เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
“จี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น” (Cryoablation) รักษา “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ"
เคยรู้สึกใจสั่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะหรือไม่? อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคหัวใจที่พบได้บ่อย ปัจจุบันมีวิธีการรักษาที่ทันสมัยและปลอดภัยมากขึ้น นั่นคือ “การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น หรือ Cryoablation”
การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น เป็นเทคนิคการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ทันสมัย โดยเฉพาะภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (AF : Atrial Fibrillation ภาวะที่หัวใจห้องบนเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง เป็นการรักษาที่ใช้พลังงานความเย็น -40 ถึง -60 องศา ในการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจส่วนที่ทำให้เกิดการส่งสัญญาณไฟฟ้าผิดปกติ โดยแพทย์จะสอดสายสวนพิเศษเข้าไปในหัวใจ เพื่อนำความเย็นไปทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ทำให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ ทำให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะได้ตามปกติ
การตรวจวินิจฉัยหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
การวินิจฉัย AF จำเป็นต้องได้คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ขณะที่เกิด AF เพื่อยืนยันการวินิจฉัย ในรายที่เป็นนาน ๆ แบบต่อเนื่องการตรวจวินิจฉัยก็ไม่ยาก EKG มาตรฐานแผ่นเดียวก็ให้การวินิจฉัยได้ แต่ในรายที่ AF เป็นช่วงสั้น ๆ เป็นวินาทีหรือเป็นนาที การตรวจจะยากขึ้นจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยจับผู้ร้ายชนิดต่าง ๆ เช่น เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจแบบต่อเนื่อง (Holter monitoring) ซึ่งจะบันทึกได้นาน 1-2 วัน ถ้าใช้แบบ Patch Holter ลักษณะเหมือนแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผล ไม่มีสายไฟฟ้ารุงรัง ก็จะสะดวกขึ้น อาบน้ำได้ เล่นกีฬาได้ และสามารถบันทึกได้นานสูงสุด 14 วัน หรืออาจใช้เครื่องบันทึกเฉพาะเหตุการณ์ (event recorder) ก็ได้ อาจเช่าเครื่องของโรงพยาบาลหรือหาซื้อไว้ตรวจเองก็ได้ ในปัจจุบัน smartwatch ก็สามารถตรวจ EKG ขณะมีอาการได้เช่นกัน
นอกจากนี้แพทย์อ่านตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) ทดสอบหัวใจขาดเลือดด้วยการเดินสายพาน (exercise stress test) ตรวจเลือดเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุและโรคร่วมต่าง ๆ
สาเหตุของหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
สาเหตุของ AF มีหลากหลาย แต่พอจะแบ่งได้เป็น 4 อย่างใหญ่ ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจรักษา คือ
1. สารกระตุ้นหัวใจต่าง ๆ เช่น คาเฟอีน บุหรี่ แอลกอฮอล์ โสมและอาหารเสริมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แต่ละคนจะมีความไวต่อสารกระตุ้นต่าง ๆ เหล่านี้ไม่เท่ากัน ดังนั้นสารกระตุ้นหัวใจเหล่านี้จะทำให้เกิด AF หรือไม่ขึ้นกับปริมาณและระยะที่ได้รับเหตุปัจจัยร่วม และการตอบสนองของร่างกายของแต่ละคน
2. ความไม่สบายหรือเจ็บป่วยต่าง ๆ ก็สามารถกระตุ้นให้เกิด AF ได้เช่นกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป โรคกระเพาะ ปอดอักเสบ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วน เครียด พักผ่อนไม่พอ นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ
3. โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ก็สามารถทำให้เกิด AF ได้เช่นกัน เช่น โรคลิ้นหัวใจไมตรัล โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
4. โรคระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีสาเหตุนำใด ๆ อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด (พันธุกรรม) หรือมาเกิดขึ้นภายหลังก็ได้ (ความเสื่อม) ผู้ป่วยสูงอายุมีโอกาสเป็น AF มากกว่าคนอายุน้อยเนื่องจากความเสื่อมของระบบไฟฟ้าหัวใจ
จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นว่าสาเหตุของ AF มีมากมาย บางชนิดก็เป็นสาเหตุหลักหรือเป็นแค่ปัจจัยเสริมก็ได้แตกต่างกันไปในแต่ละคน จึงต้องวิเคราะห์ดูลงไปในรายละเอียด
อาการของหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
อาการของ AF จะเป็นผลจากการที่หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หัวใจล้มเหลว น้ำท่วมปอด หน้ามืดจะเป็นลม อย่างไรก็ตามคนไข้ AF จำนวนหนึ่งจะไม่มีอาการใด ๆ แต่ตรวจพบจากการตรวจร่างกายหรือมารับการรักษาด้วยโรคอื่น ๆ คนไข้ที่ไม่มีอาการก็อาจจะมาด้วยโรคแทรกซ้อนของ AF แทน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวและหลอดเลือดสมองอุดตันจากลิ่มเลือดที่หัวใจ
แนวทางการรักษาหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
มีแนวทางสำคัญสามข้อซึ่งจะต้องทำร่วมกันกันไปเสมอคือ
1. ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดหัวใจไปอุดตันหลอดเลือดสมอง (stroke) และให้ยาป้องกัน ผู้ป่วย AF แต่ละคนมีความเสี่ยงไม่เท่ากัน ผู้มีความเสี่ยงต่ำจะยังไม่ต้องทานยาใด ๆ ก็ได้ ผู้ป่วยความเสี่ยงสูงและปานกลางจะต้องทานยาต้านเลือดแข็งตัว (oral anticoagulation) ข้อนี้ต้องทำการประเมินก่อนเสมอ
2. ลด เลิก แก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่นลด เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บุหรี่ แก้ไขรักษาโรคต่าง ๆ เช่นโรคไทรอยด์เป็นพิษ คุมเบาหวาน คุมความดันโลหิตให้ดี ลดน้ำหนัก ลดความเครียด ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ข้อดีต้องทำให้ดี หลายคนหายจาก AF หรือดีขึ้นได้ด้วยการการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้
3. รักษาอาการ ชะลอการดำเนินโรค หรือรักษาให้หายขาด
3.1 เริ่มต้นด้วยการใช้ยาเพื่อหยุดการเป็น AF ป้องกันการเป็นซ้ำ และชะลอการเต้นของหัวใจไม่ให้เต้นเร็วเกินไป
3.2 การกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (direct current cardioversion) เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ มักใช้ในกรณีฉุกเฉินเพื่อหยุด AF โดยเร็วหรือใช้ ในกรณีที่ AF เป็นต่อเนื่องไม่หยุดทั้ง ๆ ที่ใช้ยาเต็มที่แล้ว
3.3 ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) มักใช้ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีหัวใจเต้นช้าร่วมกับ AF การกระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วขึ้นสามารถลดการเกิด AF ลงได้บ้างและยังป้องกันหัวใจเต้นช้า จากการใช้ยารักษา AF
3.4 การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยสายสวนหัวใจ (catheter ablation)
3.5 การผ่าตัดหัวใจ (surgical ablation) มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมี AF ร่วมกับโรคหัวใจที่ต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัดหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจไมตรัลตีบ ศัลยแพทย์จะผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจและแก้ไข AF ไปพร้อมกัน
ทำไม?.. ต้องเลือกจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น
ใครบ้าง?.. ที่เหมาะกับการรักษาด้วยวิธีจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น
ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น AF และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา หรือผู้ป่วยที่ต้องการรักษาที่ให้ผลดีในระยะยาว แพทย์จะเป็นผู้ประเมินและพิจารณาว่าผู้ป่วยรายใดเหมาะสมกับการรักษาด้วยวิธีนี้
“การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยบอลลูนเย็น” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเพราะมีข้อดีหลายอย่าง ทั้งความแม่นยำ ปลอดภัย ใช้เวลาไม่นานและไม่เจ็บ ทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็ว หากคุณมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
ข้อดีของการทำ Cryoablation
ข้อจำกัดของ Cryoablation
1. ใช้จี้เฉพาะความผิดปกติที่อยู่รอบบริเวณหลอดเลือดดำที่นำเลือดแดงจากปอดเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายเท่านั้น (PV isolation) ดังนั้นถ้ามีความผิดปกตินอกเหนือจากบริเวณนี้ ยังไม่สามารถใช้ได้ในขณะนี้
2. เป็นการทำโดยใช้แสงเอกซเรย์ จึงได้รับรังสีเอกซเรย์มากกว่าการจี้ด้วยคลื่นวิทยุที่มีระบบภาพ 3 มิติมาช่วยลดการใช้แสงเอกซเรย์ลง
3. มีโอกาสบาดเจ็บต่อเส้นประสาทควบคุมการทำงานของกระบังลม (phrenicnerve) ได้ประมาณ 2% แต่จะค่อย ๆ กลับมาเป็นปกติภายใน 3-6 เดือน
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th