s เบาหวาน VS สุขภาพฟัน หมายถึงอะไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

เบาหวาน VS สุขภาพฟัน หมายถึงอะไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

December 14 / 2023

เบาหวาน อันตราย

เป็นภัยต่อหลอดเลือดหัวใจ

 

 

 

8 ใน 10 คนของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 (เบาหวานชนิดที่ 2 คือ ชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน (NIDDM) มักเกิดภาวะโรคหัวใจแทรกซ้อน...

 

 

โรคเลือดหัวใจตีบตันเป็นโรคที่รู้จักกันดี และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับแรกๆของประเทศไทย อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่า โรคนี้มีสาเหตุหรือความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ความอ้วน กรรมพันธุ์ อายุที่มากขึ้น รวมถึงการขาดการออกกำลังกาย

 

 

ทำไม.. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ?

 

จากการวิจัย พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน

  • มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขณะที่มีอายุน้อยกว่าคนทั่วไปและมีความรุนแรงมากกว่าคนทั่วไป
  • เมื่อเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจแล้ว อาการจะรุนแรงและการพยากรณ์โรคเลวร้ายกว่าคนทั่วไป
  • มีโอกาสเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าคนทั่วไป 2-4 เท่า
  • มีโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1
  • มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยหญิงมากกว่าชาย

การป้องกัน ยับยั้ง หรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรค การดูแลตนเองอย่างถูกต้อง รวมถึงการได้รับการดูแลรักษาที่ดีและสม่ำเสมอ จะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดำเนินชีวิตได้ไกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด

 

 

ทำไม.. ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่าหรือรุนแรงกว่าคนที่เป็นโรคอื่น?

 

มีการศึกษาทางการแพทย์ยืนยันว่า ระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มขึ้น (ไม่ว่าจะเกินค่าปกติเล็กน้อยหรืออยู่ในเกณฑ์เบาหวาน) มีความสัมพันธ์ที่จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้น และมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นส่งผลทำให้หลอดเลือดมีโครงสร้างและหน้าที่ที่ผิดปกติไป หลอดเลือดต่างๆ ทีไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดอักเสบ มีโอกาสตีบตันหรือแตกออกเป็นลิ่มอุดตันอย่างเฉียบพลันได้ นี่จึงเป็นสาเหตุผลว่าทำไมผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงเป็นโรคหัวใจได้มากกว่า เร็วกว่าหรือรุนแรงกว่าคนทั่วไป

 

    

 

 

อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวานแตกต่างจากผู้ป่วยอื่นๆ อย่างไร?

 

อาการเจ็บหน้าอกของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมักไม่ชัดเจนหรือไม่มี เนื่องจากมักมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพร่วมด้วย ทำให้วินิจฉัยโรคได้ยากกว่าปกติ อาการอื่นที่ทำให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคหัวใจ ได้แก่

  • อาการแน่น อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก หน้าอกข้างซ้ายหรือลิ้นปี่ คล้ายอาการจุกเสียดอาหารไม่ย่อย
  • อาการปวดร้าวท้องแขนด้านใน
  • หน้ามืด วิงเวียน
  • เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น
  • จะเป็นลม หรือหมดสติ

 

 

การป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจจากโรคเบาหวาน

 

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ และการแก้ใขภาวะผิดปกติที่พบร่วมกับเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ความอ้วนและอื่นๆ อาจทำได้โดย

  • ควบคุมปริมาณและชนิดของอาหารในแต่ละวัน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (ครั้งละ 20-30 นาที)
  • ลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักให้เป็นปกติ และงดสูบบุหรี่
  • ตรวจรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอในรายที่ต้องใช้ยารักษาระดับน้ำตาล ยาลดความดัน ยาลดระดับไขมัน และยารักษาโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจ

 

 

การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเครื่อง ABI

 

  • เป็นการตรวจเช็คการอุดตันของหลอดเลือดแดง และความยืดหยุ่นของหลอดเลือด
  • เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้และรู้จักกันเป็นอย่างดี ในวงการแพทย์ คือ ABI และ PWV (Pulse Wave Velocity) ตรวจเช็คพร้อมกันทุกจุดของร่างกาย และ Toe-Brachaial Index หรือ TBI ซึ่งสามารถบอกได้คราวๆ ว่า ผู้ป่วยมีภาวะนี้ซ่อนอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการไม่แน่ชัด หรือไม่มีอาการ
  • เพื่อค้นหาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตัน ซึ่งมักพบบ่อยร่วมกับภาวะหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดสมองตีบ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นเบาหวาน สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีอาการปวดขา
  • สามารถนำไปสู่การค้นหาโรคอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจหรือหลอดเลือดสมองตีบได้

 

 

 

 

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเครื่อง CT Scan

 

การตรวจด้วยเครื่อง CT Scan เป็นทางเลือก หนึ่งที่จะช่วยให้ทราบถึงพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะมีอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ซึ่งการตรวจหลอดเลือดด้วยวิธีนี้ จะครอบคุลมบริเวณที่ตรวจได้มากขึ้น ใช้เวลาตรวจน้อย ให้รายละเอียดของภาพที่ชัดเจน และยังสามารถวัดปริมาณแคลเซี่ยมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ (ค่า Calcium Score) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้และยังให้ผลแม่นยำเทียบเท่ากับการสวนหัวใจ นอกจากนั้นเมื่อตรวจเสร็จผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้เลย ไม่เจ็บตัวเหมือนถูกใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจ และค่าใช้จ่ายไม่สูงเท่ากับการสวนหัวใจ

การตรวจด้วยซีที Scan กรณีตรวจแล้วได้ผลตรวจปกติแสดงว่าหัวใจอยู่ในสภาพดี 97-100% ซึ่งแทบไม่ต้องใช้การตรวจด้วยวิธีพิเศษอื่นๆ เลย แต่ในกรณีที่ผลตรวจผิดปกติ การตรวจหัวใจด้วยวิธีพิเศษอื่นๆ เช่น การเดินสายพาน การตรวจเอ็กโค่หัวใจร่วมด้วย จะช่วยให้แปลผลตรวจได้แม่นยำขึ้น

เมื่อดูแลตัวเองอย่างจริงจัง มีกำลังใจที่เข้มแข็งและการหมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกายอยู่เป็นประจำทุกปี ก็จะสามารถป้องกัน หรือชะลอโรคแทรกซ้อนหลอดเลือดหัวใจจากเบาหวานได้

 

 

 

การรักษาโรคแทรกซ้อนทางหัวใจจากเบาหวาน เช่น การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ การใส่สายสวนขยายหลอดเลือดหัวใจ ถ้าปล่อยให้โรคเบาหวานเป็นมาก อาจทำให้ทุพพลภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ สูญเสียคุณภาพชีวิต