เมื่อเป็นโรคธาลัสซีเมียแล้ว อันตรายถึงชีวิตหรือไม่?

December 14 / 2023

 

 

เมื่อเป็น.." โรคธาลัสซีเมีย " แล้วอันตรายหรือไม่?

 

"ธาลัสซีเมีย" เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เกิดจากเม็ดเลือดผิดปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้น เปราะ แตก ถูกทำลายง่าย และถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อย จากการที่เกิดจากความผิดปกติของยีนในการควบคุมการสร้างฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารสำคัญในเม็ดเลือดแดง

 

พญ. วิรงรอง เจริญพงษ์

อายุรศาสตร์โรคเลือด

 

 

จากสถิติพบว่ามีคนไทยที่มียีนผิดปกติประมาณ 24 ล้านคน หรือร้อยละ 40 ผู้ที่มียีนผิดปกติชนิดนี้อยู่ในร่างกายโดยไม่มีอาการ เรียกว่า "พาหะ" ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นพาหะ และผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียมีประมาณ 600,000 คน หรือร้อยละ 1

 

 

 

ผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะได้รับยีนผิดปกติมาจากพ่อและแม่

 

ส่วนคนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะได้รับยีนผิดปกติมาจากพ่อหรือจากแม่คนใดคนหนึ่ง โดยคนที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะมีสุขภาพดีเหมือนคนทั่วไป (หรือปัจจุบันเรียกว่าธาลัสซีเมียแฝง) แต่สามารถถ่ายทอดยีนผิดปกติให้ลูกได้

 

 

 

อาการของโรคธาลัสซีเมียเป็นอย่างไร?

 

อาการของผู้ป่วยธาลัสซีเมียมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดของโรคธาลัสซีเมียที่ผู้ป่วยเป็น ตั้งแต่

  • ไม่มีอาการซีด
  • มีอาการซีดเพียงเล็กน้อย ที่ไม่มีผลต่อการใช้ชีวิต
  • มีอาการซีดรุนแรง โดยจะมีอาการซีด ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับม้ามโต
  • รูปหน้าเปลี่ยน และการเจริญเติบโตผิดปกติ
  • ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียบางชนิดจะมีอาการที่รุนแรงมากจนเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือภายหลังคลอดไม่นานจากอาการซีดมาก บวมน้ำ และหัวใจวาย

 

 

 

 

คนที่ไม่มีอาการ จะรู้ว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่นั้น จากการไปตรวจสุขภาพ แล้วแพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจเลือด โดยดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) ร่วมกับการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษ Hb typing และการตรวจวิเคราะห์ DNA

 

ผู้ที่ตรวจพบว่าเป็นพาหะโรคธาลัสซีเมีย สามารถใช้ชีวิตได้ปกติไม่จำเป็นต้องทานยา ส่วนผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียแล้วการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิด อาการและความรุนแรงของโรค ซึ่งผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียจะต้องรับการดูแลรักษา และติดตามอาการจากแพทย์อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ซึ่งการจะรักษาให้หายขาดทำได้วิธีเดียว คือการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก

 

เนื่องจากผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียมีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะไปทำลายหัวใจ ทำให้หัวใจล้มเหลวทำลายตับ ทำให้ตับแข็ง และทำลายตับอ่อน ทำให้เป็นเบาหวานได้ จึงต้องมีการตรวจประเมินหาภาวะเหล็กเกินเป็นประจำ รวมถึง

 

เมื่อเป็นโรคธาลัสซีเมีย ต้องดูแลรักษาสุขภาพอย่างไรให้แข็งแรง?

  • ทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นทาน ผัก ผลไม้ ไข่ นม หรือน้ำนมถั่วเหลือง
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เลือด ตับ เครื่องในสัตว์
  • ออกกำลังกายเบาๆ ไม่ดื่มแอลกอฮร์และสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือการเล่นกีฬาที่รุนแรง
  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เนื่องจากฟันจะผุง่าย
  • ไม่ควรซื้อยาหรือวิตามินบำรุงเลือดมาทานเอง เพราะยาอาจมีธาตุเหล็กผสมอยู่และอันตรายต่อร่างกาย

 

 

 

ถ้าจะป้องกันไม่ให้เป็นโรคธาลัสซีเมียได้ไหม?

 

โรคธาลัสซีเมียป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองผู้ที่มียีนแฝงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งคู่สมรสที่อยากมีลูก ควรตรวจหาภาวะนี้ที่อาจมีซ่อนอยู่ในตัว เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีลูก 

“ธาลัสซีเมีย” ป้องกันได้โดยการตรวจคัดกรองผู้ที่มียีนแฝงตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งคู่สมรสที่อยากมีลูก ควรตรวจหาภาวะนี้ที่อาจมีซ่อนอยู่ในตัว เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีลูก

 

นัดพบแพทย์คลิก

พญ. วิรงรอง เจริญพงษ์

อายุรศาสตร์โรคเลือด

 

 

แก้ไขล่าสุด 06/07/63