s คุยกับหมอเฉพาะทางโรคไต ไตวายแม้ไม่ตายไวแต่ชีวิตไม่เหมือนเดิม

คุยกับหมอเฉพาะทางโรคไต ไตวายแม้ไม่ตายไวแต่ชีวิตไม่เหมือนเดิม

May 07 / 2024

 

 

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

 

หลายคนคงรู้จักว่า ‘ไต’ คือ อวัยวะภายในที่ช่วยขับของเสียของร่างกาย แต่น้อยคนจะทราบว่าแท้จริงแล้ว ไตยังมีหน้าที่ควบคุมน้ำ รักษาสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย รวมถึงยังมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ จึงไม่แปลกที่เมื่อไตเกิดความปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกายหลายส่วน ดังนั้น หมอเฉพาะทางโรคไต ของโรงพยาบาลรามคำแหงมีความเห็นว่า ควรหันมาเริ่มดูแลสุขภาพไตเพื่อช่วยให้กระบวนการต่าง ๆ ของไตเป็นไปอย่างราบรื่น เพื่อการป้องกันไตวายขั้นสุดท้าย ซึ่งต้องรักษาโดยการล้างไตไปตลอดชีวิต

หน้าที่ของไต มีอะไรบ้าง

หน้าที่ของไต มีอะไรบ้าง ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่า ไตเป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเม็ดถั่วเหลือง วางอยู่บริเวณกลางหลังด้านซ้ายและขวาข้างละ 1 อัน โดยไตทั้ง 2 ด้าน ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเครื่องกรองชนิดพิเศษ ที่มีความจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิต นอกจากไตจะมีหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะอย่างที่เราทราบกันดีแล้ว ไตยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกหลายอย่าง ซึ่งมีรายละเอียดการทำงานที่หมอเฉพาะทางโรคไตได้บอกไว้ดังต่อไปนี้

ขับของเสียออกจากร่างกาย

ขับของเสียออกจากร่างกาย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนออกจากร่างกาย โดยของเสียต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของ ยูเรีย ครีอะตินีน กรดยูริก และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ นอกจากนี้ ไตยังทำหน้าที่กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีส่วนเกินรวมถึงเลือดปริมาณ​กว่า 200 หน่วยต่อวันอีกด้วย

ควบคุมความดันโลหิต

ควบคุมความดันโลหิตโดยการสร้างเอนไซม์เรนิน ซึ่งจะถูกหลั่งเข้าไปในกระแสเลือดเพื่อช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้คงที่

รักษาสมดุลของน้ำและเกลือในร่างกาย

รักษาสมดุลของน้ำและเกลือในร่างกายรวมถึงภาวะความเป็นกรด-ด่างในเลือด ซึ่งหากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งจะทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่เป็นปกติ

ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย

ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกายโดยการผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายมีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ รวมถึงช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะโลหิตจาง

กระตุ้นการทำงานของวิตามินดี

กระตุ้นการทำงานของวิตามินดี เมื่อร่างกายมีวิตามินดีที่พอเพียงกับความต้องการของร่างกายแล้ว ก็จะสามารถช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม ฟอสฟอรัส ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่งผลให้กระดูกมีความแข็งแรง

 

 

ไตวายเรื้อรังกับไตวายเฉียบพลันต่างกันอย่างไร

 

 

ไตวายเรื้อรังกับไตวายเฉียบพลันแตกต่างกันอย่างไร

ไตวายเรื้อรังกับไตวายเฉียบพลันแตกต่างกันตรงที่อาการของภาวะไตวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้นภายในชั่วโมง วัน หรือสัปดาห์ แต่เมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้หากรักษาทันเวลา ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรรีบเข้าพบหมอเฉพาะทางโรคไตในทันทีที่มีอาการเพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงที

 

ในขณะเดียวกัน อาการของผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังจะค่อย ๆ แย่ลงตามลำดับเพราะไตจะค่อย ๆ สูญเสียการทำงานทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง หมอเฉพาะทางโรคไตบอกว่า ผู้ป่วยมักไม่ทันสังเกตอาการจนเมื่อความผิดปกติเริ่มเด่นชัด หรือเมื่อไตทำงานได้น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยภาวะไตเรื้อรังนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และอาจนำไปสู่ภาวะไตวาย

 

ซึ่งการรักษาอาจทำได้ด้วยการบำบัดทดแทนไตเพื่อประคับประคองอาการด้วยการฟอกเลือดหรือล้างหน้าท้อง รวมถึงวิธีการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าการรักษาในรูปแบบอื่น ๆ

ระยะของโรคไตเรื้อรัง

ระยะของโรคไตเรื้อรังหมอเฉพาะทางโรคไต ได้แบ่งออกได้เป็น 5 ระยะตามอัตราการกรอง หรือค่า GFR (Glomerular Filtration Rate) ซึ่งวัดจากปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตัวกรองของไตในหนึ่งนาที (มล./นาที/1.73 ตร.ม.)

 

  • ระยะที่ 1: ค่า GFR 90 หรือมากกว่า เริ่มมีภาวะไตทำงานผิดปกติ พบโปรตีนรั่วในปัสสาวะแต่อัตราการกรองยังเป็นปกติ
  • ระยะที่ 2: ค่า GFR 60-89 เป็นโรคไตเรื้อรังในระยะเริ่มต้น หมอเฉพาะทางโรคไตจะพบโปรตีนรั่วในปัสสาวะ และอัตราการกรองลดลงเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • ระยะที่ 3: ค่า GFR 30-59 อัตราการกรองลดลงปานกลางถึงมาก
  • ระยะที่ 4: ค่า GFR 15-29 อัตราการกรองลดลงค่อนข้างมาก
  • ระยะที่ 5: ค่า GFR น้อยกว่า 15 เป็นภาวะไตวายระยะสุดท้าย

 

 

โรคไต ดูแลตัวเอง

 

 

ดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลโรคไต

การดูแลให้ไตทำงานอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นการช่วยลดและชะลอความเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้นได้ โดยหมอเฉพาะทางโรคไต มีแนวทางในการปฏิบัติตนต่าง ๆ ดังนี้

 

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาทีหรือรวม 150 นาทีต่อสัปดาห์
  2. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือรวมประมาณ 1.5-2 ลิตร
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สุก สะอาด ไม่ผ่านการแปรรูป
  4. ลดการรับประทานอาหารรสเค็ม และหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีการปนเปื้อน
  5. รับประทานยาในขนาดที่เหมาะสม ภายใต้การควบคุมดูแลของหมอเฉพาะทางโรคไต
  6. หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดข้อ สมุนไพรบางชนิด
  7. งดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่สูบบุหรี่
  8. พักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนหลับอย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
  9. ดูแลควบคุมโรคประจำตัวให้ดี อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเก๊าต์ และโรคนิ่วในไต
  10. ตรวจเช็กอัพสุขภาพประจำทุกปี