เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจมาแต่กำเนิด โดยภาวะที่พบบ่อยในคนไทย คือความผิดปกติของ ลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างห้องบนและห้องล่างด้านซ้าย ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป มีผลทำให้ผู้ป่วยมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากทำกิจกรรมใด ก็จะรู้สึกเหนื่อยง่าย บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว
โรคนี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่น่ากลัวสำหรับคนไทย เพราะเป็นโรคที่มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น และแม้ว่าอาการจะเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อผู้ป่วยเข้าสู่วัยรุ่น แต่ก็ยังถือว่าน้อยมาก โดยอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจนอย่างเช่น อาการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่าย จะค่อย ๆ แสดงออกเมื่อผู้ป่วยอายุ 40-50 ปี
สารบัญ
โรคลิ้นหัวใจรั่ว (Heart Valve Regurgitation) คือ ภาวะความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ปิดไม่สนิท มีรูรั่ว หรือขาด ทำให้เลือดสามารถไหลย้อนกลับ จนเป็นสาเหตุให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นกว่าปกติเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ มักมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่เต็มที่ หากปล่อยทิ้งไว้จนมีอาการรุนแรง ก็อาจทำให้เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้
เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ลิ้นหัวใจย่อมส่งผลต่อวงจรการไหลเวียนของเลือดซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคลิ้นหัวใจรั่วถือเป็นภัยเงียบอีกโรคหนึ่ง เนื่องจากไม่แสดงอาการจนกว่าลิ้นหัวใจจะเกิดการชำรุดเสียหาย ส่งผลให้มีเลือดคั่งเพิ่มสูงในหัวใจ นำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตเฉียบพลันตามมา
โรคลิ้นหัวใจรั่ว พบได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่ โรคลิ้นหัวใจรั่วมักมีสาเหตุมาจากความบกพร่องของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป โดยผู้ป่วยมักไม่มีอาการในวัยเด็ก แต่อาจเริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด อาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
ลิ้นหัวใจเสื่อมตามอายุ เมื่อร่างกายเกิดความเสื่อมตามธรรมชาติเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ อาจเป็นสาเหตุให้มีหินปูนมาเกาะบริเวณลิ้นหัวใจ และทำให้การเปิดและปิดของลิ้นหัวใจเกิดความผิดปกติ ซึ่งนำไปสู่โรคลิ้นหัวใจรั่ว และ/หรือ โรคลิ้นหัวใจตีบ
โรคหัวใจรูมาติกเกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณคอ แล้วเกิดการอักเสบลามไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจ ส่งผลให้ลิ้นหัวใจรั่ว หากเป็นเรื้อรังจะสามารถทำให้เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบร่วมด้วยได้ มักพบในเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป แต่มักเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุมากขึ้น
โรคลิ้นหัวใจรั่วจากการติดเชื้อ มักเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือด และตัวเชื้อเกิดการอักเสบลามสู่ลิ้นหัวใจ
เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบ มักส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเกิดปัญหาลิ้นหัวใจรั่วตามมา มักพบในผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีหรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งภาวะนี้อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคประจำตัวและพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่เป็นประจำ หรือกรรมพันธุ์ เป็นต้น
หัวใจถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญและมีความแข็งแรงลำดับต้น ๆ ของร่างกาย ดังนั้น เมื่อมีความผิดปกติเพียงเล็กน้อย จึงมักไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง โดยส่วนใหญ่ อาการของโรคจึงเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังสามารถสังเกตจากอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
ผู้ป่วยมักทำกิจกรรมได้ไม่นาน รู้สึกเหนื่อย และหายใจลำบากเมื่อออกแรง เมื่อแพทย์ทำการตรวจจะพบ ‘เสียงฟู่’ ซึ่งเป็นเสียงหัวใจผิดปกติที่พบได้บ่อยเมื่อภายในหัวใจมีเลือดไหลสวนทาง
โดยเฉพาะอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า มักเกิดจากลิ้นหัวใจด้านขวาเกิดความผิดปกติ ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจด้านขวาได้สะดวก
โดยผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจมีภาวะน้ำท่วมปอด ทำให้ไม่สามารถนอนราบได้
วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หมดสติ เนื่องจากระบบไหลเวียนของเลือด และระบบสูบฉีดของหัวใจเกิดความผิดปกติ ทำให้มีอาการวูบ ไม่รู้สึกตัวกะทันหัน
ใจสั่น เจ็บหน้าอกอาจมีอาการนานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน โดยอาการจะแสดงมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึก ๆ
โดยหากสังเกตพบความผิดปกติเกิดขึ้น ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคกลุ่มหัวใจ หรือโรคลิ้นหัวใจรั่วโดยทันที
อาหารที่คนเป็นลิ้นหัวใจรั่ว ห้ามรับประทาน มีดังนี้
ระยะของลิ้นหัวใจรั่ว แบ่งได้เป็น 3 ระยะในเบื้องต้น ได้แก่ ระยะเริ่มต้น ระยะปานกลาง และระยะรุนแรง ลิ้นหัวใจรั่วถือเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่น่ากลัว เพราะโรคนี้มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะเริ่มแสดงอาการเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแต่ก็ไม่รุนแรง และจะแสดงอาการรุนแรงเมื่ออายุประมาณ 40 - 50 ปี จนทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยและอ่อนเพลียมากขึ้น เกือบๆ จะทุกการเคลื่อนไหว
หากพบว่าผู้ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว แพทย์จะทำการรักษาตามความรุนแรงของอาการ แต่หากพบว่าลิ้นหัวใจรั่วมาก หรือลักษณะกล้ามเนื้อที่พยุงการเปิด-ปิดของลิ้นหัวใจเกิดการหย่อนยาน ปูด หรือหนาตัวมาก แพทย์จะทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ เป็นการรักษาเพื่อซ่อมแซมให้ลิ้นหัวใจส่วนที่ถูกทำลาย ฉีกขาด หรือมีรอยรั่ว กลับมาทำงานตามปกติโดยการลอกหินปูนที่จับตัวออก และใช้เนื้อเยื่อหัวใจของผู้ป่วยเองมาซ่อมแซมเพื่อให้สามารถกลับมาทำงานใกล้เคียงกับปกติที่สุด โดยวิธีนี้ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกาย แต่มีข้อจำกัดคือจะสามารถทำได้เฉพาะบางกรณีเท่านั้น
การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยในกรณีที่พบว่าลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพมาก มีการฉีกขาดรุนแรง หรือมีหินปูนเกาะ ไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดตามวิธีมาตรฐาน คือ การเปิดแผลผ่าตัดกึ่งกลางหน้าอก เพื่อนำลิ้นหัวใจที่เสียหายออก และใส่ลิ้นหัวใจเทียมเข้าไปทดแทน
โดยลิ้นหัวใจเทียมนั้น มีให้เลือกทั้งแบบธรรมชาติ หรือ ‘ลิ้นเนื้อเยื่อ’ ซึ่งผลิตจากเนื้อเยื่อของหัวใจวัวหรือหมู มีอายุการใช้งานไม่เกิน 15 ปี และลิ้นหัวใจเทียมวัสดุสังเคราะห์ (ไทเทเนียมหรือโครเมียม-โคบอลต์) ซึ่งมีความคงทนตลอดอายุขัยของผู้ป่วย แต่ผู้ป่วยต้องรับประทานยาเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดควบคู่ไปด้วย
ปัจจุบันการรักษามีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยี TAVI (Transcatheter aortic valve implantation) หรือ การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัดทดแทนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องเปิดหน้าอก มีความแม่นยำปลอดภัย และให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการผ่าตัด ลดระยะเวลาการพักฟื้นให้เหลือน้อยลง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงและผลข้างเคียงน้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม
แม้ว่าโรคลิ้นหัวใจรั่วจะเป็นโรคที่ยากจะป้องกัน เนื่องจากปัจจัยในการเกิดโรคมักเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น กรรมพันธุ์ หรือความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วมาแต่กำเนิด ก็สามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ ดังนี้
หากพบว่าตนเองป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด แม้จะเป็นผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มีอาการไม่รุนแรง และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติก็ตาม
โรคลิ้นหัวใจรั่ว เป็นโรคที่มักไม่ค่อยแสดงอาการ และอาจเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ดังนั้น ควรหมั่นสังเกตตัวเอง หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หากพบว่ามีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือเท้าบวม ควรจะรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะเมื่อพบความผิดปกติแต่เนิ่น ๆ ก็จะสามารถชะลอโรค และรับการรักษาอย่างทันท่วงทีนั่นเอง
โรงพยาบาลรามคำแหง
โทร. 0 2743 9999 , 0 2374 0200-16 แฟกซ์ 0 2374 0804
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th