เรียนรู้สัญญาณอันตรายของไต ที่หมอเฉพาะทางโรคไตอยากมาเตือน

June 17 / 2024

 

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

ในบทความก่อนหน้าหมอเฉพาะทางโรคไตได้พูดถึงสาเหตุของโรคนี้ ว่าเกิดจากอะไรได้บ้าง และโรคประจำตัวอะไรที่ส่งผลให้มีโอกาสเสี่ยงให้เกิดโรคมากยิ่งขึ้น ในบทความวันนี้เราจะพาไปเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณอันตรายของโรคไต พร้อมวิธีดูแลสุขภาพของไตให้แข็งแรง ห่างไกลโรค อยากให้ทุกคนตระหนักไว้เสมอ ไม่ว่าคุณจะแข็งแรงมากแค่ไหน แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ร่างกายพบสัญญาณผิดปกติเหล่านี้ ควรเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

สัญญาณอันตรายเมื่อโรคไตมาเยือน

สัญญาณอันตรายเมื่อโรคไตมาเยือน โดยทั่วไปเมื่อไตทำงานผิดปกติ ร่างกายจะขับของเสียได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย บางรายอาจซูบผอม น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุในขณะที่ในบางรายอาจมีอาการตัวบวม ผิวหนังซีด เกิดจ้ำเลือดได้ง่าย ปัสสาวะมีฟอง หมอเฉพาะทางโรคไต ยังบอกไว้ว่า ไตที่ทำงานบกพร่องยังส่งผลกระทบให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการดังต่อไปนี้

ระบบทางเดินอาหาร

ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยมักรู้สึกเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มีรสขมในปากหรือไม่สามารถรับรสอาหารได้ ในบางรายอาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้

ระบบหัวใจและหลอดเลือด

ระบบหัวใจและหลอดเลือด ถ้าไตทำงานได้น้อยลงจนขับปัสสาวะและเกลือแร่ไม่ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย นอนราบแล้วหายใจไม่สะดวก ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะหัวใจโต และกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ รวมไปถึงเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ภาวะน้ำคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ และภาวะปอดบวม

ระบบประสาท สมอง และกล้ามเนื้อ

ระบบประสาท สมอง และกล้ามเนื้อ เมื่อมีอาการปลายประสาทเสื่อม จะทำให้มือเท้าชา กล้ามเนื้อกระตุก เป็นตะคริว และเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาจากหมอเฉพาะทางโรคไตอย่างทันท่วงทีอาจก่อให้เกิดอาการชัก หมดสติ และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ระบบกระดูก

ระบบกระดูก ไตมีหน้าที่สังเคราะห์วิตามินดีซึ่งมีส่วนในการควบคุมสมดุลของแร่ธาตุและกระดูก หากไตทำงานบกพร่อง ก็มักส่งผลให้ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กระดูกแตกหักง่าย และเกิดเป็นภาวะกระดูกพรุน

ระบบทางเดินปัสสาวะ

ระบบทางเดินปัสสาวะ ในระยะเริ่มแรกของภาวะไตวาย ผู้ป่วยมักปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน ปัสสาวะมักมีสีจาง และเมื่อการทำงานของไตเสื่อมลงหรือเกิดภาวะไตวาย ผู้ป่วยจะปัสสาวะออกได้น้อยลง

ระบบโลหิต

ระบบโลหิต หากผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโรคไตวายระยะสุดท้าย ไตจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้ตามปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง ผิวหนังซีด และยังทำให้การทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติ เลือดออกได้ง่าย มีจ้ำเลือดขึ้นตามตัว และหากเกิดบาดแผลเลือดจะไหลไม่หยุด

ระบบภูมิคุ้มกัน

ระบบภูมิคุ้มกัน หมอเฉพาะทางโรคไตบอกว่าผู้ป่วยโรคไตวายมักจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ

ระบบฮอร์โมน

ระบบฮอร์โมน ไตมีหน้าที่ในการผลิตและควบคุมฮอร์โมนในร่างกายหลายชนิด ดังนั้น หากไตทำงานผิดปกติ ก็จะทำให้ฮอร์โมนบางอย่างในร่างกายผิดปกติ เช่น ฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงฮอร์โมนจากรังไข่เพศหญิง รวมถึงฮอร์โมนจากอัณฑะทำงานผิดปกติ

 

โรคไต ดูแลตัวเองยังไง

 

7 วิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ ให้ห่างไกลโรคไต

7 วิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ แบบหมอเฉพาะทางโรคไต ให้ห่างไกลโรค ทำได้ดังนี้

 

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารรสจัด รวมถึงอาหารที่มีไขมันสูง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อย่าหลงเชื่อโฆษณาอาหารเสริม หรือสมุนไพรที่กล่าวอ้างสรรพคุณเกินจริง
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ รวมถึงสารเสพติด
  • ควบคุมโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ,ความดันสูงให้ได้
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ

 

 

หากว่าอ่านมาถึงตรงนี้แล้วรู้สึกกังวลใจ หรืออยากตรวจเช็กอาการเบื้องต้น สามารถเข้ามารับคำปรึกษากับหมอเฉพาะทางโรคไตที่โรงพยาบาลรามคำแหงได้ 24 ชั่วโมง การใช้ชีวิตเป็นเรื่องที่ดี แต่การใส่ใจสุขภาพให้แคล้วคลาดจากโรคภัยเป็นเรื่องที่ดีกว่า