การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้าน

November 08 / 2024

 

 

 

การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่บ้าน

 

 

หัวใจสำคัญคือการเตรียมบ้านให้ปลอดภัย เนื่องจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จะมีความจำแย่ลงไปเรื่อยๆ ในระยะที่โรคเริ่มลุกลาม ซึ่งจะมีอาการตัดสินใจผิดพลาด การเดิน การเคลื่อนไหวและการทรงตัวจะแย่ลง อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองหรือผู้อื่นได้ ผู้ดูแลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรค อาการ และอาการแสดง พฤติกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย รวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นและการดูแลที่เป็นพิเศษที่จะเตรียมการป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งปรับปรุงสถานที่ และสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ได้อย่างเป็นสุข และปลอดภัย

 

โรคอัลไซเมอร์

 

 

การวางแผนการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์

 

  1. ควรทำธุรกรรมทางการเงิน ในขณะที่ผู้ป่วยสามารถพูดคุยรู้เรื่อง
  2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการทำงานที่ดีของข้อต่อ กล้ามเนื้อ และหัวใจ ช่วยป้องกันและชะลอโรคอัลไซเมอร์ได้
  3. ใช้อุปกรณ์ช่วยเดินป้องกันการหกล้ม
  4. การเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วย เพื่อลดการสำลักในขณะรับประทาน และควรปรึกษานักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำในการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์
  5. ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี

 

 

ภายในตัวบ้าน 

 

  1. จดรายชื่อเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน และที่อยู่ผู้ติดต่อได้ไว้ใกล้โทรศัพท์ทุกเครื่องในบ้าน และเพิ่มเบอร์ติดต่อฉุกเฉินในโทรศัพท์มือถือ
  2. ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยจากควันไฟ (smoke alarms) ไว้ใกล้ห้องนอน และห้องครัวทุกห้องและหมั่นตรวจสอบให้อุปกรณ์อยู่ ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ หรือติดกล้องวงจรปิด
  3. เก็บของมีคม ของหนัก หรือของที่แตกง่าย และของที่มีขนาดเล็กพอที่จะหยิบของเข้าปากได้ เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลได้รับบาดเจ็บ สำลักลงคอหรืออุบัติเหตุอื่น     
  4. ติดตั้งกุญแจล็อคที่ประตูทุกบานที่จะเปิดออกข้างนอกบ้านได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเดินออกนอกบ้านตามลำพัง รวมทั้งเก็บกุญแจล็อคต่างๆ ให้พ้นมือผู้ป่วย 
  5. เก็บสายไฟให้เรียบร้อย หรือเดินสายไฟใหม่ เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม และติดที่ป้องกันปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟช็อต 
  6. จัดเครื่องเรือนไม่ให้ เกะกะขวางทาง เพื่อให้เดินได้สะดวก 
  7. ติดตั้งดวงไฟกลางคืนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสนกลางดึกรวมทั้งเปิดไฟทางเดินบันไดให้สว่าง และทำราวบันไดให้แข็งแรง 
  8. การดุแลเสื้อผ้าให้สะอาดอยู่เสมอ เช่น ตู้เสื้อผ้า และควรนั่งใส่การเกงบนเตียงเพื่อป้องกันการหกล้ม
  9. จัดแสงสว่างในแต่ละห้องให้เพียงพอ
  10. เก็บยาและสารเคมีต่างๆ ให้เป็นที่ เพื่อป้องกันผู้ป่วยหยิบรับประทานเอง ​

 

ห้องนอน 

 

  1. หลีกเลี่ยงการใช้พรมเช็ดเท้าบริเวณทางขึ้น - ลงบันได ควรปูพรมเต็มพื้นที่แทน และเช็ดพื้นให้แห้งอย่าให้พื้นเปียกโดยเฉพาะช่วงหน้าฝน เพื่อป้องกันการลื่นหกล้ม 
  2. จัดวางสิ่งของและเครื่องเรือนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จัดวางเฉพาะสิ่งของที่จำเป็น และสิ่งที่ผู้ป่วยคุ้นเคย
  3. ติดตั้งอินเตอร์คอม (Intercom) เพื่อเตือนให้ผู้ดูแลทราบกรณีได้ยินเสียงผิดปกติ เช่น เสียงผู้ป่วยล้มลง หรือผู้ป่วยร้องขอความช่วยเหลือ ซึ่งอุปกรณ์นี้ควรติดตั้งในห้องน้ำเช่นกัน
  4. ประตูห้องนอน (รวมทั้งห้องนอน) ควรเป็นชนิดที่เปิดล็อคได้จากทั้งด้านนอกและด้านใน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยปิดขังตนเองอยู่ในห้องโดยไม่มีใครรู้​

 

โรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์

 

 

ห้องครัว 

 

  1. เก็บอุปกรณ์ของมีคม ของแตกง่าย สารเคมีต่างๆ ให้พ้นมือและพ้นสายตาผู้ป่วย โดยเก็บในตู้ล็อคให้เรียบร้อย
  2. เตาแก๊สหุงต้ม ควรถอดลูกบิดเปิด-ปิดแก๊ส หรือติดตั้งวาล็วปิด-เปิดแก๊สให้พ้นมือและพ้นสายตาผู้ป่วย เก็บไม้ขีดไฟให้ดี ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยจุดเตาได้ง่าย
  3. เก็บของตกแต่ง เช่น ผลไม้ หรือผักปลอมที่ทำเลียนแบบเหมือนจริง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดและกลืนลงคอไป
  4. ถ้าจำเป็นอาจติดกุญแจล็อคเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเข้าไปในครัว​

 

โรคอัลไซเมอร์โรคอัลไซเมอร์

 

 

 ห้องน้ำ 

 

  1. ควรวางแผ่นยางกันลื่นที่พื้นห้องน้ำและในอ่างอาบน้ำ 
  2. ควรติดตั้งราวจับ หรือราวเกาะที่ฝาผนังให้ผู้ป่วยในที่อาบน้ำ และควรจัดหาเก้าอี้พิเศษ สำหรับอาบน้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยอาบน้ำด้วยตนเองได้สะดวก และง่ายต่อการดูแลจัดแสงสว่าง ในห้องน้ำให้เพียงพอ
  3. อุปกรณ์เครื่องทำน้ำอุ่น ควรมีระบบติดตั้งอุณหภูมิที่ต้องการให้เครื่องตัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันน้ำร้อนลวก

** กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรซื้อเก้าอี้สุขาเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย

 


การเตรียมความพร้อมที่ดีจะช่วยให้ท่านดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ท่านรัก ได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข