แผนกเด็ก - โรงพยาบาลรามคำแหง

รายชื่อศูนย์การแพทย์หรือคลินิกของโรงพยาบาลรามคำแหง

แผนกเด็ก

 

แผนกเด็ก โรงพยาบาลรามคำแหง


     การที่ลูกมีสุขภาพร่างกายที่ดี แข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน ไม่เจ็บป่วยง่าย ย่อมเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนต้องการ คลินิกเด็ก และคลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กโรงพยาบาลรามคำแหง ให้บริการดูแลสุขภาพเด็กอย่างครบวงจรโดยกุมารแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็กทุกสาขา พร้อมให้บริการตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน ตรวจรักษาโรคเด็กตามอาการป่วย โดยมีการแยกพื้นที่ของคลินิคส่งเสริมสุขภาพเด็ก ที่ให้การตรวจติดตามสุขภาพทารกหลังคลอด และให้บริการวัคซีน จากพื้นที่ให้บริการดูแลรักษาเด็กที่มีอาการเจ็บป่วยอย่างชัดเจน  

 

 


นอกจากนี้ยังมีศูนย์กระตุ้นพัฒนาการของเด็กพิเศษ ที่จะช่วยดูแลพัฒนาการและการเรียนรู้ เพื่อให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่เติบโตอย่างแข็งแรง ฉลาด สดใส และมีพัฒนาการที่สมวัย


 

 

แผนกเด็ก โรงพยาบาลรามคำแหง ประกอบด้วย 

 

 

แผนกเด็ก

 

 

 

แผนกเด็ก โรงพยาบาลรามคำแหง ให้บริการตรวจรักษาเฉพาะทางสำหรับเด็ก โดยกุมารแพทย์ทั่วไปและกุมารแพทย์เฉพาะทางให้การตรวจรักษา ดังนี้

  • กุมารศัลยศาสตร์
  • กุมารแพทย์โรคเด็ก
  • กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
  • กุมารแพทย์โรคผิวหนัง (ตจวิทยา)
  • กุมารแพทย์โรคทางเดินอาหารและตับ
  • กุมารแพทย์พัฒนาการเด็กและพฤติกรรม
  • กุมารแพทย์โรคหัวใจ
  • กุมารแพทย์ระบบการหายใจ
  • กุมารแพทย์ระบบประสาทวิทยา
  • กุมารแพทย์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอริซึม
  • กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
  • กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ
  • กุมารแพทย์ภาวะวิกฤติ
  • กุมารแพทย์โลหิตวิทยาและมะเร็งในตับ
  • กุมารแพทย์จิตเวชเด็กและวัยรุ่น
  • กุมารแพทย์โรคไต
  • กุมารแพทย์โภชนาการ

 

แผนกส่งเสริมสุขภาพเด็ก โรงพยาบาลรามคำแหงให้บริการดังนี้

1.  การตรวจสุขภาพ

  • การตรวจสุขภาพทั่วไป
  • การตรวจสุขภาพเข้าโรงเรียน
  • การตรวจสุขภาพเพื่อเข้าเรียนในต่างประเทศ

 

2.  การบริการฉีดวัคซีน

  • วัคซีนบังคับหรือวัคซีนพื้นฐาน คือ วัคซีนที่เด็กทุกคนต้องได้รับตามข้อกำหนดของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ วัคซีนวัณโรค วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนโปลิโอ วัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน วัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี และวัคซีนโรคสุกใส เป็นต้น
  • วัคซีนเสริม เช่น วัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อฮิบ (HIB) วัคซีนป้องกันโรคไวรัสโรตา วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี เป็นต้น
  • วัคซีนสำหรับเด็กต่างชาติที่จะเดินทางกลับประเทศหรือเดินทางท่องเที่ยว


 

แผนกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 

     แผนกส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลรามคำแหง ให้บริการเสริมสร้างศักยภาพและการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ เด็กออทิสติก เด็กที่มีพัฒนาการช้า เด็กสมาธิสั้น ด้วยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถของเด็กแต่ละคน โดยกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม นักกายภาพเด็ก นักกิจกรรมบำบัด และนักจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการอย่างเหมาะสมอันจะเป็นรากฐานสู่การเรียนรู้ของเด็กในอนาคตต่อไป 

 

ทีมพัฒนาการเด็ก

  • นักกิจกรรมบำบัด
  • ครูการศึกษาพิเศษ
  • นักแก้ไขการพูด
  • นักจิตวิทยาคลินิก

 

 

ทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางแผนกเด็ก

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

แผนกเด็ก

 

 

อ่านรายละเอียดของทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางแผนกเด็กเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2233

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณพ่อและคุณแม่น้องนับพลอย

 

 

ลูกวัย 6 เดือนเป็นไข้ชัก...คุณแม่วิตกกังวล

 

"น้องนับพลอย มีน้ำมูกอยู่ประมาณ 2 วันก็เริ่มมีไข้ต่ำ ๆ จนคืนวันถัดมาเริ่มมีไข้สูงจึงเช็ดตัวและให้ทานยาลดไข้แต่ไข้ไม่ลดเลยจึงไปโรงพยาบาลแถวบ้าน จ.อยุธยา พอดีว่าลูกเกิดอาการชักขึ้นมาวัดไข้ได้ถึง 39.5 ทางโรงพยาบาลก็พาไปสแกนสมอง-เจาะน้ำไขสันหลังพอเห็นว่ามือเท้าเขียวเหมือนว่าจะเริ่มชักอีกรอบหนึ่งก็เลยนำเข้าห้องฉุกเฉินเพราะมีไข้ขึ้นทุก 5 นาที 10 นาที โดยแม่ใช้เครื่องวัดส่วนตัวที่นำมาวัดซ้ำด้วยอีกทางหนึ่งด้วยแต่อาการก็ไม่ดีขึ้นคุณพ่อก็เลยตัดสินใจติดต่อโรงพยาบาลรามคำแหงให้ส่งรถมารับไปเลยค่ะ"

 

ความรู้สึกคุณพ่อน้องนับพลอยผู้ป่วยเด็กน้อย 

 

"เริ่มประทับใจตั้งแต่เขามารับเลยดีกว่ามีรถพยาบาลมารับเราก็ให้รถพยาบาลที่นี่มารับตัวน้องไปก็คือมีคุณหมอมาดูแลด้วย ตอนแรกความคิดที่ว่ามีแค่พยาบาลเฉย ๆ แต่มีคุณหมอมาดูแลด้วยก็รู้สึกอุ่นใจครับแล้วพอไปห้องไอซียูก็คือพยาบาลดูแลดีดูแลเหมือนญาติเลยครับดูแลทั้งคนไข้แล้วก็ญาติคนไข้ด้วยดูแลดีมาก เอาใจใส่ดีคุณหมอก็ให้คำแนะนำดีครับ"

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

เด็กชายณาน สุขประเสริฐ

คนไข้ภาวะ MIS-C หรือที่เรียกว่าโรคภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก

สัมภาษณ์คุณนิษธิดา สุขประเสริฐ คุณแม่ของผู้ป่วย

 

 “...ลูกมีอาเจียนค่อนข้างเยอะ แค่กินน้ำ หรือให้กินยาก็อาเจียนออกมาหมด ทีแรกคุณหมอคิดว่าน่าจะเป็นเพราะติดเชื้อ แต่เมื่อคุณหมอกับคุณพยาบาลได้ทราบว่าก่อนหน้านี้น้องฌานเพิ่งจะหายป่วยจากติดเชื้อโควิดมาได้ราว 2-3 อาทิตย์ เลยทำให้คุณหมอสะดุดขึ้นมาเพราะโรคที่ตามมาหลังจากเป็นโควิดน่าจะมีอาการไข้สูง แต่เหตุใดหนูน้อยรายนี้มีไข้ต่ำ ๆ และมีอาการเด่นชัดว่าเป็นปัญหาจากระบบทางเดินอาหาร คุณหมอก็เลยยังไม่ทิ้งประเด็นค่ะ แล้วก็ขอเจาะเลือดไปตรวจให้แน่ชัดว่าติดเชื้อตัวไหนอย่างไรโดยจะใช้เวลาวัน 2 วันค่ะ...แต่เมื่อเห็นทีท่าอาการของลูกแล้วคุณหมอบอกว่าอยากให้แอดมิดที่โรงพยาบาลค่ะ ก็เลยได้เข้าไปที่วอร์ดเด็กแล้วก็เห็นว่าน้องเขาตัวเหลืองแบบเห็นได้ชัดเลย...หัวใจก็เต้นเร็วขึ้น และรู้สึกตัวช้าลง น้อยลง คุณหมอจึงตัดสินใจให้ไป ICU ดีกว่าแม้ว่าเหมือนจะยังไม่ถึง 15 นาทีเลยค่ะ พอเข้าไปได้ไม่ถึง 20 นาทีคุณหมอ ICU เด็กก็มาขอคุยด้วยพร้อมกันกับคุณหมอเจ้าของไข้ค่ะ เพราะได้ค่าบางตัวออกมาบ้างแล้วและค่อนข้างหนักค่ะ คุณหมอก็เลยบอกว่าเดี๋ยวจะรักษาไอ้ตัวที่มันหนัก ๆ ออกไปก่อนเช่นพวกที่เกี่ยวกับการอักเสบของหัวใจ ซึ่งคุณหมอต้องให้ยาช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น พร้อมกับให้ยาต้านการอักเสบไปด้วย...”


พญ.ธาริตา จารุชนะพงศ์ธร แพทย์ผู้ชำนาญการเวชบำบัดวิกฤตเด็ก และนพ.พีรธัช โชคมั่งมีพิศาล แพทย์ผู้ชำนาญการโรคสมองและระบบประสาทในเด็ก แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า
"สรุปก็คือคนไข้มีโรคประจำตัวที่เพิ่งจะมาตรวจพบที่โรงพยาบาลรามคำแหงหลังจากที่เราช่วยมาทั้งหมดแล้ว โดยที่โรคประจำตัวของเขาคือเป็น G6PD deficienc"

  • อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ให้ลูกน้อย ตอนที่ 2

  • อาหารเพิ่มน้ำนมแม่ให้ลูกน้อย ตอนที่1

  • ลูกเป็นหวัด หรือ ติด RSV กันแน่?

  • ลูกโตช้ากว่าเพื่อนในวัยเดียวกัน ทำยังไงดี?

  • RSV โรคที่พบบ่อยในหน้าฝน

  • เด็กแพ้อาหาร เราจะจัดการยังไง!!

  • หากเกิดอุบัติเหตุทางศีรษะในเด็กควรทำอย่างไร?

  • ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ตอนที่ 3

  • ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ตอนที่ 2

  • ภาวะเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย ตอนที่ 1

  • ลูกน้อยท้องเสียจาก “โรต้าไวรัส” อันตรายกว่าที่คิด

  • ชวนคุณแม่มารู้จัก “วัคซีนพื้นฐาน” สำหรับลูกน้อย 0-12 เดือน ตอนที่ 2

  • ชวนคุณแม่มารู้จัก “วัคซีนพื้นฐาน” สำหรับลูกน้อย 0-12 เดือน ตอนที่ 1

  • เมื่อลูกปวดหัว อาการที่ไม่ควรมองข้าม

  • เชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็ก

  • ผื่นสัญญาณแรกของเด็กบอบบาง

  • ภาวะ MIS-C ในเด็ก เกิดขึ้นได้อย่างไร?

  • อุบัติเหตุเข้า ICU ไม่คาดคิด ภัยใกล้ตัวของลูกน้อย

  • สังเกตอย่างไร ว่าลูกเราเป็นโรคสมาธิสั้น

  • โควิดยังไม่หาย แต่ลูกจะเปิดเทอมแล้ว ทำไงดี?

เสียงจากผู้รับบริการ

คุณพ่อและคุณแม่น้องนับพลอย

 

 

ลูกวัย 6 เดือนเป็นไข้ชัก...คุณแม่วิตกกังวล

 

"น้องนับพลอย มีน้ำมูกอยู่ประมาณ 2 วันก็เริ่มมีไข้ต่ำ ๆ จนคืนวันถัดมาเริ่มมีไข้สูงจึงเช็ดตัวและให้ทานยาลดไข้แต่ไข้ไม่ลดเลยจึงไปโรงพยาบาลแถวบ้าน จ.อยุธยา พอดีว่าลูกเกิดอาการชักขึ้นมาวัดไข้ได้ถึง 39.5 ทางโรงพยาบาลก็พาไปสแกนสมอง-เจาะน้ำไขสันหลังพอเห็นว่ามือเท้าเขียวเหมือนว่าจะเริ่มชักอีกรอบหนึ่งก็เลยนำเข้าห้องฉุกเฉินเพราะมีไข้ขึ้นทุก 5 นาที 10 นาที โดยแม่ใช้เครื่องวัดส่วนตัวที่นำมาวัดซ้ำด้วยอีกทางหนึ่งด้วยแต่อาการก็ไม่ดีขึ้นคุณพ่อก็เลยตัดสินใจติดต่อโรงพยาบาลรามคำแหงให้ส่งรถมารับไปเลยค่ะ"

 

ความรู้สึกคุณพ่อน้องนับพลอยผู้ป่วยเด็กน้อย 

 

"เริ่มประทับใจตั้งแต่เขามารับเลยดีกว่ามีรถพยาบาลมารับเราก็ให้รถพยาบาลที่นี่มารับตัวน้องไปก็คือมีคุณหมอมาดูแลด้วย ตอนแรกความคิดที่ว่ามีแค่พยาบาลเฉย ๆ แต่มีคุณหมอมาดูแลด้วยก็รู้สึกอุ่นใจครับแล้วพอไปห้องไอซียูก็คือพยาบาลดูแลดีดูแลเหมือนญาติเลยครับดูแลทั้งคนไข้แล้วก็ญาติคนไข้ด้วยดูแลดีมาก เอาใจใส่ดีคุณหมอก็ให้คำแนะนำดีครับ"

 

 

เสียงจากผู้รับบริการ

เด็กชายณาน สุขประเสริฐ

คนไข้ภาวะ MIS-C หรือที่เรียกว่าโรคภาวะอักเสบทั่วร่างกายในเด็ก

สัมภาษณ์คุณนิษธิดา สุขประเสริฐ คุณแม่ของผู้ป่วย

 

 “...ลูกมีอาเจียนค่อนข้างเยอะ แค่กินน้ำ หรือให้กินยาก็อาเจียนออกมาหมด ทีแรกคุณหมอคิดว่าน่าจะเป็นเพราะติดเชื้อ แต่เมื่อคุณหมอกับคุณพยาบาลได้ทราบว่าก่อนหน้านี้น้องฌานเพิ่งจะหายป่วยจากติดเชื้อโควิดมาได้ราว 2-3 อาทิตย์ เลยทำให้คุณหมอสะดุดขึ้นมาเพราะโรคที่ตามมาหลังจากเป็นโควิดน่าจะมีอาการไข้สูง แต่เหตุใดหนูน้อยรายนี้มีไข้ต่ำ ๆ และมีอาการเด่นชัดว่าเป็นปัญหาจากระบบทางเดินอาหาร คุณหมอก็เลยยังไม่ทิ้งประเด็นค่ะ แล้วก็ขอเจาะเลือดไปตรวจให้แน่ชัดว่าติดเชื้อตัวไหนอย่างไรโดยจะใช้เวลาวัน 2 วันค่ะ...แต่เมื่อเห็นทีท่าอาการของลูกแล้วคุณหมอบอกว่าอยากให้แอดมิดที่โรงพยาบาลค่ะ ก็เลยได้เข้าไปที่วอร์ดเด็กแล้วก็เห็นว่าน้องเขาตัวเหลืองแบบเห็นได้ชัดเลย...หัวใจก็เต้นเร็วขึ้น และรู้สึกตัวช้าลง น้อยลง คุณหมอจึงตัดสินใจให้ไป ICU ดีกว่าแม้ว่าเหมือนจะยังไม่ถึง 15 นาทีเลยค่ะ พอเข้าไปได้ไม่ถึง 20 นาทีคุณหมอ ICU เด็กก็มาขอคุยด้วยพร้อมกันกับคุณหมอเจ้าของไข้ค่ะ เพราะได้ค่าบางตัวออกมาบ้างแล้วและค่อนข้างหนักค่ะ คุณหมอก็เลยบอกว่าเดี๋ยวจะรักษาไอ้ตัวที่มันหนัก ๆ ออกไปก่อนเช่นพวกที่เกี่ยวกับการอักเสบของหัวใจ ซึ่งคุณหมอต้องให้ยาช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น พร้อมกับให้ยาต้านการอักเสบไปด้วย...”


พญ.ธาริตา จารุชนะพงศ์ธร แพทย์ผู้ชำนาญการเวชบำบัดวิกฤตเด็ก และนพ.พีรธัช โชคมั่งมีพิศาล แพทย์ผู้ชำนาญการโรคสมองและระบบประสาทในเด็ก แพทย์ที่ให้การรักษากล่าวว่า
"สรุปก็คือคนไข้มีโรคประจำตัวที่เพิ่งจะมาตรวจพบที่โรงพยาบาลรามคำแหงหลังจากที่เราช่วยมาทั้งหมดแล้ว โดยที่โรคประจำตัวของเขาคือเป็น G6PD deficienc"