รวมหมอเฉพาะทางโรคไต ทีมแพทย์ โรงพยาบาลรามคำแหง

January 30 / 2024

นพ.ถนอมศักดิ์ อัศวดิลกชัย

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

นพ.ถนอมศักดิ์ อัศวดิลกชัย

 

ชื่อ : ถนอมศักดิ์ อัศวดิลกชัย

สาขาเฉพาะทาง : อายุรกรรมโรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา : แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วุฒิบัตร :

  • American Board of Internal Medicine
  • American Board of Nephrology

การศึกษาหลังปริญญา : แพทย์ประจำบ้านและต่อยอดโรคไต Nassau Country Medical Center NEW YORK ปริญญาโทบริหารธุรกิจ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ : -

 

ผศ.นพ. ธนรร งามวิชชุกร

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

ผศ.นพ. ธนรร งามวิชชุกร

 

ชื่อ : ธนรร งามวิชชุกร

สาขาเฉพาะทาง : อายุรกรรมโรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา : แพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วุฒิบัตร :

  • อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล
  • อายุรศาสตร์โรคไต คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล

การศึกษาหลังปริญญา : Transplant Nephrology Fellowship Harvard Medical School, Boston, USA.

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ :

  • Kidney Transplant
  • Hemodialysis

 

นพ. ธนวัฒน์ โตสุโขวงศ์

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

นพ. ธนวัฒน์ โตสุโขวงศ์

 

ชื่อ : ธนวัฒน์ โตสุโขวงศ์

 

สาขาเฉพาะทาง : อายุรกรรมโรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา :

  • แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แพทยศาสตร์ อายุรศาสตร์โรคไต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แพทยศาสตร์ อายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัว

วุฒิบัตร : Certificate of Attendance, SanBartolo Hospital - Vicenza ,ITALY

การศึกษาหลังปริญญา : -

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ : -

 

นพ. ธานินทร์ ศิริมงคลรัตน์

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

นพ. ธานินทร์ ศิริมงคลรัตน์

ชื่อ : ธานินทร์ ศิริมงคลรัตน์

สาขาเฉพาะทาง : อายุรกรรมโรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา : แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล อายุรศาสตร์, อายุรศาสตร์โรคไต คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล

วุฒิบัตร : พบ.,วว., อายุรศาสตร์โรคไต

การศึกษาหลังปริญญา : อายุรศาสตร์, อายุรศาสตร์โรคไต

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ : Hemodialysis การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

 

พญ. วรางคณา พิชัยวงศ์

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

พญ. วรางคณา พิชัยวงศ์

ชื่อ : วรางคณา พิชัยวงศ์

สาขาเฉพาะทาง : อายุรกรรมโรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา : แพทยศาตร์บัณฑิต รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล

วุฒิบัตร :

  • อายุรศาสตร์ ม. เชียงใหม่
  • อายุรศาสตร์ โรคไต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • แพทยศาสตร์ อายุรศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัว

ารศึกษาหลังปริญญา : Renal Pathology Reserch University of Washington

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ : Glomerular disease

 

พญ. ศุภพิชญา ภิรมย์

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

พญ. ศุภพิชญา ภิรมย์

ชื่อ : ศุภพิชญา ภิรมย์

สาขาเฉพาะทาง : อายุรศาสตร์โรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา : แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วุฒิบัตร :

  • อายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • อายุรศาสตร์โรคไต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อายุรศาสตร์โรคไต ด้านการปลูกถ่ายไต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษาหลังปริญญา : -

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ :

  • การปลูกถ่ายไต Kidney Transplantation
  • การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม Hemodialysis
  • ความผิดปกติทางเกลือแร่ Electrolyte disturbance
  • ภาวะชะลอไตเสื่อม Chronic Kidney Disease

 

นพ. สิโรตม์ คุณาพรไพโรจน์

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

นพ. สิโรตม์ คุณาพรไพโรจน์

ชื่อ : สิโรตม์ คุณาพรไพโรจน์

สาขาเฉพาะทาง : อายุรศาสตร์โรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา :

  • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อายุรศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อายุรศาสตร์โรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

วุฒิบัตร :

  • อายุรศาสตร์ทั่วไป (Internal medichine)
  • อายุรศาสตร์โรคไต (Nephrology)

การศึกษาหลังปริญญา :

  • อายุรศาสตร์
  • อายุรศาสตร์โรคไต

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ :

  • ภาวะไตเสื่อม
  • ความดันโลหิตสูง
  • Hemodialysis การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

 

นพ. สุรสีห์ พร้อมมูล

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

นพ. สุรสีห์ พร้อมมูล

ชื่อ : สุรสีห์ พร้อมมูล

สาขาเฉพาะทาง : อายุรศาสตร์โรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา : แพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล อายุรกรรมโรคไต ศิริราชพยาบาล

วุฒิบัตร : อายุรศาสตร์โรคไต วชิรพยาบาล

การศึกษาหลังปริญญา : Certificate of Tramsplant Immunolgy University of Libertas, Canada

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ : KIDNEY TRANSPLANT

 

พญ. อัญชลี เทียมสิงห์

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

พญ. อัญชลี เทียมสิงห์

ชื่อ : อัญชลี เทียมสิงห์

สาขาเฉพาะทาง : อายุรกรรมโรคไต

ภาษา : ไทย, อังกฤษ

การศึกษา : พ.บ., คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วุฒิบัตร :

  • อายุรศาสตร์
  • อายุรศาสตร์โรคไต

การศึกษาหลังปริญญา : -

แขนงที่สนใจเป็นพิเศษ : -

 

เราให้บริการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไตด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย โดยหมอเฉพาะทางโรคไต ทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและบุคลากรที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยโรคไต พร้อมทั้งทำการประเมินการทำงานของระบบไต ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อชะลอการเสื่อมของไต ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากไตเสื่อม และช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ หมอเฉพาะทางโรคไตของศูนย์ฯ ยังตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ เช่น ภาวะเกลือแร่โซเดียมผิดปกติ ภาวะเกลือแร่โพแทสเซียมผิดปกติ เป็นต้น

 

สารบัญ

 

 

โรคไต มีกี่ชนิด

 

ทำความรู้จักโรคไต เป็นอย่างไร มีกี่ชนิด ?

โรคไตวายเฉียบพลัน

เกิดจากไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากภาวะช็อคจากการเสียน้ำหรือเลือดเป็นจำนวนมาก การติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง หรือได้รับสารพิษหรือผลข้างเคียงจากยา โดยผู้ป่วยจะมีอาการบวม ความดันโลหิตสูงผิดปกติ ปัสสาวะสีน้ำล้างเนื้อ ตรวจพบเม็ดโลหิตแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะ แม้ว่าผู้ป่วยจะมีอาการแสดงตั้งแต่เริ่มแรกทั้ง ๆ ที่ไตยังไม่เสื่อม แต่ภาวะไตวายเฉียบพลันมีอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น จึงควรมาพบหมอเฉพาะทางโรคไตและรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจรักษาให้ไตกลับมาทำงานเป็นปกติได้

โรคไตวายเรื้อรัง

เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ เป็นต้น โดยเนื้อไตจะถูกทำลายไปทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น และดำเนินชีวิตเหมือนคนปกติเป็นเวลาหลายปี โดยระหว่างนี้หากผู้ป่วยมาตรวจร่างกาย แพทย์ก็อาจไม่พบความผิดปกติใด ๆ ยกเว้นในกรณีตรวจปัสสาวะจะพบเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมา อาการของภาวะไตวายเรื้อรังจะเริ่มแสดงให้เห็นเมื่อการทำงานของไตลดลงเหลือเพียงร้อยละ 25 และมีอาการชัดเจนมากขึ้นเมื่อการทำงานของไตเสื่อมลงต่ำกว่าร้อยละ 10

โรคไต อาการ

โรคไต อาการเป็นอย่างไร

ในช่วงแรก ผู้ป่วยโรคไตแทบไม่มีสัญญาณเตือนของโรคนี้ แต่เมื่อไตได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นในระยะหลัง อาการของผู้ป่วยมักปรากฏ ดังนี้

  • ปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติ ปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม แต่หากพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน อาจเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเป็นฟอง เนื่องจากโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะ
  • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากไตไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้
  • มีอาการบวมที่หน้าหรือเท้า
  • อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ
  • น้ำหนักลด หรือน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยที่มีอาการตัวบวม
  • ผิวหนังซีด มีอาการคัน หรือมีจ้ำเลือดขึ้นง่าย
  • คลื่นไส้ เบื่ออาหาร
  • ปากมีรสขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้ตามปกติ

เมื่อไหร่จึงควรรีบพบแพทย์ ?

หากพบว่าปัสสาวะเป็นฟอง มีสีขุ่น และมีอาการบวมโดยเฉพาะบริเวณเปลือกตา ขา และเท้า หรือมีอาการปวดหลังบริเวณใต้ชายโครง และมีความดันโลหิตสูง ควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากอาการเหล่านี้จะแย่ลงทีละน้อย โดยหลายคนอาจไม่ทราบว่าตัวเองกำลังเสี่ยงเป็นโรคไตอยู่

การวินิจฉัยโรคไต

ในเบื้องต้น แพทย์จะทำการซักประวัติของผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อตรวจสอบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไต รวมถึงโรคประจำตัวของผู้ป่วยและยาบางชนิดที่อาจมีผลต่อการทำงานของไต นอกจากนี้ หมอเฉพาะทางโรคไตจะดำเนินการตรวจตามขั้นตอนตามความเหมาะสม ดังนี้

  • การตรวจเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การวินิจฉัยด้วยภาพถ่าย
  • การตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ

 

หมอเฉพาะทางโรคไต

 

วิธีการรักษาโรคไต

วิธีที่ 1: การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของไต

  • การควบคุมโรคประจำตัว ได้แก่ การคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  • การควบคุมอาหาร และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณเหมาะสมและได้รับพลังงานที่เพียงพอ
  • การรักษาด้วยยา เช่น ยาลดการดูดซึมฟอสเฟต ยาขับปัสสาวะ ยารักษาภาวะโลหิตจาง ยาลดความดันโลหิต ยาลดไขมันในเลือด และการให้ยาปรับสมดุลกรดด่าง
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ลดน้ำหนัก งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย และหลีกเลี่ยงยาที่มีผลเสียต่อไต

วิธีที่ 2 : การรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต (Renal Replacoment Therapy)

การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 เพื่อทดแทนไตที่ไม่สามารถทำงานได้เอง จะเน้นการช่วยขจัดของเสียที่ค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งมี 3 วิธี ดังนี้

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis)

 

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) คือ การนำเลือดออกทางเส้นเลือดที่แขนหรือคอ ผ่านเข้าเครื่องไตเทียมไปยังตัวกรอง แล้วนำเลือดที่ฟอกแล้วกลับคืนสู่ผู้ป่วย เพื่อขจัดของเสียและน้ำส่วนเกินในร่างกาย

 

การล้างไตทางช่องท้อง (Pertoneal Dialysis)

 

การล้างไตทางช่องท้อง (Pertoneal Dialysis) คือ การใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปทิ้งค้างในช่องท้อง โดยอาศัยเยื่อบุช่องท้องแลกเปลี่ยนของเสียและน้ำส่วนเกินออกมาที่น้ำยาล้างไต เมื่อครบเวลาที่กำหนด ก็จะปล่อยน้ำยาล้างไตในส่วนนี้ทิ้ง พร้อมทำการเปลี่ยนใส่น้ำยาล้างไตถุงใหม่เข้าไป โดยวิธีนี้ ผู้ป่วยต้องได้รับการผ่าตัดใส่สายยางสำหรับใส่น้ำยาล้างไตทางช่องท้องให้พร้อมก่อนเข้ารับการรักษา

 

การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation)

 

การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) คือ การผ่าตัดรับไตจากผู้บริจาค โดยผู้รับไตต้องรับประทานยากดภูมิต้านทานอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันการปลูกถ่ายไตเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงอะไร ที่ทำให้เกิดโรคไตได้บ้าง ?

  • โรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนหรือมีภาวะน้ำหนักเกิน โรคเกาต์หรือระดับกรดยูริกในเลือดสูง โรคแพ้ภูมิตนเอง การสูบบุหรี่เรื้อรังซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง
  • ภาวะไตผิดปกติไม่สมบูรณ์ตั้งแต่กำเนิด เช่น ไตฝ่อ มีมวลเนื้อไตลดลง หรือมีไตข้างเดียว
  • ภาวะหลอดเลือดฝอยในไตอักเสบ
  • การเป็นโรคติดเชื้อทางเดินระบบปัสสาวะส่วนบนซ้ำหลายครั้ง
  • การตรวจพบนิ่วในไตหรือระบบทางเดินปัสสาวะ หรือตรวจพบถุงน้ำในไตมากกว่า 3 ตำแหน่งขึ้นไป
  • การมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรังหรือโรคไตอักเสบ หรือถุงน้ำในไต
  • ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs หรือสารพิษที่ทำลายไต (Nephrotoxic agents)
  • การดื่มน้ำน้อย ส่งผลให้ไตทำงานบกพร่อง หรือเกิดการสะสมของสารเคมีในทางเดินปัสสาวะ จนตกตะกอนกลายเป็นโรคนิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ
  • อาหารที่มีโซเดียมสูงแม้รสชาติไม่เค็ม อาทิ ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มสุกี้ อาหารแปรรูป เช่น แฮม เบคอน ขนมกรุบกรอบ ผลไม้กระป๋อง รวมถึงอาหารหมักดอง ไข่เค็ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผงฟู สารกันบูด หรือสารกันเชื้อรา

 

วิธีป้องกันโรคไต

 

โรคไต ป้องกันได้อย่างไรบ้าง ?

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

  • ตรวจเช็กความดันโลหิตให้อยู่ในค่าปกติ

  • หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวดและแก้อักเสบเกินความจำเป็น

  • การออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม

ติดต่อนัดพบแพทย์

ติดต่อนัดพบแพทย์

อ้างอิงจาก

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7015670/