หาเชื้อ HPV ตรวจสุขภาพ โรคมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ไม่มีอาการ

October 31 / 2024

ตรวจเชื้อ hpv

 

 

 

     การตรวจหาเชื้อ HPV (Human Papillomavirus) เป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจคัดกรองเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ตั้งแต่ไม่มีอาการ ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง การตรวจนี้จะช่วยให้คุณทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตั้งแต่ไม่มีอาการ ระยะเริ่มแรก จนถึงก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูกทำให้สามารถรักษาได้ทันท่วงที ในวันนี้ทางโรงพยาบาลรามคำแหงจึงจะมาไขข้อสงสัย และอธิบายรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับตรวจ การวางแผนการดูแลรักษา HPV ให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจ เพราะเรื่องนี้สามารถรับรู้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษา วิธีสังเกตอาการหากได้รับเชื้อ HPV รวมไปจนถึงสถานที่ ๆ ปลอดภัยในการฉีด HPV

 

เชื้อ HPV คืออะไร มีวิธีการรักษายังไง

     เชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่มีเพียง 40 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคในมนุษย์ สามารถติดเชื้อจากการสัมผัสโดยตรง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ทั้งจากบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ช่องปากและลำคอ และที่สำคัญ.. มักไม่แสดงอาการ ทั้งยังใช้เวลา 10-20 ปีสามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งได้ด้วย โดยสายพันธุ์สำคัญที่พบโดยทั่วไป ได้แก่

 

  • สายพันธุ์ 6 และ 11 ทำให้เกิดหูดหงอนไก่
  • สายพันธุ์ 16 และ 18 ก่อให้เกิดมะเร็งบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก

 

การติดเชื้อมักเกิดจากการสัมผัสโดยตรง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ ทั้งเพศชายและหญิงสามารถติดเชื้อได้บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ช่องปาก และลำคอ โดยทั่วไปผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ แต่เชื้ออาจใช้เวลานาน 10-20 ปีในการพัฒนาเป็นมะเร็ง

เนื่องจากผู้ติดเชื้อมักไม่รู้ตัว ทำให้สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว เชื้อ HPV จึงเป็นภัยเงียบที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงอย่างมะเร็ง แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาเชื้อ HPV แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งในประเทศไทยมีให้เลือก 3 ชนิด

 

  • วัคซีน 2 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18)
  • วัคซีน 4 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18)
  • วัคซีน 9 สายพันธุ์ (ครอบคลุมสายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58)

 

การฉีดวัคซีนเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันการติดเชื้อและลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากเชื้อ HPV ร่วมกับการปรับพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์

 

 

ตรวจเชื้อ hpv

 

 

โรคที่มีโอกาสเกิดหลังจากติดเชื้อ HPV

โรคที่มีโอกาสเกิดหลังจากติดเชื้อ HPV เชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งหลายชนิด เช่น

1.  มะเร็งปากมดลูก

     เชื้อไวรัส HPV ชนิดสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง เช่น 16, 18 เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก พบได้ในเกือบทุกกรณีของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก (99.7%) โดยเชื้อนี้ติดต่อผ่านเพศสัมพันธ์ สายพันธุ์ในกลุ่มความเสี่ยงสูงอาจนำไปสู่มะเร็งปากมดลูก ส่วนสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำทำให้เกิดหูดหงอนไก่

 

2.  มะเร็งช่องคลอด

     มะเร็งช่องคลอดเป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ซึ่งมักเริ่มจากเซลล์ภายในช่องคลอด ปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่

 

  • การติดเชื้อ HPV ผ่านการมีเพศสัมพันธ์
  • อายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ประวัติเคยมีเซลล์ผิดปกติในช่องคลอดหรือปากมดลูก
  • การใช้ยา Diethylstilbestrol
  • การสูบบุหรี่ และการติดเชื้อ HIV

 

เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวข้องกับ HPV การฉีดวัคซีนและป้องกันตนเองในขณะมีเพศสัมพันธ์จึงช่วยลดความเสี่ยงได้

 

3.  มะเร็งทวารหนัก

     มะเร็งทวารหนักมักมีอาการคล้ายริดสีดวง เช่น ขับถ่ายผิดปกติ อุจจาระเล็กลง หรือมีสารคัดหลั่งจากทวารหนัก สาเหตุหลักคือการติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะสายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งติดต่อผ่านการสัมผัสหรือเพศสัมพันธ์ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่

 

  • อายุที่มากขึ้น
  • การสูบบุหรี่
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ติดเชื้อ HIV
  • พฤติกรรมทางเพศเสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย

 

การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรค ความรุนแรง และสุขภาพผู้ป่วย

 

4.  มะเร็งในช่องปากและลำคอ

     มะเร็งในช่องปากและลำคอ เป็นโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากเซลล์ผิดปกติในบริเวณช่องปากและลำคอ เติบโตและแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ อาการหลัก ๆ จะมีแผลในช่องปาก พบก้อนเนื้อในปาก เสียงเปลี่ยน มีปัญหาในการกลืน และรู้สึกเจ็บ หรือชาในปาก มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่

  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • เชื้อไวรัส HPV
  • สูบบุหรี่
  • เคี้ยวหมาก

 

5.  หูดหงอนไก่

     หูดหงอนไก่ (Genital warts) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ (low risk) เช่น 6 ,11ที่ทำให้เกิดหูดหรือติ่งเนื้อขรุขระบริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ หรือทวารหนัก อาจมีอาการคัน แสบร้อน หรือมีตกขาว เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่อับชื้น แม้รักษาได้ แต่เชื้อ HPV จะยังคงอยู่ในร่างกาย การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV

 

     หูดหงอนไก่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ผ่านการสัมผัสโดยตรง เช่น การมีเพศสัมพันธ์ หรือจากแม่สู่ลูกขณะคลอด เชื้อทำให้เกิดรอยโรคบนผิวหนังหรือเยื่อบุผิวบริเวณอวัยวะเพศ แม้สายพันธุ์ที่ก่อหูดหงอนไก่ไม่ทำให้เกิดมะเร็ง แต่หากติดเชื้อร่วมกับสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง อาจนำไปสู่มะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งทวารหนักได้

 

     หูดหงอนไก่สามารถติดต่อได้ผ่านหลายช่องทาง โดยส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก รวมถึงการสัมผัสกับบริเวณที่ติดเชื้อ HPV การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน และการทำออรัลเซ็กส์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน มีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น นอกจากนี้ หูดหงอนไก่ยังสามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกในระหว่างการคลอดได้เช่นกัน

 

 

ตรวจเชื้อ hpv

 

 

เมื่อติดเชื้อ HPV จะมีอาการอะไรบ้าง

 

  1. ไม่มีอาการ /ไม่แสดงอาการ
  2. มีอาการ และอาการที่อาจบ่งบอกว่าอาจติดเชื้อ HPV ได้แก่
  • เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
  • อาการที่พบร่วมได้ เช่น ปวดท้องน้อย ต่อมน้ำเหลืองโตที่ขาหนีบ ปัสสาวะแสบขัด หรืออาการอื่น ๆ 
    • หูดหงอนไก่ : ปรากฏเป็นตุ่มเล็ก ๆ บริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือบริเวณรอบ ๆ
    • ตกขาวผิดปกติ : อาจมีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีปริมาณผิดปกติ
    • ความผิดปกติบริเวณอวัยวะเพศ : เช่น แผล ก้อน หรือการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง

 

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV

ใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ต้องเข้าใจก่อนว่า เชื้อ HPV เป็นไวรัสที่แพร่กระจายผ่านทางเพศสัมพันธ์ และแม้จะมีคู่นอนเพียงคนเดียวก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ ดังนั้น กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV มากเป็นพิเศษ ได้แก่

 

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • วัยรุ่น ผู้ที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV หรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
  • ผู้ที่มีประวัติติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม หนองใน
  • ผู้สูบบุหรี่ การสูบบุหรี่จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง

 

ปัจจัยอื่นที่เพิ่มความเสี่ยง

 

  • การตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  • การมีบุตรหลายคน
  • การไม่สวมถุงยางอนามัย

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV

     วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV จริงแล้ว ๆ เชื้อ HPV เป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพการแต่ก็สามารถป้องกันได้ ซึ่งวิธีป้องกันที่ดีที่สุด มีดังนี้

 

  • การฉีดวัคซีน HPV เป็นเหมือนเกราะป้องกันโรค ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้มาก
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อตรวจหาเชื้อ HPV และความผิดปกติของเซลล์ตั้งแต่เนิ่น
  • การปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย เช่น การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย สวมถุงยางอนามัย

 

 

ตรวจเชื้อ hpv

 

วัคซีน HPV ควรฉีดตอนไหน และควรฉีดกี่สายพันธุ์ เพราะอะไร

    วัคซีน HPV เป็นเหมือนเกราะป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อฉีดตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี

 

  • ช่วงอายุที่เหมาะสม ควรฉีดวัคซีน HPV ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง
  • จำนวนสายพันธุ์ ปัจจุบันมีวัคซีน HPV หลายชนิด ทั้ง 2, 4 สายพันธุ์และ 9 สายพันธุ์ การเลือกชนิดของวัคซีนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ควรปรึกษาแพทย์
  • ประโยชน์ของการฉีด ช่วยป้องกันมะเร็งที่เกิดจากเชื้อ HPV เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งในช่องปากและลำคอ รวมทั้งป้องกันหูดหงอนไก่
  • คำแนะนำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

 

มั่นใจในความปลอดภัยกับการฉีดวัคซีน HPV ที่โรงพยาบาลรามคำแหง

     มั่นใจในความปลอดภัยกับการฉีดวัคซีน HPV ที่โรงพยาบาลรามคำแหง โรงพยาบาลที่มีมาตรฐานระดับสากล บุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และวัคซีนที่ได้รับการรับรอง ป้องกันมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 90% แม้จะมีอาการไม่พึงประสงค์บ้าง แต่ก็หายได้เองภายใน 1-2 วัน หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือสนใจตรวจสุขภาพสามารถปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลได้โดยตรง