ฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอด

February 27 / 2024

 

ฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอด

 

 

 

 

มะเร็งปอด ถือว่าเป็นมะเร็งที่ติด Top 5 มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นสถิติของโลกหรือประเทศไทย โดยสาเหตุหลักๆ มาจากการสูบบุหรี่ นอกจากนี้การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 รวมถึงผู้ที่ชอบออกกำลังกายกลางแจ้ง ก็เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปอดได้เช่นกัน

 

 

** จากการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM 2.5 เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1-1.4 เท่า **

 

 

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดมักไม่จำเพาะเจาะจง บางคนอาจไม่มีอาการ แต่เมื่อโรคลุกลามหรือมีการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะต่างๆ อาจพบอาการ

 

  • ไอเรื้อรัง (ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ)
  • ไอมีเลือดปน
  • เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • เจ็บบริเวณหน้าอก
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เช่น ปอดบวม
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

 

 

 

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเกิดจากโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับปอด แต่ไม่ใช่โรคมะเร็งปอดก็ได้ ดังนั้นใครที่มีอาการดังกล่าวหรือผู้ที่มีความเสี่ยง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และรับการรักษาที่เหมาะสม โรคมะเร็งปอดหากตรวจพบเร็วและรีบรักษา โอกาสหายก็จะมีมากขึ้น ดังนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพปอดเป็นประจำ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการโดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง

 

ปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดมีวิธีที่สะดวก แม่นยำ และปลอดภัย นั่นคือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (LOW-DOSE CT-SCAN) เป็นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกด้วยปริมาณรังสีต่ำให้ภาพ 3 มิติที่มีรายละเอียดสูง สามารถตรวจพบจุดเล็กๆ หรือก้อนในปอด สามารถค้นหามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นได้ เป็นการตรวจที่ง่าย ใช้เวลาไม่นาน

 

 

 

แก้ไข

27/02/2567