เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
ศูนย์อัมพาตเฉียบพลันโรงพยาบาลรามคำแหง
สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบตันนั้น
การตรวจหาหลอดเลือดตีบที่คอสาเหตุของการเกิดอัมพาตเฉียบพลัน
สำหรับการตรวจหาความผิดปกติในผู้ป่วยกลุ่มนี้นั้นสามารถตรวจด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพหลายอย่าง อาทิ การตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง หรืออาจตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและโดยเฉพาะการตรวจด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์หลอดเลือด ซึ่งนอกจากจะเป็นการตรวจที่มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้ว ยังมีความรวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการตรวจด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยไม่ต้องเจ็บตัวด้วย และช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจนและวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีการขยายหลอดเลือดตีบที่คอ...ป้องกันอัมพาต
โดยนำตัวผู้ป่วยเข้าตรวจด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อหาตำแหน่งที่แม่นยำก่อนการรักษาด้วยการทำบอลลูน ลักษณะเดียวกับการขยายหลอดเลือดที่หัวใจการรักษาหลอดเลือดตีบตันด้วยการขยายหลอดเลือดนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณ์คล้ายร่มสอดเข้าไปก่อนเพื่อรองรับเศษผนังหลอดเลือดและก้อนเลือดขณะทำการขยายหลอดเลือดเพื่อป้องกันมิให้เศษเล็กเศษน้อยดังกล่าวไหลไปอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง จากนั้นจึงทำการสอดสายสวนเข้าไปยังหลอดเลือดและสอดขดลวดค้ำยันเข้าไป ณ. ตำแหน่งหลอดเลือดเป้าหมายบริเวณลำคอเพื่อค้ำผนังหลอดเลือดไว้และเปิดทางให้เลือดไหลได้สะดวกตามปกติ
ต้องบอกว่าทำ TMS ไปแค่ 2 ครั้ง ใช้เวลาแค่ 2 วัน ชีวิตเปลี่ยนทันที คือเป็นการรักษาที่ทำให้คุณภาพชีวิตเรากลับมาเป็นเหมือนเดิมได้จริงๆ ภายในเวลาแค่ 2 วันเท่านั้นเอง
คุณธิดารัตน์ ตีทอง (ลูกสาวให้ข้อมูล)
มีโรคประจำตัวคือ “ความดันโลหิตสูง” ได้เกิดภาวะอาการทานอาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งนมก็ไม่ได้ ลองฝืนทานหรือดื่มเข้าไปเป็นต้องสำลักและอาเจียนออกมา จึงได้พาไปเข้ารับการรักษาโดยเป็นผู้ป่วยในที่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่เมื่อหมอให้กลับไปพักอยู่ที่บ้านได้เพียง 2 สัปดาห์อาการเวียนศีรษะก็กลับมารังควานอีก
“...เรารู้สึกว่าคุณภาพชีวิตมันแย่ หมอก็บอกว่าถ้าคุณพ่อเป็นอย่างนี้ต้องมีคนดูแลนะ เราก็เลยจ้างคนมาคอยดูแล เพราะเวลาเขานั่งอยู่เดี๋ยวๆ ก็มีเสมหะ ก็ต้องประคองเขาลุกขึ้นมา คือต้องมีคนเฝ้าตลอดทั้งคืน บางทีกลางคืนก็จะมีเสียงครืดๆ อยู่ในคอ แล้วพอใส่สายอาหารมาหลายวันก็เริ่มมีแผลกดทับที่ก้นเพราะว่านอนนาน...คือทุกครั้งที่สะอึก ทั้งคนไข้ทั้งญาติก็จะรู้สึกว่า เฮ้ย...อีกแล้วเหรอ เพราะสะอึกแต่ละครั้งใช้เวลาหลายชั่วโมง กว่าจะหยุด ซึ่งทำให้สภาพจิตใจทั้งของคนไข้และญาติแย่ไปหมด เลยมาคิดว่าถ้ากินยาให้หยุดสะอึกไม่หาย ต้องฉีดยาคลายเครียดให้นอนหลับอย่างเดียว รักษาแบบนี้มันไม่น่าจะใช่ เพราะอยู่โรงพยาบาลมา 10 วันไม่มีอะไรดีขึ้นเลย...ทรมานมากทั้งคนไข้และญาติ ก็เลยลองคุยกับหมอที่รู้จักกัน เขาก็แนะนำให้พาคุณพ่อไปหาหมอด้านระบบประสาท เราจึงได้เริ่มหาข้อมูลและเจอว่ามีการรักษาโดยใช้เทคโนโลยี TMS ก็เลยตัดสินใจพาคุณพ่อมาที่ รพ.รามคำแหง และได้มาคุยกับคุณหมออริยาจึงรู้สึกว่าน่าจะเป็นแนวทางการรักษาที่โอเค และสะดวกมากเพราะคนไข้ก็ไม่จำเป็นต้องแอดมิท แค่มาทำ TMS ในวันรุ่งขึ้นตามที่คุณหมอนัด เมื่อทำ TMS ไป 2 ครั้งก็เห็นผลเลยว่าคุณพ่อเริ่มกลืนได้ ที่จริงต้องบอกว่าตั้งแต่ทำครั้งแรกเสร็จแล้วคุณหมอลองให้ทดสอบด้วยการกลืนน้ำคุณพ่อก็เริ่มกลืนได้แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้น้ำก็ไม่สามารถกลืนได้เพราะจะสำลักออกมาตลอด เพียงแต่ว่าหลังจากทำครั้งแรก คุณพ่อก็ยังมีอาการเจ็บคอแล้วก็ยังมีเสมหะ เพราะพอใส่สายนานก็เริ่มติดเชื้อ คุณหมอก็เลยให้ยาฆ่าเชื้อไปกิน แล้วอีก 2 วันก็นัดคุณพ่อมาทำ TMS ใหม่ ซึ่งระหว่างรอทำครั้งที่ 2 ก็ได้สั่งอาหารเหลวของโรงพยาบาลให้คุณพ่อผ่านทางสายอาหารไปก่อน แต่พอทำครั้งที่ 2 เสร็จก็สามารถถอดสายอาหารได้เลย เพราะคุณพ่อกลับมากลืนได้ เริ่มกินข้าวต้มได้ แต่ตอนนั้นคุณหมอก็บอกไว้ว่าเวลากลืนให้ก้มหน้า แต่คุณพ่อก็ไม่มีปัญหาเรื่องสำลักอีกเลย ซึ่งทั้งคนไข้ทั้งญาติดีใจกันมาก พอทำครั้งที่ 3 ก็สามารถลุกขึ้นนั่งบนที่นอนได้ เพียงแต่ว่ายังต้องมีคนพยุง และยังต้องใช้ Walker เวลาจะเดิน แต่ตอนนี้เสียงก็ดีขึ้นจากที่เสียงแหบ พูดแล้วไม่ได้ยินเสียงเลย ตอนนี้คุยโทรศัพท์ได้ โทรหาเพื่อนได้แล้วค่ะ...”
พญ.อริยา ทิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท รพ.รามคำแหง อธิบายว่า "ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบบริเวณก้านสมอง" ส่งผลให้เกิดภาวะอาการทานอาหารหรือดื่มน้ำดื่มนมไม่ได้เลยเพราะจะเกิดการสำลัก อันเป็นผลจากกรณีที่ “สารสื่อประสาทในสมองที่ควบคุมเส้นเสียงไม่ทำงาน” ทำให้ “เส้นเสียงไม่ปิด” ที่มีสาเหตุจากเส้นเลือดตีบและส่งผลต่อระบบประสาท ซึ่งหากกลืนแล้วสำลักออกมาอาจเป็นอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อลงปอด แพทย์จึงต้องใส่สายให้อาหารผ่านจากรูจมูกลงไปที่กระเพาะเพื่อป้องกันการสำลัก “...นอกจากนี้คนไข้ก็ไม่มีเสียง ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ทรงตัวลำบาก เพราะตำแหน่งที่มีเส้นเลือดตีบที่ก้านสมองจะควบคุมเรื่องการกลืน การสำลัก การสะอึก การพูด แล้วก็การทรงตัวโดยตรง แล้วพอมารับการกระตุ้นโดยใช้เทคโน ฯ TMS ครั้งแรกก็กลับมามีเสียงเลย คือมีการตอบสนองดีมาก...ลูกๆ ของคุณประเสริฐเองก็อยากให้ได้รับการรักษาด้วย TMS โดยอยากให้หมอช่วยกระตุ้นเรื่องการกลืนให้ แต่เคสคุณประเสริฐพอกระตุ้นด้วย TMS ไปครั้งที่ 1 ก็สามารถพูดได้เลย และมีแนวโน้มว่าจะสามารถกินอาหารได้ตั้งแต่ครั้งแรก ก็เป็นเคสที่ถือโชคดีด้วย...”
อดีตผู้ป่วยสมองขาดเลือดชั่วคราว
“ ขณะเดินออกกำลังกายรอบเย็นอยู่ที่บ้านตามปกติ คือหลังจากเดินไปแค่ 3-4 ร้อยเมตรก็รู้สึกว่าเหนื่อยเร็วกว่าที่เคย แต่ก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะอากาศร้อนจึงนั่งพักไปราว ๆ 10 กว่านาทีก็ไม่หายเหนื่อยจึงตัดสินใจเลิกเดินเพื่อจะได้ไม่ฝืนกำลังตัวเอง..
..เมื่อถึงเวลาอาหารทานได้ 2-3 คำก็วางช้อน และมานั่งดูทีวีโดยเอาหัวพิงเก้าอี้เพื่อจะได้เอนตัวแต่ความจริงรู้สึกว่าเหนื่อย สักพักภรรยามาคุยและถามอะไรอีกหลายเรื่องก็ตอบไป ซึ่งภรรยาผมได้สงสัยแล้วว่าเหตุใดถามอย่างกลับตอบอีกอย่าง ส่วนผมเองไม่รู้เลยว่าตอบอะไรไปแต่รู้สึกว่ามึนหัว...ง่วงจนจะหลับแต่พอหลับตาก็เหนื่อย...ภรรยาจึงบอกไปหาหมอดีกว่า ระหว่างที่จะลุกขึ้นยืนก็เกิดอาการปลายนิ้วสั่น มือซ้ายชาไปหมด ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง เริ่มชาก็เลยนวด แต่ไม่นานก็ชาไปทั้งแขนขึ้นไปที่ไหล่ จึงเริ่มไหวตัวว่านี่เป็นคลาสสิกเคสของอัมพฤกษ์ ซึ่งผมเคยมีประวัติเส้นเลือดใหญ่ขึ้นสมองอุดตันตรงต้นคอเมื่อปีก่อน ทำให้สงสัยจะเป็นแบบเดิมอีกแล้วโดยอาจจะมีก้อนไขมันหรืออะไรมาอุด...แต่ระหว่างที่นั่งรอรถมารับอยู่ประมาณ 2 นาทีอาการชาก็หายไป พอหายไปปุ๊บก็หายง่วงตาสว่างขึ้นมาทันที…”
พญ.อริยา ทิมา แพทย์ผู้ชำนาญการโรคสมองและระบบประสาท รพ.รามคำแหง
หลังจากคนไข้เข้าตรวจด้วย “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” หรือ MRI Scan แล้วได้ทราบว่า... เส้นเลือดที่เคยตรวจพบมาแล้วได้ตีบไปเพียง 50%...เป็นภาวะ “สมองขาดเลือดชั่วคราว” หรือ TIA จึงปรากฏอาการหลายอย่างขึ้นมาแต่ก็ได้หายไปในเวลาเพียง 5-10 นาที ถือเป็นสัญญาณเตือนของอัมพาตโดยเกิดการตีบที่เส้นเลือดในสมองซีกซ้ายซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมเรื่องการสื่อสาร ทำให้คนไข้พูดหรือตอบคำถามไม่ตรงประเด็น อีกทั้งคนไข้เคยมีภาวะเส้นเลือดใหญ่ที่คอตีบอยู่ด้วย ถ้าตีบเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นที่สมองหรือที่คอ รักษาด้วยการให้ยาต้านเกล็ดเลือดทานพร้อมกับให้น้ำเกลือและปรับลดยาความดันโลหิต ซึ่งในกรณีนี้โชคดีว่าสะเก็ดไขมันไม่ใหญ่มากจึงละลายไปเอง โดยทำให้สมองขาดเลือดแค่ชั่วคราวและหายเองได้ ที่น่าดีใจคือไม่ได้อยู่โดยลำพังขณะเกิดอาการ
โดยสถิติประมาณ 10% ของคนไข้จะมีโอกาสเป็นซ้ำใน 72 ชั่วโมงแรก จึงต้องบอกตัวเองไว้เลยว่า TIA เป็นสัญญาณเตือนอัมพาต เพราะฉะนั้นถ้าเป็นขึ้นมาแล้วถึงจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว 5-10 นาทีก็แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
อดีตผู้ป่วยระบบประสาทคู่ที่ 5 บนใบหน้าอักเสบ
“หลังผ่าตัดเรารู้สึกว่าดีขึ้นเลย หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่มีอาการให้เห็นเลย ใช้ชีวิตตามปกติได้สบาย”
มีอาการเกี่ยวกับโรคเส้นประสาทบนใบหน้าอักเสบเกี่ยวกับคู่ที่ 5 เป็นมาประมาณ 5 ปี แต่ว่ามาช่วง 3 เดือนหลังอาการเริ่มหนักขึ้น จากริมฝีปากล่างยาวไปจนถึงบริเวณใบหูล่าง เจ็บมาก ตอนแรกจะรู้สึกเหมือนเสียวฟัน เจ็บฟัน ตอนแรกคิดว่าอาจจะฝันผุ หรือว่ามีอาการเกี่ยวกับฟัน แต่ว่าไม่ใช่
โดยโรคจะสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ อย่างเช่น รับประทานอาหาร การพูดคุย หรือแค่อ้าปาก ดื่มกาแฟ ดื่มน้ำ หรือว่าอาบน้ำเอามือลูบไปที่หน้าก็ไม่สามารถทำได้แล้ว มันเจ็บมาก เจ็บยิ่งกว่าคลอดลูกอีกโรคนี้ ก็เลยตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด เพราะน้ำหนัก 3 เดือนลดไป 10 กิโลกรัม
อยากจะบอกคนที่คิดว่าอาจจะเป็นโรคปลายประสาทคู่ที่ 5 อักเสบ หากมีการสัมผัสที่หน้าหรือว่าลมพัด หรือว่าเอามือลูบที่แก้มแล้วเจ็บ ไม่ต้องรอให้ถึงเคี้ยวข้าวหรือว่าอ้าปากไม่ได้ หรือว่ารอให้ไปถึงถอนฟัน ให้รีบไปพบคุณหมอ
แล้วก็มีโรคหอบหืดเป็นโรคประจำตัว ซึ่งต้องพ่นยาขยายหลอดลมทุกวัน เคยไปปรึกษาคุณหมอที่โรงพยาบาลอื่น ก็ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ จนมาพบคุณหมอเมธี ที่ รพ.รามคำแหง แล้วท่านก็บอกว่าสามารถผ่าได้โดยที่ไม่มีผลข้างเคียง และไม่เป็นอันตราย ก็เลยตัดสินใจผ่าตัดที่ รพ.รามคำแหง
อดีตผู้รักษาโรคซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยี TMS
“ รู้สึกว่ามันดีขึ้นมันทำให้รู้สึกว่าเราอยากทานแล้วก็นอนหลับได้ จิตใจเราไม่ฟุ้งซ่าน เราไม่ปวดหัว เหมือนเคมีในสมองมันกลับมาปกติ ทำให้เราทำงานได้ปกติเหมือนเดิมค่ะ ก็ดูแลแม่ได้ ช่วยทำงานบ้านได้ ”
เริ่มมีอาการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 61 นะคะ แล้วมันไม่ไหว มือสั่น ใจสั่น นอนไม่หลับ กินไม่ได้ก็ไปหาหมอที่คลินิกแห่งหนึ่ง หมอก็ให้กินยานอนหลับให้กินสูงสุดถึงประมาณ 15 เม็ด แต่พี่กินไป 5 เม็ด แล้วก็ยังไม่หลับ ที่บ้านบอกว่าหยุดกินได้แล้ว ทีนี้ก็พอช่วงหลังๆ มาจะแบบรู้สึกกลัว ไม่กล้าขับรถใจมันสั่นหวิว เหงื่อออก ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 62 มาไม่กล้าขับรถ เหมือนว่าปวดหัวมาก ปวดตามไหล่ ปวดตามบ่า ปวดไปทั้งตัว เหมือนหัวมันจะแตก ไม่อยากอยู่ ต้องแอบไม่อยากเจอใคร เพราะเหมือนว่าเราทำอะไรไม่ได้ เราช่วยดูแลแม่ไม่ได้ คือเพิ่งออกมาจากงานเพื่อจะดูแลแม่ แต่ทำไม่ได้มันก็เลยทำให้ไม่อยากอยู่
แม่ก็รักษาอยู่กับคุณหมออริยา เคยถามท่านว่าโรคแบบนี้ต้องทำยังไง หมอบอกว่าให้ลองทำ TMS ดูเผื่อจะดีขึ้น พอประมาณปลายเดือนกรกฎาคมก็เลยมาหาหมอค่ะ พอดีไม่สบายเป็นไข้ปวดหัวมาก ก็นอนแอดมิทที่ รพ.ประมาณ 3-4 วัน แล้ววันที่ 2 หมอก็ให้ทำ TMS ก็รู้สึกดีขึ้นก็ทานข้าวได้ นอนหลับ แล้วก็วันที่ 3 ก็ทำอีกทีก็ดีขึ้นค่ะ หมอบอกว่าให้ยากระตุ้นด้วยนะคะ
ต้องบอกว่าทำ TMS ไปแค่ 2 ครั้ง ใช้เวลาแค่ 2 วัน ชีวิตเปลี่ยนทันที คือเป็นการรักษาที่ทำให้คุณภาพชีวิตเรากลับมาเป็นเหมือนเดิมได้จริงๆ ภายในเวลาแค่ 2 วันเท่านั้นเอง
คุณธิดารัตน์ ตีทอง (ลูกสาวให้ข้อมูล)
มีโรคประจำตัวคือ “ความดันโลหิตสูง” ได้เกิดภาวะอาการทานอาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งนมก็ไม่ได้ ลองฝืนทานหรือดื่มเข้าไปเป็นต้องสำลักและอาเจียนออกมา จึงได้พาไปเข้ารับการรักษาโดยเป็นผู้ป่วยในที่ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่เมื่อหมอให้กลับไปพักอยู่ที่บ้านได้เพียง 2 สัปดาห์อาการเวียนศีรษะก็กลับมารังควานอีก
“...เรารู้สึกว่าคุณภาพชีวิตมันแย่ หมอก็บอกว่าถ้าคุณพ่อเป็นอย่างนี้ต้องมีคนดูแลนะ เราก็เลยจ้างคนมาคอยดูแล เพราะเวลาเขานั่งอยู่เดี๋ยวๆ ก็มีเสมหะ ก็ต้องประคองเขาลุกขึ้นมา คือต้องมีคนเฝ้าตลอดทั้งคืน บางทีกลางคืนก็จะมีเสียงครืดๆ อยู่ในคอ แล้วพอใส่สายอาหารมาหลายวันก็เริ่มมีแผลกดทับที่ก้นเพราะว่านอนนาน...คือทุกครั้งที่สะอึก ทั้งคนไข้ทั้งญาติก็จะรู้สึกว่า เฮ้ย...อีกแล้วเหรอ เพราะสะอึกแต่ละครั้งใช้เวลาหลายชั่วโมง กว่าจะหยุด ซึ่งทำให้สภาพจิตใจทั้งของคนไข้และญาติแย่ไปหมด เลยมาคิดว่าถ้ากินยาให้หยุดสะอึกไม่หาย ต้องฉีดยาคลายเครียดให้นอนหลับอย่างเดียว รักษาแบบนี้มันไม่น่าจะใช่ เพราะอยู่โรงพยาบาลมา 10 วันไม่มีอะไรดีขึ้นเลย...ทรมานมากทั้งคนไข้และญาติ ก็เลยลองคุยกับหมอที่รู้จักกัน เขาก็แนะนำให้พาคุณพ่อไปหาหมอด้านระบบประสาท เราจึงได้เริ่มหาข้อมูลและเจอว่ามีการรักษาโดยใช้เทคโนโลยี TMS ก็เลยตัดสินใจพาคุณพ่อมาที่ รพ.รามคำแหง และได้มาคุยกับคุณหมออริยาจึงรู้สึกว่าน่าจะเป็นแนวทางการรักษาที่โอเค และสะดวกมากเพราะคนไข้ก็ไม่จำเป็นต้องแอดมิท แค่มาทำ TMS ในวันรุ่งขึ้นตามที่คุณหมอนัด เมื่อทำ TMS ไป 2 ครั้งก็เห็นผลเลยว่าคุณพ่อเริ่มกลืนได้ ที่จริงต้องบอกว่าตั้งแต่ทำครั้งแรกเสร็จแล้วคุณหมอลองให้ทดสอบด้วยการกลืนน้ำคุณพ่อก็เริ่มกลืนได้แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้น้ำก็ไม่สามารถกลืนได้เพราะจะสำลักออกมาตลอด เพียงแต่ว่าหลังจากทำครั้งแรก คุณพ่อก็ยังมีอาการเจ็บคอแล้วก็ยังมีเสมหะ เพราะพอใส่สายนานก็เริ่มติดเชื้อ คุณหมอก็เลยให้ยาฆ่าเชื้อไปกิน แล้วอีก 2 วันก็นัดคุณพ่อมาทำ TMS ใหม่ ซึ่งระหว่างรอทำครั้งที่ 2 ก็ได้สั่งอาหารเหลวของโรงพยาบาลให้คุณพ่อผ่านทางสายอาหารไปก่อน แต่พอทำครั้งที่ 2 เสร็จก็สามารถถอดสายอาหารได้เลย เพราะคุณพ่อกลับมากลืนได้ เริ่มกินข้าวต้มได้ แต่ตอนนั้นคุณหมอก็บอกไว้ว่าเวลากลืนให้ก้มหน้า แต่คุณพ่อก็ไม่มีปัญหาเรื่องสำลักอีกเลย ซึ่งทั้งคนไข้ทั้งญาติดีใจกันมาก พอทำครั้งที่ 3 ก็สามารถลุกขึ้นนั่งบนที่นอนได้ เพียงแต่ว่ายังต้องมีคนพยุง และยังต้องใช้ Walker เวลาจะเดิน แต่ตอนนี้เสียงก็ดีขึ้นจากที่เสียงแหบ พูดแล้วไม่ได้ยินเสียงเลย ตอนนี้คุยโทรศัพท์ได้ โทรหาเพื่อนได้แล้วค่ะ...”
พญ.อริยา ทิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท รพ.รามคำแหง อธิบายว่า "ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบบริเวณก้านสมอง" ส่งผลให้เกิดภาวะอาการทานอาหารหรือดื่มน้ำดื่มนมไม่ได้เลยเพราะจะเกิดการสำลัก อันเป็นผลจากกรณีที่ “สารสื่อประสาทในสมองที่ควบคุมเส้นเสียงไม่ทำงาน” ทำให้ “เส้นเสียงไม่ปิด” ที่มีสาเหตุจากเส้นเลือดตีบและส่งผลต่อระบบประสาท ซึ่งหากกลืนแล้วสำลักออกมาอาจเป็นอันตรายที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อลงปอด แพทย์จึงต้องใส่สายให้อาหารผ่านจากรูจมูกลงไปที่กระเพาะเพื่อป้องกันการสำลัก “...นอกจากนี้คนไข้ก็ไม่มีเสียง ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ทรงตัวลำบาก เพราะตำแหน่งที่มีเส้นเลือดตีบที่ก้านสมองจะควบคุมเรื่องการกลืน การสำลัก การสะอึก การพูด แล้วก็การทรงตัวโดยตรง แล้วพอมารับการกระตุ้นโดยใช้เทคโน ฯ TMS ครั้งแรกก็กลับมามีเสียงเลย คือมีการตอบสนองดีมาก...ลูกๆ ของคุณประเสริฐเองก็อยากให้ได้รับการรักษาด้วย TMS โดยอยากให้หมอช่วยกระตุ้นเรื่องการกลืนให้ แต่เคสคุณประเสริฐพอกระตุ้นด้วย TMS ไปครั้งที่ 1 ก็สามารถพูดได้เลย และมีแนวโน้มว่าจะสามารถกินอาหารได้ตั้งแต่ครั้งแรก ก็เป็นเคสที่ถือโชคดีด้วย...”
อดีตผู้ป่วยสมองขาดเลือดชั่วคราว
“ ขณะเดินออกกำลังกายรอบเย็นอยู่ที่บ้านตามปกติ คือหลังจากเดินไปแค่ 3-4 ร้อยเมตรก็รู้สึกว่าเหนื่อยเร็วกว่าที่เคย แต่ก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะอากาศร้อนจึงนั่งพักไปราว ๆ 10 กว่านาทีก็ไม่หายเหนื่อยจึงตัดสินใจเลิกเดินเพื่อจะได้ไม่ฝืนกำลังตัวเอง..
..เมื่อถึงเวลาอาหารทานได้ 2-3 คำก็วางช้อน และมานั่งดูทีวีโดยเอาหัวพิงเก้าอี้เพื่อจะได้เอนตัวแต่ความจริงรู้สึกว่าเหนื่อย สักพักภรรยามาคุยและถามอะไรอีกหลายเรื่องก็ตอบไป ซึ่งภรรยาผมได้สงสัยแล้วว่าเหตุใดถามอย่างกลับตอบอีกอย่าง ส่วนผมเองไม่รู้เลยว่าตอบอะไรไปแต่รู้สึกว่ามึนหัว...ง่วงจนจะหลับแต่พอหลับตาก็เหนื่อย...ภรรยาจึงบอกไปหาหมอดีกว่า ระหว่างที่จะลุกขึ้นยืนก็เกิดอาการปลายนิ้วสั่น มือซ้ายชาไปหมด ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง เริ่มชาก็เลยนวด แต่ไม่นานก็ชาไปทั้งแขนขึ้นไปที่ไหล่ จึงเริ่มไหวตัวว่านี่เป็นคลาสสิกเคสของอัมพฤกษ์ ซึ่งผมเคยมีประวัติเส้นเลือดใหญ่ขึ้นสมองอุดตันตรงต้นคอเมื่อปีก่อน ทำให้สงสัยจะเป็นแบบเดิมอีกแล้วโดยอาจจะมีก้อนไขมันหรืออะไรมาอุด...แต่ระหว่างที่นั่งรอรถมารับอยู่ประมาณ 2 นาทีอาการชาก็หายไป พอหายไปปุ๊บก็หายง่วงตาสว่างขึ้นมาทันที…”
พญ.อริยา ทิมา แพทย์ผู้ชำนาญการโรคสมองและระบบประสาท รพ.รามคำแหง
หลังจากคนไข้เข้าตรวจด้วย “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” หรือ MRI Scan แล้วได้ทราบว่า... เส้นเลือดที่เคยตรวจพบมาแล้วได้ตีบไปเพียง 50%...เป็นภาวะ “สมองขาดเลือดชั่วคราว” หรือ TIA จึงปรากฏอาการหลายอย่างขึ้นมาแต่ก็ได้หายไปในเวลาเพียง 5-10 นาที ถือเป็นสัญญาณเตือนของอัมพาตโดยเกิดการตีบที่เส้นเลือดในสมองซีกซ้ายซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมเรื่องการสื่อสาร ทำให้คนไข้พูดหรือตอบคำถามไม่ตรงประเด็น อีกทั้งคนไข้เคยมีภาวะเส้นเลือดใหญ่ที่คอตีบอยู่ด้วย ถ้าตีบเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นที่สมองหรือที่คอ รักษาด้วยการให้ยาต้านเกล็ดเลือดทานพร้อมกับให้น้ำเกลือและปรับลดยาความดันโลหิต ซึ่งในกรณีนี้โชคดีว่าสะเก็ดไขมันไม่ใหญ่มากจึงละลายไปเอง โดยทำให้สมองขาดเลือดแค่ชั่วคราวและหายเองได้ ที่น่าดีใจคือไม่ได้อยู่โดยลำพังขณะเกิดอาการ
โดยสถิติประมาณ 10% ของคนไข้จะมีโอกาสเป็นซ้ำใน 72 ชั่วโมงแรก จึงต้องบอกตัวเองไว้เลยว่า TIA เป็นสัญญาณเตือนอัมพาต เพราะฉะนั้นถ้าเป็นขึ้นมาแล้วถึงจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว 5-10 นาทีก็แนะนำให้รีบไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
อดีตผู้ป่วยระบบประสาทคู่ที่ 5 บนใบหน้าอักเสบ
“หลังผ่าตัดเรารู้สึกว่าดีขึ้นเลย หายเป็นปลิดทิ้ง ไม่มีอาการให้เห็นเลย ใช้ชีวิตตามปกติได้สบาย”
มีอาการเกี่ยวกับโรคเส้นประสาทบนใบหน้าอักเสบเกี่ยวกับคู่ที่ 5 เป็นมาประมาณ 5 ปี แต่ว่ามาช่วง 3 เดือนหลังอาการเริ่มหนักขึ้น จากริมฝีปากล่างยาวไปจนถึงบริเวณใบหูล่าง เจ็บมาก ตอนแรกจะรู้สึกเหมือนเสียวฟัน เจ็บฟัน ตอนแรกคิดว่าอาจจะฝันผุ หรือว่ามีอาการเกี่ยวกับฟัน แต่ว่าไม่ใช่
โดยโรคจะสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ อย่างเช่น รับประทานอาหาร การพูดคุย หรือแค่อ้าปาก ดื่มกาแฟ ดื่มน้ำ หรือว่าอาบน้ำเอามือลูบไปที่หน้าก็ไม่สามารถทำได้แล้ว มันเจ็บมาก เจ็บยิ่งกว่าคลอดลูกอีกโรคนี้ ก็เลยตัดสินใจเข้ารับการผ่าตัด เพราะน้ำหนัก 3 เดือนลดไป 10 กิโลกรัม
อยากจะบอกคนที่คิดว่าอาจจะเป็นโรคปลายประสาทคู่ที่ 5 อักเสบ หากมีการสัมผัสที่หน้าหรือว่าลมพัด หรือว่าเอามือลูบที่แก้มแล้วเจ็บ ไม่ต้องรอให้ถึงเคี้ยวข้าวหรือว่าอ้าปากไม่ได้ หรือว่ารอให้ไปถึงถอนฟัน ให้รีบไปพบคุณหมอ
แล้วก็มีโรคหอบหืดเป็นโรคประจำตัว ซึ่งต้องพ่นยาขยายหลอดลมทุกวัน เคยไปปรึกษาคุณหมอที่โรงพยาบาลอื่น ก็ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้ จนมาพบคุณหมอเมธี ที่ รพ.รามคำแหง แล้วท่านก็บอกว่าสามารถผ่าได้โดยที่ไม่มีผลข้างเคียง และไม่เป็นอันตราย ก็เลยตัดสินใจผ่าตัดที่ รพ.รามคำแหง
อดีตผู้รักษาโรคซึมเศร้าด้วยเทคโนโลยี TMS
“ รู้สึกว่ามันดีขึ้นมันทำให้รู้สึกว่าเราอยากทานแล้วก็นอนหลับได้ จิตใจเราไม่ฟุ้งซ่าน เราไม่ปวดหัว เหมือนเคมีในสมองมันกลับมาปกติ ทำให้เราทำงานได้ปกติเหมือนเดิมค่ะ ก็ดูแลแม่ได้ ช่วยทำงานบ้านได้ ”
เริ่มมีอาการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 61 นะคะ แล้วมันไม่ไหว มือสั่น ใจสั่น นอนไม่หลับ กินไม่ได้ก็ไปหาหมอที่คลินิกแห่งหนึ่ง หมอก็ให้กินยานอนหลับให้กินสูงสุดถึงประมาณ 15 เม็ด แต่พี่กินไป 5 เม็ด แล้วก็ยังไม่หลับ ที่บ้านบอกว่าหยุดกินได้แล้ว ทีนี้ก็พอช่วงหลังๆ มาจะแบบรู้สึกกลัว ไม่กล้าขับรถใจมันสั่นหวิว เหงื่อออก ตั้งแต่เดือนมกราคมปี 62 มาไม่กล้าขับรถ เหมือนว่าปวดหัวมาก ปวดตามไหล่ ปวดตามบ่า ปวดไปทั้งตัว เหมือนหัวมันจะแตก ไม่อยากอยู่ ต้องแอบไม่อยากเจอใคร เพราะเหมือนว่าเราทำอะไรไม่ได้ เราช่วยดูแลแม่ไม่ได้ คือเพิ่งออกมาจากงานเพื่อจะดูแลแม่ แต่ทำไม่ได้มันก็เลยทำให้ไม่อยากอยู่
แม่ก็รักษาอยู่กับคุณหมออริยา เคยถามท่านว่าโรคแบบนี้ต้องทำยังไง หมอบอกว่าให้ลองทำ TMS ดูเผื่อจะดีขึ้น พอประมาณปลายเดือนกรกฎาคมก็เลยมาหาหมอค่ะ พอดีไม่สบายเป็นไข้ปวดหัวมาก ก็นอนแอดมิทที่ รพ.ประมาณ 3-4 วัน แล้ววันที่ 2 หมอก็ให้ทำ TMS ก็รู้สึกดีขึ้นก็ทานข้าวได้ นอนหลับ แล้วก็วันที่ 3 ก็ทำอีกทีก็ดีขึ้นค่ะ หมอบอกว่าให้ยากระตุ้นด้วยนะคะ
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th