s TMS ทางเลือกใหม่รักษาโรคซึมเศร้า - โรงพยาบาลรามคำแหง

TMS ทางเลือกใหม่รักษาโรคซึมเศร้า - โรงพยาบาลรามคำแหง

February 27 / 2024

 

 

TMS ทางเลือกใหม่รักษาโรคซึมเศร้า

 


มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่มีภาวะซึมเศร้า บางคนเป็นโดยไม่รู้ตัว ทำให้ไม่ได้รับการรักษา การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นจะเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก เอาแต่ท้อแท้ ซึมเศร้า จริงๆ แล้วมันเป็นอาการของโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคนี้ก็จะทุเลาหรือหายเป็นปกติได้

 



 

นัดพบแพทย์คลิก 
พญ.อริยา ทิมา 
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุกรรมประสาทวิทยา
โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

โรคซึมเศร้า มีองค์ประกอบ 5 อย่างดังนี้

 

 

  • มีอาการเบื่อหน่ายท้อแท้ โดยเฉพาะกิจกรรมที่เคยทำแล้วรู้สึกชอบ แต่กลับเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากทำและเป็นอยู่อย่างนั้นแทบจะทุกวัน เบื่ออาหาร งานอดิเรกที่เคยชอบก็ไม่ชอบ
  • นอนไม่หลับกระสับกระส่าย
  • มีภาวะที่ไร้ค่ารู้สึกตัวเองเหมือนไม่มีคุณค่า
  • รู้สึกว่าตัวเองอยากฆ่าตัวตาย  
  • รู้สึกอยากทำร้ายตัวเองไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป

 

 

 

หากมีอาการเหล่านี้นานกว่า 2 สัปดาห์ก็บ่งชี้ว่ามีอาการของ โรคซึมเศร้า เข้าให้แล้วซึ่งสามารถตรวจทางด้านจิตเวชได้โดยใช้ “การทดสอบทางจิตวิทยา” หรือ Psychological Test ซึ่งเป็นแบบทดสอบมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วยประกอบด้วยการทดสอบทางจิตเวช กับการทดสอบบุคลิกภาพซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจทางด้านจิตใจ ความคิด โดยอาศัยการซักประวัติผู้ป่วยเป็นหลักและทำการตรวจร่างกายหรือการตรวจแลปเลือดเพื่อเอามาตัดโรคบางชนิดที่เป็นเหตุให้เกิดโรคซึมเศร้า  เช่นการขาดวิตามินบี 12 หรือมีไทรอยด์ผิดปกติ ขณะที่บางรายเป็นโรคมะเร็งรวมทั้งโรคอื่นที่สร้างความเจ็บปวดทำให้เกิดภาวะโรคซึมเศร้าตามมา

 

 

 

 

 

 

 

“มาตรฐานการรักษา” มีส่วนช่วยได้มากทุกวันนี้ในวงการแพทย์ได้อาศัยมาตรฐาน 4 อย่างสำหรับเป็นแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้า

 

 

  • ทำจิตบำบัด โดยให้ผู้ป่วยซึมเศร้าได้พบ “นักจิตบำบัด” ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 20-30 ครั้ง เพื่อแกะปมที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ โดยซึมเศร้าเกิดจากการทำงานของสมองลดลงในส่วนอารมณ์ที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
  • รักษาด้วยยา ซึ่งให้แล้วอาจเห็นผลรวดเร็วแต่มีข้อเสีย คือบางรายกินยาแล้วอาจมีผลข้างเคียง เช่น มีอาการง่วง ใจสั่น ปากแห้ง คอแห้ง
  • การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็ก หรือ TMS โดยหลักการคือใช้คลื่นแม่เหล็กไปกระตุ้นเซลล์ประสาทที่บริเวณเปลือกของสมองตรงตำแหน่งที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าอย่างต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วันจึงจะเห็นผล โดยการกระตุ้นการทำงานที่จุดซึมเศร้าโดยตรงของ TMS จึงทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น วิธีนี้เป็นมาตรฐานการรักษาในปัจจุบันที่ผ่านการรับรองจาก FDA ของอเมริกาตั้งแต่ปี 2008
  • วิธีช๊อตไฟฟ้า หรือ ECT ซึ่งเป็นการไฟช๊อตเข้าไปที่สมอง ซึ่งเปรียบเทียบได้กับลักษณะของการ ปิด-เปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยการ “รีสตาร์ท”

 

 

 

 

 

โรคซึมเศร้าเป็นซ้ำได้หรือไม่ ป้องกันได้อย่างไร?

 

 

  • หลังจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กแล้ว ส่วนใหญ่จะดีขึ้น แต่ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะกลับมาเป็นซ้ำสูงมากซึ่งวิธีป้องกันต้องอาศัยหลักการปฏิบัติตัว 3 อย่างประกอบกัน คือ ‘Bio-Psycho-Social’ โดย  Bio มีความหมายครอบคลุมเรื่อง “อาหารและการนอน” ซึ่งไม่ควรอดทั้ง 2 อย่าง และยังต้อง “ออกกำลังกาย” เป็นกิจวัตรประจำวันด้วยส่วน Psycho-Social จะกินความถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยเฉพาะครอบครัวซึ่งมีส่วนต่อการปรับเปลี่ยน ที่สำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องเข้ารับการทำจิตบำบัดร่วมด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก 

 

 

  • ส่วนการรับประทานยาซึมเศร้าส่วนใหญ่เราจะแนะนำให้ทานคู่ไปด้วยโดยไม่แนะนำให้หยุดยา และควรพบกับผู้เชี่ยวชาญหรือคุณหมอจิตเวชด้วยควบคู่กันไป ถ้าคุณหมอจิตเวชประเมินว่าดีขึ้นแล้วก็อาจลดยาลงได้ หรือเมื่อได้ทำ TMS แล้วจะลดยาได้หรือไม่ ก็เป็นสิ่งที่ต้องคุยกับคุณหมอเจ้าของไข้ให้ชัดเจนตรงกันได้เช่นกัน

 

 

การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นจะเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก เอาแต่ท้อแท้

ซึมเศร้า จริงๆ แล้วมันเป็นอาการของโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

โรคนี้ก็จะทุเลาหรือหายเป็นปกติได้

 

นัดพบแพทย์คลิก 
พญ.อริยา ทิมา 
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุกรรมประสาทวิทยา
โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

 

โรคซึมเศร้า กับการรักษาด้วยเทคโนโลยี TMS