เครียด นอนน้อย เสี่ยงสมองฝ่อ!

December 23 / 2024

 

สมองฝ่อ

 

 

     เครียด นอนน้อย เสี่ยงสมองฝ่อ! ใครจะรู้ว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือความเครียดเรื้อรัง อาจทำให้สมองเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่คิดได้นะ... ภาวะสมองฝ่อไม่ใช่เรื่องไกลตัวโดยเฉพาะในยุคที่ทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดและการทำงานหนักแบบนี้!

 

 

สมองฝ่อ

 

 

เข้าใจภาวะสมองฝ่อ

     ภาวะสมองฝ่อ (Cerebral atrophy หรือ Brain atrophเ) เกิดจากการที่เซลล์สมองเสื่อมสภาพและตายไป ทำให้ปริมาณเนื้อสมองลดลง ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานของสมองลดลงตามไปด้วย อาการที่พบได้บ่อยคือ ความจำเสื่อม ลืมง่าย ความคิดช้าลง และมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดภาวะสมองฝ่อได้เช่นกัน

 

 

สาเหตุของภาวะสมองฝ่อ

  • อายุที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เซลล์สมองเสื่อมตามธรรมชาติ
  • พันธุกรรม บางคนอาจมีพันธุกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองฝ่อมากกว่าคนทั่วไป
  • โรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ การกระทบกระเทือนที่รุนแรงอาจทำให้เซลล์สมองเสียหาย
  • พฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อนไม่เพียงพอ และความเครียดเรื้อรัง

 

 

 

สมองฝ่อ

 

 

ความเครียดและการนอนน้อยส่งผลต่อสมองอย่างไร?

  • ความเครียด ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา ซึ่งมีผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้ความจำเสื่อม และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
  • การนอนน้อย ทำให้สมองไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ส่งผลต่อการเรียนรู้ ความจำ และการตัดสินใจ

 

 

ทำไม?... ต้องดูแลสมอง

     สมองเป็นอวัยวะสำคัญที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทั้งหมด การมีสมองที่แข็งแรงจะช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความจำดี มีสมาธิในการทำงาน สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ และชะลอความเสื่อมของร่างกายได้และมีความสุขกับชีวิตมากขึ้น

 

 

วิธีป้องกันภาวะสมองฝ่อ

  • ดูแลสุขภาพ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความหันโลหิต และใขมันในเลือด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมอง
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช และปลา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
  • ลดความเครียด หาเวลาทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น การฟังเพลง การทำสมาธิ
  • กระตุ้นสมอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เล่นเกมฝึกสมอง อ่านหนังสือ
  • ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อค้นหาและรักษาโรคที่อาจส่งผลต่อสมอง

 

 

 

สมองฝ่อสมองฝ่อสมองฝ่อสมองฝ่อ สมองฝ่อสมองฝ่อสมองฝ่อ

 

 


ใครมีอาการน่าสงสัยหรือกังวลเกี่ยวกับอาการสมองฝ่อ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง