เช็กพฤติกรรมเสี่ยงพร้อมวินิจฉัยโรคหัวใจที่ศูนย์หัวใจรามคำแหง

June 18 / 2024

 

หัวใจเต้นเร็ว

 

จากบทความที่แล้ว เราได้พูดถึงโรคหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทั้งในเรื่องของอาการของโรค และปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดโรคได้ทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย ทำให้เราได้ทราบและมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจเต้นเร็วผิดปกติในเบื้องต้น ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการเช็คพฤติกรรมเสี่ยง และการวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นเร็ว วิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันการเกิดโรค รวมไปถึงแนะนำแพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง

 

การวินิจฉัยโรคหัวใจ

 

วิธีการวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจไม่ได้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ในขณะที่ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์อาจไม่มีอาการบ่งชี้ให้เห็น ในเบื้องต้น แพทย์จะทำการซักประวัติเพื่อให้ผู้ป่วยอธิบายถึงอาการ และพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน รวมถึงแจ้งข้อมูลยาต่างๆ ที่ผู้ป่วยรับประทาน เพื่อให้แพทย์สามารถนำข้อมูลไปประกอบการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาให้เหมาะสม

 

ในกรณีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นในขณะที่เข้าพบแพทย์ แพทย์มักใช้วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) ซึ่งจะช่วยประเมินภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ รวมถึงสามารถบอกชนิดของหัวใจเต้นผิดปกติได้อีกด้วย

 

 

ส่วนในกรณีที่แพทย์ตรวจแล้วไม่พบความผิดปกติเกิดขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Holter Monitor) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24-48 ชั่วโมง โดยผู้ป่วยจะต้องติดเครื่องบันทึกไว้ติดตัวตลอดเวลาเพื่อตรวจหาและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจในขณะที่เกิดความผิดปกติขึ้น

 

 

อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจพิจารณาการตรวจหัวใจเพิ่มเติมด้วยวิธีการต่างๆ อาทิ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) การเอกซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) หรือการตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) แล้วแต่กรณี

 

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหัวใจ

6 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

การรับประทานอาหารไขมันสูง

การรับประทานอาหารไขมันสูงในปริมาณมาก และต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะไขมันทรานส์และคอเลสเตอรอล เช่น เบเกอรี่ เค้ก เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารสำเร็จรูป รวมถึงแกงกะทิต่าง ๆ นั้นส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงแล้ว ปริมาณคอเลสเตอรอลที่สูงต่อเนื่องยังสามารถทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดตีบและอุดตัน ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต ดังนั้น ทุกคนควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำกัดการบริโภค และไม่ปล่อยให้มีน้ำหนักเกินค่ามาตรฐาน หรือมีค่าดัชนีมวลกาย BMI ไม่เกิน 30

การขาดการออกกำลังกาย

การขาดการออกกำลังกาย หากหัวใจไม่ได้ออกแรง ก็จะไม่สามารถทนต่อการทำงานหนักไหว ดังนั้น เมื่อเราอยู่ในสภาวะที่หัวใจต้องทำงานหนักเกินกว่าที่จะรับไหว ก็อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อย่างไรก็ตาม หากออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพียงวันละ 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ก็จะสามารถเป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแรงและทนทานให้แก่หัวใจ ส่งผลให้หัวใจมีสุขภาพดีในระยะยาว

การพักผ่อนไม่เพียงพอ

ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากการที่ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ

การสูบบุหรี่

หลายคนอาจคิดว่าการสูบบุหรี่มีผลต่อปอดเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว การสูบบุหรี่ส่งผลโดยตรงต่อหัวใจ เนื่องจากในควันบุหรี่ประกอบด้วยสารพิษที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจหลายชนิด ได้แก่ นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ มีฤทธิ์ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มมากขึ้น หลอดเลือดหัวใจหดตัว ความดันเลือดเพิ่มสูง เกิดการจับตัวของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบแคบ หรือเกิดเป็นภาวะหัวใจขาดออกซิเจน รวมไปถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

ภาวะความเครียด

ผู้ที่มีความเครียดหรือทำงานอยู่ในสภาวะที่เคร่งเครียดอยู่เป็นประจำมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เนื่องจากความเครียด เป็นปัจจัยหลักที่จะไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนัก หรือเต้นเร็วขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อความดันโลหิต และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดหวะหรือโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

การดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ จะทำให้ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้นับเป็นความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตเฉียบพลันได้

 

ป้องกันโรคหัวใจ

 

 

ดูแลหัวใจอย่างไร ไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค

 

แม้ว่าเราจะไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายในต่าง ๆ อาทิ พันธุกรรม หรืออายุที่เพิ่มขึ้นได้ แต่ยังมีปัจจัยจากภายนอกที่เราสามารถควบคุมได้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ ดังนี้

 

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสมโดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ หรือคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด แกงกะทิ และเบเกอรี่ต่าง ๆ
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและโอเมก้า 3
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน โดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับตัวเอง
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงอาหารที่มีสีผสมอาหาร หรือสารเคมีเจือปน
  • พยายามหากิจกรรมเพื่อลดความเครียด และพักผ่อนอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

แพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

แพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 5,990
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 6,990
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 9,990
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart Plus (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 14,990