s ดูแลร่างกาย รู้ทันภัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง

ดูแลร่างกาย รู้ทันภัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง

July 10 / 2024

 

ศูนย์หัวใจ

 

 

เมื่อพูดถึงโรคลิ้นหัวใจรั่ว หลายคนคงเกิดคำถามว่าจริง ๆ แล้ว เป็นโรคร้ายแค่ไหน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ต้องผ่าตัดวิธีใด และต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนานไหมศูนย์หัวใจรามคำแหงจะพาไปทำความรู้จักกับโรคลิ้นหัวใจรั่ว สาเหตุการเกิดโรค อาการ การวินิจฉัยพร้อมแนะนำเทคโนโลยีการรักษาเพื่อแสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบันเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์มีความทันสมัย และมีการพัฒนาไปมาก ทำให้การรักษาภาวะลิ้นหัวใจรั่วเป็นไปได้ง่าย และปลอดภัยกว่าในอดีต ผู้ป่วยจึงรู้สึกอุ่นใจ เพราะสามารถแก้ไขความผิดปกติได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

ทำความรู้จักกับโรคลิ้นหัวใจรั่ว

ทำความรู้จักกับโรคลิ้นหัวใจรั่วโดยศูนย์หัวใจ หัวใจของเราประกอบด้วยลิ้นหัวใจ 4 ลิ้น ซึ่งทั้ง 4 ลิ้นเป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวและรับแรงดันจากเลือดตลอดเวลา เมื่อเกิดความผิดปกติของลิ้นหัวใจขึ้น จึงส่งผลให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เกิดเป็น ‘โรคลิ้นหัวใจรั่ว’ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจของเราจึงต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้นโดยการบีบและสูบฉีดเลือดเพื่อให้ร่างกายได้รับเลือดอย่างเพียงพอ ในบางรายที่มีอาการมากอาจเสียชีวิตได้เนื่องจากการทำงานของหัวใจล้มเหลว

 

สาเหตุ ลิ้นหัวใจรั่ว

 

สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจรั่ว

โดยส่วนใหญ่ สาเหตุของลิ้นหัวใจรั่วมักมาจากความผิดปกติของหัวใจที่มีความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด นอกจากนี้ศูนย์หัวใจยังให้คำตอบไว้ว่า ลิ้นหัวใจรั่ว ยังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย อาทิ

ความเสื่อมตามอายุ

ความเสื่อมตามอายุ เมื่อเนื้อเยื่อของลิ้นหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ และมีหินปูนมาเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้การเปิดหรือปิดของลิ้นหัวใจเกิดความผิดปกติ

โรคหัวใจรูมาติก

โรคหัวใจรูมาติก สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณลำคอ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจตามมา

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อในกระแสเลือด ส่งผลให้เชื้อโรคไปเกาะและเกิดการอักเสบที่บริเวณลิ้นหัวใจ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจรั่วและกล้ามเนื้อหัวใจตายได้

อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว

อาการของโรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจรั่ว มักไม่แสดงอาการในระยะแรกเริ่ม ในระยะต่อมา ศูนย์หัวใจรามคำแหงแนะนำให้สังเกตจากผู้ป่วย คือ มักจะมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจถี่ รู้สึกอ่อนเพลีย มีอาการใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก และอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือได้ยินเสียงฟู่บริเวณลิ้นหัวใจ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจเป็นลมหมดสติ เกิดภาวะเลือดคั่งและหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด

การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว

การวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่วในเบื้องต้น แพทย์จากศูนย์หัวใจจะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ทำการเอกซเรย์ปอด กราฟหัวใจ (EKG) และตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อทำการประเมินการทำงานของลิ้นหัวใจและตรวจดูระดับความรุนแรงของโรค แต่หากพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอื่น ๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาให้รับการตรวจด้วยวิธีการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

 

วินิจฉัยโรคหัวใจ มีอะไรบ้าง

 

เทคโนโลยีในการวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว มีอะไรบ้าง

เทคโนโลยีในการวินิจฉัยโรคหัวใจ มีอะไรบ้าง ศูนย์หัวใจจะมาเล่าให้ฟัง การทดสอบสมรรถภาพของหัวใจมีวิธีที่หลากหลายขึ้นอยู่กับอาการของโรค ดังนี้

เครื่องอัลตราซาวนด์หัวใจ (Echocardiogram)

เครื่องอัลตราซาวนด์หัวใจ (Echocardiogram) หรือ การทำเอคโค่หัวใจ เป็นการตรวจหัวใจ เพื่อดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหัวใจ, ลิ้นหัวใจ แรงดันในห้องหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนความถี่สูงเพื่อจับภาพเคลื่อนไหวของหัวใจ ทำให้สามารถประเมินลักษณะกายภาพของหัวใจ รวมถึงการทำงานของหัวใจได้แบบเวลาจริง

เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac Resonance Imaging หรือ MRI

เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac Resonance Imaging หรือ MRI) เป็นวิธีการตรวจหัวใจที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ใช้รังสีเอกซเรย์ สามารถสร้างภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของหัวใจและหลอดเลือดที่มีรายละเอียดได้อย่างชัดเจนโดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์เข้าไปในร่างกาย

 

ศูนย์หัวใจ รามคำแหง

 

สรุป

โรคลิ้นหัวใจรั่วที่ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหงได้พาไปทำความรู้จัก ไม่ว่าจะเป็น สาเหตุของการเกิดโรค อาการของโรค รวมไปถึงเทคโนโลยีในการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ จะทำให้ทุกคนเกิดความเข้าใจมากขึ้น ในส่วนของบทความถัดไป เราจะไปดูวิธีรักษาโรคนี้แบบละเอียด