โรคหัวใจกับ COVID-19 ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย

January 13 / 2025

 

โรคหัวใจกับ COVID-19 ผู้ป่วยโรคหัวใจติดโควิดอันตราย

หมอแนะให้เพิ่มความระมัดระวัง

 

 

 

โควิด โรคหัวใจโควิด โรคหัวใจ

 

พญ. บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล

อายุรแพทย์โรคหัวใจ

 

ให้ระวังโรคหัวใจกับ COVID-19

     โรคหัวใจนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกอันดับ 1 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งยังมีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสถิติจากกระทรวงสาธารณะสุข พบว่ามีคนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดปีละกว่า 4 แสนคนและมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่า 2 หมื่นคนต่อปีหรือเฉลี่ยแล้วชั่วโมงละ 2 คน ถ้าผู้ป่วยโรคหัวใจมีการติดเชื้อ COVID-19 ร่วมด้วย จะมีอัตราการเสียชีวิต การเข้า ICU การใช้เครื่องช่วยหายใจและระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลก็มากกว่าผู้ป่วยทั่วไป

 

สถิติผู้ป่วยโรคหัวใจที่เสียชีวิตจาก COVID-19

โดยสถิติผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13% และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อ COVID-19 ได้อีกด้วย โดยจะพบว่ามี

 

 

กลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่จากการติดเชื้อ COVID-19

เพราะหากผู้ป่วยหัวใจติดเชื้อ COVID-19 จะทำให้มีกลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่ โดยเชื่อว่าเกิดจาก

 

  • มีการกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายที่มีต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ผลจากการกระตุ้นจากเชื้อไวรัสต่อ ถ้าเข้าในกล้ามเนื้อหัวใจทำให้เกิดการทำลายกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงได้

 

 

กลไกการเกิดโรคหัวใจใหม่จากการติดเชื้อ COVID-19

คุณหมอหัวใจยังเตือนอีกว่า คนที่เป็นโรคหัวใจ และหลอดเลือด หรือโรคในกลุ่มหลอดเลือด จะต้องยิ่งเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะพบโรคร่วมในการติดเชื้อ COVID-19 ได้ไม่น้อยกว่าที่มีอยู่ในโรคเดิมของผู้ป่วยเอง ดังนี้

 

  • โรคหัวใจ พบในผู้ป่วยติดเชื้อได้ 15% โดยแบ่งเป็น
    • เส้นเลือดหัวใจตีบ ประมาณ 10%
    • หัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ประมาณ 5%
  • ความดันโลหิตสูง พบเป็นโรคร่วมได้ ถึง 20-30%
  • เบาหวาน พบเป็นโรคร่วมได้ 10-15%
  • เส้นเลือดสมองตีบ พบเป็นโรคร่วมได้ 5%

 

วิธีป้องกันผู้ป่วยโรคหัวใจจากการติดเชื้อ COVID-19

ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ซึ่งคุณหมอแนะนำว่า

 

  • ควรปฏิบัติตัวตามมาตราฐานเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 คือ ล้างมือเป็นประจำ, สวมหน้ากาก, การเว้นระยะห่าง (Social  Distancing), แยกของใช้ส่วนตัว เป็นเรื่องสำคัญเป็นอันดับแรก
  • หากมีอาการไข้ หรือ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ให้รีบพบแพทย์เพื่อประเมินการติดเชื้อและประเมินความรุนแรง และต้องบอกข้อมูลทั้งหมดให้แพทย์ทราบ เพื่อประเมินการรักษาและการใช้ยาที่ถูกต้อง
  • รับประทานยาประจำตามปกติ ไม่เปลี่ยนยาเอง หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • ยาบางตัวที่ใช้รักษา COVID-19 อาจส่งผลต่อหัวใจ ดังนั้นแพทย์อาจต้องพิจารณาเรื่องยาให้เหมาะสมหากติดเชื้อ COVID -19

 

 

โควิด โรคหัวใจโควิด โรคหัวใจโควิด โรคหัวใจโควิด โรคหัวใจ

 

 

สรุปทิ้งท้ายด้วยความห่วงใย

     คุณหมอจะเน้นการรักษาโรคเดิมให้ได้ตามเป้าหมายอย่างเคร่งครัด เนื่องจากหากเจ็บป่วยด้วย COVID-19 แล้วอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนทางหัวใจกับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โดยอาจเพิ่มระยะเวลานอนโรงพยาบาลและโอกาสเสียชีวิต

 

'อบอุ่นและเชี่ยวชาญ' กับโรงพยาบาลรามคำแหง

     ดังนั้นการมาพบแพทย์ตามนัดจึงมีความสำคัญอย่างมาก เพื่อติดตามการรักษา การทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้รักษา เพื่อให้สามารถควบคุมโรคได้ดี โดยโรงรามคำแหงได้เตรียมรับมือด้วยมาตราการรักษาซึ่งมีความปลอดภัยสูงด้านการติดเชื้อเพื่อให้ทุกคนได้มีชีวิตที่ดีและยืนยาวต่อไป อยากให้พบมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อจะได้สบายใจค่ะ

 

 


ผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรระมัดระวังเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ที่ต้องเคร่งครัดมากกว่าคนทั่วไป