ไตเป็นง่ายกว่าที่คิด ปรึกษาหมอเฉพาะทางโรคไต รู้ทันป้องกันได้

March 29 / 2024

 

 

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

 

รู้หรือไม่ว่า คนไทยเป็นโรคไตวายกันมากขึ้น โดยปัจจัยเสี่ยงที่มักทำให้เกิดโรคมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบ ทำให้คนส่วนใหญ่ ไม่มีเวลาปรุงอาหารที่ถูกสุขอนามัย และต้องพึ่งพิงอาหารสำเร็จรูป โดยระยะแรกมักไม่มีอาการ, ไม่มาตรวจ, เช็กอัพก็ไม่รู้ จนเมื่อโรคดำเนินไปมาก มีอาการปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเป็นเลือด ความดันโลหิตสูง และมีภาวะหัวใจวาย จึงมาตรวจพบว่าเป็นโรคไตในระยะที่รุนแรงแล้ว ดังนั้นจึงอยากจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของโรคไต ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับโรคไต วิธีรักษา วิธีป้องกัน พร้อมช่องทางปรึกษาหมอเฉพาะทางโรคไต เพื่อให้รู้เท่าทันและป้องกันได้ทันเวลา

 

 

โรคไต สาเหตุ

 

 

สาเหตุเริ่มแรกของโรคไต

สาเหตุเริ่มแรกของโรคไต หลายคนมีความเข้าใจผิดว่าการเลี่ยงทานเค็มเท่ากับเลี่ยงความเสี่ยงโรคไต แต่แท้จริงแล้ว มีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นสาเหตุของโรคไต โดยหมอเฉพาะทางโรคไต ได้รวบรวมไว้ ได้แก่

พันธุกรรม

พันธุกรรมซึ่งอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือค่อย ๆ แสดงอาการของโรคภายหลังก็ได้

โรคสืบเนื่องจากการเป็นโรคอื่น ๆ

โรคสืบเนื่องจากการเป็นโรคอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคที่มีผลกระทบต่อไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคนิ่ว โรคเบาหวาน เป็นต้น

พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม

พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม การทานอาหารรสจัด ที่ไม่ได้จำกัดแค่อาหารรสเค็ม แต่รวมถึง อาหารหมักดอง อาหารหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน

การดื่มน้ำน้อย

การดื่มน้ำน้อย ไตต้องใช้น้ำในกระบวนการฟอกของเสียในร่างกายกลายเป็นปัสสาวะ เมื่อดื่มน้ำน้อย ไตก็ไม่สามารถกรองของเสียได้อย่างเต็มที่ ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้น

การไม่ออกกำลังกาย

การไม่ออกกำลังกายเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคอ้วน โรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้มักส่งผลให้ไตทำงานหนักกว่าปกติ

ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับโรคไต

ความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนกับโรคไต ‘โรคอ้วน’ หมอเฉพาะทางโรคไตลงความเห็นว่า เป็นภัยเงียบที่บั่นทอนสุขภาพของคนไทยมาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนอกจากโรคอ้วนจะส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แล้ว โรคอ้วนกับโรคไตยังมีความสัมพันธ์กันทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

  • ผลกระทบทางตรง

ไตของร่างกายของผู้ที่มีน้ำหนักเกินจะมีอัตราการกรองของเสียสูงกว่าคนปกติ และร่างกายยังต้องเพิ่มการไหลเวียนของเลือดภายในไตเพื่อชดเชยระบบเมตาโบลิสม สภาวะดังกล่าวทำให้ไตมีขนาดใหญ่ขึ้น แรงดันภายในไตเพิ่มมากขึ้น เกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อไต การทำงานของไตจึงมีประสิทธิภาพลดลง

  • ผลกระทบทางอ้อม

โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการเกิดโรคเบาหวาน ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ภาวะความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งโรคเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ซึ่งนำไปสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

 

 

โรคไต รักษา

 

 

รักษาไตวิธีไหน ปลอดภัยที่สุด

รักษาไตวิธีไหน ดีที่สุด ต้องบอกว่าปัจจุบัน การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) ถือเป็นแนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคไตที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เสมือนได้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง โดยผู้ป่วยโรคไตที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ อาจได้รับไตบริจาคจากผู้บริจาคที่เสียชีวิต หรือได้รับจากญาติที่มีชีวิตอยู่และสุขภาพแข็งแรงดี และที่สำคัญ ไม่ว่าทางไหน ต้องมีผลเนื้อเยื่อที่เข้ากันได้กับผู้ป่วย หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตสำเร็จแล้ว ผู้ป่วยต้องเข้ารับการติดตามผลการรักษาและดูแลกับหมอเฉพาะทางโรคไตอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการต้านเนื้อเยื่อไตใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ส่วนคนไข้ที่มีอายุมากและมีโรคร่วมร้ายแรง ไม่เหมาะกับการปลูกถ่ายได้ รักษาโดยการบำบัดทดแทนไต เช่น การฟอกเลือด

เคล็ดลับป้องกันการเกิดโรคไต

 

  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคไตกับหมอเฉพาะทางโรคไตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
  • รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และหลีกเลี่ยงอาหารรสชาติเค็มจัด หวานจัด และเผ็ดจัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้ปวดข้อ, สมุนไพร

 

หมอเฉพาะทางโรคไต โรงพยาบาลรามคำแหง

คลินิกอายุรกรรมโรคไต หมอเฉพาะทางโรคไต โรงพยาบาลรามคำแหง พร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัย และดูแลให้คำปรึกษาผู้ที่มีความเสี่ยง และรักษาผู้ป่วยโรคไตทุกชนิด ทั้งแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง โดยมุ่งเน้นการป้องกันและชะลอการเสื่อมของไต เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นสำคัญ