เช็กร่างกายก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปี

June 12 / 2024

 

ตรวจสุขภาพ

 

‘การตรวจสุขภาพประจำปี’ ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากต่อคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุวัยเกษียณ เนื่องจากเป็นวัยที่อวัยวะในร่างกายเริ่มเสื่อมถอย และมักเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น แม้จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงมาโดยตลอด ก็ควรหมั่นเข้ารับการตรวจร่างกายตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อเป็นการวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดโรค อีกทั้งยังช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงในการภาวะต่าง ๆ รวมถึงสร้างความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพในวัยสูงอายุ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยให้มีอายุที่ยืนยาวแล้ว ยังถือเป็นการวางแผนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคในระยะยาวได้อีกด้วย

 

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยเกษียณตรวจสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ

 

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยเกษียณสำคัญอย่างไร

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าสู่วัยเกษียณมีความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้

1. เป็นการวางแผนสุขภาพในระยะยาว

วางแผนสุขภาพในระยะยาว การตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุในวัยเกษียณเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงเป็นการเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ ดูแลร่างกายให้ปลอดภัยจากความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่มักจะมาเยือนผู้สูงอายุ

2. ดูแลสุขภาพอย่างตรงจุด

ดูแลสุขภาพอย่างตรงจุด นอกจากการตรวจสุขภาพประจำปีจะเป็นการตรวจเพื่อประเมินภาพรวมของสุขภาพร่างกายแล้ว ยังเป็นการค้นหาโรคที่อาจจะยังไม่แสดงอาการ หรือติดตามความเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ เพื่อทำให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยง รวมถึงโรคแฝงทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

3. รับมือหากเจอโรคร้ายได้อย่างทันท่วงที

รับมือหากเจอโรคร้ายได้อย่างทันท่วงที การตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นวิธีการค้นหาโรคและภาวะผิดปกติในร่างกาย ซึ่งโรคบางโรคสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ก่อนแสดงอาการหรือเกิดการลุกลาม ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพิ่มโอกาสหายจากโรค และยังทราบถึงแนวทางการดูแลตัวเองเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย

 

ปัญหาสุขภาพ ที่ต้องระวัง

 

7 ปัญหาสุขภาพที่ควรระวังเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ

ปัญหาสุขภาพที่ควรระวังเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ และหมั่นตรวจสุขภาพทุกปี คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การทำงานของอวัยวะและเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันอาจเริ่มถดถอย ทำให้ผู้สูงอายุในวัยเกษียณมักเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากขึ้น ดังนี้

1. โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง ถือเป็นโรคที่ควรระวังเพราะส่วนใหญ่เวลามักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มาทราบเมื่อแพทย์ตรวจสุขภาพเจอด้วยความบังเอิญ โดยบางรายหากมีอาการมักพบว่ารู้สึกปวดหรือเวียนศีรษะ มึนงง และเหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยมักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอาทิ ความอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น

2. โรคตา

โรคตา ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาและสายตาที่ตรวจสุขภาพแล้วพบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่ การมองเห็นไม่ชัด ต้อกระจก ต้อหิน โรคจอประสาทตาเสื่อม และภาวะตาแห้ง เป็นต้น

3. โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน ในภาวะปกติ ฮอร์โมนอินซูลินจะทำหน้าที่เผาผลาญน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงาน แต่เมื่อร่างกายเกิดภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนชนิดนี้ได้อย่างเพียงพอ จึงเกิดเป็นโรคเบาหวาน ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ

4. โรคไต

โรคไต เมื่อไตทำงานผิดปกติจะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือดก็จะไม่เป็นไปอย่างที่ควร โรคไตถือเป็นภัยเงียบมักไม่แสดงอาการในช่วงเริ่มต้น และมักปรากฏอาการให้เห็นในระยะที่ไตเสื่อมไปมากแล้ว ยิ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นในการตรวจสุขภาพของวัยเกษียณ

5. โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นอีกปัญหาที่พบบ่อยในการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ พบบ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น หรืออาจเกิดจากความเสื่อมสะสมจากการใช้งานเข่าที่ไม่ถูกต้อง หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณไขข้อมาก่อน โดยผู้ป่วยมักมีอาการปวดเข่า บวมแดง เข่าฝืด ยึด และได้ยินเสียงดังในเข่า

6. โรคหัวใจ

โรคหัวใจ ถือเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุทำให้คนเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ในทุกประเทศทั่วโลก สามารถสังเกตสัญญาณเตือนได้จากอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ นอนราบไม่ได้ แน่นหน้าอก ใจสั่น หน้ามืด หรือการตรวจสุขภาพ ในบางรายอาจมีอาการเวียนศีรษะ เบื่ออาหาร โดยโรคหัวใจประเภทต่าง ๆ อาจเป็นผลจากกลุ่มโรคประจำตัวต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น

7. โรคทางระบบประสาทและสมอง

โรคทางระบบประสาทและสมองโดยเฉพาะภาวะสมองเสื่อม ซึ่งเป็นภาวะถดถอยทางด้านสติปัญญาและการรับรู้ โดยผู้ป่วยมักแสดงพฤติกรรมจากความจำ การคำนวณ การตัดสินใจ จินตนาการ หรือภาษาออกมาให้ลักษณะที่ผิดจากปกติ อาจมีอาการหลงลืมบ่อย ๆ รวมถึงถามคำถามซ้ำ ๆ ซึ่งในบางกรณี อาจใช้เวลานานในการสังเกตก่อนเข้าพบแพทย์ ทำให้โรคดำเนินไปมากแล้ว

ตรวจสุขภาพ ควรตรวจยังไง และเตรียมตัวยังไงบ้าง

ตรวจสุขภาพควรตรวจยังไง และต้องมีการเตรียมตัวยังไงบ้าง ซึ่งรายละเอียดการวางแผนตรวจสุขภาพสำหรับวัยเกษียณ และการเตรียมตัวก่อนตรวจร่างกาย เราจะไปพูดถึงในบทความถัดไปสำหรับวันนี้ขอให้วัยเกษียณทุกท่าน หมั่นดูแลสุขภาพ หากพบอาการผิดปกติใด ๆ เกี่ยวกับร่างกาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ แต่ควรเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินการรักษาทันที