โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (BELL’S PALSY) l โรงพยาบาลรามคำแหง

December 13 / 2023

 

 

โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (BELL’S PALSY)

 

 

 

 

อาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

 

การที่เปลือกตาและมุมปากตกลง รวมทั้งน้ำลายไหลออกจากมุมปาก และขยับยิ้มมุมปากด้านที่เกิดปัญหาไม่ได้ตามปกตินั้นเกิดจากภาวะที่เส้นประสาทควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหน้ามีการอักเสบหยุดการทำงาน ทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงด้านเดียวกัน หรือจะระบุว่าเกิดจากการที่เส้นประสาทที่ 7 ก็ได้ โดยโรคนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า BELL’S PALSY (เบลล์พัลซี่)

 

 

อาการแสดง ได้แก่

 

  • อาจเกิดอาการนำคือ ปวดที่บริเวณด้านหน้าหรือหลังหู 1-2 วัน
  • กล้ามเนื้อแสดงสีหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก โดยปิดตาและ ยักคิ้วข้างนั้นได้ลดลง หรือเวลาหลับตาแล้วปิดตาไม่สนิทส่งผลให้เกิดสภาพตาแห้ง
  • รู้สึกตึงหรือหนักที่ใบหน้าซีกนั้น
  • เสียงก้องที่หูข้างเดียวกัน หูอื้อ
  • บางครั้งอาจมีอาการชาลิ้น

 

 

สาเหตุของอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

 

เส้นประสาทที่ 7 เกิดการอักเสบนั้นมีหลักฐานพบว่ามักเป็นจากเชื้อเริมที่มีชื่อเรียกว่า เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส (Herpes simplex virus : HSV) มีอาการร้อนในโดยเกิดแผลร้อนในที่ปากและอวัยวะเพศ ส่วนสาเหตุจากเชื้ออื่นๆ ยังมีงูสวัด หรือ เฮอร์ปีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส (Herpes zoster virus) 
ไซโตเมกะโลไวรัส (cytomegalovirus),และเอ็บสไตบาร์ไวรัส (Epstein Barr virus) ซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบแล้วจะทำให้เส้นประสาทบวม มีผลทำให้เส้นเลือดขนาดเล็กส่งเลือดไปเลี้ยงเส้นประสาทไม่ได้ จึงรบกวนการทำงานของเส้นประสาทจนไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าให้ทำงานได้ที่กล้ามเนื้อสำหรับใช้ปิดตาและยิ้ม

 

 

การวินิจฉัยอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

 

ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายเป็นหลัก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในรายที่มีอาการนี้มานานเกิน 2 เดือน แล้วยังไม่ดีขึ้นอาจต้องใช้วิธีเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็ก (MRI SCAN) เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีเนื้องอกเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามโรคเส้นประสาทที่ 7 อักเสบ หรือ BELL’S PALSY ส่วนใหญ่หายได้หมด กลับมาปกติ น้อยมากที่จะไม่หายสนิทหรือไม่หายและมีโอกาสน้อยมากที่จะเป็นซ้ำส่วนใหญ่หายได้สนิทใน 2 เดือน

 

 

 

การรักษาอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

 

  • ยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อการอักเสบบวมของเส้นประสาท
  • ยาฆ่าเชื้อไวรัส ในกรณีพบอาการแสดงของการติดเชื้อไวรัสงูสวัดร่วมด้วย
  • กายภาพบำบัด เช่น การกระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า หรือ การนวดใบหน้า ซึ่งจะช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงเกร็งได้
  • การรักษาตามอาการอื่นๆ ได้แก่ การหยอดน้ำตาเทียมและป้ายตาด้วยขี้ผึ้งยาเพื่อป้องกันกระจกตาเป็นแผลหรือการให้วิตามินบำรุงสายตา

 

 

 

ภาวะแทรกซ้อนหลังจากที่อาการหน้าเบี่ยวครึ่งฉีกดีขึ้นแล้ว คนไข้บางคนอาจจะเหลือภาวะกล้ามเนื้อใบหน้าด้านที่เป็นไม่แข็งแรงเท่าเดิม หรือบางรายอาจมีภาวะเส้นประสาทเกิดการทำงานผิดปกติ อาจเกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อย เช่น

  • เวลากระพริบตา มุมปากด้านเดียวกันอาจกระตุก
  • เวลายิ้มตาด้านเดียวกันอาจปิดลง
  • เวลาเคี้ยว อาจมีน้ำตาไหลจากดวงตาด้านที่เป็นอัมพาตใบหน้า
  • ถ้ามีอาการดังกล่าวให้รีบกลับมาพบแพทย์

 

 

การปฏิบัติตัวหลังมีอาการหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

 

  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดดื่มสุรา
  • เนื่องจากตาจะปิดไม่สนิท จึงควรสวมแว่นกันลมหรือปิดตาป้องกันกระจกตาแห้งและเป็นแผล
  • บริหารกล้ามเนื้อใบหน้าด้วยตนเองได้โดย

 

 

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก มีน้ำไหลมุมปาก หลับตาไม่สนิทรวมทั้งบางรายที่กระพริบตาแล้วมีกระตุกที่มุมปากล้วนเป็นอาการที่มีโอกาสเกิดกับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกับผู้ป่วยเบาหวานซึ่งสามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้หากตรวจพบว่ามีต้นตอจากเส้นประสาทอักเสบ แต่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนและอย่าหลงไปเลือกใช้วิธีผิดๆ เพราะนอกจากจะไม่หายแล้วยังเหมือนกับซ้ำเติมให้เกิดอาการเลวร้ายกว่าเดิม

 

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นอาการที่มีโอกาสเกิดกับทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

แก้ไขล่าสุด 10/06/63