใจเรามี 3 เส้น 1 ใน 3 เส้นตีบมาก ตีบเกือบตัน เราใช้วิธีการรักษาด้วยการสวนหัวใจ เส้นไหนตีบเราจะเอาสายสวนออกแล้วเอาบอลลูนเข้าไปรอยตามแล้วทำการขยายหลอดเลือดได้เลย หลังจากนั้นเอาขดลวดเข้าไปกางให้เป็นโครงค้ำยันหลอดเลือดไว้ ทั้งหมดทำในขั้นตอนเดียวกัน คนไข้เคสนี้ถือเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นนะครับ ไม่มีเลือดออกจากหัวใจ ไม่มีเลือดขึ้นสมอง ไม่กี่วินาทีก็หมดสติแล้ว การกู้ชีวิตสำคัญมากตั้งแต่ช่วง 5 นาทีแรกหลังหมดสติ ถ้าฟื้นมาได้ก็ต้องรีบทำการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 4 ชั่วโมง..."

เสียงจากผู้รับบริการ

พันเอกอานันท์ สิทธิสงวน

อดีตผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่ว

“มันรู้สึกดีขึ้นอาการต่างๆ มันลดลง ดีขึ้นกว่าเดิม แล้วสามารถเดินเหินได้ไกล”

 

ปกติแล้วก็มีการตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว หลังจากตรวจหมอบอกว่า รู้สึกว่าลิ้นหัวใจเริ่มรั่วแล้วนะ แต่ยังไม่มากยังไม่ต้องทำอะไรรอดูไปก่อน รั่วได้ซัก 3 ปี หมอก็บอกมันเป็นมากแล้วลิ้นชักมีเสียงดังแล้ว รั่วแล้ว ก็เลยถามคุณหมอการรักษามันมีวิธีใดบ้างทำได้กี่วิธี โรงพยาบาลที่ดูแลเราอยู่เนี๊ยะเขาก็มีวิธีการที่ทำอยู่วิธีเดียวก็คือการผ่าตัด วิธีอื่นไม่มีแต่หมอบอกว่าปกติมันมีวิธี 2 วิธี การผ่าตัด การทำTAVI แต่ว่าของเรายังไม่มีเท่านั้นเอง ที่นี้เราก็เอ้ะ ถ้าอย่างนั้นเราจะทำยังไงเรายังกลัวตึกตั๊กๆ ตัดสินใจอะไรยังไม่ได้ขอบอกคุณหมอไปว่า ขอปรึกษากับครอบครัวดูก่อนนะ

ทุกคนก็ลงความเห็นว่าด้วยคุณพ่ออายุเยอะแล้ว 85 ปี ก็ไม่อยากให้เจ็บตัวเยอะก็เลยคิดว่าทำด้วยวิธี TAVI ดีกว่าแล้วก็เป็นวิธีที่ใหม่ ด้วยคุณพ่อที่มีอายุเยอะแล้วการที่เราจะไปผ่าตัดแบบนั้นความเสี่ยงก็จะสูงโดยเฉพาะในเรื่องของการติดเชื้อแล้วเราได้คุยกับคุณหมอก็คิดเหมือนกันว่าวิธีทำด้วย TAVI หนึ่งลดอาการเจ็บตัวคือไม่มีการเจ็บตัวหรือการเจ็บตัวน้อยมากซึ่งคุณพ่อทำออกมาไม่มีเคยบ่นว่ามีการเจ็บแผลหรืออะไรเลยนะคะ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณชื่น อรุณพูลทรัพย์

อดีตผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท

“ตรงขั้วหัวใจ ตรงที่มีหินปูนอุดตัน เป็นเกือบ 80% ขึ้นไป มาที่นี่ไม่ผิดหวัง คืออาจารย์หมอวสันต์ทำให้ดีมากประทับใจครับ”

 

(ลูกชายสัมภาษณ์) มีอาการเกี่ยวกับกรดไหลย้อน คุณหมอบอกว่าเป็นกรดไหลย้อนก็กินยาไปประมาณสองปี แล้วมาวันนึงก็เริ่มแน่นๆ ก็เลยไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่งตรวจเลือดหมอก็บอกว่าเป็นหัวใจไม่ใช่กรดไหลย้อน เลยมาโทรนัดกับรพ.รามคำแหงว่าจะมาปรึกษา ก็ได้พบอาจารย์วสันต์เอาซีดีให้ดู อ.วสันต์ก็บอกว่า อือ...หนักอยู่นะเคสนี้เพราะว่าเส้นมันหายไปแล้วทั้งสองเส้นตรงขั้ว เลยก็ตัดสินใจว่าที่นี่แหละ น่าจะทำได้เพราะว่าเคสนี้มันมีหินปูนอยู่ข้างในด้วย แล้วก็มีที่นี่มีหัวกากเพชร (Rotablator) อะไรเนี๊ยแหละ สามารถทะลวงหินปูนได้ ผมว่าก็น่าจะใช้ได้ตัวนี้น่าจะโอเค คุณหมอเขาก็รับปากว่าทำได้ผมก็เลยตัดสินใจทำที่นี่ 

สองชั่วโมงนิดๆ ก่อนที่จะทำอาจารย์ก็เตรียมพร้อมไว้โดยเรียกเข้าไปคุยอีกทีว่าถ้าเกิดทำแล้วมันไม่สำเร็จก็จะมีทีมแพทย์ผ่าตัดอีกชุดหนึ่งเตรียมพร้อมไว้แล้ว ถ้าไม่สำเร็จจะให้ทีมผ่าเข้าเลย หมอมีความรัดกุมมากเตรียมถึงสองชุด คือมันเป็นทั้งสองเส้นมันมองไม่เห็นมันขาวไปเลยคือเส้นขาดจากกันละ เมื่ออาจารย์ทำเส้นแรกเสร็จแกก็จะเรียกให้เข้าไปดูว่า ก่อนทำกับหลังทำแล้วเลือดนี่วิ่งดีมากเลย

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปิยะ สุวรรวารี

อดีตผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ

“เป็นเคสที่ค่อนข้างยาก เพราะว่าทำมาแล้วสองครั้งไม่สำเร็จ แต่ก็มีโอกาส

 

ผมตรวจเลือดตรวจไขมันในเส้นเลือดตั้งแต่อายุประมาณ 35 ปี ปรากฏว่าค่าไขมันในเส้นเลือดสูง แต่เราก็คิดว่าเราออกกำลังกายคุมอาหารก็น่าจะช่วยได้แล้วคิดว่าอายุยังน้อย และเราก็ยังไม่อยากทานยา ยังใช้ชีวิตแบบนั้นจนมาอายุประมาณ 50 จนเมื่อปลายปีที่แล้ว รู้สึกว่าค่าไขมันมันสูงมานานละเริ่มไม่สบายใจก็เลยเข้าไปที่โรงพยาบาลนึงขอตรวจ CT scan ซึ่งเราหาข้อมูลมาว่าตรวจด้วยวิธีไหนได้บ้าง ปรากฏว่าค่า CT scan มันสูงเกินปกติ ซึ่งค่าความเสี่ยงอยู่ที่ประมาณตัวเลข 400 แต่ของผมเนี่ย 1,100 แสดงว่าหลอดเลือดหัวใจน่าจะมีปัญหาละ แต่เราก็ยังไม่ทำอะไรก็ยังใช้ชีวิตปกติ ผมได้มีโอกาสไปแข่งบาสอาวุโสที่เชียงใหม่เพื่อนร่วมทีมมาเล่าให้ฟังทีหลังว่านั่นแหละเกิดอาการฮาร์ท แอทแทค (Heart Attach) ช่วงที่นั่งพัก เกิดอาหารหายใจเต้นแผ่วแล้วในที่สุดก็หยุดหายใจ แต่โชคดีที่ว่าในโรงยิมมีคุณหมอหัวใจเป็นนักกีฬาอยู่ในสนามท่านก็เลยพยายามทำ CPR จนกระทั่งมีหน่วยกู้ภัยนำเครื่อง AED มาช็อตหัวใจแล้วก็รีบนำส่งโรงพยาบาลที่เชียงใหม่ปรากฏว่าคืนนั้นก็ได้ทำบอลลูนสองเส้น เส้นซ้ายเนี่ยตัน 80% ทำสำเร็จ เส้นขวาเนี่ยตัน 99% คืนนั้นทำไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อยๆ ก็ปลอดภัยระดับหนึ่ง

พอกลับมากรุงเทพฯ ผมก็ยังกังวลอยู่ว่าเส้นขวายังตีบอยู่ผมก็เลยไปทำลองทำบอลลูนอีกที่โรงพยาบาลหนึ่งก็ยังไม่สำเร็จอีก จนกระทั่งได้ชื่อนพ.วสันต์มาเราก็ดูประวัติการรักษาวิธีการรักษาว่าในกรณีนี้แบบนี้ท่านมีวิธีการทำอย่างไร เสร็จแล้วก็มาหาต่อว่าท่านทำที่โรงพยาบาลไหนบ้าง พอได้เข้ามาคุยอาจารย์หมอก็แนะนำว่ามันเป็นเคสที่ค่อนข้างยากเพราะว่าทำมาแล้วสองครั้งไม่สำเร็จแต่ก็มีโอกาส เพราะฉะนั้นโอกาสมีมากน้อยแค่ไหนเนี่ยต้องลองฉีดสีดูถึงจะตอบได้ เพราะฉะนั้นถ้าฉีดสีดูแล้วมีความเป็นไปได้สูงก็จะทำเลย ก็เริ่มเข้ามาเตรียมตัวเตรียมร่างกายเข้าห้องประมาณ 3 ทุ่ม พอฉีดเสร็จคุณหมอก็ดูแล้วความเป็นไปได้สูงที่จะทำก็คืนนั้นก็ทำเลย ซึ่งเคสปกติอาจจะใช้เวลาไม่นานเพราะว่าบอลลูนอาจจะใช้เวลาไม่นาน แต่ของผมหลังจากที่ทำเสร็จแล้ว คุณหมออุทัยที่เข้าเคสด้วยบอกว่าเป็นกรณีค่อนข้างยากในรอบหลายปี คืนนั้นใช้เวลาไปประมาณ 5 ชั่วโมงถึงสำเร็จ ก็ได้เส้นเลือดหัวใจเส้นขวากลับมาเป็นปกติ เพราะฉะนั้นตอนนี้ผมก็เลยมีหลอดเลือดหัวใจครบสามเส้นตามปกติแล้วครับ สภาพร่างกายตอนนี้ปกติดี เดินเหินได้ตามปกติ แล้วก็เริ่มออกกำลังกายได้เล็กน้อยครับ

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณ กมลรัตน์ ดีมาก

อดีตผู้ป่วยหัวใจโต

 “...เหมือนชีวิตตายแล้วเกิดใหม่นะคะ ตอนนั้นเราเหมือนตายไปแล้วด้วยซ้ำ พอเรากลับมารักษาแล้วได้เหมือนเดิมก็รู้สึกว่าเราเหมือนกลับมาแข็งแรงเป็นเด็กปกติอีกครั้งเพราะว่าตอนนั้นคือให้คีโม ทำให้ผมร่วง ทำให้หัวใจวายจนไม่คิดว่าจะกลับมาดีเหมือนอย่างทุกวันนี้อยากจะขอบคุณ คุณหมอทุกๆ ท่านที่รักษาหนูมาตั้งแต่ที่หนูเป็นแพ้ภูมิตัวเอง มาเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลือง  จนมาเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว อยากจะขอบคุณจริงๆ เลยค่ะที่ให้ชีวิตใหม่...”

 

เริ่มแรกมีอาการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะทำให้ไข้ขึ้นสูงและอาเจียนไม่หยุด จนเกิดอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและเกิดเป็นจ้ำที่แขนซึ่งพอไม่นานก็เกิดเป็นก้อนขึ้นที่ขา จนรู้สึกว่าจะเดินไม่ไหวก็กลับไปตรวจอีกรอบโดยการตัดชิ้นเนื้อไปวิเคราะห์และผลปรากฏว่าเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวต้องเข้ารับการรักษาโดยเคมีบำบัดเรื่อยไปอีกกว่า 6 เดือนอาการจึงดีขึ้นโดยปราศจากเชื้อมะเร็ง

 

แต่หลังจากนั้นอีกเพียง 3 เดือนก็เกิดอาการแบบใหม่อีกคือนอนราบไม่ได้เพราะจะหายใจได้ไม่คล่อง มีทั้งอาเจียน นอนไม่หลับ โดย “คุณหมอบัณฑิตา” ได้เริ่มจากการประเมินส่งเข้ารับการตรวจเอกซเรย์และพบว่าลักษณะของหัวใจโตผิดปกติซึ่งปกติแล้วจะมีขนาดไม่เกินครึ่งหนึ่งของทรวงอก แต่ในรายนี้โตไปเกือบเต็มในส่วนของช่องทรวงอกด้านซ้าย อีกทั้งยังมีลักษณะของเส้นเลือดบ่งบอกถึงภาวะน้ำท่วมปอดด้วย นอกจากนี้ยังได้ตรวจวัดด้วยคลื่นเสียงสะท้อน หรือที่เรียกว่า “เอคโคหัวใจ” และพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงสามารถทำงานได้แค่ 29% รวมกับมีลิ้นหัวใจรั่วอันเกิดจากโครงสร้างหัวใจที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้เกิดอาการเหนื่อยมากในวันที่คนไข้มาโรงพยาบาล แต่ภายหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยการปรับยาและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจแล้วตรวจซ้ำก็พบว่าขนาดของหัวใจได้เล็กลงจนใกล้เคียงกว่าปกติโดยไม่มีภาวะของน้ำท่วมปอดอีก พร้อมทั้งปรับยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจจนแข็งแรงขึ้นจึงอนุญาตให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปใช้ชีวิตประจำวัน ไปเรียนหนังสือได้

 

 

หลังจากนั้นคุณแม่ได้มาปรึกษาคุณหมอเพื่อหารือในเรื่องของกิจกรรมที่บุตรสาวเคยทำได้ก่อนหน้านี้กับเพื่อนๆ ที่แข็งแรงนั้น ยังไม่มีความมั่นใจเพียงพอที่จะกล้ากลับไปทำได้ดั้งเดิม “คุณหมอบัณฑิตา” จึงได้แนะนำให้เข้ารับการทดสอบด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า VOMax ที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการวัดสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งจะใช้การปั่นจักรยานบกหรือการวิ่งสายพานเป็นอุปกรณ์หลักให้ผู้เข้ารับการทดสอบออกแรงปั่นหรือวิ่ง ซึ่งปรากฏว่าผลการตรวจระบุว่าสมรรถภาพหัวใจของ “น้องกมลรัตน์” ค่อนข้างแข็งแรง คุณหมอจึงได้แนะนำในส่วนของการออกกำลังกายในขั้นต่อไปโดยเจ้าตัวได้นำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวัน และล่าสุดก็สามารถเล่นกีฬา เล่นพละได้เท่ากับเพื่อนๆ แล้ว อีกทั้งยังสามารถไปประกวดร้องเพลงได้สมความตั้งใจอีกต่างหาก

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณนพมาศ นิติประสงค์

อดีตคนใข้หลอดเลือดหัวใจตีบ

“ ปกติเคยขึ้นบันไดได้วันละหลายรอบ อยู่ ๆ ก็เหนื่อยง่ายจนไม่สามารถขึ้นบันไดบ่อย ๆ ได้เหมือนเดิม แถมยังปวดต้นคอ กราม และหนักหัวอยู่เรื่อย ๆ เป็นอย่างนี้อยู่ 2-3 วัน วันหนึ่งกำลังคุยอยู่กับเพื่อนบ้านก็รู้สึกเหนื่อยมาก หน้าซีด จนหลานต้องรีบพามาส่งโรงพยาบาลรามคำแหง ”

 

นี่คืออาการเริ่มต้นของคุณนพมาศ นิติประสงค์ ผู้ที่ไม่คาดคิดว่าความดันต่ำจะมีผลกับชีวิตขนาดนี้
.
หลังจากที่หมอได้ทำการซักประวัติและวัดความดันแล้ว พบว่าคุณนพมาศ ความดันต่ำมากจนอยู่ในระดับที่จะเกิดการช็อคจากเลือดไหลเวียนไม่พอได้ คุณหมอตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม จึงพบว่า มีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน และส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ “ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นชัาผิดปกติชนิดรุนแรง” ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน 
.
หลังจากคุณหมอแก้ไขภาวะความดันต่ำที่เป็นอันตรายให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้แล้ว ก็ทำการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่โครงค้ำยันให้เลือดกลับมาเลี้ยงหัวใจได้อีกครั้งนั่นเองครับ
.
ด้วยการรักษาที่ทันท่วงที ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่พร้อม จึงทำให้คุณนพมาศพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 3 วันเท่านั้น และหลังจากนั้นก็นัดมาตรวจอาการเป็นระยะๆ จนตอนนี้คุณนพมาศสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติได้อีกครั้ง โดยอาการดังกล่าวเป็นอาการที่ค่อนข้างรุนแรง หากตัดสินใจผิดพลาดไปอาจส่งผลให้เกิดผลร้ายกับร่างกาย หรือสูญเสียได้ ฉะนั้นไม่ว่าจะมีอาการความดันสูงหรือความดันต่ำ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากหมอราม

เสียงจากผู้รับบริการ

พ.ต.ท. จักรกฤษณ์ ท้วมโสภา

อดีตคนไข้หลอดเลือดในสมองตีบ

“ในขณะที่นั่งมามีอาการเวียนหัวอยู่ตลอดและปวดหัวมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมาถึงก็เข้าไปตรวจกับหมอหู ตา คอ จมูก หมอก็เช็คว่าน้ำในหูเท่ากันหรือเปล่า ผลออกมาว่าปกติ โชคดีที่หมอสงสัยเพิ่มจึงส่งไปตรวจต่อที่หมอระบบประสาท ผลสรุปว่าความดันผมขึ้น ร่วมกับมีอาการปากตกเล็กน้อย จึงถูกส่งเข้า MRI ผลออกมาปรากฏว่าผมมีปัญหาที่หลอดเลือดสมองต้องทำการรักษาโดยด่วน จากนั้นหมอก็เข้ามาอธิบายถึงวิธีรักษา พอผมตกลง หมอก็ทำการรักษาทันทีด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 6 ชม. อาการเวียนหัวของผมก็หายไป โชคดีนะครับที่ผมมาทันเวลาและคุณหมอช่วยกันดูแลผมอย่างใส่ใจ ไม่งั้นผมคงเป็นอัมพาตไปแล้ว ”
.
สำหรับกรณีของพ.ต.ท. จักรกฤษณ์ ถือว่าโชคดีมาก  ที่รู้ตัวเองและมาเข้ารับการรักษาได้ทัน หากสมองขาดเลือดเกิน 3 ชม. จะทำให้การฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นทุกคนควรสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ชิดอยู่เสมอ หากมีอาการแขน-ขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง พูดไม่ชัด เสียสมดุลทางการเดิน การมองเห็นลดลง หรือมีอาการเวียนหัว ชามือ อ่อนแรง เพียงชั่วคราวแล้วหายไปเอง อาการเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะคนไข้หลอดเลือดสมองแบบอุดตัน บางส่วนจะมีอาการแค่บางครั้ง หรือที่เรียกว่า TIA หากใครที่รู้ตัวว่ามีอาการเหล่านี้ อย่าปล่อยไว้ควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วนนะครับ

  • มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ ใกล้ตัวเราแค่ไหน?

  • เหนื่อยง่าย ใจสั่น ใจเต้นแรง ขาบวม สัญญาณเตือน “โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง”

  • เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หายใจหอบ เสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

  • ภาพบรรยากาศงานสัมมนา และ Workshop “ภาวะ วูบ หมดสติ”

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากอะไร?

  • ภาวะหัวใจล้มเหลว ขณะออกกำลังกาย

  • ใจเต้นแบบไหนไม่ควรมองข้าม

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ภัยเงียบอย่ามองข้าม

  • เชียร์กีฬาปลอดภัย ไม่เสี่ยงหัวใจวาย

  • อายุน้อยก็ “เสี่ยง” โรคหัวใจได้

  • เจ็บแน่นหน้าอกแบบไหน กรดไหลย้อนหรือโรคหัวใจ

  • เทคโนโลยีการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัด

  • อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ

  • TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัด

  • เทคโนโลยี VO2 MAX คืออะไร?

  • TAVI เปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

  • สัญญาณอันตราย ของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

  • ความเครียด ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคหัวใจ

  • เทคโนโลยีการพัฒนาสมรรถภาพหัวใจ VO2 MAX

  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสุธี รังสาคร

 

ผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น และติดเชื้อโควิด-19

คุณจัสมิน รังสาคร ลูกชายให้สัมภาษณ์

 

“ให้การรักษาแบบเข้าใจง่ายแบบอธิบายให้เข้าใจ เห็นภาพ แล้วก็รักษาไว รวดเร็วมาก”

 

คุณพ่อมีอาการแน่นหน้าอก เหมือนกินข้าวแล้วกลืนไม่ลงก็คือเป็นมาก็สักพัก ประมาณ 2 อาทิตย์ เขาก็คิดว่านอนน้อย หรือแบบว่าเป็นกรดไหลย้อนอะไรหรือเปล่า ก็ลองนอนพักเยอะขึ้น ก็ยังไม่ดี ทีนี้คือแน่นหน้าอกตลอด นอนไม่หลับ นอนไม่ได้ครับ ก็คือพอมาทราบทีหลังเหมือนเป็นอาการน้ำใกล้จะท่วมปอด เพราะเขานอนราบแล้วมันจะแน่น คือนอนไม่ได้เลย กลางคืนก็ไม่หลับ เช้าก็ไม่หลับ ก็จนคืนนั้นคุณพ่ออาการไม่ไหวแล้ว คือหายใจไม่ไหว ก็เลยไปโรงพยาบาลกันครับ โดยตรวจพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น รักษาด้วยการผ่าตัดทำบอลลูนครับ และในช่วงนั่นประจวบเหมาะกับช่วงโอไมครอนกำลังระบาดแล้วคุณพ่อติดโควิด แต่ก็ถือว่าดีที่สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีเพราะช่วงนั่นหาเตียงยากครับ

 

หมอคือดูแลดีครับ เครื่องมือทันสมัย พร้อมทุกอย่างแล้วก็ให้คำแนะนำดีครับ ให้คำแนะนำในการรักษาดีว่าควรจะทำยังไงต่อไป ให้การรักษาแบบเข้าใจง่ายแบบอธิบายเข้าใจ เห็นภาพ แล้วก็รักษาไว รวดเร็วมาก แปปเดียวคุณพ่อเข็นออกมาแล้วครับ สุดท้ายที่อยากฝากนะครับ เรื่องของสุขภาพต้องตรวจสุขภาพเป็นประจำหน่อย ถ้าเราไม่ดูแลตัวเอง ก็ต้องหันมาตรวจสุขภาพ และที่อยากฝากอีกเรื่องนึงที่สำคัญคือ บางทีโรคหัวใจนี่มันอันตรายตรงที่มันสะสมครับ คิดว่ามันมองเป็นกรดไหลย้อนก็ได้ มองเป็นอย่างอื่นก็ได้ ถ้าเป็นเนิ่น ๆ ตอนที่ยังเดินไหวรีบไปดีกว่า อย่าให้แบบนอนแล้วขึ้นเปลไปมันจะไม่ทันครับ 

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณทุเรียน บุญยืน

 

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจตีบและหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 

คุณศักดิ์ชาย ดอกน้ำไม้ ให้สัมภาษณ์

 

“....ใช้เทคนิคสมัยใหม่ที่เสี่ยงน้อยหน่อยดูจากวิดีโอแล้วปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเดิมเยอะ เสร็จแล้วก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวหนึ่งสัปดาห์ก็จะกลับบ้าน...”

 

ก่อนที่จะเกิดอาการเหนื่อยคุณตาท่านนอนไม่ค่อยหลับ เพราะไปตรากตรำมาทั้งวัน ไปไหนต่อไหนจนไม่ได้พักผ่อน ก็เลยเกิดไม่มีแรง ก็เลยต้องพาไปเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเหนื่อยจากอะไร แต่เคยบอกว่า คุณหมอที่เคยตรวจแจ้งไว้ว่ามีลิ้นหัวใจรั่วมานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้รักษา กินยาเฉพาะในเรื่องของกระดูกทับเส้นที่ต้นคอ โรคลมชัก และต่อมลูกหมากโต แต่ในเรื่องของลิ้นหัวใจ ท่านไม่ได้สนใจว่ามันจะเป็นอะไร เพราะว่ายังทำนู่นทำนี่ได้ปกติ ในช่วงนั้นมีการพักผ่อนไม่เพียงพอ แล้วก็ไปตรากตรำมากก็เลยเกิดอาการเหนื่อยหอบ เเล้วก็หายใจไม่เต็มอิ่ม ก็เลยพาไปเข้าโรงพยาบาลแห่งแรก แต่เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องของโควิด-19 ระบาดก็เลยยังไม่สามารถตรวจหาสาเหตุต่างๆ ของอาการเหนื่อยได้ จึงต้องรอไปอีกหลายวัน อาการก็หนักขึ้นเรื่อยๆ คนไข้ก็ไม่ยอมกินอะไร ร่างกายก็ทรุดลงไปเรื่อยๆ และพอดีมีคนแนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาลรามคำแหง ซึ่งเขาเคยมารักษาและมีญาติเคยมาเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ก็เลยติดต่อโรงพยาบาลรามคำแหงให้ส่งรถ Ambulance มารับ โดยนำข้อมูลการตรวจติดไปด้วยเลย ซึ่งคุณหมอมาตรวจแล้วพบว่าท่านมีอาการน้ำท่วมปอดจากหัวใจล้มเหลวสาเหตุในเบื้องต้นเกิดจากลิ้นหัวใจตีบขั้นรุนแรง

 

อย่างไรก็ตามอาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสาเหตุร่วมอยู่ด้วยก็ได้ จากนั้นอีกสามวันต่อมาเมื่อคุณลุงมีอาการดีขึ้น ก็มาพาคุณลุงไปฉีดสี ก็พบว่าคุณลุงมีหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วยจริงๆ จึงแนะนำให้คุณลุงทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ จึงตัดสินใจทำในวันนั้นเลย ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็เสร็จแล้ว ออกมาพูดคุยได้ตามปกติ ก็ตั้งใจว่าจะพักฟื้นจนดีแล้วค่อยรักษาลิ้นหัวใจตีบ แต่ระหว่างรอนั้นเกิดอาการน้ำท่วมปอดขึ้นมาอีก จึงต้องอยู่รักษาต่อ เลยต้องพักอยู่ที่โรงพยาบาลจนกระทั่งเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เพราะว่าถ้ากลับออกไป ก็จะมีปัญหาลักษณะเดิมอีก

 

ส่วนเรื่องการผ่าตัดลิ้นหัวใจ คือต้องบอกว่าไม่ใช่เป็นการผ่าตัดใหญ่เลย แต่ใช้วิธีสอดสายนำลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปครอบลิ้นเดิม โดยไม่ต้องเอาลิ้นเดิมออก คือใช้เทคนิคสมัยใหม่ที่เสี่ยงน้อยหน่อยดูจากวิดีโอแล้วปลอดภัยกว่าการผ่าตัดแบบเดิมเยอะ เสร็จแล้วก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวหนึ่งสัปดาห์ก็จะกลับบ้าน ปรากฏว่าระหว่างรอกลับบ้านท่านมีอาการหน้ามืดจะเป็นลมโชคดีที่เกิดขึ้นขณะอยู่ใน CCU ตรวจพบว่าหัวใจเต้นช้ามาก คุณหมอบัญชาจึงแนะนำให้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจโดยด่วน หลังจากใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแล้วท่านก็รู้สึกตัวดีสามารถพูดและยิ้มได้ ผมก็เลยโล่งอกครับหลังจากนั้นก็พักฟื้นในโรงพยาบาลอีกราวอาทิตย์หนึ่งก็กลับบ้าน และคุณหมอนัดว่าอีกหนึ่งเดือนให้มาตรวจติดตามผลการรักษา ปรากฏว่าในช่วงก่อนมาตรวจ ท่านก็บอกว่ามีอาการวูบวาบอยู่เรื่อย ซึ่งพอถึงวันนัดก็เลยได้รับการตรวจจากคุณหมอบัญชา และคุณหมอได้ให้ติดเครื่อง Holter ติดตัวไว้ 2 วัน เพื่อวัดการเต้นของหัวใจ ผลปรากฏว่าท่านมีหัวใจเต้นผิดปกติทั้งเวลาหลับและเวลาตื่น ซึ่งคุณหมอบอกว่าอาการนี้อาจทำให้เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้ คุณหมอก็เลยให้ยามาทาน หลังทานยาก็ไม่มีอาการดังกล่าวอีกเลย ตอนนี้ก็ยังทานยาต่อเนื่องอยู่และไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสมหมาย พรหมสถาพร

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

คุณสมหมาย พรหมสถาพร ให้สัมภาษณ์

 

"...โรคประจำตัวผมไม่มีครับ ผมเป็นคนชอบวิ่ง ชอบออกกำลังกายครับ ตรวจสุขภาพประจำปี พบคลอเรสเตอรอลสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง  หลังจากออกกำลังกายและกลับไปตรวจใหม่ปรากฏว่าลง แต่ผมไม่เคยตรวจเกี่ยวกับเรื่องหัวใจ ระหว่างที่ผมวิ่งได้ระยะที่ 19 กิโลเมตร ผมไม่มีอาการเตือนอะไรเลยครับ หายใจได้ปกติ ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ภาพดับ ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้เลย ตอนคุณหมอทำการฉีดสีตอนทำการผ่าตัดผมรู้สึกตัวแต่ผมจำเหตุการณ์ไม่ได้ครับ ฟื้นมายังตกใจอยู่เลย ผมถามภรรยาว่าเราเข้าเส้นชัยไหม แล้วเสื้อผมหล่ะ แล้วเหรียญผมหล่ะ..."

 

ผมคิดว่าคงไม่เกิดกับผม เพราะว่าผมผ่าน 21 กิโลเมตร มาหลายรอบและซ้อมตลอด คิดว่าน่าจะวิ่งได้เพราะวิ่งประจำ ผมรู้นะว่าการแข่งขันมันมีความเสี่ยง แต่ผมเต็มใจที่จะวิ่ง กล้าที่จะวิ่ง เลยมองข้างตรงนั้นไปครับ คิดว่าน่าจะไม่เป็นอะไร ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราไม่คาดฝันมาก่อนเลยครับ

 

ผมรู้สึกดีที่รอดมาได้ครับ เพราะเรายังมีครอบครัว มีภรรยาที่รักเราอยู่ พี่น้อง เพื่อน สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ ขอบคุณทีมงานที่ทำให้ผมมีชีวิตฟื้นกลับมาอย่างดี ผมอาจจะใช้ชีวิตเอ็กซ์ตรีมเกินไป แต่ผมไม่กลัวที่จะใช้ชีวิตนะครับ แต่การได้ฟื้นกลับมาผมรู้สึกดี อยากฝากไปถึงคนที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพว่า อยากให้ฟังคุณหมอครับ ออกกำลังการไปทีละสเต็ป อย่าเพิ่งก้าวกระโดด อย่าใช้ชีวิตที่มันเอ็กซ์ตรีมเกินไป ใช้ชีวิตให้พอดีครับ

 

พญ.ไพลิน พาสพิษณุ แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า

"...ดูจากกราฟหัวใจ พบว่ามีร่องรอยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายมาก่อนค่ะ ตอนหมอเจอคนไข้ยังเบลอๆ มึนๆ จำเหตุการณ์ อะไรไม่ได้ อยู่เลยค่ะ ทำ CT Scan สมองไม่เจอ ภาวะเส้นเลือดสมองตีบ ไม่มีเลือดออกในสมอง เลยส่งเอนไซม์ เพื่อดูค่าการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ปรากฏว่าขึ้นประมาณ 1,500 กว่า ซึ่งปกติต้อง ไม่เกิน 45 คุณหมอดูกราฟแล้วน่าจะมีเส้นเลือดหัวใจตีบเดิมอยู่แล้ว เลยทำอัลตร้าซาวด์หัวใจ ปรากฏว่ากล้ามเนื้อหัวใจ ห้องล่างซ้าย บีบตัวไม่ค่อยดีอยู่ที่ประมาณ 53-54 % และ เจอว่าหัวใจ ทางฝั่งซ้าย ค่อนข้างโตกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย จึงได้ ทำการรักษาโดยฉีดสีสวนหัวใจ และพบว่าในผู้ป่วยรายนี้ มีการตีบที่รุนแรง อยู่ 3 จุด ซึ่งจุดที่สำคัญ คือจุดบริเวณขั้วหัวใจ (left main) ตีบเกิน 50% ซึ่งการรักษา สามารถทำได้ 2 วิธี วิธีแรกคือ การผ่าตัดบายพาส และอีกวิธีคือ การทำบอลลูนหัวใจใส่ขดลวด (Stent) ซึ่งมีทั้งข้อดี และข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกาย และความพร้อม ของคนไข้แต่ละคน ว่าวิธีไหนจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ และทีมรักษาได้เลือกวิธีทำบอลลูนหัวใจ ใส่ขดลวด ทั้งหมด 3 เส้น ใช้เวลาทั้งหมด ประมาณ 2 ชั่วโมง คนไข้ ตอนนี้อาการสบายดีแล้วค่ะ..."



อาการวูบหมดสติในคนไข้รายนี้ เกิดจากภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งเกิดจากการวิ่งออกกำลังกายหนัก ทำให้หัวใจเต้นรัว ความดันเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ฮอร์โมนอะดรีนาลีนในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หัวใจเกิดภาวะบีบตัวแรงส่งเลือดมาเลี้ยงหัวใจไม่สะดวก ทำให้มีอาการจุกแน่นหน้าอกวูบไป และอาจเสียชีวิตได้หากช่วยไม่ทัน ซึ่งการเสียชีวิตขณะวิ่งส่วนมากเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งพบได้ในนักวิ่งที่อาจมีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันอยู่แต่ไม่รู้ตัว จึงทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เนื่องจากหัวใจต้องการไปเลี้ยงมากขึ้น แต่จู่ๆ หัวใจไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงไม่พอ ทำให้หัวใจขาดเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจทำงานไม่ได้ การรักษาในผู้ป่วยรายนี้จึงรีบทำการรักษาโดยการฉีดสีสวนหัวใจ เพื่อดูว่ามีหลอดเลือดบริเวณตำแหน่งไหนตีบ เพื่อที่จะได้ทำแนวทางการแก้ไขและรักษาต่อไป

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

อดีตผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวขณะวิ่ง

คุณสมชาย สอนดี ให้สัมภาษณ์

 

"...ผมเป็นคนที่ชอบวิ่งประจำครับ ไม่เคยตรวจร่างกายประจำปี เมื่อ 3 ปีก่อนเคยหน้ามืด แต่เดินต่อได้ เคยเป็นครั้งเดียว ผมไม่มีโรคประจำตัวนะ ครั้งนี้ผมลงวิ่งฮาล์ฟมาราธอน 21.1 กิโลเมตร เป็นงานแรก หลังจากหยุดมา 3 ปี เพราะโควิด ผมมีเวลาซ้อมน้อย ช่วงกิโลเมตรที่ 8 วิ่งอยู่บนสะพานที่ 2 ระหว่างหลังสะพานรู้สึกเหนื่อย แล้วหน้ามืดและไม่รู้สึกตัว หลังจากหมดสติได้รับการช่วยด้วยการทำ CPR ผมรู้สึกตัวตอนขึ้นรถพยาบาล ได้ยินเสียงคุณหมอที่เป็นนักวิ่งพูดว่า “ดีใจมากเลยที่ช่วยพี่เขาได้” ผมก็น้ำตาไหลเลยครับ..."

..คิดแค่ว่ามีคนวิ่งชนเราหรือเปล่าคิดแค่นี้เลย ผมลืมตาไม่ขึ้น เจ็บหน้าอก เวียนหัว พูดไม่ได้ ตอนนั้นเราคิดว่าตัวเองมีโอกาสแค่ 50/50 ว่าจะอยู่หรือไป ตอนมาถึงโรงพยาบาลก็เข้าห้องฉุกเฉิน มีเครื่องออกซิเจน เครื่องต่างๆ เต็มตัวเราไปหมดเลย ตอนคุณหมอทำการรักษา ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ ผมรู้สึกตัวนะ ไม่เจ็บเลยครับ

ดีทุกอย่างเลยครับ
ทีมงานและโรงพยาบาลมีความพร้อม โดยที่ไม่ต้องรอเลย รวมถึงระบบการช่วยเหลือ การนำส่ง แม้กระทั่งห้องฉุกเฉิน ห้อง Cath Lab ห้อง CCU คุณหมอ และพยาบาล ถ้าผมไม่สบายอีกผมจะมาที่นี่อีกครับ

 

นพ.สมศักดิ์ เอกปรัชญากุล แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า

"...ตอนมาถึงโรงพยาบาลคุณสมชายรู้สึกตัวแล้วนะครับ ก็เริ่มการตรวจวินิจฉัยคนไข้ EKG มีความผิดปกติ มีโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เห็นได้จาก EKG ขั้นตอนต่อไปเลยรีบทำการสวนหัวใจฉีดดูว่าเส้นเลือดเป็นยังไง เส้นหัวใจเรามี 3 เส้น 1 ใน 3 เส้นตีบมาก ตีบเกือบตัน เราใช้วิธีการรักษาด้วยการสวนหัวใจ เส้นไหนตีบเราจะเอาสายสวนออกแล้วเอาบอลลูนเข้าไปรอยตามแล้วทำการขยายหลอดเลือดได้เลย หลังจากนั้นเอาขดลวดเข้าไปกางให้เป็นโครงค้ำยันหลอดเลือดไว้ ทั้งหมดทำในขั้นตอนเดียวกัน คนไข้เคสนี้ถือเป็นภาวะหัวใจหยุดเต้นนะครับ ไม่มีเลือดออกจากหัวใจ ไม่มีเลือดขึ้นสมอง ไม่กี่วินาทีก็หมดสติแล้ว การกู้ชีวิตสำคัญมากตั้งแต่ช่วง 5 นาทีแรกหลังหมดสติ ถ้าฟื้นมาได้ก็ต้องรีบทำการขยายหลอดเลือดหัวใจภายใน 4 ชั่วโมง..."

เสียงจากผู้รับบริการ

พันเอกอานันท์ สิทธิสงวน

อดีตผู้ป่วยลิ้นหัวใจรั่ว

“มันรู้สึกดีขึ้นอาการต่างๆ มันลดลง ดีขึ้นกว่าเดิม แล้วสามารถเดินเหินได้ไกล”

 

ปกติแล้วก็มีการตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว หลังจากตรวจหมอบอกว่า รู้สึกว่าลิ้นหัวใจเริ่มรั่วแล้วนะ แต่ยังไม่มากยังไม่ต้องทำอะไรรอดูไปก่อน รั่วได้ซัก 3 ปี หมอก็บอกมันเป็นมากแล้วลิ้นชักมีเสียงดังแล้ว รั่วแล้ว ก็เลยถามคุณหมอการรักษามันมีวิธีใดบ้างทำได้กี่วิธี โรงพยาบาลที่ดูแลเราอยู่เนี๊ยะเขาก็มีวิธีการที่ทำอยู่วิธีเดียวก็คือการผ่าตัด วิธีอื่นไม่มีแต่หมอบอกว่าปกติมันมีวิธี 2 วิธี การผ่าตัด การทำTAVI แต่ว่าของเรายังไม่มีเท่านั้นเอง ที่นี้เราก็เอ้ะ ถ้าอย่างนั้นเราจะทำยังไงเรายังกลัวตึกตั๊กๆ ตัดสินใจอะไรยังไม่ได้ขอบอกคุณหมอไปว่า ขอปรึกษากับครอบครัวดูก่อนนะ

ทุกคนก็ลงความเห็นว่าด้วยคุณพ่ออายุเยอะแล้ว 85 ปี ก็ไม่อยากให้เจ็บตัวเยอะก็เลยคิดว่าทำด้วยวิธี TAVI ดีกว่าแล้วก็เป็นวิธีที่ใหม่ ด้วยคุณพ่อที่มีอายุเยอะแล้วการที่เราจะไปผ่าตัดแบบนั้นความเสี่ยงก็จะสูงโดยเฉพาะในเรื่องของการติดเชื้อแล้วเราได้คุยกับคุณหมอก็คิดเหมือนกันว่าวิธีทำด้วย TAVI หนึ่งลดอาการเจ็บตัวคือไม่มีการเจ็บตัวหรือการเจ็บตัวน้อยมากซึ่งคุณพ่อทำออกมาไม่มีเคยบ่นว่ามีการเจ็บแผลหรืออะไรเลยนะคะ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณชื่น อรุณพูลทรัพย์

อดีตผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบสนิท

“ตรงขั้วหัวใจ ตรงที่มีหินปูนอุดตัน เป็นเกือบ 80% ขึ้นไป มาที่นี่ไม่ผิดหวัง คืออาจารย์หมอวสันต์ทำให้ดีมากประทับใจครับ”

 

(ลูกชายสัมภาษณ์) มีอาการเกี่ยวกับกรดไหลย้อน คุณหมอบอกว่าเป็นกรดไหลย้อนก็กินยาไปประมาณสองปี แล้วมาวันนึงก็เริ่มแน่นๆ ก็เลยไปโรงพยาบาลแห่งหนึ่งตรวจเลือดหมอก็บอกว่าเป็นหัวใจไม่ใช่กรดไหลย้อน เลยมาโทรนัดกับรพ.รามคำแหงว่าจะมาปรึกษา ก็ได้พบอาจารย์วสันต์เอาซีดีให้ดู อ.วสันต์ก็บอกว่า อือ...หนักอยู่นะเคสนี้เพราะว่าเส้นมันหายไปแล้วทั้งสองเส้นตรงขั้ว เลยก็ตัดสินใจว่าที่นี่แหละ น่าจะทำได้เพราะว่าเคสนี้มันมีหินปูนอยู่ข้างในด้วย แล้วก็มีที่นี่มีหัวกากเพชร (Rotablator) อะไรเนี๊ยแหละ สามารถทะลวงหินปูนได้ ผมว่าก็น่าจะใช้ได้ตัวนี้น่าจะโอเค คุณหมอเขาก็รับปากว่าทำได้ผมก็เลยตัดสินใจทำที่นี่ 

สองชั่วโมงนิดๆ ก่อนที่จะทำอาจารย์ก็เตรียมพร้อมไว้โดยเรียกเข้าไปคุยอีกทีว่าถ้าเกิดทำแล้วมันไม่สำเร็จก็จะมีทีมแพทย์ผ่าตัดอีกชุดหนึ่งเตรียมพร้อมไว้แล้ว ถ้าไม่สำเร็จจะให้ทีมผ่าเข้าเลย หมอมีความรัดกุมมากเตรียมถึงสองชุด คือมันเป็นทั้งสองเส้นมันมองไม่เห็นมันขาวไปเลยคือเส้นขาดจากกันละ เมื่ออาจารย์ทำเส้นแรกเสร็จแกก็จะเรียกให้เข้าไปดูว่า ก่อนทำกับหลังทำแล้วเลือดนี่วิ่งดีมากเลย

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปิยะ สุวรรวารี

อดีตผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจตีบ

“เป็นเคสที่ค่อนข้างยาก เพราะว่าทำมาแล้วสองครั้งไม่สำเร็จ แต่ก็มีโอกาส

 

ผมตรวจเลือดตรวจไขมันในเส้นเลือดตั้งแต่อายุประมาณ 35 ปี ปรากฏว่าค่าไขมันในเส้นเลือดสูง แต่เราก็คิดว่าเราออกกำลังกายคุมอาหารก็น่าจะช่วยได้แล้วคิดว่าอายุยังน้อย และเราก็ยังไม่อยากทานยา ยังใช้ชีวิตแบบนั้นจนมาอายุประมาณ 50 จนเมื่อปลายปีที่แล้ว รู้สึกว่าค่าไขมันมันสูงมานานละเริ่มไม่สบายใจก็เลยเข้าไปที่โรงพยาบาลนึงขอตรวจ CT scan ซึ่งเราหาข้อมูลมาว่าตรวจด้วยวิธีไหนได้บ้าง ปรากฏว่าค่า CT scan มันสูงเกินปกติ ซึ่งค่าความเสี่ยงอยู่ที่ประมาณตัวเลข 400 แต่ของผมเนี่ย 1,100 แสดงว่าหลอดเลือดหัวใจน่าจะมีปัญหาละ แต่เราก็ยังไม่ทำอะไรก็ยังใช้ชีวิตปกติ ผมได้มีโอกาสไปแข่งบาสอาวุโสที่เชียงใหม่เพื่อนร่วมทีมมาเล่าให้ฟังทีหลังว่านั่นแหละเกิดอาการฮาร์ท แอทแทค (Heart Attach) ช่วงที่นั่งพัก เกิดอาหารหายใจเต้นแผ่วแล้วในที่สุดก็หยุดหายใจ แต่โชคดีที่ว่าในโรงยิมมีคุณหมอหัวใจเป็นนักกีฬาอยู่ในสนามท่านก็เลยพยายามทำ CPR จนกระทั่งมีหน่วยกู้ภัยนำเครื่อง AED มาช็อตหัวใจแล้วก็รีบนำส่งโรงพยาบาลที่เชียงใหม่ปรากฏว่าคืนนั้นก็ได้ทำบอลลูนสองเส้น เส้นซ้ายเนี่ยตัน 80% ทำสำเร็จ เส้นขวาเนี่ยตัน 99% คืนนั้นทำไม่สำเร็จ แต่อย่างน้อยๆ ก็ปลอดภัยระดับหนึ่ง

พอกลับมากรุงเทพฯ ผมก็ยังกังวลอยู่ว่าเส้นขวายังตีบอยู่ผมก็เลยไปทำลองทำบอลลูนอีกที่โรงพยาบาลหนึ่งก็ยังไม่สำเร็จอีก จนกระทั่งได้ชื่อนพ.วสันต์มาเราก็ดูประวัติการรักษาวิธีการรักษาว่าในกรณีนี้แบบนี้ท่านมีวิธีการทำอย่างไร เสร็จแล้วก็มาหาต่อว่าท่านทำที่โรงพยาบาลไหนบ้าง พอได้เข้ามาคุยอาจารย์หมอก็แนะนำว่ามันเป็นเคสที่ค่อนข้างยากเพราะว่าทำมาแล้วสองครั้งไม่สำเร็จแต่ก็มีโอกาส เพราะฉะนั้นโอกาสมีมากน้อยแค่ไหนเนี่ยต้องลองฉีดสีดูถึงจะตอบได้ เพราะฉะนั้นถ้าฉีดสีดูแล้วมีความเป็นไปได้สูงก็จะทำเลย ก็เริ่มเข้ามาเตรียมตัวเตรียมร่างกายเข้าห้องประมาณ 3 ทุ่ม พอฉีดเสร็จคุณหมอก็ดูแล้วความเป็นไปได้สูงที่จะทำก็คืนนั้นก็ทำเลย ซึ่งเคสปกติอาจจะใช้เวลาไม่นานเพราะว่าบอลลูนอาจจะใช้เวลาไม่นาน แต่ของผมหลังจากที่ทำเสร็จแล้ว คุณหมออุทัยที่เข้าเคสด้วยบอกว่าเป็นกรณีค่อนข้างยากในรอบหลายปี คืนนั้นใช้เวลาไปประมาณ 5 ชั่วโมงถึงสำเร็จ ก็ได้เส้นเลือดหัวใจเส้นขวากลับมาเป็นปกติ เพราะฉะนั้นตอนนี้ผมก็เลยมีหลอดเลือดหัวใจครบสามเส้นตามปกติแล้วครับ สภาพร่างกายตอนนี้ปกติดี เดินเหินได้ตามปกติ แล้วก็เริ่มออกกำลังกายได้เล็กน้อยครับ

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณ กมลรัตน์ ดีมาก

อดีตผู้ป่วยหัวใจโต

 “...เหมือนชีวิตตายแล้วเกิดใหม่นะคะ ตอนนั้นเราเหมือนตายไปแล้วด้วยซ้ำ พอเรากลับมารักษาแล้วได้เหมือนเดิมก็รู้สึกว่าเราเหมือนกลับมาแข็งแรงเป็นเด็กปกติอีกครั้งเพราะว่าตอนนั้นคือให้คีโม ทำให้ผมร่วง ทำให้หัวใจวายจนไม่คิดว่าจะกลับมาดีเหมือนอย่างทุกวันนี้อยากจะขอบคุณ คุณหมอทุกๆ ท่านที่รักษาหนูมาตั้งแต่ที่หนูเป็นแพ้ภูมิตัวเอง มาเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวในต่อมน้ำเหลือง  จนมาเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว อยากจะขอบคุณจริงๆ เลยค่ะที่ให้ชีวิตใหม่...”

 

เริ่มแรกมีอาการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะทำให้ไข้ขึ้นสูงและอาเจียนไม่หยุด จนเกิดอาการติดเชื้อในกระแสเลือดและเกิดเป็นจ้ำที่แขนซึ่งพอไม่นานก็เกิดเป็นก้อนขึ้นที่ขา จนรู้สึกว่าจะเดินไม่ไหวก็กลับไปตรวจอีกรอบโดยการตัดชิ้นเนื้อไปวิเคราะห์และผลปรากฏว่าเป็นมะเร็งในเม็ดเลือดขาวต้องเข้ารับการรักษาโดยเคมีบำบัดเรื่อยไปอีกกว่า 6 เดือนอาการจึงดีขึ้นโดยปราศจากเชื้อมะเร็ง

 

แต่หลังจากนั้นอีกเพียง 3 เดือนก็เกิดอาการแบบใหม่อีกคือนอนราบไม่ได้เพราะจะหายใจได้ไม่คล่อง มีทั้งอาเจียน นอนไม่หลับ โดย “คุณหมอบัณฑิตา” ได้เริ่มจากการประเมินส่งเข้ารับการตรวจเอกซเรย์และพบว่าลักษณะของหัวใจโตผิดปกติซึ่งปกติแล้วจะมีขนาดไม่เกินครึ่งหนึ่งของทรวงอก แต่ในรายนี้โตไปเกือบเต็มในส่วนของช่องทรวงอกด้านซ้าย อีกทั้งยังมีลักษณะของเส้นเลือดบ่งบอกถึงภาวะน้ำท่วมปอดด้วย นอกจากนี้ยังได้ตรวจวัดด้วยคลื่นเสียงสะท้อน หรือที่เรียกว่า “เอคโคหัวใจ” และพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงสามารถทำงานได้แค่ 29% รวมกับมีลิ้นหัวใจรั่วอันเกิดจากโครงสร้างหัวใจที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้เกิดอาการเหนื่อยมากในวันที่คนไข้มาโรงพยาบาล แต่ภายหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยการปรับยาและพัฒนาสมรรถภาพของหัวใจแล้วตรวจซ้ำก็พบว่าขนาดของหัวใจได้เล็กลงจนใกล้เคียงกว่าปกติโดยไม่มีภาวะของน้ำท่วมปอดอีก พร้อมทั้งปรับยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจจนแข็งแรงขึ้นจึงอนุญาตให้ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลไปใช้ชีวิตประจำวัน ไปเรียนหนังสือได้

 

 

หลังจากนั้นคุณแม่ได้มาปรึกษาคุณหมอเพื่อหารือในเรื่องของกิจกรรมที่บุตรสาวเคยทำได้ก่อนหน้านี้กับเพื่อนๆ ที่แข็งแรงนั้น ยังไม่มีความมั่นใจเพียงพอที่จะกล้ากลับไปทำได้ดั้งเดิม “คุณหมอบัณฑิตา” จึงได้แนะนำให้เข้ารับการทดสอบด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า VOMax ที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการวัดสมรรถภาพหัวใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งจะใช้การปั่นจักรยานบกหรือการวิ่งสายพานเป็นอุปกรณ์หลักให้ผู้เข้ารับการทดสอบออกแรงปั่นหรือวิ่ง ซึ่งปรากฏว่าผลการตรวจระบุว่าสมรรถภาพหัวใจของ “น้องกมลรัตน์” ค่อนข้างแข็งแรง คุณหมอจึงได้แนะนำในส่วนของการออกกำลังกายในขั้นต่อไปโดยเจ้าตัวได้นำข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตประจำวัน และล่าสุดก็สามารถเล่นกีฬา เล่นพละได้เท่ากับเพื่อนๆ แล้ว อีกทั้งยังสามารถไปประกวดร้องเพลงได้สมความตั้งใจอีกต่างหาก

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณนพมาศ นิติประสงค์

อดีตคนใข้หลอดเลือดหัวใจตีบ

“ ปกติเคยขึ้นบันไดได้วันละหลายรอบ อยู่ ๆ ก็เหนื่อยง่ายจนไม่สามารถขึ้นบันไดบ่อย ๆ ได้เหมือนเดิม แถมยังปวดต้นคอ กราม และหนักหัวอยู่เรื่อย ๆ เป็นอย่างนี้อยู่ 2-3 วัน วันหนึ่งกำลังคุยอยู่กับเพื่อนบ้านก็รู้สึกเหนื่อยมาก หน้าซีด จนหลานต้องรีบพามาส่งโรงพยาบาลรามคำแหง ”

 

นี่คืออาการเริ่มต้นของคุณนพมาศ นิติประสงค์ ผู้ที่ไม่คาดคิดว่าความดันต่ำจะมีผลกับชีวิตขนาดนี้
.
หลังจากที่หมอได้ทำการซักประวัติและวัดความดันแล้ว พบว่าคุณนพมาศ ความดันต่ำมากจนอยู่ในระดับที่จะเกิดการช็อคจากเลือดไหลเวียนไม่พอได้ คุณหมอตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม จึงพบว่า มีภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน และส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ “ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นชัาผิดปกติชนิดรุนแรง” ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน 
.
หลังจากคุณหมอแก้ไขภาวะความดันต่ำที่เป็นอันตรายให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้แล้ว ก็ทำการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่โครงค้ำยันให้เลือดกลับมาเลี้ยงหัวใจได้อีกครั้งนั่นเองครับ
.
ด้วยการรักษาที่ทันท่วงที ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่พร้อม จึงทำให้คุณนพมาศพักฟื้นที่โรงพยาบาลเพียง 3 วันเท่านั้น และหลังจากนั้นก็นัดมาตรวจอาการเป็นระยะๆ จนตอนนี้คุณนพมาศสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติได้อีกครั้ง โดยอาการดังกล่าวเป็นอาการที่ค่อนข้างรุนแรง หากตัดสินใจผิดพลาดไปอาจส่งผลให้เกิดผลร้ายกับร่างกาย หรือสูญเสียได้ ฉะนั้นไม่ว่าจะมีอาการความดันสูงหรือความดันต่ำ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยนะครับ ด้วยความปรารถนาดีจากหมอราม

เสียงจากผู้รับบริการ

พ.ต.ท. จักรกฤษณ์ ท้วมโสภา

อดีตคนไข้หลอดเลือดในสมองตีบ

“ในขณะที่นั่งมามีอาการเวียนหัวอยู่ตลอดและปวดหัวมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมาถึงก็เข้าไปตรวจกับหมอหู ตา คอ จมูก หมอก็เช็คว่าน้ำในหูเท่ากันหรือเปล่า ผลออกมาว่าปกติ โชคดีที่หมอสงสัยเพิ่มจึงส่งไปตรวจต่อที่หมอระบบประสาท ผลสรุปว่าความดันผมขึ้น ร่วมกับมีอาการปากตกเล็กน้อย จึงถูกส่งเข้า MRI ผลออกมาปรากฏว่าผมมีปัญหาที่หลอดเลือดสมองต้องทำการรักษาโดยด่วน จากนั้นหมอก็เข้ามาอธิบายถึงวิธีรักษา พอผมตกลง หมอก็ทำการรักษาทันทีด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด ภายใน 6 ชม. อาการเวียนหัวของผมก็หายไป โชคดีนะครับที่ผมมาทันเวลาและคุณหมอช่วยกันดูแลผมอย่างใส่ใจ ไม่งั้นผมคงเป็นอัมพาตไปแล้ว ”
.
สำหรับกรณีของพ.ต.ท. จักรกฤษณ์ ถือว่าโชคดีมาก  ที่รู้ตัวเองและมาเข้ารับการรักษาได้ทัน หากสมองขาดเลือดเกิน 3 ชม. จะทำให้การฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติมีโอกาสเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นทุกคนควรสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ชิดอยู่เสมอ หากมีอาการแขน-ขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง พูดไม่ชัด เสียสมดุลทางการเดิน การมองเห็นลดลง หรือมีอาการเวียนหัว ชามือ อ่อนแรง เพียงชั่วคราวแล้วหายไปเอง อาการเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย เพราะคนไข้หลอดเลือดสมองแบบอุดตัน บางส่วนจะมีอาการแค่บางครั้ง หรือที่เรียกว่า TIA หากใครที่รู้ตัวว่ามีอาการเหล่านี้ อย่าปล่อยไว้ควรรีบมาพบแพทย์โดยด่วนนะครับ