เป็นความดันโลหิตสูง ทำไมถึงควรเปลี่ยนพฤติกรรมและออกกำลังกาย

December 23 / 2024

 

 

 

เป็นความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายดีอย่างไร?

 

 

ความดันโลหิตสูง ออกกำลังกายความดันโลหิตสูง ออกกำลังกาย

 

ผศ.ดร. สิทธา พงษ์พิบูลย์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด

 

 

     จากการศึกษาวิจัยยืนยันแล้วว่าผู้ที่มี “ความดันโลหิตสูง” การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ผลดีกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว

 

การออกกำลังกายช่วยควบคุมความดันโลหิตได้

ในผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยควบคุมความดันโลหิตได้ โดยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือดและลดไขมันทั้งในร่างกาย ทำให้

 

  • ความต้านทานในหลอดเลือดลดลง หัวใจและปอดแข็งแรงขึ้น
  • ปริมาณเลือดที่สูบฉีดแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น ระดับของ Norepinephrine หรือสารตอบสนองต่อภาวะเครียดลดลง ผลโดยรวมจึงทำให้ความดันโลหิตลดลง
  • ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เผาผลาญดีขึ้นและควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ลดอาการปวดข้อต่าง ๆ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น

 

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตควรได้รับการประเมินสมรรถภาพ

     การออกกำลังกายจึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาและควบคุมความดันโลหิต แต่การออกกำลังกายในคนที่เป็นความดันโลหิตสูง ควรได้รับการประเมินสมรรถภาพและรับคำแนะนำวิธีการการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อผลการออกกำลังกายที่ดีและมีความปลอดภัย

 

 

วิธีดูแลตัวเองในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง

  • ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงควรพบแพทย์เพื่อตรวจระดับของความดันโลหิตเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมระดับของความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
  • ปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่มีผลต่อความดันโลหิตสูง เช่น ลดน้ำหนักตัว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดดื่มแอลกอฮอล์ เลิกบุหรี่ และลดความเครียด
  • งดทานอาหารรสเค็ม ทอด และมีไขมันสูง ให้เปลี่ยนมาทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผักผลไม้ให้มากขึ้น
  • วัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอและจดบันทึกลงในสมุดเพื่อนำไปให้แพทย์ผู้รักษาใช้ประกอบการรักษาความดันโลหิตสูง
  •  คอยหมั่นสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น หน้ามืด เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นหน้าอกหรืออ่อนเพลียผิดปกติ และควรสังเกตอาการตอบสนองของความดันโลหิตหลังจากที่ทำกิจกรรมต่างๆ

 

 

 

ความดันสูง ออกกำลังกายความดันสูง ออกกำลังกาย

 

ความดันสูง ออกกำลังกายความดันสูง ออกกำลังกายความดันสูง ออกกำลังกาย

 

 

 

“โรคความดันโลหิตสูง” การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ผลดีกว่าการพึ่งยาเพียงอย่างเดียว

 

 

สนใจเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอดต้องทำอย่างไร?

แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด เปิดให้บริการที่ อาคาร 3 ชั้น 10 โรงพยาบาลรามคำแหง ตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น. ทุกวัน โทร. 027439999 ต่อ 3040 หรือ คลิกที่นี่

 

 

 

 

แก้ไข

19/02/64