s “ท้องผูก” ปล่อยไว้นาน เสี่ยงหลายโรคร้าย!..แก้ให้ถูกวิธี

“ท้องผูก” ปล่อยไว้นาน เสี่ยงหลายโรคร้าย!..แก้ให้ถูกวิธี

July 15 / 2024

 

 

 

“ท้องผูก” ก็แค่เรื่องนิดๆ หน่อย ไม่ถ่ายกี่วันก็ไม่เป็นไรหรอก... ไม่จริง!.. เพราะจริงๆ แล้ว "ท้องผูก" ไม่ใช่แค่การไม่ถ่ายหลายวันเท่านั้น ยังมีสัญญาณอื่นๆ ที่บ่งบอกว่าถึงเวลาที่คุณต้องใส่ใจสุขภาพกันแล้ว

 

 

 

มาเช็กกันหน่อยว่า คุณมีสัญญาณท้องผูกเหล่านี้หรือเปล่า

  • ถ่ายน้อย ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • อุจจาระแข็ง อุจจาระแข็งเป็นก้อน แห้ง หรือถ่ายยาก
  • ถ่ายไม่สุด รู้สึกเหมือนยังมีอะไรตกค้าง
  • ใช้เวลานาน ใช้เวลานานกว่าปกติในการถ่ายอุจจาระ
  • ก้อนเล็ก อุจจาระมีก้อนที่เล็กลง

 

 

 

ท้องผูกร้ายแรงแค่ไหน? หลายคนอาจมองข้ามอาการท้องผูก แต่รู้ไหมว่าการท้องผูกร้ายแรงกว่าที่คิด!... เพราะหากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย เช่น

  • ริดสีดวงทวาร เกิดจากการเบ่งอุจจาระแรงๆ เป็นเวลานาน
  • ทวารหนักปริแตก เกิดจากอุจจาระที่แข็งกระแทก
  • ลำไส้ใหญ่อักเสบ เกิดจากการที่อุจจาระตกค้างในลำไส้เป็นเวลานาน
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ ในบางราย อาการท้องผูกอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

 

 

ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • พฤติกรรม เช่น ทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ลำไส้อุดตัน เนื้องอก ลำไส้บีบตัวผิดปกติ
  • โรคประจำตัว เบาหวาน ไทรอยด์
  • ยาบางชนิด ยาระงับปวด ยาลดกรด ยาแก้แพ้
  • ความเครียด ส่งผลต่อระบบขับถ่าย

 

 

ท้องผูก...แก้ได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ก่อนอื่น มาลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกันก่อน

  • ทานอาหารที่มีกากใยสูง ผัก ผลไม้ ธัญพืช
  • ดื่มน้ำเยอะๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์
  • ขับถ่ายให้เป็นเวลา ฝึกขับถ่ายในเวลาเดิมทุกวัน
  • หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจจาระ เมื่อรู้สึกอยากถ่าย ควรไปเข้าห้องน้ำทันที
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาระบาย ยาระบายควรใช้เมื่อจำเป็นและใช้ตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ หากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว แต่อาการท้องผูกรุนแรงขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้องรุนแรง, น้ำหนักลด,ถ่ายเป็นมูกเลือด, มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

 

แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่เพื่อให้แน่ใจว่าอาการท้องผูกไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคอื่นๆ เช่น ลำไส้อักเสบ ติ่งเนื้องอกหรือโรคมะเร็งลำไส้ เพราะหากตรวจพบว่ามีโรคอื่นแอบแฝงอยู่จะได้รีบรักษา

 

 

ท้องผูกเรื้อรังไม่ใช่เรื่องเล็ก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและพบแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญเพื่อป้องกันโรคร้ายและสุขภาพที่ดี