ทำแบบไหนเสี่ยงเป็นไซนัสอักเสบ ผ่าตัดไซนัสเรื้อรังที่ไหนดี

February 12 / 2024

ผ่าตัดไซนัส

 

 

‘ไซนัสอักเสบ’ หมายถึง การอักเสบและการติดเชื้อของเยื่อบุโพรงจมูกและไซนัส ซึ่งโดยปกติ มักเกิดตามหลังอาการไข้หวัด โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นหวัด แล้วพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว โดยเฉพาะภูมิแพ้อากาศ หรือโรคหอบหืด ทำให้เกิดอาการคัดจมูก น้ำมูกข้นเหนียวเป็นสีเหลืองหรือเขียว ปวดศีรษะ และมีเสมหะข้นไหลลงคอ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบ และมีอาการปวดแน่นบริเวณศีรษะและใบหน้าร่วมด้วย และหากเป็นหนักมากจริง ๆ อาจจะต้องถึงขั้นผ่าตัดไซนัส แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อแนวทางการรักษาที่ตอบโจทย์มากที่สุด

 

 

ปวดไซนัส

 

 

เมื่อไหร่ที่ต้องผ่าตัดไซนัส

การดูแลรักษาโรคไซนัสอักเสบเบื้องต้น อาจทำได้ด้วยการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะประมาณ 5-10 วัน หรือการรักษาด้วยสเตียรอยด์พ่นจมูก แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือในกรณีของโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยยังเป็นๆ หายๆ แพทย์อาจพิจารณาให้รักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบัน มักจะใช้กล้องผ่านทางจมูก ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยสูง และสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมาก ทั้งนี้ อาจแบ่งผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบที่แพทย์แนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดออกเป็น 2 กรณีคือ

กรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัด

กรณีที่จำเป็นต้องผ่าตัด ได้แก่ กรณีเกิดการอักเสบติดเชื้อลามเข้าไปในดวงตา หรือการอักเสบติดเชื้อลามเข้าไปในสมอง รวมถึงในกรณีหากแพทย์สงสัยว่าเป็นเนื้องอก หรือไซนัสอักเสบจากเชื้อรา

กรณีที่ควรจะผ่าตัด

กรณีที่ควรจะผ่าตัด มักจะเป็นในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือแบบเฉียบพลันที่เป็นๆ หายๆ หรือมีริดสีดวงจมูกที่รักษาด้วยยาประมาณ 1-3 เดือนแล้วไม่ได้ผล การรักษาด้วยการผ่าตัดอาจถือเป็นทางเลือก และได้ประโยชน์มากกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

 

หากต้องการอยากจะรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องผ่าตัด ต้องบอกก่อนว่าการผ่าตัดจะมีภาวะเสี่ยง และผลข้างเคียงจากการผ่าตัดไซนัส เนื่องจากโพรงจมูกและไซนัส อยู่ชิดติดกับอวัยวะสำคัญหลายอย่าง ได้แก่ ลูกตา สมอง เส้นประสาทตา และเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง ทำให้การผ่าตัดมีความเสี่ยงที่จะไปกระทบกระเทือน หรือเกิดอันตรายแก่อวัยวะเหล่านี้ได้ เช่น

 

 

  • มีเลือดออกในหรือรอบดวงตา ซึ่งอาจทำให้การมองเห็นลดลงชั่วคราว
  • ท่อน้ำตาอุดตัน ซึ่งอาจเกิดจากการกระทบกระเทือน จนทำให้ไม่สามารถช่วยระบายน้ำตาลงสู่โพรงจมูกได้ได้ตามปกติ ทำให้น้ำตาไหลจากตาตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่แล้ว อาการมักค่อย ๆ ดีขึ้นหลังจากการผ่าตัดไซนัสภายใน 1 สัปดาห์
  • ภาวะน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูก ซึ่งเกิดจากการกระทบเทือน หรือการบาดเจ็บบริเวณเพดานจมูก

 

อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ถือว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก และในปัจจุบัน มีเครื่องมือผ่าตัดไซนัสที่เรียกว่าเครื่องนำวิถีในการผ่าตัด (Navigator) ซึ่งทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดได้อย่างดียิ่งขึ้น

 

กล้องเอ็นโดสโคป

 

การรักษาไซนัสอักเสบด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคป

ในปัจจุบัน การผ่าตัดไซนัสผ่านกล้อง หรือที่เรียกว่า Functional Endoscopic Sinus Surgery: FESS และการผ่าตัดไซนัสผ่านกล้องแบบเปิดหมดเหลือแต่ช่อง (Full House ESS) ถือเป็นวิธีดีที่สุด ในกรณีเป็นหนองทุกไซนัส ริดสีดวงหรือเนื้องอกถือเป็นวิธีการผ่าตัดที่ปลอดภัย และทำให้การรักษาไซนัสทำได้ทั่วถึงมากกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยวิธีการนี้ แพทย์จะทำการผ่าตัดโพรงไซนัสให้เปิดกว้าง ร่วมกับการใช้กล้องเอ็นโดสโคปเป็นวิถีนำทาง ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพบริเวณที่ทำการผ่าตัดได้อย่างชัดเจน ทำให้สามารถดูดเอามูกเหนียวและหนองที่ขังอยู่ภายในออกมาได้หมด ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศในไซนัส และยังสามารถสามารถพ่นยารักษาได้อย่างทั่วถึง ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างตรงจุด ลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เลือดออกน้อย ไม่เจ็บมาก และผู้ป่วยฟื้นตัวได้รวดเร็วโดยไม่มีแผลผ่าตัดไซนัสภายนอก

ทำไมจึงควรผ่าตัดไซนัสที่โรงพยาบาลรามคำแหง

ทีมแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลรามคำแหง มีความพร้อมในการบริการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรคไซนัสอักเสบเรื้อรัง ควบคู่กับการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและได้รับมาตรฐาน ดูแลรักษาผู้ป่วยไซนัสอักเสบด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องแบบไร้แผลภายนอก โดยเรามุ่งเน้นที่คุณภาพ ยึดมั่นในความปลอดภัย ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติหลังการผ่าตัดไซนัส