ตอบข้อสงสัย ทำไมผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลเบาหวานที่บริเวณเท้า

January 20 / 2025

แผลเบาหวานที่เท้า

 

 

 

     โรคเบาหวานยังเป็นโรคซ่อนเร้นที่น่ากลัวเสมอ เมื่อรู้ว่าคนเป็นเบาหวาน เพียงโรคเดียวเท่านั้นก็ส่งผลกระทบสู่หลากโรคเสมือนผิวน้ำสะท้อนเป็นคลื่นวงกว้างยามก้อนหินตกกระทบ แผลเบาหวานเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ชวนสงสัย แต่ทำไมถึงเกิดที่เท้า ทั้งหายช้าและเริ่มชาจนไร้ความรู้สึก เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะสิ่งใด

 

ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

     แผลเบาหวานที่เท้า (Diabetic Foot Ulcers) คือภาวะแทรกซ้อนจากภาวะหลอดเลือดตีบตัน บางรายอาจพบการติดเชื้อร่วม ซึ่งส่งผลให้เลือดไหลเวียนเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้น้อยลง ตัวโรคมักเกิดบริเวณขาและมักแสดงออกใน 3 อาการ 

 

อาการแสดงออกจากแผลเบาหวานที่เท้า

  • การติดเชื้อ มีอาการติดเชื้อแบคทีเรีย สมานแผลช้าจนอาจเกิดบาดแผลอักเสบรุนแรง หากดูแลและรักษาแผลได้ไม่เหมาะสมอาจเกิดในกระแสเลือดจนนำไปสู่ภาวะเสี่ยงรุนแรง
  • การอักเสบ แสดงอาการเท้าหรือบริเวณที่เกิดแผลบวมแดงก่อนกลายเป็นสีเขียวเข้มร่วมกับอาการปวดอย่างรุนแรง โดยมากมักมีอาการแผลติดเชื้อร่วมและไม่สามารถรักษาให้หายได้ใน 4 สัปดาห์
  • การสูญเสียอวัยวะ เมื่อเส้นเลือดเกิดอุดตันจนขาดเลือดเลี้ยงเซลล์ ก็สามารถกลายสภาพเป็นแผลเรื้อรัง บางรายมีทั้งเกิดติดเชื้อและอักเสบลุกลามร่วมด้วยสูญเสียอวัยวะที่เกิดแผลในที่สุด


 


แผลเบาหวานมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากการไหลเวียนของเลือดและระบบประสาทเสียหายจากโรคเบาหวาน โดยทั่วไปมักเกิดตามเท้า เพราะเป็นส่วนที่รองรับแรงกดทับและการเสียดสีได้ง่าย


 


 

แผลเบาหวานที่เท้า

 

ทำไมแผลเบาหวานมักเกิดที่เท้า

1. เท้าเป็นจุดรองรับน้ำหนัก

     เนื่องจากเท้าเป็นส่วนปลายที่ไกลจากหัวใจและเป็นจุดที่รับแรงกดทับในแนวดิ่ง เมื่อร่างกายเริ่มเกิดแผล เท้าจึงเป็นเป้าหมายแรก เพราะได้รับความเจ็บปวดจากการใช้งานที่มีอยู่เดิม โดยทั่วไปเท้ามักเป็นอวัยวะที่ได้รับแรงกดจากการวิ่ง การเดิน การยืนและการกระโดด  ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงรู้สึกชา ไร้ความรู้สึกจนเผลอใช้เท้าโดยไม่ทราบว่าเป็นแผล บางรายอาจมีเท้าที่ผิดรูปไม่เท่ากัน เริ่มหลั่งเหงื่อผิดปรกติและภาวะอื่นร่วม

 

 

 

 

 

2. ภาวะผิวแห้งและแตกง่าย

     เมื่อเส้นประสาทเสื่อมหรือได้รับความเสียหายจากโรคเบาหวาน ทุกครั้งที่ก้าวเดินย่อมไร้ความรู้สึก ทุกครั้งที่เท้าเหยียบย่ำลงพื้นย่อมทำให้ผิวแห้งและแตกง่าย ซึ่งเป็นช่องว่างให้เชื้อโรคเล็ดลอดสู่ร่างกายจนติดเชื้อ 

 

 

 

3. สาเหตุจากการติดเชื้อ

     หากเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียย่อมเกิดการสมานแผลได้ช้า เกิดการอักเสบจนรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  และกลายเป็นอาการบวมแดง มีเนื้อตายและส่งกลิ่นเหม็น หากดูแลรักษาแผลได้ไม่เหมาะสมก็อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงอื่น

 

4. การใส่รองเท้าไม่เหมาะสม

     การเลือกรองเท้าตามขนาดเบอร์เพื่อสวมใส่อาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานนัก เพราะรูปแบบอาจไม่ได้เข้ากับรูปเท้าของเรา โดยเฉพาะรองเท้าที่ทำจากวัสดุหนังแข็งสามารถอัดบีบและเสียดสีเท้าจนเกิดแผลได้ง่าย บางครั้งเท้ามักขยายจากการเดินมากขึ้น ทำให้รูปทรงรองเท้าที่สวมใส่ในปัจจุบันอาจใส่ได้ไม่นาน

 

วิธีการรักษาแผลที่เท้า

การเข้ารับการรักษาจากแพทย์

แพทย์จะเริ่มดูสภาพอาการและเริ่มซักถามผู้ป่วย หลังจากนั้นจึงส่งตรวจเพื่อประกอบการวินิจฉัย ก่อนวางแผนรักษาแผลเบาหวานที่เท้าจากการระบายหนอง การใช้ยาปฏิชีวนะ และการผ่าตัด

 

  • แพทย์สามารถเปิดแผลเพื่อรีดระบายหนองและตัดเนื้อที่ตายแล้วออก
  • การใช้ยาปฏิชีวนะนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
  • การสอดสายสวนขยายหลอดเลือดหรือผ่าตัดหลอดเลือดโดยพิจารณาจากภาวะอุดตันในหลอดเลือด

 

อ่านเพิ่มเติม: รักษาแผลเบาหวานที่เท้าไม่ต้องตัดขา

 

แนวทางป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า

1. การหมั่นสำรวจเท้าตัวเองทุกวัน

ผู้ป่วยควรหมั่นสำรวจเท้าทุกครั้งหลังทำกิจกรรมว่ามีรอยแดง เล็กขบ บวมหรือไม่ ยิ่งเป็นภาวะรองเท้ากัดหลังสวมรองเท้าคู่ใหม่ ควรสังเกตอยู่บ่อย 

 

2. การทำความสะอาดเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ

     ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการล้างแผลด้วยตัวเอง ทั้งการตัดแต่งแผลหรือการแช่เท้าในน้ำ โดยวิธีการดูแลแผลเบาหวานขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและการแนะนำของแพทย์ หากเกิดอาการปวดแสบ 

 

การดูแลตัวเองเบื้องต้น

ผู้ป่วยสามารถล้างแผลด้วยการใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำเช็ดทำความสะอาด หลังจากนั้นจึงใช้ผ้าเช็ดตัวอีกผืนที่นุ่มสบายเช็ดตามซอกและตัวเท้าให้แห้งสนิท

 

  • ห้ามใช้แอลกอฮอล์ทำความสะอาด เนื่องจากมีส่วนให้เท้าแห้งยิ่งขึ้น
  • กรณีต้องใช้น้ำอุ่น ควรใช้ข้อศอกหรือปรอทวัดอุณหภูมิน้ำ ซึ่งไม่ควรเกิน 35 องศาเซลเซียส
  • ตัดเล็บเท้าเป็นประจำและทาครีมโดยเว้นทาส่วนซอกระหว่างนิ้วเพื่อลดการเกิดเท้าแห้งและแตกลาย

 

3. การสวมรองเท้าป้องกันการเกิดบาดแผล

     เนื่องจากเท้าเป็นอวัยวะที่บอบบางกว่าที่คิด การเลือกสวมรองเท้าที่พอดี ไม่หน้าแคบจนบีบเท้าและมีแผ่นรองนุ่มสบายย่อมลดแรงกดทับ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถเลือกใช้ไม้เท้า รถเข็นและอุปกรณ์ช่วยลดแรงตกกระทบตรงบาดแผล โดยเฉพาะช่วงขาจรดเท้าได้ 

 

 


ดังนั้นการเลือกรองเท้าควรพิจารณาจากรูปทรงซึ่งใกล้เคียงกับรูปเท้า โดยห้ามซื้อรองเท้าจากการดูเบอร์ ควรใช้รองเท้าผ้าใบที่สวมใส่สบาย


 

 

 

แผลเบาหวานที่เท้า

 

4.  การควบคุมระดับน้ำตาลและอาการของโรค

     ระดับน้ำตาลในเลือดยังเป็นตัวชี้วัดของโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลน้อยและคอเลสเตอรอลต่ำ พร้อมปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ลดน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ปรกติและใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ก็ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันและแรงกดทับระหว่างเดินได้อย่างมาก 

 

5. การเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจตามนัดเสมอ

     การพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเท้าเป็นประจำช่วยตรวจจับปัญหาต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น เช่น แผลที่อาจเกิดขึ้น หรือการติดเชื้อที่อาจไม่รู้สึกได้ โดยเริ่มจากการตรวจบาดแผลที่เกิดขึ้น ตรวจการไหลเวียนเลือดรวมถึงการตรวจความรู้สึกบริเวณเท้า

 

อ่านเพิ่มเติม: แนวทางป้องกันแผลเบาหวาน พร้อมตอบคำถาม แผลจะรักษาหายขาดไหม

 

 

 

แผลเบาหวานที่เท้า

 

 

ให้โรงพยาบาลรามคำแหงเป็นผู้ดูแลแผลเบาหวานของคุณ

     แผลเบาหวานรักษาได้ พร้อมมอบความอุ่นใจกับศูนย์รักษาแผลเบาหวานที่เท้า โรงพยาบาลรามคำแหงภายใต้แนวคิด ‘ตอบโจทย์ทุกความต้องการ เชี่ยวชาญทุกการดูแล’ ร่วมเทคโนโลยีการรักษาที่ทรงประสิทธิภาพ แพทย์จึงช่วยให้ผู้ที่เข้ารับการรักษารู้สึกสบายใจยิ่งขึ้น มอบโอกาสแก่ชีวิตให้กลับมาสุขสว่างอีกครั้งกับเรา