อย่าชะล่าใจเด็ดขาด หากคุณกำลังมีอาการหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

May 06 / 2024

 

 

แผลเบาหวาน

 

 

หลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อได้ยินเสียงเบส หรือเสียงกลองที่ฟังดูรัว ๆ ทำให้หัวใจเราเต้นเป็นจังหวะนั้น ๆ ตามไปด้วย จนในบางครั้งเกิดนึกสงสัยว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือเปล่า ในความเป็นจริงแล้ว หัวใจไม่สามารถเต้นเป็นจังหวะตามเสียงเพลงได้อย่างที่เรารู้สึก โดยการเต้นของหัวใจจะขึ้นอยู่กับอิริยาบถ และสภาวะอารมณ์ของเราเองในขณะนั้น ๆ ซึ่งเราสามารถตรวจเช็กการเต้นของหัวใจเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ด้วยการจับชีพจร และเมื่อใดหากพบว่าตัวเองเริ่มมีอาการใจสั่น แม้ขณะนั่งพักและอยู่ในอารมณ์ปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งนับเป็นภัยเงียบที่ควรเช็กให้ชัวร์ ก่อนจะสายเกินแก้

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คืออะไร

 

 

ทำความรู้จักกับโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ หรือเป็นความผิดปกติของการนำไฟฟ้าในหัวใจ ซึ่งในบางกรณีอาจเกิดจากความผิดปกติทั้งสองก็ได้ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหัวใจเต้นช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็วผิดปกติ (มากกว่า 100 ครั้ง/นาที) หรือในบางกรณีอาจเต้นไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ เต้นเร็วสลับช้า ซึ่งอาการของโรคมักแตกต่างไปตามสาเหตุการเกิดโรคในแต่ละบุคคล ซึ่งในบางประเภทอาจไม่เป็นอันตราย แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือโรคอื่น ๆ ตามมา และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุ

 

 

สาเหตุหลักของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สาเหตุหลักของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น ในบางครั้ง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจก็สามารถเกิดขึ้นได้เองโดยไม่มีสาเหตุ แต่โดยทั่วไป ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมักเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

การมีโรคประจำตัว

การมีโรคประจำตัว อาทิ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคนอนกรนร่วมกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดหวะ ซึ่งประกอบด้วย โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคผนังกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคความดันโลหิตสูง โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

การใช้ยาบางประเภท

การใช้ยาบางประเภท หรือ การรับประทานยาบางชนิด อาจส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เช่น ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน ยาขยายหลอดลม รวมถึงยาชนิดต่าง ๆ ที่มีฤทธิ์คลายความเครียดและความวิตกกังวล

การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน

การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนที่มากเกินไป รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การใช้ยาลดน้ำหนัก

การใช้ยาลดน้ำหนัก แม้ว่าจะเป็นการใช้ยาที่มีส่วนผสมของไซบูทรามีน (Sibutramine) ที่สามารถช่วยลดความอยากอาหารและเร่งการเผาผลาญของร่างกายได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็สามารถทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น เจ็บหน้าอก และจากการศึกษาพบว่า ยาชนิดนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และโอกาสในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือสโตรก (Stroke) ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

พันธุกรรม

พันธุกรรม เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะรวมถึงโรคหัวใจอื่น ๆ บางประเภทได้เช่นกัน

 

 

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิธีเช็ก

 

 

จะเช็กได้อย่างไร ว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ

สำหรับผู้ที่สงสัยว่า จะเช็กได้อย่างไร ว่าหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาจเริ่มต้นจากการวินิจฉัยง่าย ๆ ด้วยการจับชีพจรตนเอง และหากพบว่าชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ หรือเต้นรัวเร็ว หรือช้าจนเกินไป ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใช้วิธีการตรวจต่าง ๆ ที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography หรือ EKG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography หรือ EKG) คือ การติดขั้วไฟฟ้าบนผิวหนังเพื่อบันทึกจังหวะการเต้นและกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจ โดยสัญญาณเหล่านี้จะถูกบันทึกโดยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และสามารถพิมพ์ออกมาในรูปแบบกระดาษเพื่อให้แพทย์ประเมินได้อย่างถูกต้อง นับเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากโดยเฉพาะเมื่อตรวจในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการ

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ EST (Exercise Stress Test)

การตรวจสมรรถภาพของหัวใจ EST (Exercise Stress Test) คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะทำงานหนักด้วยการออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพาน (Treadmill) หรือการปั่นจักรยาน (Cycling) ซึ่งวิธีนี้จ ะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจพบการตอบสนองที่ผิดปกติ อาทิ อาการหายใจลำบาก อาการเจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) หรือที่เรียกกันว่า การทำเอคโค่หัวใจ (Echo) เป็นการตรวจเพื่อประเมินประสิทธิภาพของหัวใจโดยใช้ข้อมูลที่ถูกแปลเป็นภาพบนจอมอนิเตอร์ที่แสดงให้เห็นถึงรูปร่าง ขนาด และการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ซึ่งสามารถบ่งบอกถึงความผิดปกติ รวมถึงการบีบและคลายตัวของหัวใจอีกด้วย

เครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้าแบบพกพา (Event Recorder)

เครื่องบันทึกสัญญาณไฟฟ้าแบบพกพา (Event Recorder) มีลักษณะคล้ายโทรศัพท์มือถือ ผู้ป่วยสามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ โดยที่เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการ ก็สามารถนำมาทาบที่หน้าอกเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ข้อมูลที่ตรวจพบจะถูกส่งไปยังโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยละเอียด นับเป็นวิธีที่เหมาะกับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อยครั้ง

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่อง (Holter Monitor)

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor) เป็นวิธีการตรวจที่ใช้บ่อยสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่น หรือเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยติดเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงนี้หรือนานกว่านั้นไว้กับตัวเพื่อบันทึกการเต้นของหัวใจและตรวจหาจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ โดยที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติ

เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable Loop Recorder)

เครื่องบันทึกการเต้นของหัวใจชนิดฝังใต้ผิวหนัง (Implantable Loop Recorder เป็นวิธีการฝังเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบต่อเนื่องไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้ายของผู้ป่วย เพื่อใช้บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจทั้งในภาวะหัวใจเต้นปกติและเต้นผิดจังหวะ โดยเครื่องดังกล่าวนี้สามารถบันทึกข้อมูลได้นาน 2-3 ปี ทำให้สามารถติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ตลอดเวลา เหมาะกับผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะไม่บ่อย

การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study หรือ EP Study)

การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology Study หรือ EP Study) ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติด้วยวิธีอื่น ๆ แพทย์จะทำการตรวจการทำงานของระบบไฟฟ้าหัวใจด้วยการกระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดปกติขึ้น เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุที่แท้จริงของอาการ

แพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

แพ็กเกจคัดกรองโรคหัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง ได้แก่

 

 

Healthy Heart package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 5,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 5,990

 

 

Healthy Heart Plus package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 6,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 6,990

 

 

Advanced Intensive Heart package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 9,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 9,990

 

 

Advanced Intensive Heart Plus package

 

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 14,990

โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive Heart Plus package (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 14,990