โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หนึ่งโรคร้ายรักษาได้ในหลากวิธี

November 12 / 2024

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

 

 

     อาการแน่นหน้าอก เจ็บลิ้นปี่และหมดสติเป็นตัวอย่างอาการของโรคร้ายที่ชวนเป็นห่วง ‘โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน’ หนึ่งโรคร้ายที่รักษายากยังคงน่ากลัวเสมอ เพราะพบได้บ่อยแม้กับคนที่อายุยังน้อย และหากโรคเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราจะทำอย่างไร พร้อมเข้าใจสาเหตุที่มา กลุ่มอาการโรคร่วมวิธีดูแลรักษาที่ทุกอย่างเริ่มได้ด้วยตัวเรา

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

     โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (CAD: Coronary Artery Disease) เกิดจากการที่หลอดเลือดเกิดแข็งตัวจนตีบ หรือมีไขมันเกาะตามผนังของหลอดเลือดก็ทำให้ลำเลียงเลือดเข้าสู่หัวใจได้ยาก โดยโรคดังกล่าวยังครอบคลุมโรคเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดส่วนปลาย

 

อาการของโรค

สัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันสามารถแสดงออกในรูป

 

  • รู้สึกเจ็บแน่นหน้าอกและลิ้นปี่ซึ่งอาจร้าวไปที่แขนหรือกราม
  • เริ่มหายใจหอบ เหงื่อแตก ตัวเย็นและใจสั่น
  • เหนื่อยทุกครั้งเมื่อออกแรง ร่วมกับอาการคลื่นไส้ หน้ามืดและหมดสติ

 

ผลกระทบหลังเกิดโรค

     หลังเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ป่วยมักประสบปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญหลายประการ เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การใช้ยาและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงก็เป็นสิ่งสำคัญเพื่อทุเลาความรุนแรงของอาการ

 

ปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรค

ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้

 

  • อายุ หลอดเลือดหัวใจเริ่มเสื่อมสภาพเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งมีโอกาสเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  • พันธุกรรม ประวัติครอบครัวมีส่วนใช้ประเมินโอกาสเสี่ยงเกิดโรค โดยเกิดจากยีนส์ที่ผิดปรกติจนก่อโรค
  • ภาวะหมดประจำเดือน ผู้หญิงที่ผ่านภาวะหมดประจำเดือน (Monopause) มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิดซึ่งส่งผลให้ร่างกายขาดสมดุล

 

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ 

 

ปัจจัยที่ควบคุมได้

 

  • โรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากกว่า 2 - 4 เท่า โดยมักเกิดในผู้ป่วยผู้หญิงแม้อายุยังน้อยก็ตาม โดยระดับอาการรุนแรงและพยากรณ์โรคที่แย่กว่าคนทั่วไป
  • ความดันเลือดสูง ผลสืบเนื่องจากการดื่มแอกอฮอล์ การใช้สารเสพติด การกินอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือการเกิดจากโรคเดิมที่เป็นอยู่ เช่น โรคไทรอยด์ เนื้องอกในต่อมหมวกไต หลอดเลือดผิดปรกติแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังก่อภาวะหัวใจล้มเหลวและบางรายอาจสูญเสียการมองเห็น
  • การนอนหลับไม่เพียงพอ เนื่องจากขณะที่นอนอยู่หัวใจไม่ได้ทำงานหนัก เมื่อไม่ได้นอนเป็นเวลานานยิ่งเพิ่มความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจจนอาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
  • การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอาหารที่อุดมด้วยคาร์โบไฮเดรตและไขมันอิ่มตัวสูงเป็นสาเหตุให้เกิดคอลเลสเตอรอลสูง หลอดเลือดแข็งตัวและไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดจนตีบหรืออุดตัน
  • สภาพแวดล้อม เป็นได้ทั้งจากมลพิษทางอากาศหรือสภาพงานที่ทำล้วนเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หากแต่เดิมเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวานยิ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนร่วม
  • การสูบบุหรี่ มีผลทำลายหลอดเลือดหัวใจอย่างน้อย 2 เท่า ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพ ไม่มีเลือดเลี้ยงหัวใจเพียงพอจนเกิดภาวะตาย
  • ภาวะเครียด ความเครียดส่งผลให้หลอดเลือดตีบแน่นขึ้น

 

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

เมื่อไหร่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค

     เมื่อใดเกิดปัญหาหลอดเลือดหัวใจไหลเวียนไม่สะดวกจนส่งผลกระทบผ่านอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก หรือมีอาการเหนื่อยง่าย ในกรณีนี้แพทย์จะเริ่มซักถามประวัติผู้ป่วยร่วมตรวจสุขภาพด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)  ต่อมาแพทย์จะเจาะเลือดเพื่อดูเอมไซม์ของหัวใจ ซึ่งหากผลพบว่าสูงแสดงว่ามีการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ ก่อนเข้ารับฉีดสีสวนหัวใจเป็นการตรวจสุดท้าย หากพบภาวะตีบก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

วิธีรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

1.  การรักษาด้วยการใช้ยา

     การรักษาดังกล่าวใช้ได้ในกรณีพบความผิดปรกติของหัวใจไม่มาก เช่น ผนังหัวใจรั่ว โดยแพทย์จะประเมินสภาพอาการก่อนให้ยาที่เหมาะสม เนื่องจากผู้ป่วยบางรายยังมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด

 

 

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

 

2.  การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน

     การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน (Balloon Angioplasty) เป็นหนึ่งการรักษาที่ประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพแม้ไม่ต้องผ่าตัด เพียงสอดสายสวนหัวใจชนิดบอลลูนเข้าไปยังหลอดเลือดหัวใจในตำแหน่งที่ตีบตันก็สามารถขยายหลอดเลือดให้ไหลสะดวกดั่งเดิม

 

โดยมีขั้นตอนการรักษาดังต่อไปนี้

 

  • ขั้นที่ 1 แพทย์นำสายสวนหัวใจสอดใส่ไปยังหลอดเลือดตำแหน่งที่ตีบตัน
  • ขั้นที่ 2 บอลลูนหัวใจเริ่มพองตัวเพื่อขยายผนังหลอดเลือดและกดทับสิ่งที่ตีบ
  • ขั้นที่ 3 ก่อนบอลลูนแฟบลงและนำสายสวนออกจากหลอดเลือดที่ตีบ

 

อ่านเพิ่มเติม: บอกเล่าประสบการณ์รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้นด้วยการทำบอลลูน

 

 

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

 

 

 

3.  การขยายหลอดเลือดโดยใส่ขดลวด

     การใส่ขดลวด (Coronary Stent Implantation) เป็นอีกหนึ่งวิธีขยายหลอดเลือดให้ถ่างกว้างอย่างถาวร โดยขั้นตอนการรักษามีลักษณะคล้ายคลึงกับวิธีแรก ทว่าแตกต่างตรงที่ขดลวดยังคงอยู่เพื่อถ่างขยายหลอดเลือดให้ไหลเวียนสะดวกในขั้นตอนสุดท้าย

 

4.  การรักษาด้วยแสงเลเซอร์

     การรักษาด้วยแสงเลเซอร์เป็นวิธีขยายหลอดเลือดแบบไม่ผ่าตัด โดยใช้แสงอัลตราไวโอเลตที่มีขนาดเล็กมากสลายคาบไขมันหรือหินปูนที่อุดตันตามผนังหลอดเลือดให้มีชนาดเล็กมากและสามารถกำจัดออกจากร่างกายได้

 

5.  การผ่าตัดเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

     หรือที่คุ้นหูในชื่อ ‘การทำบายพาส’ (Bypass) คือการผ่าตัดเบี่ยงหลอดเส้นทางหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งใช้ในกรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบตันในหลายเส้น หรือในบางรายที่เกิดการตีบตันชนิดไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น

 

ลดโอกาสเสี่ยงเพียงเลือกดูแลตัวเองให้ถูกวิธี

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะมีโอกาสเกิดน้อยลงหากดูแลตัวเองให้ถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ลดการรับประทานอาหารกลุ่มโซเดียม น้ำตาล ไขมันอิ่มตัว และแอลกอฮอล์
  • จำกัดแคลอรี่ที่ใช้ต่อวันเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดสิ่งส่วนเกินสะสมปิดกั้นทางเดินเลือด
  • ละการสูบบุหรี่เพื่อยืดอายุสุขภาพของหลอดเลือดให้คงความแข็งแรง
  • นอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพ

 

คืนความหวังใหม่สู่ชีวิตอีกครั้งกับโรงพยาบาลรามคำแหง

     แม้คุณหรือคนที่คุณรักประสบปัญหาสุขภาพสุดท้าทาย ก็ยังสามารถอุ่นกายสบายใจเมื่อใกล้หมอกับศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มอบความหวังใหม่สู่ชีวิตอีกครั้งให้ก้าวเดินต่อไปอย่างเป็นสุข ภายใต้การรับรองมาตรฐานโลก AACI จากประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่จากเหล่าแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางและหลักการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและออกกำลังกายที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้