โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ้นหัวใจรั่วที่ศูนย์หัวใจรักษาอย่างไร

July 06 / 2024

 

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

เมื่อพูดถึงความผิดปกติของหัวใจ หลายคนคงเกิดคำถามว่า จริงๆ แล้ว เป็นโรคร้ายแค่ไหน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ต้องผ่าตัดวิธีใด และจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลไหม ซึ่งในปัจจุบัน ด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน ทำให้การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือลิ้นหัวใจรั่ว เป็นไปได้ง่าย และปลอดภัยกว่าในอดีตมาก ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มีความพร้อมดูแลรักษาหัวใจทุกดวง ตั้งแต่การป้องกัน ตลอดจนการแก้ไขความผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัด ทำให้มั่นใจได้ว่า ภาวะเหล่านี้รักษาให้หายได้ รู้สึกอุ่นใจ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติอีกครั้ง

‘จี้ไฟฟ้าหัวใจ’ รักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ด้วยคลื่นวิทยุ

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของแพทย์ทำให้การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีความก้าวหน้ามากกว่าที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะในกรณีที่หัวใจยังทำงานเป็นปกติ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ บางโรคมีโอกาสรักษาให้หายสูงถึง 90-95% ด้วยการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Radiofrequency Catheter Ablation, RFCA) ซึ่งถือเป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด เจ็บตัวน้อย และมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ

 

การรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะทำการสวนสายสวนหัวใจจากบริเวณขาหนีบ ให้ตรงกับตำแหน่งของวงจรไฟฟ้าหัวใจที่เกิดความผิดปกติ และส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปยังตำแหน่งนั้นๆ โดยคลื่นดังกล่าวจะทำให้เกิดความร้อนต่ำๆ ขึ้นที่ส่วนปลายของสายสวนหัวใจเพื่อจี้รักษา แม้ในผู้ป่วยที่พบความผิดปกติหลายตำแหน่ง อาจต้องทำซ้ำ 2-3 ครั้ง แต่โดยรวม ถือว่าเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง และให้ผลดี ทำให้ผู้ที่เข้ารับการรักษาเจ็บตัวน้อย มีโอกาสหายขาดสูง คุ้มค่า และไม่ต้องทานยาไปตลอดชีวิต

 

 

วิธีป้องกันโรคลิ้นหัวใจ

 

 

วิธีการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่วในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

วิธีการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่วในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ในกรณีที่ไม่ได้มีความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด โรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้เช่นเดียวกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

 

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมสูง รวมถึงเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทต่าง ๆ
  • งดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
  • รักษาสุขอนามัยช่องปาก
  • ควบคุมความเสี่ยงที่เกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และภาวะคอเลสเตอรอลสูง เป็นต้น

 

หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยง ก็ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายหรือไม่ รวมถึงเข้ารับการตรวจเช็กร่างกายและสุขภาพหัวใจทุกปี ในกรณีที่พบว่ามีอาการแน่นหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติ ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อป้องกันความรุนแรงตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม

 

ออกกำลังกายอย่างไร หากมีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือลิ้นหัวใจรั่ว

การออกกำลังกายนับว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะนอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างดีอีกด้วย แต่ถึงแม้การออกกำลังกายจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มสมรรถภาพโดยรวมของหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ก็ยังมีความจำเป็นที่จะเลือกประเภทกีฬาที่เหมาะสม โดยรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ อาทิ แอโรบิค เดิน วิ่ง ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้หัวใจสามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้นนั่นเอง

 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กำหนดระยะเวลาครั้งละประมาณ 30 นาทีต่อวัน จำนวน 3-5 วันต่อสัปดาห์ แต่ควรระมัดระวังไม่ออกกำลังกายอย่างหักโหมจนเกินไป โดยเฉพาะในช่วงแรกที่เริ่มออกกำลังกาย ถ้าเป็นไปได้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจเพื่อหาขอบเขตและโปรแกรมออกกำลังกายที่ปลอดภัย ควรซ้อมเบา ๆ ไม่รีบร้อน รวมถึงหยุดพักเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือเริ่มมีอาการแน่นหน้าอก และควรรีบหยุดออกกำลังกายทันที หากมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะ หน้ามืด และควรนั่งพักในที่ที่มีอากาศถ่ายเท โดยสามารถอมยาใต้ลิ้นตามข้อบ่งใช้ และหากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

 

 


TAVI รักษาลิ้นหัวใจ

 

 

TAVI เทคนิครักษาลิ้นหัวใจ ไม่ต้องผ่าตัด

 

ในปัจจุบันการเปลี่ยนลิ้นหัวใจผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือ ‘TAVI’ (Transcatheter Aortic Valve Implantation) เป็นอีกหนึ่งวิธีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเดิมที่เสื่อมสภาพ ด้วยการใช้สายสวนผ่านบริเวณหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ โดยเมื่อสายสวนเข้าถึงบริเวณลิ้นหัวใจที่ตีบ แพทย์จะทำการปล่อยลิ้นหัวใจเทียมที่ม้วนพับอยู่ให้กางออก กลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่แทนของเดิมที่ใช้การไม่ได้ โดยวิธีนี้ นอกจากจะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้อย่างดีแล้ว อุปกรณ์การรักษายังมีขนาดกะทัดรัด ช่วยให้แผลมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว ลดระยะเวลาในการพักฟื้นในโรงพยาบาล และได้ผลดีเหมือนการผ่าตัดหัวใจแบบมาตรฐาน ที่ทางศูนย์หัวใจอยากแนะนำ

แพ็กเกจตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

แพ็กเกจตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจ ที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มีรายละเอียดแต่ละแพ็กเกจดังนี้

 

  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy heart package (ชาย-หญิง) ราคา 5,990 บาท
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Healthy heart plus package (ชาย-หญิง) ราคา 6,990 บาท
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive heart package (ชาย-หญิง) ราคา 9,990 บาท
  • โปรแกรมตรวจสุขภาพโรคหัวใจ Advanced Intensive heart plus (ชาย-หญิง) ราคา 14,990 บาท