s 5 กลุ่มเสี่ยง ‘โรคไต’ มีใครบ้าง หมอเฉพาะทางโรคไตมีคำตอบ

5 กลุ่มเสี่ยง ‘โรคไต’ มีใครบ้าง หมอเฉพาะทางโรคไตมีคำตอบ

July 06 / 2024

 

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

 

หลายคนอาจยังมีความเข้าใจผิดคิดว่าเลี่ยงทานเค็มเท่ากับเลี่ยงโรคไต แต่ในความเป็นจริงนั้นหมอเฉพาะทางโรคไตระบุไว้ว่ายังมีสาเหตุต่าง ๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดโรคไตได้ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งล้วนส่งผลให้ไตค่อย ๆ ทำงานลดลงจนกรองของเสียหรือสารพิษไม่ได้ตามปกติ ดังนั้น การเรียนรู้วิธีการดูแลไต ลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคไตจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะหากเป็นโรคไตแล้ว ก็ต้องดูแลรักษายาวนานตลอดชีวิต สร้างภาระและความยุ่งยากทั้งแก่ตัวเองและครอบครัว และที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไตก็สูงมากด้วยเช่นกัน

สาเหตุของ ‘โรคไต’ ไม่ใช่แค่ทานเค็ม

สาเหตุของการเกิดโรคไต ไม่ใช่แค่มาจากการทานอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างที่เราทราบกันเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนกระตุ้นให้ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งหมอเฉพาะทางโรคไต ได้รวบรวมไว้ให้แล้วได้แก่

 

  • พันธุกรรม รวมถึงการมีภาวะไตผิดปกติ หรือไม่สมบูรณ์แต่กำเนิด
  • การมีโรคประจำตัวที่มีผลกระทบต่อไต
  • การทานอาหารรสจัด และอาหารแปรรูปอย่างสม่ำเสมอ
  • การดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือดื่มน้ำไม่สัมพันธ์กับน้ำหนักตัว
  • ภาวะหลอดเลือดฝอยในไตอักเสบ
  • การตรวจพบนิ่วในไต หรือในระบบทางเดินปัสสาวะ

 

กลุ่มเสี่ยงโรคไต

 

5 กลุ่มเสี่ยง ‘โรคไต’ มีใครบ้าง

กลุ่มเสี่ยงโรคไต มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ซึ่งหมอเฉพาะทางโรคไต ได้แบ่งและจัดประเภทกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดไว้แล้ว ดังนี้

1.ผู้ที่มีโรคประจำตัว

ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคเก๊าท์ ซึ่งล้วนแต่ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น

2.ผู้ที่รับประทานอาหารรสจัด

ผู้ที่รับประทานอาหารรสจัด การทานอาหารรสจัดนั้น ไม่ได้จำกัดแค่อาหารรสเค็มจัด แต่ยังรวมถึงอาหารหวานจัด หรือเผ็ดจัด และการทานอาหารแปรรูป อาทิ แฮม เบคอน ขนมกรุบกรอบ ผลไม้กระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รวมถึงอาหารหมักดอง และสารเสริมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

3.ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย

ผู้ที่ดื่มน้ำน้อย แม้การดื่มน้ำไม่เพียงพออาจไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไต แต่หมอเฉพาะทางโรคไตกล่าวไว้ว่า การดื่มน้ำน้อยมักส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไตได้

4.ผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ

ผู้ที่รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ เนื่องจากยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งมีหน้าที่สำคัญหลายประการในร่างกาย รวมถึงช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือดในไต ดังนั้นผู้ที่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs ต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือใช้ยาในปริมาณสูง หมอเฉพาะทางโรคไตเกรงว่าอาจส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดในไตลดลง และก่อให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้

 

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ถึงโรคไต เช่น

 

  • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะเป็นฟอง มีสีเข้ม หรือมีสีผิดปกติ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • มีอาการบวมตามใบหน้า เท้า แขน และขา
  • ปวดหลัง หรือปวดเอวเรื้อรัง

 

โดยหากพบอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบพบหมอเฉพาะทางโรคไตเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็ว

5.ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมเกินขนาด

ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมเกินขนาด เนื่องจากไตมีหน้าที่ในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย การทานอาหารเสริมที่มีสารประกอบที่อาจเป็นอันตรายต่อไตเมื่อได้รับในปริมาณมากเกินความจำเป็น ย่อมส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะไตอักเสบ ไตวาย หรือภาวะนิ่วในไต ดังนั้น ผู้ที่ต้องการรับประทานอาหารเสริมควรทานในปริมาณที่พอเหมาะ และปรึกษาหมอเฉพาะทางโรคไตก่อนเริ่มทานอาหารเสริมทุกครั้ง โดยเฉพาะอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบเหล่านี้

 

  • วิตามินเอ
  • วิตามินดี
  • วิตามินซี
  • แร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม

 

โรคไต ดูแลตัวเองยังไง

 

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคไต

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคไตเป็นสิ่งที่ควรทำมาก ๆ เพราะ ‘โรคไต’ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย และยังไม่มียาชนิดใดสามารถรักษาโรคไตเรื้อรังให้หายขาดได้ ดังนั้น การดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรงนับเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม โดยสามารถเริ่มต้นจากการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอเฉพาะทางโรคไต ดังนี้

 

  • ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน
  • หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและโซเดียมสูง
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
  • ควบคุมและดูแลโรคประจำตัว
  • ตรวจเช็กความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดการทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา
  • เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ผู้ป่วยโรคไตระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ จึงทำให้สูญเสียโอกาสสำคัญในการเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและดูแลให้ไตทำงานอย่างสมบูรณ์ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีกับหมอเฉพาะทางโรคไต เพื่อประเมินหาความเสี่ยงของโรคไตในระยะเริ่มต้น ก็จะทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที