“ครรภ์เป็นพิษ” เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนต่อตัวแม่และทารก

December 12 / 2024

 

 

 

 

“ครรภ์เป็นพิษ” อันตราย เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนทั้งตัวแม่และทารก

 

 

ครรภ์เป็นพิษครรภ์เป็นพิษ

พญ. ธิตินันท์ ตัณสถิตย์

สูติ-นรีเวช สาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

 

 

ภาวะภาวะครรภ์เป็นพิษ

     ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งมักเกิดหลังจากอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทร่วมกับมีโปรตีนในปัสสาวะร่วม

 

 

 

ครรภ์เป็นพิษ

 

 

สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษ

สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีหลักฐานบางส่วนเผยให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เกิดจากเลือดไปหล่อเลี้ยงมดลูกและรกไม่เพียงพอรกจึงทำงานได้ไม่ดี โดยเฉพาะกลุ่มคุณแม่ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไปเป็นกลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ 

 

  • หากเป็นโรคอ้วนร่วมกับมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคความดับโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตซึ่งก่อให้เกิดอาการบวมฉับพลันที่ใบหน้า แขนและขา ก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นกัน
  • ยิ่งน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปกติ (ปกติอาจเพิ่มขึ้นเดือนละ 1.5-2 กิโลกรัม) และมีความดับโลหิตสูงร่วมจะมีอาการปวดหัว ตาพล่า เบลอมองเห็นไม่ชัดหรือจุกเสียดแน่นลิ้นปี่

 

 

อาการของภาวะครรภ์เป็นพิษ

     ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการ แต่เมื่อมาฝากครรภ์กลับพบว่ามีความดันโลหิตสูงขึ้น หากอาการรุนแรงก็เกิดอาการปวดหัว ตาพร่า จุกแน่นลิ้นปี่ มีบวมที่แขนหรือขา ซึ่งหลังจากแพทย์

 

  • ตรวจวัดความดันและตรวจปัสสาวะจนทราบว่ามีโปรตีนรั่วในปัสสาวะเกินกว่าค่าปกติหรือไม่
  • เจาะเลือดตรวจดูการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับหรือไต ค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดว่ามีความผิดปกติหรือไม่ อย่างไร หากพบ เหล่านี้อาจสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงอาจเกิดกับผู้ป่วย เช่น อาการชัก น้ำท่วมปอด หายใจลำบาก ปัสสาวะไม่ออก ไตวายเฉียบพลัน ตับอักเสบ

 

หากเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ

     ลูกในครรภ์อาจเกิดเจริญเติบโตช้าและเสียชีวิต รกลอกตัวก่อนกำหนด มีตกเลือดก่อนหรือหลังคลอด สตรีมีครรภ์ควรเข้าพบสูตินรีแพทย์เพื่อเฝ้าระวังและหมั่นสังเกตอย่างใกล้ชิดว่ามีอาการหน้าบวม แขนขาบวม ปัสสาวะเป็นฟอง หรือเกิดอาการปวดหัวตาพร่า

 

 

 

ครรภ์เป็นพิษครรภ์เป็นพิษครรภ์เป็นพิษครรภ์เป็นพิษ

 

 

 

การวินิจฉัยภาวะครรภ์เป็นพิษ

     หากพบอาการดังกล่าวควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่ามีโอกาสเสี่ยงเกิดครรภ์เป็นพิษหรือไม่ โดยตรวจดูว่าหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมดลูกมีความต้านทานของหลอดเลือดหรือไม่ รวมทั้งเจาะเลือดบางตัว เช่น placental growth factor และ  pregnancy associated plasma protein A (PAPP-A) เพื่อดูว่าหลอดเลือดในรกเจริญฝังตัวในมดลูกดีหรือเปล่าก็ช่วยให้ทำนายโอกาสเสี่ยงเกิดครรภ์เป็นพิษได้ และอาจพิจารณาให้ยาแอสไพรินในขนาดต่ำๆ เพื่อลดเสี่ยงเกิดครรภ์เป็นพิษและภาวะแทรกซ้อน  

 

 

การรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษ

  • การรักษาขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ หากอายุครรภ์ครบกำหนด แนะนำให้เร่งคลอดหรือทำการผ่าตัดคลอดในทันที
  • แต่ถ้าสมมุติว่าอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนดก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ว่านั้นรุนแรงหรือไม่
  • ถ้าเป็นครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง เราสามารถให้ยาบางชนิดเพื่อกระตุ้นให้ปอดของทารกทำงานได้ดีขึ้นก่อนการคลอดได้
  • ระหว่างที่รอต้องเฝ้าดูอาการภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากครรภ์เป็นพิษนั้น แพทย์จำเป็นต้องให้ยาแมกนีเซียมเพื่อป้องกันการชัก หากโรคไม่รุนแรงก็อาจแค่มีความดันขึ้น มีบวมเฉย ๆ แต่ถ้าเป็นพิษขั้นรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการชัก หลอดเลือดในสมองตีบทำให้ตาบอดชั่วคราว หรือมีภาวะตกเลือดก่อนคลอด รกลอกตัวก่อนกำหนด คือเด็กเสียชีวิตในครรภ์ได้ ถ้าการทำงานของไต-ตับผิดปกติก็จะทำให้มีตัวเหลืองตาเหลือง และยังมีสิทธิ์ทำให้คุณแม่ตกเลือดหลังคลอด

 

 

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ “ครรภ์เป็นพิษ” ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดครรภ์เป็นพิษและภาวะแทรกซ้อน

 

 

 

 

 

 

 

แก้ไขล่าสุด 25/08/64