โรคติดเชื้อไวรัสซิกา เฝ้าระวังสายพันธุ์อันตราย

January 09 / 2025

ไวรัสซิกา

 

 

 

     โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika Fever) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกาโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ปรกติมักมีอาการไม่รุนแรงและทุเลาลงได้ภายใน 2-7 วัน ยกเว้นแต่สตรีมีครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้ทารกมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด (Microcephaly) หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทได้

 

 

 

ไวรัสซิกา

 

การแพร่เชื้อและอาการหลังติดเชื้อไวรัสซิกา

     โรคติดเชื้อไวรัสซิกาสามารถแพร่เชื้อโดยยุงลายที่มีเชื้อและไปกัดคน หลังจากได้รับเชื้อแล้ว เชื้อจะมีระยะฟักตัว 3-12 วัน โดยผู้ป่วยอาจมีอาการปวดศีรษะ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง มีไข้ อ่อนเพลีย มีผื่นแดง ปวดตามข้อและปวดกล้ามเนื้อ

 

 

 

ไวรัสซิกา

 

 

 


หญิงตั้งครรภ์ หากอาการ ผื่นแดง มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ปวดศีรษะ ตาแดง ประมาณ 2-7 วันก่อนมาโรงพยาบาล กรุณาแจ้งแพทย์หรือพยาบาลทราบทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสซิกา


 

 

การตรวจวินิจฉัยโรคไวรัสซิกา

  • การตรวจหาสารพันธุกรรมด้วยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR)
  • การแยกเชื้อไวรัสจากตัวอย่างเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วย 

 

การรักษาโรคเชื้อไวรัสซิกา

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันหรือยารักษาเฉพาะ ส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาได้โดย เเพทย์จะทำการรักษาตามอาการของผู้ป่วย และให้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำต่อไปนี้

 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • ใช้ยาลดไข้หรือยาบรรเทาอาการปวด เช่น รับประทานยาพาราเซตามอล เพราะอาจทำให้เลือดออกในอวัยวะภายในได้
  • ห้ามรับประทานยาแอสไพริน

 

 

ไวรัสซิกาไวรัสซิกาไวรัสซิกา

 

 

การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

  • ควรป้องกันไม่ให้ยุงกัด ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด และทายากันยุง
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 
  • หากป่วยด้วยอาการไข้ ออกผื่น เยื่อบุตาอักเสบ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ รุนแรงให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง (ถ้ามี)

 

 

ไวรัสซิกาไวรัสซิกาไวรัสซิกา

 

 

 


สตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการระบาด หากจำเป็นต้องเดินทาง ควรปรึกษาแพทย์และป้องกันไม่ให้ยุงกัด