ตรวจสุขภาพหัวใจ.. ไม่ใช่แค่สูงวัยเกิดโรค แต่ทุกวัยก็เป็นได้

December 18 / 2024

ตรวจสุขภาพหัวใจ

 

 

     สุขภาพของเราไม่อาจสมบูรณ์แข็งแรงได้ หากหัวใจเกิดอ่อนแอ ไม่เลือกเพศหรือวัย โรคหัวใจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่ายุคใดก็ยังครองโรคอันดับหนึ่งที่คนเสียชีวิตมากที่สุด บางรายก็ไร้สัญญาณเตือนล่วงหน้า ตรวจสุขภาพหัวใจทุกครั้งเมื่อครบปีเพื่อชีวิตที่ยืนนาน เพราะหัวใจมีแค่ดวงเดียว 

 

เหตุผลที่ควรตรวจสุขภาพหัวใจ

1. หาสัญญาณโรคแต่เนิ่น

     เนื่องด้วยโรคหัวใจเป็นสาเหตุแห่งโรคที่มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่ง การตรวจสุขภาพหัวใจจึงช่วยลดโอกาสเสี่ยงเกิดโรคแต่เนิ่น เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง และยังให้โอกาสเราได้ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีได้ทัน

 

2. สัญญาณเสี่ยงบ่งชี้ว่าควรเข้ารับการตรวจ

     หากเริ่มเจ็บแน่นที่ทรวงอกและเริ่มหายใจไม่สะดวกแม้ยามหยุดพัก ก็เป็นเหตุผลเพียงพอให้เราเลือกตรวจหัวใจเพื่อสืบที่มาของอาการ ทั้งอายุ พันธุกรรม ลักษณะการใช้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมล้วนเป็นปัจจัยให้เกิดโรค

 

ตรวจสุขภาพหัวใจ

 

รวบวิธีตรวจสุขภาพหัวใจ

1. การตรวจวัดความดันเลือด

     เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงนั้นพบมากถึง 30 - 40% ของประชากรโลก จึงเป็นหนึ่งโรคร้ายที่ทำให้เกิดภาวะอื่นตามมา เช่น หัวใจวาย อัมพฤตษ์-อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยสามารถวัดความดันเลือดจาก 2 ค่า ได้แก่ ค่าความดันซิสโตลิค (ความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว) ค่าความดันไดแอสโตลิค (ขณะคลายตัว)

 

หมายเหตุ: วัดค่าความดันซิสโตลิคได้มากกว่า 140 mmHg และค่าไดแอสโตลิคมากกว่าหรือเท่ากับ 90 mmHg ขณะพัก ก็มีโอกาสสูงที่จะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

อ่านเพิ่มเติม: ความดันโลหิตสูง โรคฮิตที่มีความร้ายกาจ ส่งผลถึงชีวิต

 

 

ตรวจสุขภาพหัวใจตรวจสุขภาพหัวใจตรวจสุขภาพหัวใจ

 

 

2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)

     การตรวจ EKG หรือ Electrocardiogram เป็นการตรวจสัญญาณไฟฟ้าหัวใจที่ปล่อยมาในแต่ละจังหวะ  โดยแพทย์จะใช้ประกอบวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต หลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ เนื่องจากโรคดังกล่าวส่งผลให้หัวใจเกิดบีบ-คลายผิดปรกติ และเพื่อให้ทุกการตรวจเกิดประสิทธิภาพสูงสุดควรตรวจเอคโค่หัวใจร่วม

 

3. การตรวจสมรรภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย

     EST (Exercise Stress Test) เป็นการตรวจสภาพหัวใจและปอดขณะออกกำลังกายร่วมกับเครื่องวัดอัตราเผาผลาญออกซิเจนในร่างกาย (VO2Max) ซึ่งใช้สืบโรคของผู้ป่วยได้ว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจขาดเลือดหรือเต้นผิดจังหวะหรือไม่ จึงเหมาะสำหรับนักกีฬา ผู้สูงวัยหรือผู้ที่สุ่มเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแม้ยังไม่แสดงอาการขณะพัก

 

 

ตรวจสุขภาพหัวใจตรวจสุขภาพหัวใจ

 

 

4. การตรวจ Echocardiogram

     เพื่อให้การตรวจสุขภาพหัวใจนั้นราบรื่น การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยตรวจสภาพความผิดปรกติบริเวณทรวงอกได้ละเอียดและแม่นยำสูง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของหัวใจ การบีบตัวของหัวใจ การไหลเวียนเลือด เนื้องอก ภาวะติดเชื้อ หรือลิ้นหัวใจที่ผิดแปลกไป การตรวจเอคโค่จึงเป็นการตรวจที่ครอบคลุมโรคหัวใจหลากชนิด เช่น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

 

5.  การตรวจหินปูนในหลอดเลือด

     หรือในชื่อ CT Calcium Score คือการตรวจหาปริมาณแคลเซียมที่เกาะตามผนังหลอดเลือดด้วยเครื่อง CT Scan โดยทั่วไปแพทย์ใช้เพื่อดูแนวโน้มการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจขาดเลือด ก่อนส่งผู้ได้รับการตรวจเข้ารักษาตามอาการ เช่น การใช้บอลลูนหรือขดลวด การทำบายพาส

 

 

ตรวจสุขภาพหัวใจ

 

6. การฉีดสีสวนหัวใจ (CAG)

     การฉีดสีสวนหัวใจเป็นการตรวจสุดท้ายที่แพทย์มักใช้เมื่อเกิดสงสัยว่าเรามีโอกาสเป็น ‘โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ’ หลังพบสัญญาณผิดปรกติจากการตรวจแบบอื่น โดยทั่วไปแพทย์จะใช้สายสวนสอดเข้าหลอดเลือดไปถึงหลอดเลือดหัวใจ ก่อนฉีดสารทึบแสงเพื่อช่วยฉายภาพเอกซเรย์หลอดเลือดว่าภาวะตีบหรืออุดตัน ก่อนส่งรักษาตัวเมื่อวินิจฉัยพบ

 

 

ตรวจสุขภาพหัวใจ

 

 

7.  เครื่องบันทึกไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา

     โรคบางชนิดอาจเร้นกายไม่แสดงตัวชัดเจน จะรู้อีกทีก็เป็นหนัก เครื่องบันทึกไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาจึงเปรียบเสมือนชุดติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจห้องบนเต้นพลิ้วหรือโรคหลอดเลือดสมองอุดตันแต่ยังไม่แสดงอาการ

 

ดูแลสุขภาพหัวใจให้สมดุลทุกจังหวะ

     พร้อมทุกการดูแล ให้คุณอุ่นกายสบายใจ ให้ชีวิตสมดุลทุกจังหวะกับศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง รวมบริการตรวจสุขภาพหัวใจแบบครอบคลุมด้วยเทคโนโลยีทรงประสิทธิภาพ พร้อมยืนหยัดและก้าวผ่านกาลเวลาเพื่อรับใช้สุขภาพของคุณ เพราะทุกนาทีชีวิตนั้นสำคัญ