ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก

(RAM Pituitary Center)

โรงพยาบาลรามคำแหง

 

RAM Synergy Care " รักษาเนื้องอกต่อมใต้สมอง.. ไม่ใช่ที่ไหนก็ได้ "

 

"ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก (RAM Pituitary Center) โรงพยาบาลรามคำแหง พร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง ด้วยความร่วมมือกันระหว่างแพทย์ด้านประสาทศัลยศาสตร์ และ แพทย์หู คอ จมูก ผสมผสานวิทยาการด้านการผ่าตัดเข้ากับเทคโนโลยีทางการแพทย์ เพิ่มความปลอดภัยในการผ่าตัดรักษาเนื้องอกในสมอง เพื่อช่วยให้คนไข้กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง"

 

 

 

กำเนิดศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก (RAM Pituitary Center) โรงพยาบาลรามคำแหง


อย่างที่ทราบกันดีว่าแผนกผ่าตัดสมอง โรงพยาบาลรามคำแหง ที่นำโดย อาจารย์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ. สิระ บุณยะรัตเวช อาจารย์แพทย์ประสาทศัลยศาสตร์ ได้ทำงานร่วมมือกับทางแผนก หู คอ จมูก ในการรักษาผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมองกันมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญครั้งใหญ่

 

เมื่อปี 2548 นพ.ภูริปัณย์ อร่ามวัฒนพงศ์ แพทย์หู คอ จมูก เริ่มมีการนำกล้องส่องผ่าตัดเข้ามาร่วมใช้ในการผ่าตัดแทนที่การผ่าตัดแบบดั้งเดิม คือ การผ่าเข้าทางช่องเหนือเหงือก หรือ ผนังกั้นกลางจมูก

 

ต่อมาในปี 2558 นพ.นภสินธุ์ เถกิงเดช แพทย์ประสาทศัลยศาสตร์ ได้เข้าร่วมกับทีมผ่าตัดที่โรงพยาบาลรามคำแหง และได้สานต่อแนวทางการผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมอง ทำให้นอกจากทางทีมผ่าตัดจะมีการพัฒนาเทคนิคให้ทันสมัยมาโดยตลอดแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนในเรื่องของเทคโนโลยีจากทางโรงพยาบาลอีกด้วย จนได้รับผลตอบรับในทางที่ดีเยี่ยมจากการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคนิคนี้

 

จนทำให้ในที่สุดทางทีมผ่าตัดของ 2 แผนกจึงตัดสินใจร่วมกันว่าถึงเวลาแล้ว ที่พร้อมจะเปิดศูนย์การผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก (RAM Pituitary Center) ขึ้นมา เพื่อที่จะเน้นย้ำถึงความร่วมมืออันดีของ 2 แผนกในการบริการรักษาผู้ป่วยโรคเนื้องอกต่อมใต้สมองให้หายจากโรค และได้รับความปลอดภัยสูงสุด จากการผสมผสานความเชี่ยวชาญของแพทย์ทั้ง 2 แผนกในการรักษาเข้ากับอุปกรณ์การผ่าตัดที่ทันสมัยตลอดไป

 

เนื้องอกต่อมใต้สมอง (Pituitary adenoma) คืออะไร?

 

 

เนื้องอกต่อมใต้สมอง (Pituitary adenoma)

  • พบได้ 10% ของเนื้องอกในสมองทั้งหมด
  • ส่วนใหญ่ไม่ใช่เนื้อร้าย 90% เป็นเนื้อดี ที่โตช้า
  • ถ้าขนาดใหญ่เกิน 1 ซม. เรียก “Pituitary macroadenoma”
  • ถ้าขนาดเล็กว่า 1 ซม. เรียก “Pituitary microadenoma”
  • ถ้าเจอโดยบังเอิญจากการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) และมักมีขนาดเล็ก ไม่มีอาการ เรียก “Incidentaloma”
  • ถ้าเจอเป็นชนิดที่สร้างฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) มากเกินไป เรียก “Prolactinoma”
  • ถ้าเจอแบบมีเลือดออกในก้อน เรียก “Pituitary apoplexy”
  • อาการแสดง พบได้บ่อยๆ 3 อาการ คือ 1) ตามองไม่ชัด 2) ฮอร์โมนผิดปกติ 3) ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน
  • แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ขึ้นกับระดับฮอร์โมน คือ functioning (ฮอร์โมนมากเกิน) และ non-functioning (ไม่สร้างฮอร์โมน)
  • จำเป็นต้องตรวจด้วย MRI Pituitary แบบฉีดสี
  • จำเป็นต้องตรวจ ระดับฮอร์โมน ลานสายตา และ เส้นประสาทจอตา
  • แนวทางการรักษา ขึ้นกับอาการเป็นสำคัญ
  • การผ่าตัดเป็นทางเลือกหลักในการรักษาโรคนี้

 

 

ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) คืออะไร?

 

 

ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)

  • ต่อมใต้สมอง หรือ ต่อมพิทูอิตารี
  • พิทูอิตารี มาจากภาษาละติน แปลว่า “เมือก” เพราะในอดีตนึกว่าเอาไว้สร้างเมือกให้ไหลลงทางจมูก
  • หน้าตาเหมือนเมล็ดถั่วแดงที่วางอยู่ในแนวลึกสุดของจมูก ตรงกลางระหว่างลูกตา 2 ข้าง ในแนวกลางของศีรษะ
  • ล้อมรอบด้วย เส้นประสาทจอตา เส้นเลือดแดงใหญ่ที่มาเลี้ยงสมอง และเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3,4,5,6
  • มีหน้าที่ สร้างฮอร์โมนหลายชนิดออกมา เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย เช่น ACTH, Growth hormone, Thyroid hormone และ sex hormone

 

 

 

แนวทางการรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมอง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. เนื้องอกต่อมใต้สมองกลุ่มที่ยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัด สามารถรักษาด้วยวิธีการเฝ้าติดตามอาการการตรวจทางสายตา และ การตรวจด้วย MRI
  2. กลุ่มที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายแสง หรือ อาจให้ยาในบางชนิด

 

 

เทคนิคการผ่าตัดของศูนย์ส่องกล้องผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก โรงพยาบาลรามคำแหง

 

ใช้วิธีการส่องกล้องผ่าตัด (Endoscopic Endonasal approach) เพราะเทคนิคนี้ช่วยให้ศัลยแพทย์ได้มีมุมมองในการผ่าตัดที่กว้างและครอบคลุมบริเวณที่สำคัญได้มากกว่า ทำให้สามารถผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ และปลอดภัยมากขึ้น (ตามรูป) ด้วยวิธีนี้ผู้ป่วยจะไม่มีแผลด้านนอก รวมถึงได้รับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อยมาก สามารถฟื้นตัวได้ไว และใช้เวลาพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลไม่นาน นอกจากนี้ที่ศูนย์เรายังใช้อุปกรณ์นำร่อง (Neuronavigator) สำหรับสร้างภาพโมเดลเสมือนจริงของคนไข้ร่วมด้วย เพื่อช่วยในการบอกตำแหน่งและทิศทางในขณะผ่าตัด คล้ายกับแผนที่นำทางให้ศัลยแพทย์เพื่อเสริมความปลอดภัยให้ผู้ป่วยมากขึ้นไปอีกขั้นได้

 

 

 

 

 

 

ความสำเร็จเกิดจากทีมแพทย์ (RAM Synergy Care & Multi-Specialty Care)

 

 

หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่าการรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมองให้สำเร็จนั้น ไม่ใช่ว่ามีแค่หมอผ่าตัดแล้วจะทำให้สมบูรณ์ได้ แต่จริงๆ แล้วยังจำเป็นต้องมีทีมงาน ช่วยกันรักษาคนไข้อีกถึง 8 แผนก ที่มาร่วมช่วยกันทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคได้อย่างปลอดภัย 

 

 

เนื้องอกต่อมใต้สมองนั้น เป็นโรคที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนค่อนข้างมาก เนื่องจากต่อมใต้สมองเป็นบริเวณที่สร้างและกักเก็บฮอร์โมนหลายชนิดคนไข้แต่ละคนอาจมีความผิดปกติของแต่ละฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับตำแหน่งของเนื้องอก “ การให้ยาระงับความรู้สึก จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงความผิดปกติของคนไข้แต่ละคน เพื่อวางแผนให้ยาได้อย่างเหมาะสม ” รวมถึงมีการเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดโดยทำงานร่วมกับทีมอายุรแพทย์ โดยการผ่าตัดเนื้องอกจะใช้วิธีวางยาสลบแบบทั้งตัวคนไข้ไม่รู้สึกตัวระหว่างผ่าตัด และจะตื่นรู้สึกตัวทันทีหลังผ่าตัดอย่างนิ่มนวลและไม่ไอ สำหรับการผ่าตัดชนิดนี้ เป็นการผ่าตัดโดยการส่องกล้องเข้าทางจมูกจึงมักไม่ค่อยเจ็บ โดยวิสัญญีแพทย์ จะเป็นผู้ให้ยาแก้ปวดให้เพียงพอและปลอดภัยที่สุด

 

 

 

เมื่อพบเนื้องอกของต่อมใต้สมอง แพทย์ต่อมไร้ท่อต้องการทำการซักประวัติตรวจร่างกาย และตรวจวัดระดับฮอร์โมนว่าเนื้องอกนั้นสร้างฮอร์โมนมากเกินหรือไม่ ได้แก่ ภาวะฮอร์โมนการเจริญเติบโตเกินภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ และภาวะฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตเกิน (โรค cushing) ซึ่งพบได้น้อย แต่ที่พบบ่อยในภาวะเนื้องอกสร้างฮอร์โมนเกินที่สำคัญ คือถ้าเนื้องอกสร้างฮอร์โมนโปรแลคตินเกิน จะเป็นเนื้องอกเพียงชนิดเดียวที่ถ้าก้อนขนาดไม่ใหญ่มาก สามารถทำให้ยุบลงโดยการรับประทานยา โดยไม่ต้องผ่าตัด ส่วนภาวะฮอร์โมนขาดจากก้อนกดทับ ได้แก่ ภาวะฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตบกพร่อง, ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำซึ่งจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนทดแทนก่อนผ่าตัด, ฮอร์โมนเพศบกพร่องและฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลังบกพร่อง ทำให้เกิดโรคเบาจืด แพทย์ต่อมไร้ท่อยังมีหน้าที่ให้ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตในช่วงผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะพร่องฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด มีหน้าที่ติดตามสารน้ำและเกลือแร่หลังผ่าตัด และประเมินฮอร์โมนหลังผ่าตัด 5-7 วัน จากนั้นทุก 3-6 เดือน

 

 

 

เนื้องอกต่อมใต้สมอง อาจกดเส้นประสาทตาทำให้ลานสายตาผิดปกติในตาทั้งสองข้าง ตามัว และอาจกดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3,4 และ 6 ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อตาผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการเห็นภาพซ้อน บทบาทของจักษุแพทย์ต่อโรคนี้ ได้แก่ การวินิจฉัย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์ด้วยอาการผิดปกติทางตา เช่น ตามัว เห็นภาพซ้อน และตรวจพบลานสายตาผิดปกติทางด้านนอกของตาทั้งสองข้าง และบทบาทในแง่การรักษา
เช่น
ติดตามผลของการรักษาว่าการกดเบียดของเนื้องอกต่อเส้นประสาทตาและเส้นประสาทสมอง ลดลงหรือไม่ หรือมีการกลับมาเป็นซ้ำของเนื้องอกดังกล่าว โดยอาศัยการตรวจระดับการมองเห็นและลานสายตา

 

 

 

สำหรับโรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง อายุรแพทย์ทางระบบสมองและเส้นประสาท (Neurologist) มีบทบาทสำคัญมากในการให้คำวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพราะมีโอกาสที่จะเป็นบุคคลแรกที่ผู้ป่วยมาพบด้วยอาการแสดงต่างๆ ของโรค เช่น ปวดศีรษะมึนงง กล้ามเนื้ออ่อนแรง วูบจะเป็นลม บางรายที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่มาก อาจจะมาด้วยอาการเสียลานสายตา ประสาทการมองเห็นผิดปกติ หรือปวดศีรษะ เฉียบพลันอาเจียน ตามัว เนื่องจากมีเลือดออกในก้อนเนื้องอก ซึ่งแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อวิเคราะห์ที่มาของอาการว่าน่าจะเป็นจาก สาเหตุใดได้บ้าง จากนั้นจึงส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น เจาะเลือด ดูค่าฮอร์โมนและเกลือแร่ส่งทำสแกนสมอง เป็นต้น เมื่อได้รับคำวินิจฉัยที่ถูกต้องแล้วก็จะทำงานร่วมกันกับ
แพทย์ด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มที่ต่อไป

 

 

MRI จะบอกความผิดปกติของต่อมใต้สมองอย่างละเอียด พร้อมทำการบ่งตำแหน่งของเนื้องอกต่อมใต้สมองได้ชัดเจน โดยร่วมกับการฉีดสารเข้าเส้นเลือดดูตำแหน่งและธรรมชาติของเนื้องอก อีกทั้งอวัยวะใกล้สมองและไซนัส เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างชัดเจนตลอดถึงการติดตามผลการรักษาของเนื้องอกต่อมใต้สมองและรวมทั้งวางแผนการผ่าตัดอีกด้วย

 

 

สำหรับบทบาทของหมอหัวใจ ในการเตรียมตัวผู้ป่วยสำหรับการผ่าตัดสมองก็ถือว่าเป็นการผ่าตัดระดับกลางๆ ไม่ใช่ผ่าตัดใหญ่มากเหมือนการผ่าตัดของหัวใจ ยิ่งเทคโนโลยีดีขึ้นการผ่าตัดต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก โดยการส่องกล้องแทนการเปิดกระโหลกผ่าตัด ก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนต่อหัวใจไปเยอะเลยค่ะ หน้าที่ของหมอก็คือทำให้การผ่าตัดเป็นไปได้อย่างราบรื่น โรคประจำตัวของคนไข้หรือโรคที่แอบซ่อนอยู่หมอก็ต้องเตรียมให้โรคเหล่านี้ สงบไม่กำเริบ ระหว่างการผ่าตัด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ต้องอาศัยการประเมินผู้ป่วยเป็นรายเคส บางเคสต้องกินยาก่อน บางเคสต้องผ่าในเวลาที่เหมาะ ก็ต้องมาจัดตารางปรึกษากับทีมอาจารย์หมอผ่าตัดเพื่อให้ผลลัพธ์ดีที่สุด

 

 

 

พยาธิแพทย์มีหน้าที่ให้คำวินิจฉัยโรคภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (microscope) เพื่อจำแนกชนิดของเนื้องอกต่อมใต้สมอง (diagnosis) รวมถึงการพยากรณ์โรค (prognosis) ตลอดจนร่วมในการวางแผนการรักษา เพื่อให้การรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย

 

 

 

เนื้องอกต่อมใต้สมอง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. ชนิดที่ฮอร์โมนปกติ 2. ชนิดที่ฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งชนิดที่ 2 นี้อาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วยเพื่อช่วยลด
อาการที่เกิดจากการผิดปกติของระดับฮอร์โมนนอกเหนือจากการผ่าตัดและการฉายรังสี การใช้รังสีรักษาในโรคนี้ พิจารณาใช้เป็นการรักษาเสริมภายหลังการผ่าตัดในรายที่มีการกลับเป็นซ้ำของโรค หรือมีระดับฮอร์โมนผิดปกติ
โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันการกำเริบของโรคและช่วยเพิ่มการควบคุม
ระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติ
โดยทั่วไปการฉายรังสีจะใช้เวลาประมาณ 5-6 สัปดาห์ (25-30 ครั้ง) ปัจจุบันมีเทคนิคการฉายรังสีใหม่ ได้แก่ รังสีร่วมพิกัดหรือรังสีศัลยกรรมที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการรักษาโดยลดจำนวนครั้งของการฉายรังสีลงเหลือเพียง1-5 ครั้ง โดยจะเหมาะกับรอยโรคที่มีขนาดเล็กและอยู่ห่างจากเส้นประสาทตาหรือการใช้รังสีโปรตอนที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อเส้นประสาทตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือมีการฉายรังสีซ้ำ

 

 

ตัวอย่างผลงานความสำเร็จของศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก โรงพยาบาลรามคำแหง

 

ภาพตัวอย่างเคสผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก โดย นพ.นภสินธุ์ เถกิงเดช และ นพ.ภูริปัณย์ อร่ามวัฒนพงศ์

 

 

ความประทับใจของผู้ที่เข้ารับการรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมอง กับศูนย์ผ่าตัดส่องกล้องเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านทางโพรงจมูก โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

 

อ่านข้อมูลของโรคเนื้องอกต่อมใต้สมองเพิ่มเติม คลิก >> : เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกที่เกิดตรงส่วนเล็กๆ ของสมอง แต่กลับต้องใช้แพทย์ทีมใหญ่ในการรักษา

 

 

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปัทมา คำสอน

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

ปวดหัวอยู่ประมาณ 3-4 วัน

 

ก็ไปหาคุณหมอท่านก็บอกว่าน่าจะเป็นไมเกรนระยะเริ่มต้น ก็ให้ยามาทานแล้วก็ฉีดยา มันไม่หายก็ หมอก็ขอสแกนผลออกมาก็ไม่มีอะไร วันรุ่งขึ้นกินไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้แล้ว แฟนก็เลยหามกลับไปโรงพยาบาล

 

คุณหมอก็เอาผล CT มาดูใหม่ แล้วก็เห็นเลยว่ามีอะไรบางอย่างก็โดนแอดมิดไปเลย คุณหมอก็แจ้งกลางดึกอีกวันหนึ่งอาจจะเป็นเนื้องอกนะ

 

แต่มันอยู่ตรงต่อมใต้สมอง เราก็ถามเรื่องการรักษา หมอบอกง่ายสุดคือผ่าตัดส่องกล้อง เพราะว่าจะได้ไม่ต้องแบบเปิดสมอง พอเอาออกไปแล้วก็คือจบ ตอนนี้ใช้ชีวิตปกติเลยค่ะ เมื่อก่อนเป็นคนป่วยง่าย ตั้งแต่ผ่าตัดก็ไม่ป่วยอีกเลย”

 

 

 

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสุชาติ ตรีนพรัตน์

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

“ผมก็ออกกำลังกายปกติเนี่ยล่ะครับ ออกกำลังกายสักพักใหญ่ๆ แล้วผมก็เดินโงนเงนๆ เหมือนกับบ้านหมุน”

 

ผมก็ไม่เอะใจอะไรเลย วัน 2 วันผมก็ไม่ซีเรียสไม่คิดอะไรมาก แล้วทีนี้ผมก็นอนหลับเหมือนจะมีอาการบ้านหมุน นอนเหมือนกับคนน้ำในหูไม่เท่ากันทำนองนั้นครับ ลืมตาไม่ได้เลยมันก็เหมือนหมุนติ้วๆ เลย

 

ผมก็เลยเรียก 1669 ขอไป รพ.รามคำแหง แอดมิดดีกว่า เราอยากเช็คให้แน่นอน ไปหาหมอภูริปัณย์แล้วเขาก็เช็คเรื่องประสาทตา ประสาทหู พอทำ MRI ถึงจะรู้ไงไปเจอเนื้องอก หมอก็แนะนำว่าต้องผ่าด่วน ผมก็เลยตัดสินใจผ่าเลยดีกว่า

 

คุยกับหมอได้ผมไม่วิตกไอ้เรื่องว่าผ่าแล้วจะตาย-ไม่ตายผมเฉยๆ ปกติ คือก็สู้อยู่แล้ว อยากให้มันหายก็เลยตัดสินใจผ่า ตอนนี้อาการปกติ ไปไหน เดินเหินปกติครับ ทั่วไปดีขึ้น

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณหนูรัติ คงปาน

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

คุณวรรัตน์บุตรสาวให้สัมภาษณ์

“เริ่มแรกคุณแม่บอกว่าเจ็บตา และก็มองไม่เห็น เราเข้าใจว่าเป็นเพราะมีอายุทำให้สายตาไม่ดี แล้วพอผ่านไปสัก 2-3 เดือนจนอาการหนักขึ้น ก็เลยตัดสินใจพามาหาหมอตาก่อน”

 

คุณหมอก็ได้ทำการตรวจอย่างละเอียดเลยค่ะ จนสุดท้ายคุณหมอบอกว่าตาไม่ได้เป็นอะไร คิดว่าน่าจะมีเนื้องอกที่ไปทับเส้นประสาทตา คุณหมอได้ส่งไปเอกซเรย์ทำ MRI ฉีดสีวันนั้นเลยค่ะ ผลก็ออกมาว่าเป็นเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง

 

คุณหมอเขาแนะนำให้มาพบกับ อ.นภสินธุ์ โชคดีวันนั้นที่ อ.นภสินธุ์อยู่เวรพอดี อาจารย์เขาก็แจ้งทุกอย่างเลยว่าไม่อันตราย เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านทางโพรงจมูก ซึ่งมี อ.ภูริปัณย์ เป็นคนเปิดช่องให้

 

หลังจากผ่าตัดเสร็จคุณหมอก็ได้เชิญเข้าห้องไอซียูเพื่อไปดูอาการคุณแม่ก็ตกใจมากไม่น่าเชื่อว่านี่คือคนที่พึ่งผ่าตัดสมองมา เพราะว่าคุณแม่รู้เรื่องทุกอย่างเลยค่ะ ขอบคุณ อ.นภสินธุ์ และ อ.ภูริปัณย์มากๆ ค่ะ

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณนิสา วงษ์วิชา

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

ในระยะเวลา 7-8 เดือน เริ่มจาก คัด จาม น้ำมูกไหล คิดว่าเป็น “ภูมิแพ้”

 

เริ่มจากคัดจมูก 1 ข้างเป็น 2 ข้าง...จนต่อมาหายใจไม่ได้เลย และเริ่มเห็นก้อนโผล่ออกมาที่จมูก ต้องหายใจทางปากตลอด แต่ก็รักษามาเรื่อยๆ นะ คืออาการหนักเลย จนกระทั้งวันหนึ่งมีเลือดออกทางจมูกด้านขวาเพราะด้านซ้ายจมูกตัน แล้วก็ออกลำคอไหลออกทั้งวัน

 

ไม่หยุดก็เลยไป รพ.ต่างจังหวัดแห่งหนึ่งเพราะมีประกันสังคมอยู่ที่นั่น...หมอเขาก็ตรวจแล้วก็ส่งตัวไป รพ.แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เพื่อเอาก้อนเนื้อจากจมูกไปตรวจ พอผลตรวจออกมาว่าเป็นมะเร็ง และลามขึ้นสมองแล้วเขาไม่สามารถที่จะผ่าได้เขาก็เลยส่งมาที่ รพ.รามคำแหง เพราะทีมแพทย์พร้อม เครื่องมือพร้อมเห็นคุณหมอบอกเนื้องอกของคุณใหญ่มาก บอกว่า ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน ถามว่ากลัวไหม

 

มันก็กลัวนะ ...เราก็ไม่กล้านอนนะกลัวหายใจไม่ออก ต้องขอจับมือคุณพยาบาลให้เฝ้าจนนอนหลับก่อนค่อยออกไปได้ไหม อะไรประมาณนี้ค่ะ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสุนทรีย์ นกงาม

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง 

หลังจากผ่าประมาณ 3 เดือน ประจำเดือนก็เริ่มมา โดยรวมแล้วมันก็ดีขึ้น
 

ตอนแรกไปหาหมอสูติก่อนว่าปวดท้อง แล้วก็ประจำเดือนไม่มาตรวจภายในก็ปกติ เขาก็เลยส่งไปตรวจเลือด

เขาบอกมันมีค่าตัวหนึ่งเป็นค่าฮอร์โมนต่อมใต้สมองผิดปกติ เขาก็เลยส่งไปที่แผนกต่อมไร้ท่อ

จนให้ทำ MRI ก็ไปเจอก้อนเนื้ออยู่ที่ต่อมใต้สมอง

 

แล้วเขาก็ส่งไปผ่าตัด แต่ปรากฏว่ายังผ่าไม่ได้เพราะไปเจอว่าเป็นเชื้อราตรงโพรงไซนัสอีก ต้องผ่าตัดไซนัสก่อน

แล้วก็มีญาติแนะนำมาว่าถ้าเกิดผ่าตัดสมองผ่า รพ.รามคำแหงดีไหม มีหมอรักษาดี แล้วราคาก็แบบไม่ได้สูงมาก ก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับ รพ.รามคำแหง

 

การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมอง ก็เลยตัดสินใจเอาฟิล์มเอกซเรย์ไปหาหมอนภสินธุ์ ซึ่ง นพ.นภสินธุ์ กับ นพ.ภูริปัณย์ ผ่าตัดร่วมกัน 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณหวัง เตโช

 

ประสบการณ์การรักษาจากผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

 

ตาขวาพร่ามัวมองไม่ค่อยเห็นและ ปวดหัวแบบจี๊ด ๆ แล้วลามมาปวดที่ขมับขวาอยู่อย่างนั้น ซึ่งเวลาไหนที่ปวดมากก็ทำเอาเจ้าตัวถึงกับน้ำตาก็จะไหล...

 

“คุณกุลภัสสร์” บุตรสาวของ “คุณหวัง เตโช” โดยได้ให้ข้อมูลว่า “...เขากินยาพวกความดันอยู่แล้ว แต่ก่อนผ่าตัดราว 1-2 อาทิตย์เกิดอาการปวดหัวมาก...ปวดจนไม่ได้นอนเพราะถ้านอนไปแล้วก็จะปวด-ปวดจนนอนไม่หลับ ลูก ๆ เลยคิดว่าปล่อยไว้ไม่ได้แล้วเพราะแม่ได้นอนเลยถึงได้พาไปโรงพยาบาลแล้วได้เข้าเครื่อง MRI ก็เจอก้อนเนื้องอก ทำให้มาคิดกันว่าเราจะพาแม่ไปผ่าที่ไหนดี ก็เลยค้นหาข้อมูลจากเน็ตก็เจอว่าโรงพยาบาลรามคำแหงมีชื่อเสียงเรื่องรักษาเนื้องอก ก็เลยสรุปว่างั้นเราเลือกไปที่โรงพยาบาลรามคำแหงโดยไปหาคุณหมอนภสินธุ์ เถกิงเดช แม่จึงได้เข้าเครื่องสแกนสมอง MRI อีกรอบแล้วหมอก็บอกว่ามีก้อนเนื้อขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตรอยู่ด้านหลังตาขวาตรงช่องระหว่างสมองซึ่งผ่าตัดได้ แต่แม่ก็คิดอยู่ว่ากลัวจะไม่ฟื้น คือไม่อยากผ่าเพราะกลัวตายนั่นละ หมอก็บอกว่าเคยเจอกรณีที่ยากกว่านี้ ขออย่าได้กังวล...ก็ให้กำลังใจคนไข้ค่ะ แม่ได้นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลรามคำแหง 1 อาทิตย์ค่ะ และได้เข้ารับการตรวจสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอีกรอบหนึ่ง และหลังจากที่คุณหมอพิจารณาผลการสแกนแล้วก็ได้บอกเราว่าอีก 2 ปีค่อยมาเจอกัน...ประทับใจอาจารย์หมอเพราะพอผ่าตัดเสร็จตอนกลางคืนก็โทรมาบอกเราตอนเที่ยงคืนนั้นเลย ดึกขนาดนั้นก็ยัง โทรมาหามาบอกเราว่าปลอดภัยดีนะ คุณแม่เขาโอเคหมอผ่าตัดเรียบร้อย เพราะรู้ว่าเราเป็นห่วงเพราะแม่เองก็กังวลกลัวว่าจะไม่ฟื้น เลยพลอยให้ลูก ๆ ห่วงกันไปด้วย แต่มันก็น่ากลัว ผ่าสมองก็ต้องกลัวกันทั้งนั้น...แต่อาจารย์ก็บอกว่าไม่ต้องกลัว คิดไม่ผิดเลยที่ค้นข้อมูลแล้วเจอคุณหมอนภสินธุ์คนนี้ละค่ะ...นอกนั้นก็พาแม่ไปหาหมอปนัดดาเพื่อจะได้ดูเกี่ยวกับเบาหวาน ความดันโลหิต และแม่ก็เป็นหัวใจโตด้วยก็ให้เขาดูแลหมดทุกอย่าง คือต้องพามาหาหมอทุก 2-3 เดือนค่ะ...”

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณมาลี อรุณพูลทรัพย์

อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

“ไม่มีอาการปวดหัว แต่มีอาการเหมือนโรคซึมเศร้ามาก คือชอบอยู่คนเดียว เอาแต่นอนไม่แต่งตัว”

 

ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2562 คือจะนอน ไม่พูดจากับใครไม่คุยกับใครไม่ยอมไปสอนหนังสือแล้วก็มีอาการมึนหัว งานการไม่เอา แม่ก็บอกว่าลองพาไปเช็คที่ รพ.รามคำแหง ซิว่าเขาเป็นอะไร ก็โทรมาปรึกษากับพยาบาลว่าอาการแบบเนี๊ยะ จากที่เราศึกษาดูเหมือนโรคซึมเศร้าเลย พามาหาหมอโรคจิตแต่อาการเขาน่ะไม่มีปวดหัวเลย ก็มาหาหมอช่วงเดือนธันวาคมประมาณเดือนหนึ่งมาทุกอาทิตย์ก็ไม่ดีขึ้น เพราะว่าคุณไข้เริ่มปัสสาวะ อุจจาระ ไม่รู้เรื่องแล้วน่าจะเกี่ยวกับสมอง เพราะว่าสมองมันจะคุมทุกอย่าง วันนี้เลยต้องเข้าอุโมงค์เลยโดยรอ 4 ชม.เพื่อให้ท้องว่างให้ทุกอย่างว่างให้พร้อม คุณหมอก็บอกว่ามันเป็นเยอะมากเนื้องอกอยู่รอบไปหมดเลย

หมอบอกว่าให้มาเตรียมตัวเลยต้องผ่าตัดใช้เวลา 10 ชม. ที่จะทำการผ่าตัดก็ตกลงมาอยู่นี่แล้วก็เริ่มผ่าตัด พอผ่าตัดแล้วคือเขาไม่รู้เรื่องอะไรเลยออกมาก็อาละวาด จะดึงแผลออก ดึงทุกอย่าง ก็ต้องคอยเฝ้ากันไม่ให้เขาดึง ต่อมาอาการเขาก็ดีขึ้นๆ จำคนโน้นได้จำคนนี้ได้จำทุกอย่างได้ทุกครั้งที่มาหาหมอๆ ก็จะเช็คสมองโดยการให้บวกเลขบ้างให้ลบเลขบ้าง แต่เขาก็ดีขึ้นสามารถจำได้บวกลบเลขได้ คุณหมอบอกว่าจากการผ่าตัด คือสมองเนื้องอกส่วนที่เอาออกไปมันต้องรอเวลาที่จะให้มันกลับมาเหมือนเดิมจากที่มันโดนกดทับมาค่ะ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปราณี และมัด

อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

“ผ่าตัด 4 ชม.ฟื้นมาก็ปกติ ต่างจากตอนมาอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ”

 

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ นอนทั้งวันแล้วก็เหมือนถามอะไรก็จะตอบช้าๆ คิดไม่ออก จำ พ.ศ.เกิด วันเกิดของตัวเองไม่ได้ แม่ก็นอนอย่างเดียวเลยแล้วข้าวปลาก็ไม่กิน น้ำก็ไม่อาบหนูก็เอะใจมาก ก็เลยพาแม่ไปรพ.

เวลาเข้าพบหมอๆ ก็ถามอะไรแม่เกี่ยวกับอาการแล้วคุณหมอก็ให้ไปทำเอ็มอาร์ไอฉีดสี รู้ผลๆ ออกมา หมอก็บอกว่าเป็นเนื้องอกในสมองค่ะ ก็เลยต้องอยู่รพ. วันนั้นเลย และต้องผ่าวันรุ่งขึ้นเพราะสมองบวมเยอะแล้วค่ะ

หลังจากคุณหมอผ่าตัด 4 ชม. ก็รู้สึกตัวเลยค่ะ ลูกๆ ก็มาล้อมรอบเตียงถามว่าจำได้ไหม จำ พี่ๆ น้องๆ ได้ไหม คือลูกๆ กลัวว่าจะจำคนโน้นได้มั๊ย จำอะไรต่ออะไรได้มั๊ย แม่ก็จำได้หมดสื่อสารทุกอย่างได้หมด คล่องแคล่ว ดีใจกันใหญ่เลย ร้องไห้แบบดีใจว่าเออคุณแม่จำได้ทุกอย่าง กลับมาเป็นเหมือนเดิม

  • "ตาพร่ามัว" อาจเสี่ยงเป็น "เนื้องอกต่อมใต้สมอง"

  • รู้จักเนื้องอกต่อมใต้สมอง

  • รู้จักเทคโนโลยีใหม่ ที่ช่วยให้การผ่าตัดสมองปลอดภัยขึ้น

  • MRI เครื่องใหม่ ไฉไล กว่าเดิม

  • เนื้องอกต่อมใต้สมอง ตอนที่ 2

  • เนื้องอกต่อมใต้สมอง ตอนที่ 1

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปัทมา คำสอน

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

ปวดหัวอยู่ประมาณ 3-4 วัน

 

ก็ไปหาคุณหมอท่านก็บอกว่าน่าจะเป็นไมเกรนระยะเริ่มต้น ก็ให้ยามาทานแล้วก็ฉีดยา มันไม่หายก็ หมอก็ขอสแกนผลออกมาก็ไม่มีอะไร วันรุ่งขึ้นกินไม่ได้ ทำอะไรไม่ได้แล้ว แฟนก็เลยหามกลับไปโรงพยาบาล

 

คุณหมอก็เอาผล CT มาดูใหม่ แล้วก็เห็นเลยว่ามีอะไรบางอย่างก็โดนแอดมิดไปเลย คุณหมอก็แจ้งกลางดึกอีกวันหนึ่งอาจจะเป็นเนื้องอกนะ

 

แต่มันอยู่ตรงต่อมใต้สมอง เราก็ถามเรื่องการรักษา หมอบอกง่ายสุดคือผ่าตัดส่องกล้อง เพราะว่าจะได้ไม่ต้องแบบเปิดสมอง พอเอาออกไปแล้วก็คือจบ ตอนนี้ใช้ชีวิตปกติเลยค่ะ เมื่อก่อนเป็นคนป่วยง่าย ตั้งแต่ผ่าตัดก็ไม่ป่วยอีกเลย”

 

 

 

 

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสุชาติ ตรีนพรัตน์

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

“ผมก็ออกกำลังกายปกติเนี่ยล่ะครับ ออกกำลังกายสักพักใหญ่ๆ แล้วผมก็เดินโงนเงนๆ เหมือนกับบ้านหมุน”

 

ผมก็ไม่เอะใจอะไรเลย วัน 2 วันผมก็ไม่ซีเรียสไม่คิดอะไรมาก แล้วทีนี้ผมก็นอนหลับเหมือนจะมีอาการบ้านหมุน นอนเหมือนกับคนน้ำในหูไม่เท่ากันทำนองนั้นครับ ลืมตาไม่ได้เลยมันก็เหมือนหมุนติ้วๆ เลย

 

ผมก็เลยเรียก 1669 ขอไป รพ.รามคำแหง แอดมิดดีกว่า เราอยากเช็คให้แน่นอน ไปหาหมอภูริปัณย์แล้วเขาก็เช็คเรื่องประสาทตา ประสาทหู พอทำ MRI ถึงจะรู้ไงไปเจอเนื้องอก หมอก็แนะนำว่าต้องผ่าด่วน ผมก็เลยตัดสินใจผ่าเลยดีกว่า

 

คุยกับหมอได้ผมไม่วิตกไอ้เรื่องว่าผ่าแล้วจะตาย-ไม่ตายผมเฉยๆ ปกติ คือก็สู้อยู่แล้ว อยากให้มันหายก็เลยตัดสินใจผ่า ตอนนี้อาการปกติ ไปไหน เดินเหินปกติครับ ทั่วไปดีขึ้น

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณหนูรัติ คงปาน

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

คุณวรรัตน์บุตรสาวให้สัมภาษณ์

“เริ่มแรกคุณแม่บอกว่าเจ็บตา และก็มองไม่เห็น เราเข้าใจว่าเป็นเพราะมีอายุทำให้สายตาไม่ดี แล้วพอผ่านไปสัก 2-3 เดือนจนอาการหนักขึ้น ก็เลยตัดสินใจพามาหาหมอตาก่อน”

 

คุณหมอก็ได้ทำการตรวจอย่างละเอียดเลยค่ะ จนสุดท้ายคุณหมอบอกว่าตาไม่ได้เป็นอะไร คิดว่าน่าจะมีเนื้องอกที่ไปทับเส้นประสาทตา คุณหมอได้ส่งไปเอกซเรย์ทำ MRI ฉีดสีวันนั้นเลยค่ะ ผลก็ออกมาว่าเป็นเนื้องอกที่ต่อมใต้สมอง

 

คุณหมอเขาแนะนำให้มาพบกับ อ.นภสินธุ์ โชคดีวันนั้นที่ อ.นภสินธุ์อยู่เวรพอดี อาจารย์เขาก็แจ้งทุกอย่างเลยว่าไม่อันตราย เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องผ่านทางโพรงจมูก ซึ่งมี อ.ภูริปัณย์ เป็นคนเปิดช่องให้

 

หลังจากผ่าตัดเสร็จคุณหมอก็ได้เชิญเข้าห้องไอซียูเพื่อไปดูอาการคุณแม่ก็ตกใจมากไม่น่าเชื่อว่านี่คือคนที่พึ่งผ่าตัดสมองมา เพราะว่าคุณแม่รู้เรื่องทุกอย่างเลยค่ะ ขอบคุณ อ.นภสินธุ์ และ อ.ภูริปัณย์มากๆ ค่ะ

 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณนิสา วงษ์วิชา

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง

ในระยะเวลา 7-8 เดือน เริ่มจาก คัด จาม น้ำมูกไหล คิดว่าเป็น “ภูมิแพ้”

 

เริ่มจากคัดจมูก 1 ข้างเป็น 2 ข้าง...จนต่อมาหายใจไม่ได้เลย และเริ่มเห็นก้อนโผล่ออกมาที่จมูก ต้องหายใจทางปากตลอด แต่ก็รักษามาเรื่อยๆ นะ คืออาการหนักเลย จนกระทั้งวันหนึ่งมีเลือดออกทางจมูกด้านขวาเพราะด้านซ้ายจมูกตัน แล้วก็ออกลำคอไหลออกทั้งวัน

 

ไม่หยุดก็เลยไป รพ.ต่างจังหวัดแห่งหนึ่งเพราะมีประกันสังคมอยู่ที่นั่น...หมอเขาก็ตรวจแล้วก็ส่งตัวไป รพ.แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เพื่อเอาก้อนเนื้อจากจมูกไปตรวจ พอผลตรวจออกมาว่าเป็นมะเร็ง และลามขึ้นสมองแล้วเขาไม่สามารถที่จะผ่าได้เขาก็เลยส่งมาที่ รพ.รามคำแหง เพราะทีมแพทย์พร้อม เครื่องมือพร้อมเห็นคุณหมอบอกเนื้องอกของคุณใหญ่มาก บอกว่า ใช้เวลาในการผ่าตัดนาน ถามว่ากลัวไหม

 

มันก็กลัวนะ ...เราก็ไม่กล้านอนนะกลัวหายใจไม่ออก ต้องขอจับมือคุณพยาบาลให้เฝ้าจนนอนหลับก่อนค่อยออกไปได้ไหม อะไรประมาณนี้ค่ะ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณสุนทรีย์ นกงาม

 

ผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมอง 

หลังจากผ่าประมาณ 3 เดือน ประจำเดือนก็เริ่มมา โดยรวมแล้วมันก็ดีขึ้น
 

ตอนแรกไปหาหมอสูติก่อนว่าปวดท้อง แล้วก็ประจำเดือนไม่มาตรวจภายในก็ปกติ เขาก็เลยส่งไปตรวจเลือด

เขาบอกมันมีค่าตัวหนึ่งเป็นค่าฮอร์โมนต่อมใต้สมองผิดปกติ เขาก็เลยส่งไปที่แผนกต่อมไร้ท่อ

จนให้ทำ MRI ก็ไปเจอก้อนเนื้ออยู่ที่ต่อมใต้สมอง

 

แล้วเขาก็ส่งไปผ่าตัด แต่ปรากฏว่ายังผ่าไม่ได้เพราะไปเจอว่าเป็นเชื้อราตรงโพรงไซนัสอีก ต้องผ่าตัดไซนัสก่อน

แล้วก็มีญาติแนะนำมาว่าถ้าเกิดผ่าตัดสมองผ่า รพ.รามคำแหงดีไหม มีหมอรักษาดี แล้วราคาก็แบบไม่ได้สูงมาก ก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับ รพ.รามคำแหง

 

การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมอง ก็เลยตัดสินใจเอาฟิล์มเอกซเรย์ไปหาหมอนภสินธุ์ ซึ่ง นพ.นภสินธุ์ กับ นพ.ภูริปัณย์ ผ่าตัดร่วมกัน 

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณหวัง เตโช

 

ประสบการณ์การรักษาจากผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

 

ตาขวาพร่ามัวมองไม่ค่อยเห็นและ ปวดหัวแบบจี๊ด ๆ แล้วลามมาปวดที่ขมับขวาอยู่อย่างนั้น ซึ่งเวลาไหนที่ปวดมากก็ทำเอาเจ้าตัวถึงกับน้ำตาก็จะไหล...

 

“คุณกุลภัสสร์” บุตรสาวของ “คุณหวัง เตโช” โดยได้ให้ข้อมูลว่า “...เขากินยาพวกความดันอยู่แล้ว แต่ก่อนผ่าตัดราว 1-2 อาทิตย์เกิดอาการปวดหัวมาก...ปวดจนไม่ได้นอนเพราะถ้านอนไปแล้วก็จะปวด-ปวดจนนอนไม่หลับ ลูก ๆ เลยคิดว่าปล่อยไว้ไม่ได้แล้วเพราะแม่ได้นอนเลยถึงได้พาไปโรงพยาบาลแล้วได้เข้าเครื่อง MRI ก็เจอก้อนเนื้องอก ทำให้มาคิดกันว่าเราจะพาแม่ไปผ่าที่ไหนดี ก็เลยค้นหาข้อมูลจากเน็ตก็เจอว่าโรงพยาบาลรามคำแหงมีชื่อเสียงเรื่องรักษาเนื้องอก ก็เลยสรุปว่างั้นเราเลือกไปที่โรงพยาบาลรามคำแหงโดยไปหาคุณหมอนภสินธุ์ เถกิงเดช แม่จึงได้เข้าเครื่องสแกนสมอง MRI อีกรอบแล้วหมอก็บอกว่ามีก้อนเนื้อขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตรอยู่ด้านหลังตาขวาตรงช่องระหว่างสมองซึ่งผ่าตัดได้ แต่แม่ก็คิดอยู่ว่ากลัวจะไม่ฟื้น คือไม่อยากผ่าเพราะกลัวตายนั่นละ หมอก็บอกว่าเคยเจอกรณีที่ยากกว่านี้ ขออย่าได้กังวล...ก็ให้กำลังใจคนไข้ค่ะ แม่ได้นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลรามคำแหง 1 อาทิตย์ค่ะ และได้เข้ารับการตรวจสแกนสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอีกรอบหนึ่ง และหลังจากที่คุณหมอพิจารณาผลการสแกนแล้วก็ได้บอกเราว่าอีก 2 ปีค่อยมาเจอกัน...ประทับใจอาจารย์หมอเพราะพอผ่าตัดเสร็จตอนกลางคืนก็โทรมาบอกเราตอนเที่ยงคืนนั้นเลย ดึกขนาดนั้นก็ยัง โทรมาหามาบอกเราว่าปลอดภัยดีนะ คุณแม่เขาโอเคหมอผ่าตัดเรียบร้อย เพราะรู้ว่าเราเป็นห่วงเพราะแม่เองก็กังวลกลัวว่าจะไม่ฟื้น เลยพลอยให้ลูก ๆ ห่วงกันไปด้วย แต่มันก็น่ากลัว ผ่าสมองก็ต้องกลัวกันทั้งนั้น...แต่อาจารย์ก็บอกว่าไม่ต้องกลัว คิดไม่ผิดเลยที่ค้นข้อมูลแล้วเจอคุณหมอนภสินธุ์คนนี้ละค่ะ...นอกนั้นก็พาแม่ไปหาหมอปนัดดาเพื่อจะได้ดูเกี่ยวกับเบาหวาน ความดันโลหิต และแม่ก็เป็นหัวใจโตด้วยก็ให้เขาดูแลหมดทุกอย่าง คือต้องพามาหาหมอทุก 2-3 เดือนค่ะ...”

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณมาลี อรุณพูลทรัพย์

อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

“ไม่มีอาการปวดหัว แต่มีอาการเหมือนโรคซึมเศร้ามาก คือชอบอยู่คนเดียว เอาแต่นอนไม่แต่งตัว”

 

ตั้งแต่ประมาณเดือนกันยายน 2562 คือจะนอน ไม่พูดจากับใครไม่คุยกับใครไม่ยอมไปสอนหนังสือแล้วก็มีอาการมึนหัว งานการไม่เอา แม่ก็บอกว่าลองพาไปเช็คที่ รพ.รามคำแหง ซิว่าเขาเป็นอะไร ก็โทรมาปรึกษากับพยาบาลว่าอาการแบบเนี๊ยะ จากที่เราศึกษาดูเหมือนโรคซึมเศร้าเลย พามาหาหมอโรคจิตแต่อาการเขาน่ะไม่มีปวดหัวเลย ก็มาหาหมอช่วงเดือนธันวาคมประมาณเดือนหนึ่งมาทุกอาทิตย์ก็ไม่ดีขึ้น เพราะว่าคุณไข้เริ่มปัสสาวะ อุจจาระ ไม่รู้เรื่องแล้วน่าจะเกี่ยวกับสมอง เพราะว่าสมองมันจะคุมทุกอย่าง วันนี้เลยต้องเข้าอุโมงค์เลยโดยรอ 4 ชม.เพื่อให้ท้องว่างให้ทุกอย่างว่างให้พร้อม คุณหมอก็บอกว่ามันเป็นเยอะมากเนื้องอกอยู่รอบไปหมดเลย

หมอบอกว่าให้มาเตรียมตัวเลยต้องผ่าตัดใช้เวลา 10 ชม. ที่จะทำการผ่าตัดก็ตกลงมาอยู่นี่แล้วก็เริ่มผ่าตัด พอผ่าตัดแล้วคือเขาไม่รู้เรื่องอะไรเลยออกมาก็อาละวาด จะดึงแผลออก ดึงทุกอย่าง ก็ต้องคอยเฝ้ากันไม่ให้เขาดึง ต่อมาอาการเขาก็ดีขึ้นๆ จำคนโน้นได้จำคนนี้ได้จำทุกอย่างได้ทุกครั้งที่มาหาหมอๆ ก็จะเช็คสมองโดยการให้บวกเลขบ้างให้ลบเลขบ้าง แต่เขาก็ดีขึ้นสามารถจำได้บวกลบเลขได้ คุณหมอบอกว่าจากการผ่าตัด คือสมองเนื้องอกส่วนที่เอาออกไปมันต้องรอเวลาที่จะให้มันกลับมาเหมือนเดิมจากที่มันโดนกดทับมาค่ะ

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณปราณี และมัด

อดีตผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

“ผ่าตัด 4 ชม.ฟื้นมาก็ปกติ ต่างจากตอนมาอย่างเห็นได้ชัดเลยค่ะ”

 

พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือ นอนทั้งวันแล้วก็เหมือนถามอะไรก็จะตอบช้าๆ คิดไม่ออก จำ พ.ศ.เกิด วันเกิดของตัวเองไม่ได้ แม่ก็นอนอย่างเดียวเลยแล้วข้าวปลาก็ไม่กิน น้ำก็ไม่อาบหนูก็เอะใจมาก ก็เลยพาแม่ไปรพ.

เวลาเข้าพบหมอๆ ก็ถามอะไรแม่เกี่ยวกับอาการแล้วคุณหมอก็ให้ไปทำเอ็มอาร์ไอฉีดสี รู้ผลๆ ออกมา หมอก็บอกว่าเป็นเนื้องอกในสมองค่ะ ก็เลยต้องอยู่รพ. วันนั้นเลย และต้องผ่าวันรุ่งขึ้นเพราะสมองบวมเยอะแล้วค่ะ

หลังจากคุณหมอผ่าตัด 4 ชม. ก็รู้สึกตัวเลยค่ะ ลูกๆ ก็มาล้อมรอบเตียงถามว่าจำได้ไหม จำ พี่ๆ น้องๆ ได้ไหม คือลูกๆ กลัวว่าจะจำคนโน้นได้มั๊ย จำอะไรต่ออะไรได้มั๊ย แม่ก็จำได้หมดสื่อสารทุกอย่างได้หมด คล่องแคล่ว ดีใจกันใหญ่เลย ร้องไห้แบบดีใจว่าเออคุณแม่จำได้ทุกอย่าง กลับมาเป็นเหมือนเดิม