เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Policy)
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรงพยาบาลรามคำแหง (“โรงพยาบาล”) ได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ที่ท่านให้โรงพยาบาลใน ระหว่างการร้องขอการบริการ การเยี่ยมชมเว็บไซต์
หรือใช้แอพพลิเคชั่นของหรือจากโรงพยาบาล นโยบาย คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลนี้รวมถึงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับตัวคุณโดยเป็นการส่งต่อมาจากบุคคลที่สาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง “ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือ ทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาลเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่าน ที่สามารถระบุตัวตนได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อท่านในระยะเวลาที่เหมาะสมจำเป็นต่อการให้บริการ ในกรณีที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูล กับโรงพยาบาล หรือร้องขอการบริการจากโรงพยาบาลผ่านช่องทางเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นหรือ ช่องทางอื่นใดของโรงพยาบาล อาทิเช่น การนัดหมายแพทย์ การทำธุรกรรมแบบออนไลน์ การสมัครรับจดหมายข่าว การขอรับความช่วยเหลือพิเศษ รวมไปถึงการทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ เช่น การลงทะเบียนผู้ป่วยที่เคาน์เตอร์ลงทะเบียนของโรงพยาบาล หรือจากความสมัครใจ ของท่านใน การทำแบบสอบถาม (Survey) หรือการโต้ตอบทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หรือการกรอก ให้ข้อมูลประกอบการสมัครงาน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นๆ ระหว่างโรงพยาบาล และท่าน
2. โรงพยาบาลอาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม เช่นธุรกิจในเครือข่าย ตัวแทน จำหน่าย หรือผู้ให้บริการของโรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
ประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวมจากท่านจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการเก็บรวบรวม และประเภทของการบริการที่ท่านร้องขอจากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกนำมาใช้เพื่อให้การทำธุรกรรมออนไลน์หรือออฟไลน์ หรือบริการที่ได้รับการร้องขอเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวมโดยตรงจากท่าน หรือจากบุคคลที่สาม มีดังนี้
1) ข้อมูลระบุตัวตน เช่น ชื่อ ภาพถ่าย เพศ วัน เดือน ปีเกิด หนังสือเดินทาง หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขที่สามารถระบุตัวตนอื่นๆ
2) ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลล์
3) ข้อมูลการชำระเงิน เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต และ รายละเอียดบัญชี ธนาคาร
4) ข้อมูลการเข้ารับบริการ เช่น ข้อมูลการนัดหมายแพทย์ ข้อมูลส่วนบุคคลของญาติ ความต้องการ เกี่ยวกับห้องพัก อาหาร และบริการเสริมอื่นๆ
5) ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเพื่อร่วมกิจกรรมกับเรา
6) ข้อมูลสถิติ เช่น จำนวนผู้ป่วย และการเข้าชมเว็บไซต์
7) ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ของโรงพยาบาล
8) ข้อมูลด้านสุขภาพ รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกาย และสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของท่าน ผลการทดสอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ และการวินิจฉัย
9) ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและการแพ้ยาของท่าน
10) ข้อมูล Feedback และผลการรักษาที่ท่านให้ไว้
เราจะไม่เก็บและใช้ข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนของคุณ เช่น เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ประวัติอาชญากร เว้นแต่เป็นไปตามที่ข้อบังคับและกฎหมายกำหนด หรือโดยความยินยอมของท่าน
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) จัดหาบริการ หรือส่งมอบบริการของโรงพยาบาล
2) นัดหมายแพทย์ ส่งข่าวสาร แนะนำบริการของโรงพยาบาล
3) การประสานงานและส่งต่อข้อมูลซึ่งจะช่วยให้การส่งต่อผู้ป่วยมีความรวดเร็วขึ้น
4) การยืนยันตัวตนของผู้ป่วย
5) ส่งข้อความแจ้งเตือนการนัดหมายแพทย์ หรือการเสนอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาล
6) อำนวยความสะดวกและนำเสนอรายการสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ท่าน
7) จุดประสงค์ด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการลูกค้าสัมพันธ์ เช่น การส่งข้อมูลเกี่ยวกับ โปรโมชั่น ผลิตภัณฑ์และบริการ รายการส่งเสริมการขาย และธุรกิจพันธมิตร
8) เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสาร ตอบค าถาม หรือตอบสนองข้อร้องเรียน
9) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า วิจัยตลาด วิเคราะห์ทางสถิติประมวลผลและแสดงผลเพื่อเป็น ข้อมูลในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการใหม่ๆ ให้แก่ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ยิ่งขึ้น
10) วัตถุประสงค์ทางบัญชีหรือทางการเงิน เช่นการตรวจสอบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การเรียกเก็บเงินและการตรวจสอบความถูกต้อง การขอคืนเงิน
11) รักษาความปลอดภัย รวมถึงความปลอดภัยขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล
12) เพื่อวัตถุประสงค์ในการสมัครงาน การเป็นพนักงาน หรือวัตถุประสงค์อื่นใดที่เกี่ยวข้อง
13) ปฏิบัติตามกฎของโรงพยาบาล
14) ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนด ระเบียบ ข้อบังคับ หรือการร้องขอใดๆจากหน่วยงานภาครัฐ เช่น การปฏิบัติตามหมายเรียกพยาน หรือคำสั่งศาล หรือการร้องขออื่นๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
15) วัตถุประสงค์อื่นๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ข้างต้น หรือที่ได้รับความยินยอมจาก ท่านเป็นครั้งคราว
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลอาจเปิดเผยหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังบุคคลที่สาม ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายในหรือ นอกราชอาณาจักร โดยโรงพยาบาลจะดำเนินตามมาตรการที่จำเป็นและเหมาะสม หรือเป็นไปตามข้อบังคับและ กฎหมาย เพื่อวัตถุประสงค์ที่ตามระบุไว้ข้างต้น ให้แก่
1) พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น บริษัทประกัน พันธมิตรที่เข้าร่วมรายการโปรแกรมสะสมคะแนน และสิทธิ ประโยชน์และศูนย์การแพทย์ และหรือบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ
2) ธนาคาร และผู้ให้บริการชำระเงิน เช่น บริษัทบัตรเครดิต หรือเดบิต
3) เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงและความปลอดภัย
4) หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยงานศุลกากร
5) หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานอื่นๆ ตามที่กฎหมายอนุญาต หรือกำหนดไว้
การเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม เว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นบนมือถือของโรงพยาบาล อาจมีลิงก์เชื่อมไปยังเว็บไซต์บุคคลที่สาม หากท่านไปตาม ลิงก์เหล่านี้ นโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ไม่มีผลกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม โปรดทราบว่าโรงพยาบาลไม่ สามารถรับผิดชอบใดๆ ต่อการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยบุคคลที่สามดังกล่าว เนื่องจากอยู่นอกการ ควบคุมของโรงพยาบาล
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัย
1. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูก เก็บรักษาไว้นานเท่าที่จำเป็น เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่อธิบาย ไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ หรือภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย หรือเพื่อการดำเนินการทาง กฎหมาย
2. โรงพยาบาลจะใช้มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัย และการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อ ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาลเก็บรวบรวม
สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent) : ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาลได้ ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access) : ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและ ขอให้โรงพยาบาลทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้แก่ท่าน รวมถึงขอให้โรงพยาบาลเปิดเผยการได้มาซึ่ง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาลได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure) : ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาลท าการลบข้อมูล ของท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing) : ท่านมีสิทธิในการระงับการ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability) : ท่านมีสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วน บุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบางประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object) : ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถร้องขอการเข้าถึงหรือขอให้อัพเดตและแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงสิทธิอื่นใดข้างต้น หรือสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้บังคับ เช่น ขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน หรือขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน กรณีเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกนำไปใช้เกิน ขอบเขตวัตถุประสงค์การใช้งานที่แจ้งให้ทราบข้างต้น หรือไม่ได้รับความยินยอมจากท่าน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาลจะทำการพิจารณาทบทวนนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นประจำเพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติ กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโรงพยาบาลจะแจ้ง ให้ท่านทราบด้วยการ อัพเดตข้อมูลลงในเว็บไซต์ของโรงพยาบาล https://www.ram-hosp.co.th/contactus โดยเร็วที่สุด ทั้งนี้หากท่านมีคำถาม ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโปรดติดต่อได้ที่อีเมลล์ support@ram-hosp.co.th
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 01 มิถุนายน 2565
(นพ.พิชญ สมบูรณสิน)
กรรมการบริหาร
บริษัท โรงพยาบาลรามคําแหง จํากัด (มหาชน)
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมถึงบาดแผลที่เท้า แผลเหล่านี้ มักเกิดจากการบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือการไหลเวียนของเลือดที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง ดังนั้น นอกจากการดูแลตัวเองและควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ผู้ป่วยควรหมั่นสังเกตตัวเองด้วยว่ามีแผลหรือไม่ เพราะหากรีบเข้าพบแพทย์และรับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็สามารถหายขาด และลดความเสี่ยงในการตัดอวัยวะลงได้
สารบัญ
แผลเบาหวาน คือ แผลเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเส้นเลือดตีบ และมีอาการเสื่อมของระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนปลาย โดยผู้ป่วยมักเกิดอาการชา และไม่ทราบว่ามีบาดแผลบริเวณเท้า หรือบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายเช่น ขา และนิ้วมือ เมื่อประกอบกับการไหลเวียนของเลือดที่ไม่มีประสิทธิภาพ บาดแผลจึงติดเชื้อลุกลามและมีการอักเสบรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นระยะเวลานานมักส่งผลให้เส้นประสาททำงานผิดปกติ รวมไปถึงเกิดการตีบแข็งและอุดตันของหลอดเลือดบริเวณเท้าและขา ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จึงมักเกิดบาดแผลได้ง่าย และไม่รู้ตัวว่ากำลังมีบาดแผลอยู่เนื่องจากเท้าและขาสูญเสียการรับรู้ความเจ็บปวด บาดแผลจึงมักหายช้า และเกิดการอักเสบและลุกลาม และภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง ทำให้แผลที่เกิดขึ้นมีโอกาสติดเชื้อลุกลามได้รวดเร็ว นอกจากนี้ผลแทรกซ้อนของเบาหวานในระยะยาวทำให้หลอดเลือดมีการตีบตัน ส่งผลให้เกิดการขาดเลือดบริเวณแผล ทำให้แผลไม่หายและลุกลามมากขึ้น
แม้ในระยะเริ่มต้น อาจไม่มีอาการบ่งชี้ถึงการเกิดแผลเบาหวาน โดยสัญญาณแรกของแผลเบาหวานมักปรากฏให้เห็นเมื่อเส้นเลือดเกิดการตีบตันมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการปวดขาเมื่อเดินได้สักระยะหนึ่ง จนทำให้ต้องหยุดพัก
ในระยะต่อมาเมื่อมีการตีบตันอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจะสามารถเดินได้น้อยลง รู้สึกเจ็บปวด ซึ่งในระยะนี้ มักสังเกตพบแผลเบาหวาน หรือนิ้วเท้าดำเกิดขึ้น ซึ่งแผลเหล่านี้ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการปกติ และอาจทำให้สูญเสียขาได้ในที่สุด ทั้งนี้ มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่มีอาการปวดขาใด ๆ แต่มาพบว่ามีบาดแผลและรักษาไม่หายก็เป็นได้
แผลหายช้า เนื่องจากแผลเบาหวานมักเกิดจากหลอดเลือดแดงตีบ ทำให้เลือดนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้ไม่ดีเท่าที่ควร เมื่อแผลขาดเลือดไปเลี้ยง จึงทำให้แผลหายยากกว่าปกติและลุกลามได้
แผลเรื้อรัง รักษายาก เนื่องจากน้ำตาลในเลือดส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ เกิดเป็นภาวะเส้นประสาทเสื่อม ผู้ป่วยจึงมักมีอาการชาหรือไร้ความรู้สึกบริเวณเท้า เมื่อเกิดบาดแผล จึงมักไม่รู้ตัวทำให้บาดแผลลุกลามเรื้อรัง การควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี จะส่งผลทำให้แผลหายยากขึ้น
ประสาทอัตโนมัติเสื่อมลงเมื่อเส้นประสาททำงานได้ไม่ดี ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อจึงหลั่งไขมันลดลง มีผลทำให้ผิวแห้ง แตก และเกิดบาดแผลได้ง่าย
เท้าผิดรูปเมื่อระบบประสาทสั่งการผิดปกติ ส่งผลให้กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติและเกิดเท้าผิดรูป เมื่อประกอบกับผิวหนังแห้งเป็นหนังหนา หรือ ‘ตาปลา’ (Callus) นูนออกมากดทับเนื้อเยื่อข้างใต้ ก็ทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นได้รับการเสียดสีหรือแรงกดทับซ้ำ ๆ เป็นระยะนาน เป็นเหตุให้เนื้อเยื่อตายลง
ปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมเมื่อรับรู้ความรู้สึกได้น้อยลง จึงทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ และไม่รู้ว่าเกิดบาดแผล จึงทำให้แผลเกิดการอักเสบเรื้อรัง
ระดับความรุนแรงของแผลเบาหวานแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
มาดูกันว่าสัญญาณเตือนโรคแผลเบาหวานที่เท้ามีอะไรบ้าง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
ขนน้อยลงเมื่อเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงและส่งสารอาหารไปยังบริเวณแขน ขา หรือนิ้วเท้าได้ตามปกติ มีผลทำให้ขนขึ้นน้อย และอาจมีอาการซีดร่วมด้วย
สีผิวคล้ำขึ้นเมื่อเลือดไหลเวียนได้ไม่ดีและเกิดการอุดตัน จึงส่งผลให้สีผิวบริเวณเท้า หรือปลายนิ้วมื้อมีลักษณะคล้ำกว่าปกติ
คลำชีพจรหลังเท้าไม่เจอ เนื่องจากผิวหนังมีลักษณะหนาขึ้น จึงไม่สามารถตรวจจับชีพจรได้ตามปกติ
อุณหภูมิเท้าทั้งสองข้างไม่เท่ากัน เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดไม่สม่ำเสมอ จึงส่งผลให้เท้าเย็นกว่าปกติ
มีแผลเรื้อรังลักษณะบาดแผลมีการอักเสบ รักษาตามปกติไม่หายหรือมีอาการแย่ลง
ผิวหนังบริเวณนี้มักแห้งคัน และพบว่าเล็บหนาขึ้นหรือแตกร่อน ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดแผลจากการกดทับหรือเล็บขบได้
น้ำเหลืองไหล มีกลิ่นเหม็นในผู้ป่วยที่เป็นแผลเรื้อรังมักพบว่าแผลเป็นหนอง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนของอาการเนื้อตาย โดยหากพบว่ามีของเหลวกลิ่นเหม็นไหลออกมาจากผิวหนัง ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและลดความเสี่ยงในการตัดอวัยวะออก
การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า ที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดตีบตันเพียงเล็กน้อย อาจเริ่มต้นด้วยการใช้ยารักษา ส่วนในกรณีที่โรคมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการสอดสายสวนขยายหลอดเลือด หรือการผ่าตัดต่อบายพาส เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงที่ขาได้ตามปกติ
ในปัจจุบัน เทคนิคการสอดสายสวนขยายหลอดเลือดได้มีความก้าวหน้าไปมาก ทำให้สามารถสอดสายสวนระยะยาวได้มากกว่าในอดีต ส่งผลให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีการอุดตันของหลอดเลือดอย่างรุนแรงสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติโดยไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัด
แนวทางการดูแลรักษาแผลเบาหวาน สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
การรักษาแผลเบื้องต้นด้วยตนเองหากผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดแผลจากของมีคมหรือรอยขีดข่วน ควรรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยสบู่อ่อน เช็ดให้แห้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ และปิดแผลด้วยผ้าปิดแผลที่แห้งและสะอาด ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดเพราะแอลกอฮอล์จะทำลายเนื้อเยื่อที่แผล แต่สามารถเช็ดทำความสะอาดรอบ ๆ บริเวณปากแผลได้
หากแผลมีอาการบวมแดงหรือมีน้ำหนอง แม้ไม่มีอาการเจ็บปวด ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการรักษาโดยพิจารณาจากความรุนแรงของบาดแผลตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
กรณีมีหนองหรือการติดเชื้อรุนแรง แพทย์จะทำการเปิดแผลให้กว้าง เพื่อกรีดระบายหนองและตัดเนื้อที่ตายออก โดยต้องทำแผล 1-2 ครั้งต่อวัน และรักษาแผลให้มีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น และลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในแผล
ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณาจากลักษณะและความรุนแรงของบาดแผล
ผู้ป่วยควรพยายามเดินเท่าที่จำเป็น โดยแพทย์อาจพิจารณาสั่งทำแผ่นรองเท้าหรือรองเท้าพิเศษขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณบาดแผล
จะทำในกรณีที่แผลนั้นมีการขาดเลือด ซึ่งการพิจารณารักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการขาดเลือดและภาวะหลอดเลือดอุดตัน
แผลเบาหวานจริง ๆ แล้วสามารถป้องกันได้ หากทำตามวิธีดังนี้
ควรล้างทำความสะอาดเท้า โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วด้วยสบู่เป็นประจำ หลังจากนั้นควรเช็ดหรือเป่าให้แห้ง โดยสามารถบำรุงผิวด้วยโลชั่นเพื่อให้ผิวอ่อนนุ่ม แต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณซอกนิ้วเท้าเพื่อป้องกันการอับชื้น
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรดูแลเล็บไม่ให้ยาวหรือสั้นจนเกินไป และควรตัดอย่างระมัดระวัง ไม่ให้เกิดบาดแผล
เลือกสวมรองเท้าที่ขนาดพอดี สวมใส่สบาย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ รวมถึงควรตรวจสอบรองเท้าทุกครั้งก่อนสวมใส่ว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรองเท้าและควรสวมถุงเท้าด้วยทุกครั้ง เพื่อลดการเสียดสีกับรองเท้า
หมั่นตรวจสอบว่ามีความผิดปกติเช่น รอยบวมแดง ผื่นคัน ตุ่มน้ำใส ขุยขาวที่ซอกนิ้ว ตาปลา รวมถึงสีเล็บที่เปลี่ยนไปหรือไม่ หรือมีแผลเกิดขึ้น กรณีแผลที่ไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์หรือมีอาการอักเสบบวมแดงหรือลุกลาม ควรรีบมาพบแพทย์ผู้ชำนาญโดยด่วน
การดูแลรักษาแผลเบาหวานทั้งที่เท้าและบริเวณอื่น ๆ ในร่างกายเป็นเรื่องที่สำคัญและเร่งด่วน ดังนั้น จึงไม่ควรนิ่งนอนใจหากพบว่ามีบาดแผลหายช้า หรืออักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งจะสามารถช่วยลดโอกาสในการสูญเสียอวัยวะ และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้อย่างราบรื่น
ที่โรงพยาบาลรามคำแหงเรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเบาหวาน ที่คอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ตลอดจนการดูแลรักษาให้แก้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หลายท่าน อาทิ
โรงพยาบาลรามคำแหง
โทร. 0 2743 9999 , 0 2374 0200-16 แฟกซ์ 0 2374 0804
โรงพยาบาลรามคำแหง
436 ถ. รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
1512, 02-743-9999
แฟกซ์ 0 2374 0804
support@ram-hosp.co.th