โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Nucleoplasty) รักษาได้แม้ไม่ผ่าตัด

November 26 / 2024

 

 

 

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Nucleoplasty)

 

 

 

 

 

เข้าใจสิ่งที่เรียกว่า 'หมอนรองกระดูกสันหลัง'

     กระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกจำนวน 24 ข้อ จะมีเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกและยืดหยุ่นเวลาเคลื่อนไหวตามข้อจำกัดของรูปแบบของข้อกระดูกสันหลัง เรียกว่า “หมอนรองกระดูกสันหลัง”

 

ลักษณะของหมอนรองกระดูกสันหลัง

     ลักษณะรูปร่างหมอนรองกระดูกสันหลังเป็นวงกลมๆ และมีขอบเป็นพังผืดเหนียวแข็งแรง ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยประสานกันเหมือนกับเส้นใยเหล็กหรือผ้าใบคล้ายยางรถ ส่วนภายในจะมีของเหลวคล้ายกับเจลลี่ซึ่งเป็นสารถ่ายน้ำหนักเสมือนเป็นลมยางกันกระแทก เมื่อรับน้ำหนักบรรทุกก็จะเป็นตัวรับและกระจายน้ำหนักในแนวนอนราบ

 

 

 

 

 

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

     โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Nucleoplasty) จึงเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เนื่องจากต้องรับน้ำหนักส่วนเกิน อุบัติเหตุหรือใช้ังานผิดปรกติจนเกิดการฉีกขาดพังผืดเส้นใยขอบนอก ดังนั้นหากเห็นว่าร่างกายรับน้ำหนักได้ไม่สมบูรณ์ก็ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน

 

 

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

 

อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

     อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังขึ้นอยู่กับสภาพความรุนแรง เช่น การฉีกขาดของเส้นใยหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวด ทำให้สารเหลวคล้ายเจลลี่เคลื่อนตัวออกสู่ภายนอกและกดทับเส้นประสาทจนรู้สึกปวดร้าวตามเส้นประสาทนั้น ๆ โดยทั่วไปมักพบอาการปวดร้าวตามหลังและลามถึงน่องหรือหลังเท้า

 

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท   โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

 

วิธีรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

     การรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดร่วมกับการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อประคองอาการ เช่น เลี่ยงยกของหนักหรือก้มเก็บของ งดนั่งนาน ทำกายภาพบำบัด ใช้ยาตามแพทย์แนะนำ ใช้อุปกรณ์พยุงหลัง

 

นวัตกรรมรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแบบไม่ต้องผ่าตัด

     นวัตกรรมรักษาด้วย Nucleoplasty (Coblation) คือการใช้คลื่นความถี่วิทยุ (RF: Radiofrequency) ส่งความร้อนประมาณ 40-70 องศาเซลเซียสผ่านหัวเข้มขนาดเท่าเข็มฉีดยาเบอร์ 17 เพื่อสลายหมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนกดทับเส้นประสาท มีข้อดีที่ใช้เวลารวดเร็วราว 20-30 นาที ไม่ทำลายหรืออันตรายต่อเนื้อเยื่อที่ใกล้เคียง ไม่ต้องนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลและฟื้นตัวเร็วโดยเห็นผลการเปลี่ยนแปลงได้ใน 3 สัปดาห์ เนื่องจากให้ผลดีในการรักษามากถึง 80 เปอร์เซ็นต์

 

อ่านเพิ่มเติม: Global Spine Congress 2024 รวมพลแพทย์กระดูกสันหลังระดับโลก

 

 


วิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยเทคโนโลยี Nucleoplasty ได้ผ่านการรองรับโดยองค์การอาหารและยาจากสหรัฐอเมริกา


 

 

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

 

การดูแลตัวเองจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การนั่งและการยืน

  • ระหว่างนั่งหัวเข่าควรอยู่สูงกว่าข้อสะโพก โดยมีที่วางเท้าไม่ควรนั่งเหยียดเท้าตรงหรืออยู่ในท่าเดียวเป็นเวลานาน ขณะลุกจากนั่ง ควรหลังตรงใช้มือช่วยในการยันตัวลุกขึ้น
  • ขณะยืนนาน ๆ ควรมีที่รองเท้าข้างหนึ่งให้ข้อเข่างอ ลดความโค้งกระดูกสันหลัง

 

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

   

การยกของ

  • ไม่ยกของหนักเกิน 10 ปอนด์ ขณะยังมีอาการปวดหลัง  แม้อาการปวดจะหายแล้วก็ยังไม่ควรยกของหนักเกิน 20 ปอนด์ จนกว่าจะผ่าน 6 เดือน
  • หลังจากนั้นไม่ควรก้มหลังยกของจากพื้น ควรใช้วิธีย่อเข่ายก ไม่ควรยกของหิ้วของที่มีน้ำหนัก 10 ปอนด์ ห่างจากลำตัวเกินกว่า 2 ฟุต ไม่ยกของเหนือระดับไหล่ นอนที่นอนไม่อ่อนนุ่มหรือแข็งเกินไป

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท   โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท   โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

 

การใช้ท่านอน

ขณะนอนตะแคงให้กอดก่ายหมอนข้างเพื่อไม่ให้ลำตัวบิด หากนอนหงายให้มีหมอนรองใต้ข้อเข่าให้งอเล็กน้อย

 

 

 

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท        โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท