ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะนอนหลับในเด็ก (Obstructive Sleep Apnea)

December 24 / 2024

ภาวะอุดกลั้นทางเดินหายใจขณะหลับในเด็ก

 

 

 

     ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะนอนหลับในเด็ก (Obstructive Sleep Apnea) เป็นภาวะนี้พบได้ในเด็กทุกอายุแต่พบบ่อยมากในช่วงอายุ 2-6 ปี ถ้าไม่รักษาจะทำให้เด็กมีภาวะพร่องออกซิเจนขณะหลับ ซึ่งอาจทำให้มีสติปัญญาถดถอยสมาธิสั้น หัวใจโต หรือเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้

 

 

สาเหตุเกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะนอนหลับในเด็ก

     ส่วนใหญ่มักเกิดจากต่อมทอลซิลที่อยู่ข้างโคนลิ้นและต่อมอดีนอยด์ที่อยู่หลังจมูก มีขนาดโตเบียดบังทางเดินหายใจส่วนต้นขณะหลับ ทำให้ทางเดินหายใจตีบแคบ นอกจากนี้อาจเกิดจากการที่เด็กอ้วนเกินไปทำให้มีไขมันสะสมที่บริเวณคอเพิ่มขึ้น หรือพบในเด็กที่มีลักษณะโครงหน้าคาง ลิ้นและคอผิดปกติทำให้ลักษณะทางเดินหายใจส่วนต้นแคบกว่าปกติ

 

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในเด็กภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในเด็ก

 

 

อาการภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะนอนหลับในเด็ก

เด็กมักจะนอนกรนร่วมกับมีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับตรงข้ามกับขณะตื่นที่หายใจ ปกติดี

 

  • เกิดอาการหายใจลำบาก สังเกตได้จากการที่เด็กหายใจแรงและใช้กล้ามเนื้อหายใจมากกว่าปกติ ขณะที่หายใจเข้าหน้าอกยุบลงแต่ท้องป่องขึ้น บางคนมีอาการกระสับกระส่ายเหมือนหายใจไม่เข้า นอนในท่าแปลกๆ อ้าปากหายใจ ปากซีดเซียว เสียงกรนขาดหายเป็นช่วงๆ ทั้งๆ ที่เด็กกำลังหายใจอยู่
  • ปัสสาวะราดรดที่นอน พ่อแม่บางรายกลัวลูกหายใจไม่เข้า ถึงต้องนั่งเฝ้าคอยขยับตัวลูกหรือเขย่าปลุกให้ลูกตื่น ตอนกลางวันเด็กอาจซุกซน ไม่อยู่นิ่ง มีสมาธิสั้นหรือเผลอหลับบ่อย ๆ 


 

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในเด็กภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับในเด็ก

 



การวินิจฉัยภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะนอนหลับในเด็ก

     วิธีการทดสอบที่ดีที่สุดสำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้ เรียกว่า Polysommography (PSG) เป็นการตรวจด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ในขณะที่เด็กหลับตลอดคืน ทำโดยให้เด็กมานอนในห้องพิเศษที่โรงพยาบาล 1 คืน พร้อมผู้ปกครอง มีพยาบาลพิเศษคอยสังเกตการหายใจของเด็กโดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะวัดค่าต่างๆ ผ่านสายที่แปะ

 

ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้นขณะนอนหลับในเด็ก อาจทำให้มีสติปัญญาถดถอย สมาธิสั้น หัวใจโต หรือเสียชีวิตอย่างกระทันหันได้