โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ปล่อยไว้นานอาจรุนแรงจนหน้าเบี้ยว

December 13 / 2024

 

 

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

รักษาด้วยการฉีดยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน

 

 

 

ใบหน้ากระตุกใบหน้ากระตุก

 

 

ผศ.นพ.ปรัชญา ศรีวานิชภูมิ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท

 

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก 

     โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก (Hemifacial spasm: HFS) เป็นโรคจากการเคลื่อนไหวผิดปกติของกล้ามเนื้อใบหน้า ส่วนใหญ่จะเกิดอาการ “กระตุก” ที่ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง อันเนื่องจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้ามีปัญหา ได้แก่ กล้ามเนื้อรอบดวงตา หน้าผาก มุมปากและกล้ามเนื้อชั้นตื้นบริเวณลำคอ อาการจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ในรายที่อาการมากอาจกระตุกจนกล้ามเนื้อหดเกร็งค้างจนใบหน้าและมุมปากเบี้ยวผิดรูป ตาข้างที่มีอาการลืมไม่ขึ้นร่วมกับได้ยินเสียง “คลิก” ในหูข้างเดียวกัน

 

 

 

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 

 

 

ความรุนแรงของโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

     การศึกษาถึงความชุกของโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกในสหรัฐอเมริกาพบว่าโรคดังกล่าวพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยคิดเป็น 14.5 รายต่อประชากร 100,000 รายในเพศหญิงและประมาณ 7.4 ราย/ประชากร 100,000 รายในเพศชาย อย่างไรก็ตาม ความชุกดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นในกลุ่มชาวเอเชียมากกว่ากลุ่มชาวตะวันตก

 

 

สาเหตุของโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีกเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น

 

 

 

 

 

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีกใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 


 

ส่วนสาเหตุอื่นที่ก่อให้เกิดโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกแต่พบได้ไม่บ่อย ได้แก่

  • เนื้องอกบริเวณก้านสมอง
  • โรคปลอกเยื่อหุ้มประสาทส่วนกลางอักเสบ (demyelinating diseases) เป็นต้น

 

 

 

 

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีกใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 

 

 

 

ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น

ตัวอย่างของปัจจัยที่อาจจะกระตุ้นให้อาการกระตุกเป็นเพิ่มขึ้น เช่น

 

  • อยู่ในที่เสียงดังหรือแสงสว่างมาก
  • การเคี้ยว การพูด การล้างหน้าหรือแปรงฟัน
  • ภาวะเครียด วิตกและการอดนอน
  • การจ้องหน้าจอ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน

 

 

แนวทางการรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกในปัจจุบัน

ปัจจุบันแนวทางการรักษาโรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกแบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

1.  การรับประทานยา

  • ข้อดี ไม่มีอาการเจ็บปวด เลือดออกหรือติดเชื้อใด ๆ ซึ่งอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้จากการฉีดยาหรือผ่าตัด
  • ข้อเสีย เนื่องจากยาส่วนใหญ่ที่ใช้ลดอาการกระตุกมีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม ฉะนั้นหลังจากทำหัตถการควรพักผ่อนและลดการทำกิจกรรมการขับขี่
  • ระยะเวลารักษา การทานยาเป็นเพียงแค่บรรเทาแต่เมื่อยาหมดฤทธิ์ก็มีโอกาสกลับมาเป็นอีก ฉะนั้นจึงต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง
  • ตัวอย่างชนิดยารับประทาน
    • ยาโคลนาซีแพม (clonazepam)
    • ยาคาร์บามาซีพีน (carbamazepine)
    • ยาบาโคลเฟน (baclofen)

 

2.  การใช้โบทูลินั่มท็อกซินเพื่อลดอาการกระตุก

  • ข้อดี เป็นการทำหัตถการเฉพาะจุดที่กระตุกซึ่งช่วยลดอาการได้มีประสิทธิภาพสูงถึงร้อยละ 70-80 และไม่ส่งผลต่ออวัยวะในระบบอื่น
  • ข้อเสีย อาจเกิดความเจ็บปวด ห้อเลือด เลือดออก หนังตาตก มุมปากตก หรือการติดเชื้อบริเวณที่ทำหัตถการ อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยวิทยาการแพทย์ปัจจุบันทำให้ลดโอกาสเกิดผลข้างเคียงให้พบได้น้อยลงมากหรือเกิดเพียงชั่วคราว
  • ระยะเวลารักษา เนื่องจากโบทูลินั่มท็อกซินออกฤทธิ์ได้ครั้งละประมาณ 3-4 เดือน ฉะนั้นผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับยาต่อเนื่องทุก 3-4 เดือน อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ยาอาจอยู่นานถึง 6 เดือน ในระหว่างนั้นควรพบแพทย์เพื่อดูอาการและเตรียมรักษา
  • ตัวอย่างของยาโบทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิด เอ ที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
    • OnabotulinumtoxinA ชื่อการค้าคือ Botox®
    • AbobotulinumtoxinA ชื่อการค้าคือ Dysport®

 

 

 

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 

 

 

3.  การผ่าตัดเพื่อแยกวงของหลอดเลือดบริเวณก้านสมองออกจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7

  • ข้อดี หากแพทย์ฉายภาพรังสีแล้วพบว่ามีวงของหลอดเลือดกดเบียดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ชัดเจน แพทย์จะผ่าตัดเพื่อแยกหลอดเลือดออกจากเส้นประสาท ซึ่งรักษาได้ตรงจุดและลดใบหน้ากระตุกได้มีประสิทธิภาพ
  • ข้อเสีย อาจเกิดความเจ็บปวด เลือดออก การติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัดหรือภาวะแทรกซ้อนอื่น อย่างไรก็ตาม วิทยาการแพทย์สมัยใหม่ได้พัฒนาเทคนิคการผ่าตัดซึ่งลดการเกิดผลข้างเคียงได้มาก
  • ระยะเวลารักษา โดยทั่วไปการเข้ารับการผ่าตัดเพียง 1 ครั้ง ก็เพียงพอสำหรับผลระยะยาว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายอาจกลับมาเป็นซ้ำ ซึ่งต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำหรือเปลี่ยนวิธีรักษาด้วยโบทูลินั่มท็อกซิน

 

 

 

ใบหน้ากระตุกครึ่งซีกใบหน้ากระตุกครึ่งซีกใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

 

 

 

โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีกเป็นภาวะที่ไม่รุนแรง แต่ใบหน้าก็เป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจได้

 

 

 

 

 

 

12/11/63