เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
ในภาวะปกติ หัวใจของคนเราสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง โดยเมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้า ก็จะเกิดการหดตัว เกิดเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจ มีอัตราประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อใดที่เกิดความผิดปกติในการปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา ก็จะส่งผลทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ‘หัวใจเต้นผิดจังหวะ’
ดังนั้น หากมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย ใจสั่น เจ็บหน้าอก ควรหมั่นสังเกตตนเองและห้ามมองข้าม เพราะอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ ‘โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ’ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงอาทิ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรือมีความเครียดสะสมเป็นประจำ ก็อาจยิ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว หรือหลอดเลือดสมองอุดตันมากยิ่งขึ้น
สารบัญ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหัวใจ ทำให้การเต้นของหัวใจช้า (น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที) หรือเร็ว (มากกว่า 100 ครั้ง/นาที) กว่าปกติ หรือไม่สม่ำเสมอ และไม่สัมพันธ์กับสภาวะร่างกายในขณะนั้น ส่งผลให้การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ โดยบางรายอาจมีอาการหัวใจเต้นพลิ้ว หรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นเร็วและรัวผิดปกติ ซึ่ งเหล่านี้เป็นภาวะเสี่ยงโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ประวัติสุขภาพ รวมถึงปัจจัยแวดล้อมภายนอกต่าง ๆ โดยอาจแบ่งสาเหตุออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
สาเหตุที่เกิดจากหัวใจโดยตรง คือ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบไฟฟ้าหัวใจเอง หรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ
สาเหตุที่เกิดจากปัจจัยอื่น ๆ คือ ความผิดปกติที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือการมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ของผู้ป่วยที่ส่งผลทำให้เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะต่อมไทยรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป โรคเบาหวาน โรคนอนกรน การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ บางคนอาจไม่ทราบว่าตนเองกำลังมีปัญหา และมักพบภาวะนี้จากการตรวจสุขภาพ หรือเมื่อป่วยด้วยโรคอื่นแล้วมาพบแพทย์ โดยผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจมีอาการแตกต่างกันตามประเภท ความรุนแรง หรือความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ โดยมักมีอาการปรากฏให้สังเกตได้ ดังนี้
ในกรณีที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกหัวใจเต้นสะดุด ใจหาย เหนื่อย อาจมีอาการสะอึกหรือไอตามการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ในกรณีที่หัวใจเต้นช้าผิดปกติ น้อยกว่า 60 ครั้ง/นาที ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ร่างกายจะได้รับเลือดไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลร่างกายอ่อนเพลีย มีอาการเหนื่อยง่ายและมึนศีรษะ หรือถ้าเต้นช้าขั้นรุนแรงก็อาจทำให้หน้ามืด เป็นลมหมดสติ หรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นได้
ในกรณีที่หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ มากกว่า 100 ครั้ง/นาที ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วและแรง หายใจไม่ทัน และเหนื่อยง่าย ในผู้ป่วยสูงอายุ อาจเกิดความดันโลหิตต่ำ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว ทำให้หมดสติ และอันตรายจนเสียชีวิตได้
อันตรายของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะขึ้นอยู่กับชนิดและระดับความรุนแรง รวมถึงโรคร่วมและปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ ทำให้มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตแบบกะทันหัน หัวใจล้มเหลว หน้ามืด หมดสติ หรือเกิดลิ่มเลือดไปอุดสมองได้
การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์จะเลือกรูปแบบการรักษาโดยพิจารณาตามสาเหตุ อาการ ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรค เนื่องจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิดที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยอาจไม่ต้องเข้ารับการรักษา แต่ในบางชนิดที่ต้องทำการรักษา จะมีแนวทางในการรักษาดังต่อไปนี้
ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง การใช้ยาจะช่วยให้สามารถควบคุมหัวใจของผู้ป่วยให้เต้นตามปกติ การใช้ยาจะได้ผลดีกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด ช่วยลดความรุนแรงของโรคและความถี่ของการเกิดภาวะนี้ แต่ไม่สามารถช่วยให้หายขาดได้
การฝังอุปกรณ์ ฝังเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์มีจุดประสงค์เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้าใกล้หน้าอก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
สำหรับผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่าปกติ โดยผู้ป่วยประเภทนี้มักเสี่ยงต่อการหมดสติ หรือรู้สึกเหนื่อยง่าย
เครื่องกระตุกหัวใจเป็นเครื่องมือสำหรับควบคุมให้อัตราการเต้นของหัวใจเป็นปกติเมื่อหัวใจเต้นช้า เครื่องมือจะทำหน้าที่ในการกระตุ้นหัวใจ ในขณะที่เมื่อหัวใจเต้นเร็ว เครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในอัตราปกติ เครื่องมือนี้ยังจำเป็นสำหรับในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การใช้สายสวน แพทย์จะทำการสอดสายสวนเข้าไปยังจุดที่คาดว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ แล้วปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูงเข้าไปเพื่อทำลายเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวเป็นจุดเล็ก ๆ ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้น้อย รวมถึงยังเป็นวิธีการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะให้หายขาดโดยไม่ต้องใช้ยาอีกด้วย
อาหารจำพวกเบเกอรี เช่น เค้ก คุกกี้ พาย โดนัท พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ หรือ อาหาร (Fast Food) ล้วนเป็นอาหารที่มีไขมัน และคอเลสเตอรอลสูง ทำอันตรายกับหัวใจโดยตรง
อาหารเนื้อสัตว์ปรุงกึ่งสำเร็จรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม กุนเชียง หมูยอ หากยิ่งทานบ่อยๆหรือ ทอดกับน้ำมัน อาจจะทำให้เส้นเลือดอุดตันได้ง่าย
อาหารจานเดียว เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ ข้าวหน้าเนื้อหรือหมูที่แทรกไขมันมากรวมถึง หนังสัตว์ เครื่องในสัตว์
อาหารหมักดองหรือปรุงแต่งให้เค็ม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ผักดอง กุ้งแห้ง กะปิ ไข่เค็ม ไชโป้วเค็ม เพราะมีส่วนผสมของโซเดียมสูง (Sodium) และมีส่วนประกอบของผงชูรส ผงปรุงรสต่างๆ หรือซอส เพื่อใช้ในการถนอมอาหาร ความเค็มจะยิ่งมีมาก เพื่อให้สามารถเก็บอาหารได้นานยิ่งขึ้น
ผู้ป่วยโรคหัวใจควรระมัดระวังเรื่อง การใช้น้ำมันประกอบอาหาร ควรใช้ น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน ประกอบการทำอาหาร และไม่ควรใช้น้ำมันใน ปริมาณเยอะหรือรับประทานบ่อย เช่น อาหารที่ผ่านการทอด ควรเลี่ยงเป็นอาหารที่ต้มหรือนึ่งมากกว่า
หากต้องรับประทานอาหาร ที่ผ่านการทอดให้ใช้น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันคาโนล่าทดแทน เนื่องจากมีจำนวนของไขมันดี (HDL) และรับประทานแล้วเกิดโทษต่อร่างกายและส่งผลต่อหัวใจน้อย
อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ยิ่งจะทำให้ปริมาณทั้งไขมันและคอเลสเตอรอลสูงยิ่งขึ้น เป็นไปได้จึงควรงดหลีกเลี่ยง หรือรับประทานแต่น้อย
หากผู้ป่วยโรคหัวใจบริโภคเข้าไป จะเป็นโทษต่อร่างกาย และทำให้เกิดผลกระทบต่อหัวใจและเส้นเลือดหัวใจ
เนื่องจากมีสารคาเฟอีน มีผลกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ใจสั่น ความดันโลหิตสูง หากต้องการบริโภคควรรับประทานแต่น้อยและปรึกษาแพทย์ โดยควบคุมการรับประทานของตนเองให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยใช้สายสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำหรือแดงที่บริเวณขาหนีบ โดยแพทย์จะใช้สายสวนหัวใจนี้ตรวจหาความผิดปกติภายในผนังด้านในของหัวใจที่เป็นจุดกำเนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เมื่อพบแล้วจะทำการจี้ทำลายบริเวณดังกล่าวด้วยคลื่นวิทยุ ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นการรักษาวิธีเดียวที่สามารถรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะให้หายเป็นปกติได้
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยวิธีนี้ มีความสำเร็จสูงโดยมีภาวะแทรกซ้อนต่ำมาก วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะผู้ป่วยอายุน้อยที่ไม่ต้องการทานยาตลอดชีวิต ในกรณีที่มีความผิดปกติเพียงตำแหน่งเดียว มีโอกาสรักษาสำเร็จสูงถึง 90-95% ขึ้นกับชนิดของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยมีภาวะแทรกซ้อนต่ำประมาณ 1%
แม้ว่าโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่เราสามารถลดแนวโน้มโอกาสเกิดโรค หากหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง และหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายตามข้อปฏิบัติ ดังนี้
ผู้ป่วยที่หัวใจเต้นผิดจังหวะควรมาพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง เพราะหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา อย่าละเลยที่จะดูแลหัวใจของคุณให้เต้นถูกจังหวะ
โรงพยาบาลรามคำแหง
โทร. 0 2743 9999 , 0 2374 0200-16 แฟกซ์ 0 2374 0804
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th