ภาวะไวต่ออาหาร รู้ได้อย่างไร?

October 24 / 2024

 

     ภาวะไวต่ออาหาร (Food Sensitivity IgG) นั้นแตกต่างจากการแพ้อาหารแบบเฉียบพลัน (Food Allergy IgE) ซึ่งจะแสดงอาการทันทีหลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้แต่ภาวะไวต่ออาหารจะไม่แสดงอาการในทันที่หลังรับประทานอาหารเข้าไป แต่จะค่อยๆ ส่งผลต่อร่างกายทำให้มีอาการผิดปกติเรื้อรังแบบไม่รู้ตัว อาการแสดงจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลและมักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหารที่แพ้แล้วหลายวัน ทำให้สังเกตได้ยาก ว่าอาหารที่เป็นสาเหตุของอาการเหล่านั้นเป็นชนิดใด

 

หากคุณมีอาการเหล่านี้.. คุณอาจเสี่ยงภาวะไวต่ออาหาร

  • ปวดหัวไมเกรน อาเจียน
  • ไอ จาม หอบหืด หายใจลำบาก
  • ท้องผูก ท้องเสีย  ลำไส้แปรปรวน
  • น้ำหนักขึ้น ตัวบวม
  • ผื่น ลมพิษ

 

ภาวะไวต่ออาหาร

 

 

กลุ่มอาหารที่ทำให้เกิดภาวะไวต่ออาหาร

  • กลูเตน
  • ธัญพืชแปรรูป
  • พืชตระกูลถั่ว
  • ธัญพืช
  • ผลไม้
  • ผัก
  • ผลิตภัณฑ์จากไข่ และนม
  • เนื้อสัตว์
  • อาหารทะเล
  • สมุนไพร เครื่องเทศและเครื่องปรุง
  • กลุ่มอาหารอื่นๆ เช่น ชาดำ กาแฟ ผงฟู เป็นต้น

 

 

การตรวจหาภาวะไวต่ออาหาร

     การตรวจหาภาวะไวต่ออาหารเป็นการตรวจหาภูมิคุ้มกันชนิด IgG ต่ออาหารที่รับประทานเข้าไป หากตรวจพบระดับ IgG สูงเกินจำเป็น ต้องควบคุมการทานอาหารชนิดนั้นๆ โดยอาจงดรับประทานเป็นเวลา 3 วัน, 1 สัปดาห์หรืออย่างน้อย 3 เดือน ขึ้นกับปริมาณของ IgG ที่ตรวจวัดได้แล้วกลับมาทานซ้ำ เมื่อมีการปรับลดการรับประทานอาหารชนิดที่ร่างกายมีการตอบสนองมากเกินไปจะทำให้อาการเรื้อรังต่างๆ ดีขึ้นจนหายไปในที่สุด

 

 

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร

ภาวะไวต่ออาหาร