s ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับ ด้วยวิธี TACE Test

ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับ ด้วยวิธี TACE Test

January 31 / 2024

 

 

ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับ ด้วยวิธี TACE Test

 

 

 

พญ. คิ ฤกษ์ชูชิต

อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา

 

พญ.คิ ฤกษ์ชูชิต อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา รพ.รามคำแหง กล่าวว่า สาเหตุของ“มะเร็งตับ”เกิดขึ้นในเนื้อตับหลังจากที่ถูกทำลายจนมีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งที่พบบ่อยอย่างแรกคือ “การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี” หรือ “ซี” จึงเป็นการเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งตับมากกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อแม้จะไม่มีภาวะตับแข็งก็ตาม

 

สาเหตุต่อมาคือ... “การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากมานานจนทำให้เกิดภาวะตับแข็ง”... แล้วตามมาด้วยการมีภาวะตับแข็งจากการเกิดการอักเสบของตับมาเป็นเวลานาน เช่น มีภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตับ หรือมีภาวะไขมัน

 

พอกตับที่ไม่ได้เกิดจากดื่มแอลกอฮอล์ดังจะเห็นได้จากกรณีผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเป็นตัน... ส่วนอีกสาเหตุคือ บริโภคสารพิษ เช่น “อะฟล่าทอกซิน” ซึ่งพบในเชื้อราที่อยู่บนถั่วเช่นถั่วลิสง ธัญพืชหรือข้าวโพด

 

 

เป็นแล้วมีอาการอย่างไร...ตรวจด้วยวิธีใด?

อาการที่เกิดจากโรคมะเร็งตับอาจมีหลายอย่างตั้งแต่อาการรู้สึกปวดจุกแน่นไม่สบายท้อง โดยเฉพาะบริเวณด้านบนขวาของท้อง รู้สึกท้องโตขึ้นเหมือนมีน้ำในช่องท้อง ในบางรายอาจมีอาการตัวตาเหลืองหรือที่เรียกว่าดีซ่านร่วมด้วยหากมีอาการของโรคตับร่วมด้วยอาจมีอาการเลือดออกแล้วหยุดยากหรือมีอาการช้ำได้ง่ายเพราะมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด หรืออาจมีอาการน้ำหนักลดลงอย่างมีนัยโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน รู้สึกอยากอาหารลดลง คลื่นไส้อาเจียน หรืออ่อนเพลียมากขึ้นทั้งนี้ในแง่ของการตรวจหามะเร็งตับนั้นสามารถตรวจได้โดยใช้หลายวิธีการร่วมกันในการวินิจฉัย โดยอาจตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้วพบว่า... มีภาวะตัว-ตาเหลือง ตับโต หรือมีน้ำในช่องท้อง... หรือจากการตรวจเลือดแล้วพบว่าค่าการทำงานของตับผิดปกติ หรือมีค่าเหลืองเพิ่มสูงขึ้น...มีสารบ่งชี้มะเร็งตับสูงผิดปกติ…นอกจากนี้ยังสามารถตรวจด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่นการทำอัลตร้าซาวด์ช่องท้องและพบก้อนในตับ... การตรวจด้วยเครื่องสแกนคอมพิวเตอร์ หรือการตรวจสแกนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า...อีกวิธีคือ...เจาะชิ้นเนื้อในตับมาตรวจ

 

 

 

“รักษาอย่างไร...หายได้หรือไม่”...? ทางเลือกในการรักษามะเร็งตับ ด้วยการอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตัวก้อนมะเร็ง (TACE Test)

                                              

การรักษาโรคมะเร็งตับมี 2 อย่างคือ รักษาให้หายขาดไปเลยกับประคับประคองการจะรักษาให้หายขาดไปเลยคือถ้ามีก้อนเดียวในตับข้างใดข้างหนึ่งก็ตัดตับข้างนั้นทิ้งหรือทำการเปลี่ยนถ่ายตับถ้ามีตับที่สามารถนำมาเปลี่ยนได้แต่ปัญหาของบ้านเราคือเป็นพาหะของตับอักเสบ บี เยอะมาก ฉะนั้นโอกาสจะเปลี่ยนตับแล้วก็อาจเป็นอีกก็ได้ ฉะนั้นวิธีการก็คือประคับประคองหรือรักษาไม่ให้โตเกินจนควบคุมไม่ได้ดังนั้น ถ้าคุณรู้เร็วก็รักษาได้หรือถ้ามีก้อนขนาดใหญ่ก็สามารถใช้วิธีทำให้เล็กลงเพื่อให้สามารถผ่าตัดรักษาได้

 

 

นพ.อนุชิต รวมธารทอง รังสีแพทย์ รพ.รามคำแหง อธิบายว่า สำหรับวิธีรักษาแบบอื่นนั้น กรณีที่เป็นผู้ป่วยสูงอายุ หรือผ่าตัดไม่ได้ก็ยังมีอีกวิธีคือแทงเข็มเข้าที่ก้อนมะเร็งในตับแล้วป้อนความร้อนไปที่เข็มด้วยอุณหภูมิ 50 องศาขึ้นไป เพียงแต่มีข้อจำกัดในเรื่องขนาดของก้อนต้องไม่ใหญ่มากเกิน 2-3 ซม. รวมแล้วไม่เกิน 3-4 ก้อนในบริเวณใกล้ๆ กันหรือจะใช้วิธีที่เรียกว่า “การอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตัวก้อนมะเร็งตับ” แล้วให้ยา “คีโม” เฉพาะที่ในปริมาณต่ำ โดยเรียกวิธีนี้ว่า TACE Test ซึ่งให้ประสิทธิภาพค่อนข้างสูงโดยยังมีวิธีรักษามะเร็งตับซึ่งคุณหมอต้องคำนึงถึงระยะของโรคและสภาวะตับของผู้ป่วยเป็นกรณีไป

 

ที่มา : ขอบคุณภาพจาก นพ.อนุชิต รวมธารทอง รังสีแพทย์

 

    

 

 

“ไวรัสตับอักเสบ บี” ป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน!!!

โรคนี้เกิดจากภาวะตับไม่สมบูรณ์ ต้องหลีกเลี่ยงอาหารหรือยาที่มีผลต่อตับ เช่น “พาราเซตตามอล” หรือการกินอาหารที่มีไขมันสูงจะทำให้ตับต้องใช้พลังงานสูงในการย่อยสลาย ขณะที่ตับเปรียบเสมือนโรงกำจัดขยะ หากต้องทำงานหนักก็จะแย่ลงเรื่อยๆ และถ้าเรารู้ว่าเราเป็นพาหะของโรค “ไวรัสตับอักเสบบี” ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงก็ควรที่ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายทุก 6 เดือน ไม่ว่าจะทำอัลตร้าซาวด์ หรือเจาะเลือดหามะเร็งตับก็รีบตรวจไว้ก่อน เพราะหากตรวจพบขณะที่ยังมีขนาดเล็กก็จะรักษาง่ายส่วนใครที่อยู่ในกลุ่มผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไปไม่ว่าหญิงหรือชาย ก็แนะนำให้ไปเจาะเลือดดูว่าเป็นตับอักเสบหรือไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ถ้าตรวจแล้วพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ไวรัสตับอักเสบบี  ก็สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน 3 เข็ม เพื่อป้องกันไว้ก่อนได้เลย แต่สำหรับใครที่ไปตรวจแล้วพบว่า “เป็นพาหะรคไวรัสตับอักเสบ บี” ก็ต้องพาคู่สมรสไปฉีดวัคซีนด้วย เพราะเชื้อไวรัสนี้สามารถติดต่อกันได้แบบโรคเอดส์ ซึ่งจะส่งผลให้คนที่เป็นคู่สมรสมีความเสี่ยง

 

“มะเร็งตับ” มีวิธีตรวจ-รักษาหลายอย่าง...พบไวโอกาสหายสูง

รพ.รามคำแหงแนะกลุ่มเสี่ยงตรวจอัลตร้าซาวด์ทุก 6 เดือนเพื่อป้องกัน!!!

 

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ. คิ ฤกษ์ชูชิต

อายุรแพทย์มะเร็งวิทยา

 

แก้ไขล่าสุด 07/07/63