เนื้องอกรังไข่ อาการเป็นอย่างไร จำแนกได้ได้ทั้งหมดกี่ประเภท

December 11 / 2024

 

 

เนื้องอกรังไข่

 

 

เนื้องอกรังไข่

 

 

พญ. ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์

สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช
และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

 

 

 

     รังไข่ คือ อวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร อยู่ด้านข้างปีกมดลูกขวาและซ้าย ทำหน้าที่หลักสองอย่างคือ การผลิตไข่ ซึ่งจะตกมาผสมกับน้ำเชื้อฝ่ายชายกลายเป็นตัวอ่อน ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกเกิดการตั้งครรภ์ หน้าที่อย่างที่สองคือการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง คือเอสโตรเจนกับโปรเจสเตอโรน

 

เนื้องอกรังไข่

 

 

พยาธิวิทยาและการแบ่งประเภทของเนื้องอกรังไข่

 

รังไข่นั้นพัฒนามาจากเซลล์ตั้งต้นสามชนิดคือ เซลล์เยื่อบุช่องว่างในตัวอ่อนทารกเพศหญิงระยะแรก (coelomic epithelium), primordial germ cells ซึ่งย้ายมาจาก yolk sac และ mesenchyme ที่บริเวณ genital ridge ดังนั้นจึงสามารถจำแนกเนื้องอกรังไข่ออกตาม histogenesis เป็น 5 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

 

  1. ต้นกำเนิดมาจากเซลล์เยื่อบุ coelomic epithelium หรือเรียกว่า เนื้องอกรังไข่ชนิดเยื่อบุผิว (epithelial tumors) พบบ่อยที่สุดของมะเร็งรังไข่ ประมาณ 90-95%
  2. ต้นกำเนิดมาจาก germ cells (รายละเอียดจะได้กล่าวต่อไป)
  3. ต้นกำเนิดมาจาก specialized gonadal stroma หรือที่เรียกว่า sex-cord stromal tumors
  4. ต้นกำเนิดมาจาก nonspecific mesenchyme เช่น fibroma, hemangioma, leiomyoma, lipoma, lymphoma, sarcoma
  5. มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่นๆ เช่น ทางเดินอาหาร (krukenberg), เต้านม, เยื่อบุโพรงมดลูก, lymphoma

 

เนื้องอกรังไข่

 

เนื้องอกของรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุด คือ ชนิดเยื่อบุผิว (epithelial tumors) ซึ่งพบร้อยละ 60-65 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด และประมาณร้อยละ 90 ของเนื้องอกของรังไข่ที่เป็นมะเร็ง  ส่วน germ cell tumors พบประมาณร้อยละ 30 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็น mature cystic teratoma (dermoid cysts) แม้ว่า germ cell tumors จะพบเพียงร้อยละ 1-3 ของเนื้องอกรังไข่ที่เป็นมะเร็งทั้งหมด แต่คิดเป็นร้อยละ 60 ของมะเร็งรังไข่ของสตรีวัยเด็กและวัยรุ่น ส่วน sex-cord stromal tumors พบเป็นร้อยละ 8 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด

 

 

เนื้องอกรังไข่ชนิด germ cell tumors

 

ประมาณร้อยละ 30 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมดมีต้นกำเนิดมาจาก germ cells อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาเฉพาะมะเร็งรังไข่พบว่าต่ำกว่าร้อยละ 5 ที่เป็นชนิดนี้ อย่างไรก็ตามในสตรีอายุน้อยกว่า 20 ปี germ cell tumors เป็นเนื้องอกชนิดนี้พบบ่อยที่สุด องค์การอนามัยโลกแบ่งเนื้องอกชนิดนี้ออกเป็น

  1. Teratoma (immature, mature and monodermal)
  2. Dysgerminoma
  3. Yolk sac tumor (endodermal sinus tumor)
  4. Embryonal carcinoma
  5. Polyembryoma
  6. Choriocarcinoma
  7. Mixed germ-cell tumors

 

เนื้องอกรังไข่

 

 

Teratoma, Mature Teratoma หรือ Dermoid cyst

 

เป็นเนื้องอกที่ประกอบขึ้นจากเนื้อเยื่อที่มาจากตัวอ่อน โดย mature cystic teratoma เป็นชนิดของ germ cell tumors ที่พบบ่อยที่สุดและ benign ส่วนใหญ่เป็นข้างเดียว แต่ร้อยละ 15-20 เป็นสองข้าง เนื้องอกรังไข่ชนิดนี้เป็นเหตุที่ทำา ใหรังไข่บิดขั้วได้บ่อยที่สุด อาจพบขนและฟันได้ภายในก้อน ซึ่งมองเห็นได้จากภาพถ่ายทางรังสีของช่องท้อง พบการกลายไปเป็นมะเร็ง (malignant transformation) ได้ถึงร้อยละ 2 โดยกลายไปเป็นเซลล์มะเร็งชนิดสแควมัส บ่อยที่สุด ส่วนมะเร็งชนิดที่มีเซลล์เนื้อเยื่อของไธรอยด์เด่น เรียกว่า struma ovarii เนื้องอก carcinoidtumors ที่รังไข่แบบปฐมภูมิยังจัดอยู่ในกลุ่มของ monodermal teratoma ที่แปรปรวนไปและมักมีพยากรณ์โรคที่ดีแต่เนื้องอก carcinoid tumors ที่รังไข่แบบทุติยภูมิมักแพร่กระจายมาจากทางเดินอาหารและมีพยากรณ์โรคที่แย่เนื้องอกรังไข่ชนิด mature cystic teratoma หรือ เดอมอย(dermoid cyst) เป็นเนื้องอกรังไข่กลุ่ม germ cell เป็นเนื้องอกรังไข่ที่พบได้บ่อยที่สุด โดยพบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของเนื้องอกรังไข่ทั้งหมด และเป็นเนื้องอกที่พบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 70 ในสตรีที่อายุน้อยกว่า 20 ปี และพบได้ 20% ในสตรีวัยหลังหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่ของก้อนจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อของชั้น ectoderm, mesoderm และ/หรือ endoderm ดังนั้น ส่วนประกอบของก้อนจึงพบว่ามีถุงน้ำหลายอัน มีเส้นผม ไขมันที่ข้นและเหนียว บางครั้งมีฟัน กระดูกแข็ง และกระดูกอ่อนร่วมด้วยสาเหตุเชื่อว่าเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของ germ cell ในระยะไมโอซิส II (meiosis II) หรือจาก premeioticcell ระยะไมโอซิส I (meiosis I) ล้มเหลว กล่าวให้เข้าใจง่ายคือเซลล์ต้นกำเนิดสืบพันธ์มีการแบ่งตัวผิดปกติ

 

ลักษณะก้อนพบทั้ง 2 ข้างประมาณร้อยละ 10-15 ขนาดก้อนส่วนมากเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 15 ซม. ลักษณะเป็นก้อนกลมผิวเรียบ เป็นมัน เปลือกหุ้มเนื้องอกชนิดนี้มักหนา บุด้วยเซลล์ squamous ใต้เยื่อบุมีส่วนประกอบของผิวหนัง เช่น ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ ถ้าผ่าก้อนเนื้อจะพบไขมันข้น เหนียวสีเหลืองและมีเส้นผมอยู่ด้วย อาจพบฟันหรือกระดูกอยู่ภายใน

 

 

อาการที่พบบ่อยของเนื้องอกรังไข่

  1. อาการอาจเกิดจากก้อนโตกดเบียดอุ้งเชิงกรานหรืออวัยวะข้างเคียง เช่น ปัสสาวะบ่อยขึ้น ท้องผูก หรือถ่วงท้องน้อย
  2. อาการปวดท้องเฉียบพลัน เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับก้อนเนื้องอก เช่น การบิดขั้ว การแตกของก้อน และการติดเชื้อ
  3. มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก พบได้ร้อยละ 15 อาจเกิดร่วมโดยไม่ทราบสาเหตุ
  4. อาการอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร อืดแน่นท้อง
  5. ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ พบได้เป็นส่วนใหญ่ อาจตรวจพบก้อนจากการตรวจภายในหรือจากการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงของอุ้งเชิงกราน

 

 

 

เนื้องอกรังไข่เนื้องอกรังไข่เนื้องอกรังไข่เนื้องอกรังไข่

 

 

ภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกรังไข่

 

การตรวจร่างกายจะพบก้อนที่ท้องน้อย และ/หรือตรวจพบก้อนที่ปีกมดลูกจากการตรวจภายใน ลักษณะก้อนจะเป็นก้อนถุงน้ำ ตึงแข็งผิวเรียบ จับ เคลื่อนไหวได้ก้อนอาจจะพลิกมาอยู่ทางด้านหน้าของ broad ligament ดันมดลูกไปทางด้านหลัง ภาวะแทรกซ้อนของ dermoid cyst ที่พบได้ ได้แก่

  1. การบิดขั้ว (torsion) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด คือ พบประมาณร้อยละ 16 ของเนื้องอก มักพบในเนื้องอกขนาดเล็กหรือปานกลางมากกว่าเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่ เมื่อมีการบิดขั้วในระยะแรก จะทำให้เกิดเลือดดำ คั่งและเนื้อเยื่อในก้อนเนื้องอกบวมเป็นเหตุให้มีอาการปวด หากการบิดนั้นยังคงอยู่ต่อไปจะทำให้เลือดในหลอดเลือดแดงหยุดไหลเกิดการขาดเลือด อาการปวดอาจจะไม่มากถึงรุนแรงมาก นอกจากนั้นผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรเต้นเร็ว มีไข้ กดเจ็บบริเวณท้องน้อยส่วนล่างร่วมกับ guarding, rigidity ตรวจภายในพบก้อนที่ปีกมดลูกและกดเจ็บ ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินต้องได้รับการผ่าตัดอย่างรีบด่วนเนื่องจากก้อนเนื้องอกอาจแตกและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
  2. การแตกของก้อนเนื้องอก (rupture) การแตกหรือรั่วของ dermoid cyst พบได้น้อยคือประมาณร้อยละ 1 พบบ่อยขึ้นในขณะตั้งครรภ์ถ้าก้อนเนื้องอกแตกของเหลวในเนื้องอก เช่น cholesterol-laden debris จะทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบมาก มี granulomatous reaction และเกิดพังผืดแน่นหนาตามมา อาการที่พบได้แก่ ปวดท้อง บางรายมีอาการซีด หากมีเลือดออกในช่องท้องร่วมด้วยโดยทั่วไปต้องทำการผ่าตัดอย่างรีบด่วน เพื่อล้างเอาของเหลวจากเนื้องอกออกให้มากที่สุด
  3. การติดเชื้อ (infection) พบได้น้อยประมาณร้อยละ 1อาการที่พบได้แก่ มีอาการไข้ร่วมกับปวดท้องน้อยร่วมกับตรวจพบก้อนในอุ้งเชิงกราน เชื้อที่พบส่วนใหญ่เป็นเชื้อแบคทีเรียพวก coliform ส่วนเชื้ออื่นๆ ที่อาจพบได้คือ Salmonella เป็นต้น
  4. การกลายเป็นมะเร็งพบได้ไม่บ่อยนักประมาณร้อยละ 1-23 ของ dermoid cyst และ ร้อยละ 80 ของก้อนที่กลายเป็นมะเร็งนี้เป็นชนิดเซลล์ squamous แต่อาจพบเซลล์มะเร็งประเภทอื่นได้ เช่น sarcoma หรือ malignant melanoma ได้

 

 

การรักษาเนื้องอกรังไข่

  • เนื้องอกรังไข่รักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกรังไข่ เพื่อได้ชิ้นเนื้อวินิจฉัย และหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนแตก หรือบิดขั้ว
  • พิจารณาผ่าตัดเลาะเอาเฉพาะส่วนเนื้องอกออก (cystectomy) ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ในกรณีอายุน้อยหรือต้องการมีลูกในอนาคต
  • พิจารณาตัดรังไข่ออกกรณีสงสัยมะเร็ง หรือก้อนมีภาวะแทรกซ้อน

 

" ตรวจให้รู้ก่อนสาย ไม่มีอาการใดๆ ไม่ใช่ว่าไม่มีโรค " เพราะหากถุงน้ำมีขนาดใหญ่ขึ้นจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงขั้นต้องถูกตัดรังไข่ได้

 

 

 

แก้ไขล่าสุด 15/12/63