เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
ในปัจจุบัน การตรวจสุขภาพร่างกายก่อนการเริ่มทำงาน ถือเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่พนักงานทุกคนควรให้ความใส่ใจ และให้ความสำคัญไม่แพ้ประสบการณ์ความรู้และความสามารถของผู้สมัครเข้าทำงาน เพราะนอกจากจะเป็นขั้นตอนในการตรวจหาโรคติดต่อหรือปัญหาสุขภาพที่ส่งผลเสียให้กับร่างกาย และอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานแล้ว ก็ยังนับเป็นอีกหนึ่งการเตรียมความพร้อม ก่อนลุยงานใหม่ให้มีประสิทธิภาพและราบรื่นมากขึ้นกว่าเดิม รวมถึงเป็นการสร้างความเชื่อมั่นที่ดีให้กับองค์กรใหม่ในระยะยาวอีกด้วยเช่นกัน
การตรวจร่างกายก่อนเริ่มงาน มีความสำคัญอย่างไร เราจะพาไปดูทั้งในแง่ของพนักงานและองค์กร ตามที่จะกล่าวต่อไปนี้
สำหรับพนักงาน การได้ตรวจร่างกายก่อนเริ่มงาน มีความสำคัญดังนี้
ได้ทราบถึงภาวะสุขภาพของตนเอง โดยการตรวจร่างกายประจำปีถือเป็นการตรวจเพื่อป้องกันและค้นหาความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแนวโน้มในการเกิดโรคต่าง ๆ โดยแพทย์จะซักถามถึงประวัติของผู้เข้ารับการตรวจเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยกับพฤติกรรมที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เราเข้าใจสุขภาวะและความสมบูรณ์ของร่างกาย รวมไปถึงได้รับฟังคำตอบไขข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพของเรา
เตรียมความพร้อมสำหรับการทำงาน เนื่องจากการเข้าเช็กสุขภาพเป็นการช่วยติดตามโรคประจำตัว และประเมินสุขภาพของผู้รับการตรวจ ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพของเรา ส่งผลให้สามารถปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันและการทำงานได้อย่างเหมาะสม
การเช็กสุขภาพประจำปีนับเป็นการวางแผนการดูแลสุขภาพในระยะยาว ซึ่งจะทำให้เราทราบถึงแนวทางในการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ทำให้เราสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคในอนาคต ช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้
สำหรับองค์กรเอง การเช็กสุขภาพของพนักงานก็มีความสำคัญเช่นกัน กล่าวคือ
ได้คัดเลือกพนักงานที่มีสุขภาพดี สร้างความมั่นใจให้กับองค์กรว่าพนักงานมีความพร้อมทางด้านร่างกายก่อนเข้าทำงาน เพราะหากพนักงานมีปัญหาสุขภาพ ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการทำงานได้
สร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน ในมิติของการตรวจหาโรคติดต่อและคัดกรองบุคคลเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อบุคลากรคนอื่น ๆ ในที่ทำงาน ทั้งยังเป็นการจำกัดการแพร่ระบาด หรือป้องกันโรคบางโรคได้ เพื่อความปลอดภัยในการทำงานร่วมกันในองค์กร
แสดงความรับผิดชอบต่อพนักงาน โดยการตรวจร่างกายก่อนเริ่มงานนั้นเป็นการช่วยป้องกันไม่ให้พนักงานในองค์กรได้รับอันตราย อุบัติเหตุ หรือผลกระทบจากการทำงาน ถือเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้เกิดความปลอดภัยและถูกสุขอนามัย
ก่อนเริ่มงาน ต้องเช็กสุขภาพส่วนไหนบ้าง จริง ๆ แล้วการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานสำหรับเพศชายและเพศหญิงมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทว่าอาจมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละบริษัท แต่โดยทั่วไปมักมีรายการดังต่อไปนี้
การตรวจร่างกายและซักประวัติเป็นขั้นตอนแรกของการเช็กสุขภาพ โดยแพทย์จะทำการซักประวัติการเจ็บป่วยของผู้เข้ารับการตรวจร่างกายและบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว รวมถึงประวัติการใช้ยา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ เพื่อคัดกรองข้อมูลนำไปใช้ในการประกอบคำวินิจฉัยร่วมกับรายการตรวจร่างกายเบื้องต้นต่าง ๆ ได้แก่ การตรวจวัดสัญญาณชีพ ดัชนีมวลกาย และความดันโลหิต เป็นต้น
การเอกซเรย์ทรวงอกเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะต่าง ๆ เกี่ยวกับทรวงอก ได้แก่ ปอด หัวใจ สภาพของหลอดเลือดแดงและดำในช่องอก รวมถึงกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลัง และกระดูกไหปลาร้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นไปที่การตรวจคัดกรองวัณโรค ที่เป็นโรคติดต่อทางการหายใจ และสามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นผ่านทางละอองเสมหะขนาดเล็กได้
การตรวจความสมบูรณ์ของเลือดมีจุดประสงค์เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด รวมไปถึงความเข้มข้นของเลือด ทำให้สามารถประเมินสภาวะต่าง ๆ อาทิ ภาวะโลหิตจาง หรือภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น
การตรวจปัสสาวะเป็นการตรวจเพื่อหาสารเสพติด รวมถึงสารเมทแอมเฟตามีน (Methamphetamine) และแอมเฟตามีน (Amphetamine) ซึ่งถือเป็นโรคยาเสพติดให้โทษ อาจก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อน นอกจากนี้ยังเป็นการตรวจคัดกรองโรคอื่น ๆ จากปัสสาวะ อย่างเช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โรคไต และโรคเบาหวาน เป็นต้น
การตรวจหาเชื้อไวรัสและโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg) ซึ่งถือเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดต่อผ่านการรับเลือด หรือการใช้ของส่วนตัว เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟันร่วมกัน ในบางรายที่มีเชื้อปริมาณมากอาจสามารถแพร่เชื้อผ่านทางน้ำลายได้
การตรวจวัดทางสายตาเพื่อประเมินการทำงานของดวงตาทั้ง 2 ข้าง และค้นหาปัญหาทางสายตาเบื้องต้น รวมถึงดูการตอบสนองของดวงตา ค่าสายตา ตรวจตาบอดสี และสีของตาขาวและตาดำ
การตรวจการตั้งครรภ์เป็นการตรวจสำหรับผู้หญิงเพิ่มเติม เนื่องจากในบางรายอาจไม่ทราบว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ การตรวจจะทำให้ทราบถึงภาวะตั้งครรภ์และหาแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อการทำงานที่ปลอดภัยต่อไป
การเตรียมตัวก่อนเช็กสุขภาพเป็นขั้นตอนสำคัญที่มีส่วนช่วยให้ผลการตรวจมีความแม่นยำ ไม่คลาดเคลื่อน ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเข้ารับการเช็กสุขภาพจึงควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังต่อไปนี้
ทั้งนี้ ผู้หญิงที่มีรายการตรวจปัสสาวะ ตรวจภายใน และตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรเข้ารับการตรวจหลังจากมีประจำเดือนวันสุดท้าย 7 วัน และหากกำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์และการตรวจแมมโมแกรม
ตรวจร่างกายก่อนเริ่มงาน ที่โรงพยาบาลรามคำแหง กับโปรแกรมตรวจสุขภาพที่ออกแบบมาให้ตอบโจทย์และครอบคลุมทุกความต้องการ สำหรับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่วัยทำงานทั้งชายหญิง
ทุกโปรแกรมดูแลและให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาและบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความสำคัญในการให้บริการอย่างจริงใจ ทำให้การตรวจร่างกายมีความคุ้มค่า สะดวกสบาย เสริมความมั่นใจก่อนเริ่มงานใหม่ในทุกอาชีพ
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th