ศูนย์หัวใจ พร้อมปรึกษาปัญหาหัวใจ ใส่ใจดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง

February 12 / 2024

ศูนย์หัวใจ

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง บริการด้วยใจ ทันสมัยครบวงจร

 

 

โรคหัวใจเป็นสาเหตุหนึ่งในการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย โดยทุกปี มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุที่โรคนี้มักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยจึงไม่ทราบว่าหัวใจของตนเกิดความผิดปกติอยู่จนเมื่อโรคทวีความรุนแรงและมีอาการเจ็บหรือแน่นหน้าอก โดยบางรายอาจประสบภาวะหัวใจวายโดยไม่ทันตั้งตัว ดังนั้น เราจึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เพราะแม้โรคหัวใจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรง แต่ก็สามารถป้องกันและรักษาได้ ที่ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง ด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันที่ทันสมัย

 

สารบัญ

การบริการทางการแพทย์

ที่ศูนย์หัวใจ เรามีทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์เฉพาะทางพร้อมให้บริการด้านต่าง ๆ อาทิ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกายขั้นพื้นฐาน โดยอาศัยของมูลน้ำหนัก ส่วนสูง การจับชีพจร อัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และฟังเสียงการทำงานของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่

การผ่าตัดหัวใจ

วิธีการผ่าตัดหัวใจ แบ่งออกเป็น การผ่าตัดหัวใจแบบเปิดและแบบปิด โดยวิธีการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยทั้ง 2 วิธีถือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพและสามารถรักษาโรคหัวใจได้ทุกชนิดหากผู้ป่วยไม่มีโรคแทรกซ้อน

การติดตามการทำงานของหัวใจผ่านคลื่นไฟฟ้า

การติดตามการทำงานของหัวใจผ่านคลื่นไฟฟ้า เป็นการตรวจความสมบูรณ์ของการทำงานไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ ซึ่งผลการตรวจสามารถบ่งบอกแนวโน้มของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ ได้ ถือเป็นขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และวัดผลได้อย่างรวดเร็ว

การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ (EP Lab) เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่หัวใจเต้นผิดปกติ โดยการตรวจประเภทนี้ถือเป็นหัตถการที่มีการรุกล้ำร่างกายน้อย และเป็นวิธีรักษาหัวใจเต้นผิดปกติที่มีประสิทธิภาพสูง

การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นวิธีการตรวจที่ทำให้สามารถมองเห็นโครงสร้างของหัวใจและระบบเส้นเลือดทั้งหมด โดยข้อมูลจากการเอกซเรย์จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน รวมถึงติดตามผลการรักษาในกรณีทำบายพาสหลอดเลือดหัวใจหรือการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

การตรวจหัวใจด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก

การตรวจหัวใจด้วยภาพคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก เป็นการตรวจเพื่อประเมินการไหลเวียนของเลือดในหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ข้อมูลที่ได้จึงช่วยให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำและวางแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

การตรวจปฏิบัติการหัวใจ

การตรวจปฏิบัติการหัวใจมีหลากหลายประเภท โดยอีกหนึ่งวิธีการที่ได้ผลแม่นยำ คือการตรวจสวนหัวใจ หรือ Cath Lab เป็นการตรวจสำหรับผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน รวมถึงสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดสมองด้วย

การตรวจหัวใจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์

การตรวจหัวใจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นการตรวจประเมินสมรรถภาพของหัวใจโดยแสดงภาพการเคลื่อนไหว การบีบตัวของหัวใจ ความแรง และจังหวะการเต้น ทําให้ทราบถึงความสามารถในการสูบฉีดเลือดของหัวใจ โดยเฉพาะหัวใจห้องล่าง

ห้องบำบัดผู้ป่วยภาวะวิกฤตโรคหัวใจจำนวน 8 ห้อง

โรงพยาบาลรามคำแหงมีห้องบำบัดผู้ป่วยทางด้านระบบหัวใจที่มีภาวะวิกฤตที่ทันสมัยและได้รับมาตรฐาน สามารถให้บริการผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเฝ้าติดตามอาการ และได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาลต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง

 

วินิจฉัยโรคหัวใจ

 

การบริการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ

การบริการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจ สามารถตรวจได้ดังนี้

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Cardiac MRI)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการใช้รังสีแม่เหล็กในการสร้างภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อตรวจสอบโครงสร้างและการทำงานโดยรวม การตรวจประเภทนี้จะแสดงผลได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ทำให้สามารถประเมินการไหลเวียนของเลือดในหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (128-Slice CT Scan)

การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เป็นวิธีการตรวจหัวใจเพื่อช่วยวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความผิดปกติอื่น ๆ ของหลอดเลือดหัวใจ รวมถึงเป็นวิธีการที่ใช้ติดตามผลการรักษาภายหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ โดยผู้ป่วยจะได้รับสารทึบรังสีเพื่อให้ได้ภาพเอกซเรย์ 3 มิติที่มีความคมชัด

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test หรือ EST)

เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะเดินบนสายพาน หรือปั่นจักรยาน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหากพบการตอบสนองที่ผิดปกติ อาทิเช่น อาการหายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นต้น

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง เป็นการส่งสัญญาณคลื่นเสียงที่มีความปลอดภัยเข้าไปในทรวงอก แล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาแปลเป็นภาพเพื่อประเมินการทำงานของหัวใจทั้ง 4 ห้อง โดยวิธีการนี้ จะสามารถแสดงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัย ภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ช่องหัวใจโต และตรวจหาภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิด

การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test)

การตรวจหัวใจด้วยเตียงปรับระดับ เป็นวิธีการตรวจประเมินสาเหตุของภาวะหมดสติ ซึ่งถือเป็นปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติเมื่อระบบประสาททำงานผิดปกติ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและมีการขยายตัวของหลอดเลือด และเมื่อความดันโลหิตลดลง จึงเป็นสาเหตุให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้น้อยและหมดสติ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography หรือ EKG)

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นวิธีการเบื้องต้น เพื่อตรวจหาความผิดปกติจากอัตราการเต้นของหัวใจ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัยโรคหรือความเสี่ยงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ

การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเทคโนโลยี ABI (Ankle Brachial Index)

การตรวจหาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันด้วยเทคโนโลยี ABI หรือ ‘การตรวจ ABI’ เป็นการตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โดยการเทียบสัดส่วนแรงดันโลหิตของหลอดเลือดแดงที่ข้อเท้า กับแรงดันโลหิตของหลอดเลือดแดงที่ข้อแขนด้านเดียวกัน เพื่อคัดกรองความเสี่ยงหรือการตีบตันทางหลอดเลือด

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. (Holter Monitor)

การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. ด้วยเครื่อง Holter Monitor ที่เป็นอุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพา โดยเมื่อผู้ป่วยสวมใส่อยู่ตลอดเวลา เครื่องจะทำการบันทึกการเต้นของหัวใจ ทำให้แพทย์สามารถตรวจพบภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะบางประเภทที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวและไม่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติหรือ EKG เนื่องจากเป็นการตรวจในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

การตรวจคลื่นหัวใจเป็นครั้งคราวและการวินิจฉัยผ่านโทรศัพท์ (Event Recorder และ Loop recorder)

  • Event Recorder เป็นเครื่องมือวินิจฉัยผู้ที่สงสัยว่ามีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเมื่อพบอาการดังกล่าวก็สามารถใช้เครื่องมือมาตรวจจับคลื่นหัวใจเป็นครั้ง ครั้งละ 30-60 วินาที
  • Loop Recorder เป็นเครื่องจับสัญญาณคลื่นหัวใจที่ผู้ป่วยต้องพกติดตัวเป็นเวลา 1-4 สัปดาห์ โดยเครื่องจะบันทึกข้อมูลเมื่อพบการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือตอนที่เรากดให้บันทึก

การตรวจวัดความดันโลหิตแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยี ABPM (Ambulatory Blood Pressure Monitoring)

การตรวจวัดความดันโลหิตแบบต่อเนื่องด้วยเทคโนโลยี ABPM หรือ ‘เครื่องวัดความดันโลหิตตลอด 24 ชั่วโมง’ เป็นวิธีการที่แพทย์แนะนำให้ผู้ป่วยติดอุปกรณ์เพื่อตรวจวัดค่าความดันโลหิตอย่างครบถ้วนเพื่อวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง โดยผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติขณะติดตั้งอุปกรณ์นี้

 

โรคหัวใจ รักษา

 

แนวทางการรักษา ที่ศูนย์หัวใจ

แนวทางการรักษาที่ศูนย์หัวใจ แบ่งออกได้ดังนี้

กลุ่มการรักษาหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด

กลุ่มลิ้นหัวใจ

  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด (TAVI)
  • ปิดรูรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจผ่านทางสายสวนหัวใจ (Transcatheter ASD Closure)

กลุ่มคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

  • การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงผ่านสายสวน (Radiofrequency Catheter Ablation of Cardiac Arrhythmias)
  • การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง ICD (implantable cardioverter defibrillator)
  • การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจโดยใช้เครื่อง CRT (cardiac resynchronization therapy)

กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ

  • การสวนหัวใจและการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
  • การถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนและใส่ขดลวดค้ำยัน

การรักษาด้วยการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด

กลุ่มหลอดเลือดหัวใจ

  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจแบบที่ใช้และไม่ใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดมาแล้ว​

กลุ่มลิ้นหัวใจ

  • การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ​

กลุ่มหัวใจพิการแต่กำเนิด

  • การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องบน
  • การผ่าตัดซ่อมแซมรูรั่วผนังหัวใจห้องล่าง​
  • การผ่าตัดปิดเส้นเลือด ductus arteriosus
  • การผ่าตัดที่มีความซับซ้อนของหัวใจพิการแต่กำเนิด​

กลุ่มหลอดเลือด

  • การผ่าตัดซ่อมแซมหลอดเลือดแดงโป่งพองในช่องท้อง
  • การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้อง
  • การผ่าตัดสอดสายสวนเพื่อรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในทรวงอก

 

หัวใจตีบ ไม่ผ่าตัด

 

ศูนย์หัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด

ด้วยความตั้งใจของทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ศูนย์หัวใจของเราจึงมุ่งเน้นการรักษาเพื่อลดโอกาสในการผ่าตัดด้วยวิธีการต่าง ๆ อาทิ การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนและขดลวดค้ำยัน การใช้หัวกรอกากเพชร (Rotablator) และการตรวจภายในของหลอดเลือดหัวใจด้วยการอัลตราซาวนด์ (IVUS) รวมถึงการรักษาภาวะหัวใจตีบและการใส่ลิ้นหัวใจเทียมหรือวัสดุปิดผนังกั้นห้องหัวใจผ่านสายสวนหลอดเลือด ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐานสากลเพื่อผลการรักษาที่เป็นเลิศตลอด 24 ชั่วโมง

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

 

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง

ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมให้บริการรักษาโดยมุ่งเน้นถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญมีความมุ่งมั่นและความพร้อมให้บริการดูแลผู้ป่วยอย่างทุ่มเทตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการมุ่งเน้นการรักษาผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันโดยการถ่างขยายหลอดเลือดภายใน 90 นาทีตามมาตรฐานสากล ศูนย์หัวใจประกอบด้วยแผนกต่าง ๆ พร้อมให้บริการ ดังนี้

 

  • แผนกผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหัวใจ ตลอด 24 ชั่วโมง
  • แผนกห้องปฏิบัติการสวนหัวใจและหลอดเลือด
  • แผนกผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ และการผ่าตัดโรคหัวใจ
  • แผนกผ่าตัดบายพาสหัวใจโดยไม่ใช้เครื่องปอดหัวใจเทียม (Off Pump Surgery)
  • แผนกฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด (Cardiac Rehabilitation)

 

 

ศูนย์หัวใจ รามคำแหง

 

อาการแบบไหนที่ควรไปพบแพทย์ศูนย์หัวใจ

  1. อาการเจ็บแน่นหน้าอก เจ็บคล้ายมีเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก เกิดขึ้นขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน อาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึกๆ รวมไปถึงเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
  2. ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วและรัวกะทันหัน มีอาการหน้ามืด เป็นลมหมดสติ มีอาการวูบไม่รู้สึกตัวกะทันหัน
  3. หอบเหนื่อยง่ายผิดปกติ เหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยเป็นขณะออกแรง เป็นขณะพัก ไม่สามารถนอนราบได้ นอนกลางคืนแล้วต้องตื่นมานั่งหอบ เดินใกล้ๆ ก็รู้สึกเหนื่อย จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งต้องระวังอาจจะเป็นภาวะหัวใจล้มเหลว
  4. อาการขาบวม ในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากหัวใจด้านขวาทำงานน้อยลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับเข้าไปที่หัวใจด้านขวาได้สะดวก บริเวณหน้าแข้งหรือบริเวณปลายเท้าทั้ง 2 ข้าง หากใช้นิ้วมือกดลงไปจะพบว่าเนื้อบุ๋มลงไปและเมื่อยกนิ้วขึ้นมาเนื้อก็ยังไม่คืนตัวร่วมกับมีอาการเหนื่อย นอนราบไม่ได้ มีอาการแน่นท้องมากขึ้น

 

โรงพยาบาลรามคำแหง

 

สรุป

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลรามคำแหง พร้อมดูแลรักษาหัวใจคุณตั้งแต่การป้องกัน ดูแลรักษาแก้ไขความผิดปกติของหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ ไปจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและปอด เพื่อให้คุณได้กลับไปใช้ชีวิตอย่างแข็งแรงอีกครั้ง

แพทย์ประจำศูนย์หัวใจ

  • นพ.วิชัย ศรีมนัส
  • ศาสตราธิคุณ นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม
  • นพ.สมศักดิ์ เอกปรัชญากุล
  • รศ.นพ.บัญชา ศันสนีย์วิทยกุล
  • นพ.เมธี เลิศนันทกุล
  • นพ.ภาณุ สมุทรสาคร
  • นพ.ชัยทัต ตียพันธ์
  • พญ.ปนัดดา สุวานิช
  • นพ.อุทัย พันธิตพงษ์
  • พญ.พัชรี เถระกุล
  • พญ.บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล
  • นพ.ธีรภัทร ราชรักษ์
  • พญ.ไพลิน พาสพิษณุ
  • รศ.นพ.ถาวร สุทธิไชยากุล
  • นพ.ปรีชา เอื้อโรจนอังกูร
  • นพ.วิรัช เคหสุขเจริญ
  • นพ.สหรัฐ หวังเจริญ
  • นพ.พัฒนชัย เฉลิมวรรณ์
  • นพ.ชลิต เชียรวิชัย
  • นพ.รณพิชัย โชคสุวัฒนสกุล
  • นพ.ขชล ศรียายาง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

โรงพยาบาลรามคำแหง
โทร. 0 2743 9999 , 0 2374 0200-16 แฟกซ์ 0 2374 0804

อ้างอิงจาก

https://www.cdc.gov/heartdisease/about.htm