s 2 วิธีรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว โดยศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง

2 วิธีรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว โดยศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง

July 10 / 2024

 

ศูนย์หัวใจ

 

 

บทความก่อนหน้า เราได้พาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว แนะนำเทคโนโลยีการวินิจฉัยที่แม่นยำในการพยากรณ์โรคกันไปแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าข่ายป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางศูนย์หัวใจโดยตรง และเลือกที่จะเริ่มเข้ารับการรักษาตามกระบวนการ ในบทความนี้เลยอยากจะมาพูดถึงวิธีการรักษา พร้อมวิธีดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง

 

ลิ้นหัวใจรั่ว รักษา

 

การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว

แนวทางการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วของทางศูนย์หัวใจขึ้นอยู่กับความรุนแรง อาการ และอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยหากพบว่ามีการชำรุดเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง แพทย์อาจแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม และติดตามเฝ้าระวังอาการไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีนี้ อาจรวมถึงผู้ป่วยที่มีอายุมาก หรือผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องอกมาก่อน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับการรักษาด้วยการผ่าตัด ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการรักษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ

การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ในกรณีที่ลิ้นหัวใจถูกทำลาย มีการฉีกขาดหรือรอยรั่ว แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมในส่วนที่เสียหาย การผ่าตัดประเภทนี้จะใช้เนื้อเยื่อหัวใจของผู้ป่วยเองมาซ่อมแซม ทำให้ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกายเกิดขึ้น

2. การซ่อมลิ้นหัวใจผ่านสายสวน

การซ่อมลิ้นหัวใจผ่านสายสวน คือ หัตถการที่มีจุดประสงค์เพื่อซ่อมลิ้นหัวใจ การรักษาด้วย MitraClip นี้เป็นทางเลือกสําหรับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงจากการรั่วของลิ้นหัวใจไมทรัลชนิดรุนแรงที่ไม่สามารถทําผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ หรือในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจเกิดอันตรายจากการผ่าตัด เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคร่วมหลายโรค เป็นต้น ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีนี้ลดอัตราเสี่ยงการเสียชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการที่เกิดจากลิ้นหัวใจรั่วและทําให้ภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงดีขึ้น โดยอายุรแพทย์หัวใจและศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกจะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยมีความเหมาะสมหรือไม่ซึ่งในปัจจุบัน สามารถทำผ่านสายสวนทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ หรือชายโครงเข้าไปทางหัวใจได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดกระดูกหน้าอก วิธีการนี้นับเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ใช้เวลาน้อย และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการผ่าตัดได้อย่างมาก

ออกกำลังกายอย่างไร ให้หัวใจให้แข็งแรง

การออกกำลังกายที่ถูกวิธีเพื่อให้หัวใจให้แข็งแรง การออกกำลังนับเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถทำได้ และส่งผลดีต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจโดยรวม นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างดีขึ้น วิธีที่ศูนย์หัวใจแนะนำ ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดี และมีสุขภาพใจที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคหัวใจควรออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์จากศูนย์หัวใจ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และควรคำนึงถึงข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 

  • ก่อนการออกกำลังกาย ควรปรึกษาแพทย์ เข้ารับการตรวจเช็กสมรรถภาพของหัวใจเพื่อประเมินรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยเฉพาะหากมีโรคประจำตัวในบางโรค อาจต้องมีการติดตามอาการและกราฟหัวใจเพื่อความปลอดภัยภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง
  • ควรอบอุ่นร่างกายอย่างน้อย 10 นาทีทุกครั้งก่อนการออกกำลังกาย
  • ควรเลือกสถานที่ออกกำลังกายที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเท มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป
  • ผู้ป่วยควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่โปร่ง สบาย ระบายอากาศและความร้อนได้ดี
  • ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม ความหนักของการออกกำลังกายควรขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์เป็นหลัก
  • ไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารทันที
  • งดออกกำลังกายหากมีไข้ ท้องเสีย อาเจียน หรือรู้สึกอ่อนเพลีย
  • หากมีอาการจากระบบการออกกำลังกายในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวแนะนำให้พบแพทย์การออกกำลังกาย

 

ลิ้นหัวใจรั่ว รักษา

 

บริการตรวจวินิจฉัยทางโรคหัวใจของศูนย์หัวใจรามคำแหง

บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางโรคหัวใจของศูนย์หัวใจรามคำแหง มีดังนี้

 

  • การตรวจวินิจฉัยทางหัวใจ โดยอายุรแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ
  • ตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
  • ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยเครื่อง Exercise Stress Test
  • ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง Echocardiogram
  • ตรวจความผิดปกติของหัวใจด้วย Cardiac MRI
  • ตรวจความผิดปกติของหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT 128 Slide
  • ตรวจบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจพกพาเคลื่อนที่ตลอด 24-48 ชั่วโมงด้วยเครื่อง Holter monitor
  • ตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอาการผิดปกติผ่านทางโทรศัพท์ Event loop recorder monitor
  • ตรวจวัดความดัน 24 ชั่วโมงด้วยเครื่อง ABPM
  • ตรวจหาสาเหตุภาวะเป็นลมหมดสติ Tilt table test
  • ตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเครื่อง ABI
  • ตรวจวัดสมรรถภาพหัวใจและปอด Cardiopulmonary Exercise Test : CPET /Vo2MAX
  • ฉีดสารทึบรังสีสวนหัวใจและหลอดเลือด Cardiac Catheterization
  • ผ่าตัดหัวใจ Cardiothoracic Surgery
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด Cardiac Rehabilitation

 

ลิ้นหัวใจรั่ว รักษา

 

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

ที่ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหงมีความพร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างทุ่มเทและคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ โดยทางโรงพยาบาลเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมรับทุกสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยการรักษาที่ได้มาตรฐานสากลโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์