ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทางเลือกในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

January 06 / 2025

 

 

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

 

     ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก เป็นวิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสะสมที่ตับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

'ภาวะอ้วน' วัดอย่างไร

เราสามารถประเมินภาวะอ้วนอย่างง่ายด้วยวิธี

 

  • การวัดเส้นรอบพุงผ่านสะดือ หากผู้ชายมีเส้นรอบพุงมากกว่า 90 เซนติเมตร (35 นิ้ว) และผู้หญิงหากมีเส้นรอบพุงมากกว่า 80 เซนติเมตร (31.5 นิ้ว) แล้วยิ่งถ้ามีเบาหวาน ความดัน หรือ มีไขมันสูงร่วมด้วยแล้วถือว่ามีความเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพราะเราเรียกภาวะนี้ว่าภาวะอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการด้านเมตตาโบลิค (Metabolic syndrome) ซึ่งมีโอกาสเกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ค่อนข้างสูง
  • การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mas Index; BMI) ส่วนในทางการแพทย์ เราใช้ค่ามาตรฐานในการวัดภาวะอ้วน โดยหาได้จากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น หนัก 90 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ค่า IBM คำนวนได้ คือ (90 / (1.6 x 1.6)) จะได้ BMI = 35.15 กก./ตร.ม. หาก BMI มากกว่า 32.5 กก./ตร.ม. จะถือว่าเริ่มมีข้อบ่งชี้ เริ่มมีความเสี่ยงสูง ควรจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดลดน้ำหนักได้แล้วนั่นเอง 

 

 

วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเน้นแบบส่องกล้องซึ่งแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ 

 

  • ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ที่นิยมในปัจจุบันคือ Sleeve gastrectomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อย่อขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลงเหลือเป็นทรงถุงยาว ช่วยให้ลดฮอร์โมนอยากอาหารจึงทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว ทานน้อยลง 
  • ผ่าตัดลดการดูดซึมของกระเพาะ เป็นวิธีการผ่าตัดเบี่ยงเบนทางเดินอาหาร (Roux-en-Y gastric bypass: RYGB) ร่วมกับลดขนาดกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะแบ่งกระเพาะอาหารออกเป็นสองส่วน โดยปรับส่วนที่รับอาหารให้เล็กลงและเชื่อมต่อเข้าลำไส้เล็กส่วนกลาง เพื่อลดการดูดซึมและความอยากอาหาร 

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

การเตรียมตัวก่อน-หลังผ่าตัด

  • การคุมอาหารก่อนการผ่าตัด ควรลดน้ำหนักลงได้ประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตัวใน 1-2 สัปดาห์ จะช่วยให้การผ่าตัดนั้นทำได้ง่ายและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไขมันเกาะตับ
  • การพักฟื้นหลังผ่าตัด ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลราว 3 - 4 วัน โดยช่วงแรกอาจพบอาการคลื่นไส้ เจ็บแผล อ่อนเพลียและอื่น ๆ ซึ่งแพทย์อาจใช้ยาบรรเทาร่วม หากอาการดีขึ้นแนะนำผู้ป่วยปรับเปลี่ยนอิริยาบถบนเตียงเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก
  • ติดตามอาการ และภาวะแทรกซ้อนทุก 2 สัปดาห์จนครบ 1 เดือน ก่อนขยับเป็น 3 เดือนจนครบ 2 ปี โดยแพทย์จะปิดแผลแบบกันน้ำก่อนกลับบ้าน หากแผลไม่ซึม ไม่จำเป็นต้องแกะแผลจนถึงวันพบแพทย์ หากมีอาการดังกล่าวให้พบแพทย์ทันที เช่น แผลบวมแดง อาการเจ็บหรือมีไข้สูง
  • ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารเหลวที่มีพลังงานน้อยกว่า 800 กิโลเคลอรี่ โปรตีน 60 - 80 กรัม/วัน ร่วมกับดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอตามคำแนะนำของแพทย์และนักกำหนดอาหาร

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

ระยะการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยจะสามารถเริ่มรับประทานอาหารได้ โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

 

  • ระยะที่ 1 วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานเป็นอาหารเหลวใส เช่น ซุปใส น้ำข้าว น้ำสมุนไพรที่ไม่มีน้ำตาล
  • ระยะที่ 2 ในวันที่ 2 หลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ดี จะปรับเป็นอาหารเหลวข้น เช่น ซุปข้น หรืออาหารทางการแพทย์สูตรคาร์โบไฮเดรตต่ำ
  • ระยะที่ 3 ในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถปรับอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น โจ๊กข้าวต้ม เนื้อสัตว์สุกนิ่ม โดยควรรับประทานโปรตีนให้ได้ประมาณ 60 กรัมต่อวัน  
  • ระยะที่ 4  หลังการผ่าตัด 1 เดือน สามารถรับประทานเป็นอาหารปกติ แต่ปริมาณน้อย ๆ ในแต่ละมื้อ โดยได้รับพลังงานประมาณ 1,000 กิโลแคลอรีต่อวัน และรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ กับความต้องการต่อวัน  

 


คำแนะนำในการรับประทานอาหาร

  • เริ่มรับประทานอาหารในปริมาณน้อย ๆ 2-5 คำต่อมื้อ โดยอาจแบ่งเป็น 4-5 มื้อต่อวัน
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างช้า ๆ และหยุดรับประทานทันทีเมื่อรู้สึกอิ่ม
  • รับประทานโปรตีนที่มีคุณภาพ คาร์โบไฮเดรตที่ค่าดัชนีน้ำตาลและไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา อกไก่ ไข่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท 

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

Q&A ตอบข้อสงสัยเรื่องผ่าตัดกระเพาะอาหาร

  • ผ่าตัดกระเพาะอันตรายไหม แม้การผ่าตัดจะได้รับความนิยมมากขึ้น ทว่าความเสี่ยงขึ้นอยู่กับโรคร่วมของผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวงการแพทย์ได้พัฒนาเทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้องซึ่งก่อแผลน้อย เจ็บน้อยและหายไว (Minimally invasive surgery) ทั้งนี้ความเสี่ยงจะลดน้อยลงหากได้รับความดูแลจากแพทย์ชำนาญเฉพาะด้าน
  • ผ่าตัดกระเพาะมีข้อดีอย่างไร การผ่าตัดกระเพาะอาหารไม่เพียงช่วยให้หายจากโรคอ้วน แต่ยังรวมถึงความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสะสมที่ตับ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะมีบุตรยาก การนอนกรน ประจำเดือนมาไม่ปกติ และยังช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
  • สามารถฟื้นตัวที่บ้านได้ไหม เมื่อประเมินพบว่าผู้ป่วยพร้อม แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ โดยแนะนำการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตัว
  • กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง งดยกของหนักตั้งแต่ 5 กก. ขึ้นไป และงดทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากๆ เป็นระยะเวลา 6-8 สัปดาห์

 


มีโอกาสกลับมาอ้วนได้จากหลากสาเหตุ เช่น การรับประทานน้ำตาลหรืออาหารกลุ่มแป้ง การทานจุกจิก การไม่ออกกำลังกาย 


 

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

ใส่ใจรูปร่างและสุขภาพให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

     ศูนย์ดูแลสุขภาพและน้ำหนัก โรงพยาบาลรามคำแหง ให้การดูแลลดน้ำหนักสุขภาพจากเหล่าแพทย์เฉพาะทางและผู้ชำนาญการจากสหสาขาวิชาชีพ พร้อมโปรแกรมที่ครอบคลุมทุกด้านตั้งแต่การปรับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมแบบรายบุคคล การออกกำลังกาย การใช้ยาและการผ่าตัดด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดกระเพาะอาหารประสิทธิภาพสูง ลดเสี่ยงหลังผ่า ก้าวสู่ชีวิตใหม่ได้อย่างมั่นใจกว่าที่เคย