รู้ไว้.. อุ่นใจ รู้ตัว ‘ลดเสี่ยง’ หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร

October 18 / 2024

     แม้การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักจะเป็นหนึ่งวิธีช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้มีประสิทธิภาพ ทว่าผลข้างเคียงก็ยังเกิดขึ้นได้หลังผ่าตัด เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาปรับสภาพถึงจุดสมดุล ล่วงรู้ไว้.. อุ่นใจ รู้ตัว ‘ลดเสี่ยง’ หลังผ่าตัดกระเพาะอาหาร โดยอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ และหากเป็นมาก ควรเข้าพบแพทย์ 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผลข้างเคียง

 

อาการข้างเคียงหลังผ่าตัด

  • แผลบวมหรือช้ำ

  • อาการปวดหรือไม่สบายตัว

  • ชา คัน หรือรู้สึกเจ็บแปล๊บบริเวณแผล

 

 

1.  อาการคลื่นไส้

กรณีคลื่นไส้รุนแรงจนทำให้ไม่สามารถดื่มของเหลวได้เพียงพอ จะต้องได้รับการรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อผู้ป่วยอาเจียนอย่างต่อเนื่องอาจทำให้เกิดการขาดน้ำ ความไม่สมดุลของเกลือแร่ และนำไปสู่การบาดเจ็บของไตได้

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผลข้างเคียง

 

สาเหตุของอาการคลื่นไส้

  • การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ ,ทานอาหารเร็วเกินไป

  • ความรู้สึกแน่นท้อง

  • ยาแก้ปวดบางกลุ่ม

 

หมายเหตุ: ช่วงวันแรกหลังการผ่าตัด หากคลื้นไส้ รักษาได้ด้วยยาตามแพทย์ที่สั่ง

 

วิธีลดอาการคลื่นไส้

  • รู้ระดับความอิ่มของร่างกาย เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแน่นท้อง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคนเราอาจไม่รู้สึกอิ่มทันที เริ่มแรกให้เริ่มรับประทานอาหารช้า ๆ เพื่อกะปริมาณไม่ให้เกินกว่าที่ร่างกายรับไหว

  • หากมีปัญหาในการดื่มน้ำเนื่องจากคลื่นไส้ ให้ลองทานชาที่ไม่มีคาเฟอีน ไม่ใส่นมและน้ำตาล หรือดื่มน้ำร้อน-เย็นผสมมะนาวยังอาจช่วยบรรเทาอาการ

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผลข้างเคียง

2.  การอาเจียน

     การอาเจียนมักเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ร่างกายยังปรับสภาพไม่ทันหรือบางครั้งก็เกิดจากอาหารไม่สามารถผ่านกระเพาะได้สำเร็จ โดยช่วงแรกอาจทานได้เพียง 3 - 4 ช้อนในแต่ละมื้อ อย่างไรก็ตาม การอาเจียนหลังผ่าตัดกระเพาะอาหารเกิดได้หลายสาเหตุ

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดการอาเจียน

  • รับประทานอาหารแห้งหรือเร็วเกินไป

  • ไม่เคี้ยวอาหารให้ละเอียด

  • รับประทานอาหารมากเกินไปในครั้งเดียว

  • ดื่มของเหลวระหว่างมื้ออาหารหรือหลังมื้ออาหารทันที

  • ดื่มด้วยหลอด

  • นอนลงหลังจากมื้ออาหาร

  • ทานอาหารที่ไม่เหมาะกับร่างกาย

 

วิธีป้องกันการอาเจียน

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เรื่องการรับประทานอาหาร

  • เลือกทานอาหารที่มีความชุ่มชื่น เคี้ยวอาหารอย่างน้อย 30 ครั้งต่อการกลืน ให้ละเอียดเหลว

  • รับประทานอาหารทีละน้อย เมื่อเริ่มแน่นให้พอ หากต้องการรับประทานต่อให้พัก 15 - 30 นาที

  • ไม่ดื่มน้ำระหว่างมื้อหรือหลังมื้อทันที

  • หากอาเจียนต่อเนื่องให้หยุดรับประทานอาหารที่เป็นของแข็งและจิบน้ำแทน เช่น น้ำโปรตีนหรือน้ำ

  • หากมีปัญหาในการกลืนอาหาร รู้สึกอึดอัดท้อง หรืออาเจียนนานติดต่อกันนานกว่า 24 ชั่วโมงควรนัดพบแพทย์


 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผลข้างเคียง

 

3. ภาวะร่างกายขาดน้ำ

     ภาวะนี้เกิดขึ้นได้เพราะดื่มของเหลวไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกอ่อนเพลีย ปัสสาวะสีเข้ม เวียนศีรษะ คลื่นไส้ และลิ้นมีสีขาวเคลือบ หากพบอาการดังกล่าวให้เข้ารับแพทย์เพื่อตรวจเลือดและประเมินความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ ซึ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะและไต

 

วิธีลดภาวะขาดน้ำหลังผ่าตัด

  • ซื้อขวดน้ำที่สามารถใช้ซ้ำได้ นำติดตัวไปทุกที่ และจิบน้ำตลอดทั้งวัน

  • ดื่มของเหลวอย่างน้อย 1.5 ถึง 2 ลิตรต่อวัน

  • เพิ่มปริมาณหากคุณมีเหงื่อออกมาก

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เพราะมีผลเป็นยาขับปัสสาวะ-ทำให้ปริมาณน้ำที่ถูกขับออกจากร่างกายเพิ่มมากขึ้น สามารถดื่มชาที่ไม่หวานได้

  • หากมีอาการคลื่นไส้ทำให้คุณดื่มน้ำได้ยาก ให้ลองอมก้อนน้ำแข็ง

  • ติดต่อทีมแพทย์ หากมีภาวะขาดน้ำที่รุนแรง คุณอาจต้องได้รับการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำ

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ผลข้างเคียง

 

4. อาการท้องผูก

     การขับถ่ายจะเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังการผ่าตัด โดยเริ่มตั้งแต่อุจจาระอาจมีกลิ่นเหม็นหรือมีสีที่แตกต่างจากปกติ บางครั้งอาจมีสีเข้มหรือสีดำหากรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก ซึ่งจะกลับเป็นปกติเมื่อร่างกายปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง 

 

วิธีลดอาการท้องผูกหลังผ่าตัด

  • ควรเข้าพบแพทย์หากมีอาการท้องเสียต่อเนื่อง

  • เนื่องจากผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารและใยอาหารน้อยลงมากหลังผ่าตัด ดังนั้นหากรับประทานอาหารเสริมไฟเบอร์แบบผงร่วมจะช่วยลดโอกาสเกิดท้องผูกและขับถ่ายเป็นปกติ 

  • งดผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น นม ชีส หากเริ่มมีอาการตอบสนองต่ออาหารกลุ่มแลคโตสหลังการผ่าตัด

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงเนื่องจากอาจเกิดทำให้ท้องเสีย

  • บันทึกรายการอาหารว่าเพื่อตรวจว่าอาหารกลุ่มใดทำให้ขับถ่ายไม่ปกติ

 

5. อาการท้องอืด

     ท้องอืดเกิดจากแก๊สในทางเดินอาหารซึ่งเกิดได้จาก 2 แหล่งหลัก ได้แก่ อากาศที่กลืนเข้าไปและแก๊สจากการย่อยอาหารบางประเภท กรณีหลังผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะมีลำไส้ที่สั้นลง เกิดก๊าซที่มีกลิ่นแรงหรือออกจากร่างกายมาก ซึ่งมีผลมาจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น แป้ง ข้าว ขนมปัง ถั่ว ธัญพืช นมวัวหรือสารซอร์บิทอล

 

วิธีลดการเกิดแก๊ส

  • รับประทานอาหารช้า ๆ และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด

  • หยุดรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมวัวทั้งหมด เพราะอาจก่ออาการแพ้แลคโตส (กินโยเกิร์ตได้)

  • งดเคี้ยวหมากฝรั่ง ลูกอมและงดดื่มน้ำด้วยหลอด

  • ใช้วิธีรักษาด้วยอาหารเสริมกลุ่มโปรไบโอติกซึ่งช่วยในการย่อยอาหาร คลอโรฟิลล์ธรรมชาติ และไซเมธิโคน (ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ประจำตัวเฉพาะด้าน)

 

อ่านเพิ่มเติม: ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทางเลือกในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น