COVID-19 ไม่ได้ทำร้ายแค่ปอด ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ตับพัง

February 27 / 2024

 

COVID-19 ไม่ได้ทำร้ายแค่ปอด

ติดเชื้อขึ้นมาระบบทางเดินอาหารและตับก็พังได้ด้วย

 

 

นอกจากที่เราเคยได้ยินกันมาโดยตลอด ว่า COVID-19 มุ่งเน้นทำลายระบบทางเดินหายใจเป็นหลักแล้ว ต้องบอกว่าตอนนี้มีงานวิจัยหลายตัว บ่งชี้ว่าเชื้อไวรัสตัวนี้ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและตับได้ด้วย
 

พญ. ปานวาด มั่นจิต

แพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ


เนื่องจากไวรัส COVID-19 เวลามันเข้ามาโจมตีร่างกายเรา มันไม่สามารถเข้ามาได้โดยตรง เพราะภูมิคุ้มกันเราจะคอยดักจับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ทว่าเชื้อ COVID-19 นั้นฉลาดมาก ในเมื่อเดินเข้ามาทื่อๆ ไม่ได้ ก็ติดขออาศัยตัวรับบนผิวเซลล์อื่นๆ ในการเข้าออกร่างกายแทน อารมณ์เหมือนคนแปลกหน้าอยากเข้าหมู่บ้าน แต่รปภ.ไม่ปล่อยเข้า ก็ดักจี้ลูกบ้าน แล้วอาศัยติดรถเข้ามาในร่างกายพร้อมกัน

 

ซึ่งตัวรับบนผิวเซลล์ที่เป็นช่องทางให้เจ้า COVID-19 อาศัยเข้ามาในร่างกายมีชื่อว่า ACE2 Receptor โดยปกติแล้วจะพบตัวรับบนผิวเซลล์ชนิดนี้ได้มากในปอดและเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ ก่อนหน้านี้เราก็เลยสันนิฐานกันว่ามันน่าจะเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ในระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก

 

แต่ทว่า เจ้า ACE2 Receptor ตัวนี้ที่โดน COVID-19 ดักปล้น นอกจากจะมีเยอะในปอดแล้ว ยังพบมากในเซลล์เยื่อบุผิวทางเดินอาหารและเยื่อบุท่อน้ำดีอีกด้วย !! สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่ไวรัสเข้าสู่เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร ส่งผลให้เซลล์ทำงานผิดปกติเกิดการดูดซึมผิดปกติ และมีการรั่วซึมของสิ่งแปลกปลอมภายนอกเข้าสู่เซลล์เพิ่มขึ้น


โดยอาการของ COVID-19 ที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารส่วนใหญ่ ได้แก่

  • อาการท้องเสีย (เจอบ่อยสุด)
  • คลื่นไส้อาเจียน (พบบ้างปานกลาง)
  • ปวดท้อง (มีน้อยเคส)

 

 

 

ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นในทางระบบทางเดินอาหารเหล่านี้ มักแสดงก่อน 1-2 วันแรก หลังจากนั้นเราจึงเริ่มมีอาการไข้ หรือหายใจหอบเจ็บปอดอะไรแบบนั้นตามมา และอาการในระบบทางเดินอาหาร อาจรุนแรงตามผู้ป่วย COVID-19 ที่ติดเชื้อรุนแรงอีกด้วย

 

ส่วนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ แล้วเกิดติดเชื้อ COVID-19 ด้วยนั้น...

มีสถิตินึงพบว่า ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เมื่อตรวจเลือดหาระดับเอนไซม์ตับ (ASTและALT) ค่าที่ได้จะสูงผิดปกติ (ซึ่งพบได้ราว 14-57% ของผู้ป่วย) โดยมีระดับสูงขึ้นประมาณ 1-3 เท่าของค่าปกติ จึงไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการทางตับที่ชัดเจน อีกทั้งค่าตับสามารถกลับเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องให้การรักษาจำเพาะ


ในกรณีที่ผู้ป่วย COVID-19 มีโรคไวรัสตับอักเสบเรื้อรังเดิมอยู่แล้ว อาจมีความผิดปกติของค่าตับได้มากกว่าตัวเลข 1-3 ดังกล่าวข้างต้น และอาจทำให้มีอาการที่แย่ลงได้หลังรับเชื้อเช่นกัน

แต่ในปัจจุบันยังไม่พบรายงานการเสียชีวิตจากตับวายที่เกิดจาก COVID-19 โดยตรง ฉะนั้นจึงยังฟันธงอะไรในจุดนี้ไม่ได้

 

แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาท สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันและผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง ในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 นอกจากการเว้นระยะ หมั่นล้างมือแล้ว ทางรพ.รามคำแหงขอแนะนำให้ปฎิบัติเพิ่มเติมดังนี้
 

  • ทานยารักษาโรคประจำตัวเดิมอย่างต่อเนื่อง สามารถทานยาลดไข้พาราเซตามอล ขนาดไม่เกิน 2 กรัมต่อวัน (4 เม็ดต่อวัน) หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่ม NSAIDS โดยเฉพาะไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • ทานอาหารที่สุกร้อน สะอาด ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบจับอาหาร เพื่อลดโอกาสการปนเปื้อนเชื้อไวรัสได้
  • มาพบแพทย์ตามนัด (ส่วนใหญ่แพทย์จะนัดผู้ป่วยติดตาม อาการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น)

 

 

 

รพ.รามคำแหงมีมาตรการรักษาความปลอดภัยด้านการติดเชื้อในโรงพยาบาลอยู่ในระดับสูงสุดอยู่แล้ว ขอให้ทุกท่านเชื่อมั่นในระบบความปลอดภัยที่เราเข้มงวดมาโดยตลอด

พญ. ปานวาด มั่นจิต

แพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

 

 

 

 

 

 

Premium Health package ผู้หญิง

ถึงเวลาดูแลสุขภาพอย่างใส่ใจ เราพร้อมดูแลคุณอย่างอบอุ่น

ราคา 3,990 บาท

แพ็กเกจผ่าตัดคลอดแบบเหมา ๆ ใช้จ่าย อุ่นใจ สบายกระเป๋า

ดูแลครอบคลุม คุ้มค่ากับราคาเหมาๆ ดูแลใส่ใจคุณแม่และลูกน้อยทุกขั้นตอนอย่างดีที่สุด

ราคา 72,000 บาท

Premium Health package ผู้ชาย

"เพราะปัญหาสุขภาพอาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อย่ารอให้เจ็บป่วยค่อยใส่ใจ"

ราคา 3,990 บาท

Healthy heart package (ผู้หญิง)

ฝากหัวใจ..ให้เราดูแลกับ "Healthy heart package (ผู้หญิง)" ตรวจก่อนรู้ก่อน อย่าปล่อยให้หัวใจอ่อนแอ..เกินเยียวยา

ราคา 5,990 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพของสตรี - Superior health 45+ ผู้หญิง

เพราะทำงานหนัก การตรวจสุขภาพที่เจาะลึกจึงสำคัญ

ราคา 11,490 บาท

โปรแกรมตรวจสุขภาพเบาหวานสำหรับผู้หญิง l รพ.รามคำแหง

“เบาหวาน” โรคใกล้ตัวที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม รู้ทันป้องกันได้

ราคา 4,890 บาท