ตรวจสุขภาพประจำปี เลือกตรวจแบบไหน เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อม

February 12 / 2024

ตรวจสุขภาพ

ตรวจสุขภาพประจำปี ควรเลือกตรวจแบบไหน เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อม

 

 

ตรวจสุขภาพประจำปี รู้ทันโรคร้าย ป้องกันได้แต่เนิ่น ๆ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคบางชนิด อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบทางเดินอาหาร และโรคที่มีความร้ายแรงอย่างกลุ่มโรคในระบบต่อมไร้ท่อ และโรคมะเร็ง ย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งโรคเหล่านี้ มักไม่แสดงความผิดปกติในระยะแรก แต่เมื่อแสดงอาการ ก็มักอยู่ในระยะที่รุนแรงและยากต่อการรักษา

การตรวจสุขภาพประจำปีนั้น ไม่ใช่เพียงการเจาะเลือดหรือการเอกซเรย์ขั้นพื้นฐาน แต่เป็นการพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกายองค์รวม ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาความผิดปกติตั้งแต่ก่อนจะมีอาการหรือก่อนที่โรคจะลุกลาม เพิ่มโอกาสป้องกันการเกิดโรค และวางแผนการรักษาให้หายเป็นปกติได้ง่ายในกรณีที่พบความผิดปกติในร่างกายตั้งแต่แรกเริ่ม

 

สารบัญ

 

ตรวจสุขภาพประจำปี ข้อดี

ตรวจสุขภาพประจำปี ดีอย่างไร

การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เราพบปัจจัยเสี่ยงและเข้าใจถึงแนวโน้มการเกิดโรคต่างๆ ถือเป็นจุดเริ่มต้นให้เราหันมาดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคร้าย การตรวจสุขภาพที่คุ้มค่า ควรเป็นการตรวจสุขภาพเชิงป้องกันโดยทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความชำนาญ ทำให้ผู้เข้ารับการตรวจได้รับการดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมทุกปัญหาสุขภาพ รู้สึกอุ่นใจ และเกิดการตระหนักใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง

 

ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจตอนไหน

 

ตรวจสุขภาพประจำปี ควรเริ่มตรวจตอนไหน

การตรวจสุขภาพตั้งแต่วัยแรกเกิด ทำให้ทราบถึงพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโต แต่เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เรามักละเลยการตรวจสุขภาพเนื่องจากเป็นช่วงวัยที่มีความแข็งแรง ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี

อย่างไรก็ตาม เมื่ออายุย่างเข้าสู่หลัก 30 ซึ่งเป็นวัยทำงานที่เริ่มมีความเสี่ยงต่อภาวะความเสื่อมของร่างกาย เรามักไม่มีเวลาดูแลตัวเอง พักผ่อนน้อย สะสมความเครียดจากการทำงาน รวมถึงพฤติกรรมการกินตามใจปากที่ส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ดังนั้น จึงแนะนำให้ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยนี้เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นประจำ

 

ตรวจสุขภาพประจำปี รามคำแหง

 

ไม่เคยตรวจสุขภาพประจำปี มีความเสี่ยงโรคใด

การตรวจสุขภาพประจำปีถือเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นตามปัจจัยเสี่ยงเฉพาะบุคคล ทำให้สามารถป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคที่นับเป็น “ภัยเงียบ” อาทิ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจคัดกรองหรือตรวจหาจากพันธุกรรมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ก็สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

 

ตรวจสุขภาพประจำปี อายุเท่าไหร่

 

การตรวจสุขภาพประจำปีในแต่ละช่วงอายุ

การตรวจสุขภาพประจำปีในแต่ละช่วงอายุ จะมีรายละเอียดการตรวจที่แตกต่างกัน สามารถแบ่งการตรวจสุขภาพออกได้ ดังนี้

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุน้อยกว่า 30 ปี

แม้ในช่วงอายุนี้ จะเป็นช่วงวัยที่อวัยวะและระบบการทำงานต่างๆ ภายในร่างกายมีความสมบูรณ์และมักไม่มีสัญญาณความเสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายแรงใด ทว่า หากละเลยการดูแลสุขภาพ ก็อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นได้

สำหรับโปรแกรมการตรวจที่เหมาะสมสำหรับคนในช่วงวัยนี้ ประกอบด้วย การตรวจค่าสายตา การตรวจการได้ยิน การตรวจฟัน การตรวจเอ็กซเรย์ปอด และค่าความสมบูรณ์ของเลือด รวมถึงการให้คำแนะนำด้านโภชนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และการค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพ โดยหากพบความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแฝง แพทย์จะทำการตรวจเพื่อประเมินอย่างละเอียดในขั้นต่อไป

แนะนำโปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุน้อยกว่า 30 ปี

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุน้อยกว่า 30 ปี

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับอายุ 30-39 ปี

เนื่องจากในช่วงวัยนี้ เป็นวัยทำงานที่มักมีความเครียดสูง การตรวจสุขภาพจึงมุ่งเน้นไปที่การตรวจความสมบูรณ์ของระบบการทำงานของร่างกาย โดยมักประกอบด้วย

  • การตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง การตรวจวัดความดันโลหิตและชีพจร และการวัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  • การตรวจระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจปัสสาวะ
  • การตรวจการทำงานของไต
  • การตรวจการทำงานของตับ

สำหรับคุณผู้หญิง ควรรับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจภายในทุก 1-2 ปี
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 3-5 ปี
  • การตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุก 3 ปี และหากมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม แพทย์อาจด้วยแมมโมแกรมเพิ่มเติม

แนะนำโปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุน้อยกว่า 30-39 ปี

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุน้อยกว่า 30-39 ปี

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับอายุ 40-59 ปี

ช่วงวัยนี้ เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มเกิดความเสื่อมและต้องการการดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง นอกจากการตรวจสุขภาพตามแบบช่วงอายุ 18-40 ปีแล้ว แนะนำให้ตรวจสุขภาพเพิ่มเติมตามรายการดังต่อไปนี้

  • การตรวจหากรดยูริคในเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • การตรวจวัดค่าสายตา และความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา
  • การตรวจอุจจาระ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 50 ขึ้นไปควรได้รับการตรวจทุกปี
  • การตรวจเบาหวานทุก 3 ปี

สำหรับคุณผู้หญิง ควรรับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจภายในเป็นประจำทุกปี
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี
  • การตรวจเต้านมโดยแพทย์ทุกปี
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมหรืออัลตราซาวนด์ทุก 1-2 ปี

แนะนำโปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุน้อยกว่า 40-59 ปี

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุน้อยกว่า 40-59 ปี

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป

ช่วงอายุ 60 ปี เป็นวัยที่คนเรามีความเสื่อมถอยในระดับเซลล์มากที่สุด และบางคนเริ่มมีโรคประจำตัว ดังนั้น จึงต้องการการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด โดยนอกจากการตรวจสุขภาพตามรายการแบบเดียวกับช่วงวัยอื่น ๆ แล้ว แนะนำให้มีการตรวจสุขภาพเพิ่มเติม ตามรายการต่อไปนี้เป็นประจำทุกปีอย่างเคร่งครัด

  • การตรวจวัดค่าสายตา และความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาทุก 1-4 ปี
  • การทดสอบการได้ยินทุก 1-2 ปี
  • การตรวจมวลกระดูก หรือ การตรวจดูความหนาแน่นของกระดูก สำหรับผู้หญิงเมื่ออายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายเมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป
  • การตรวจอุจจาระ
  • การตรวจเบาหวาน
  • การตรวจหาภาวะซีด โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ทุก 5 ปี
  • การตรวจคัดกรองโรคสมองเสื่อม

สำหรับคุณผู้หญิง ควรรับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • การตรวจภายใน
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  • การตรวจเต้านมโดยแพทย์
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม อัลตราซาวนด์ทุก 1-2 ปี

แนะนำโปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุ 60 ปีขึ้นไป

 

โปรแกรมตรวจสุขภาพ สำหรับผู้อายุ 60 ปีขึ้นไป

 

 

รายละเอียดเพิ่มเติม

 

 

 

เตรียมตัวตรวจสุขภาพประจำปี

 

ข้อควรรู้ สำหรับผู้ที่เตรียมตัวตรวจสุขภาพประจำปี

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ ช่วยให้ผลการตรวจมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเข้ารับการตรวจสุขภาพ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่วิตกกังวลและทำจิตใจให้แจ่มใส โดยควรปฏิบัติตามข้อแนะนำ ดังนี้

งดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง

  • ควรงดอาหาร และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูงอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ สามารถดื่มน้ำเปล่าได้ แต่ควรดื่มในปริมาณที่ไม่มากกว่าปกติ
  • ควรงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงในกรณีที่มีการตรวจอัลตราซาวนด์
  • ในกรณีที่มีการตรวจอุจจาระ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดสัตว์ รวมถึงวิตามินซีอย่างน้อย 3 วัน

พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

  • ควรนอนหลับให้ครบ 6-8 ชั่วโมง
  • งดการออกกำลังกายหักโหม หรือกิจกรรมที่ใช้แรงมากก่อนการตรวจสุขภาพอย่างน้อย 2 วัน

งดกาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง

  • ควรงดดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจสุขภาพ เนื่องจากแอลกอฮอล์และยาบางชนิด อาจมีผลต่อการตรวจ โดยควรแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลรับทราบถึงยาประจำตัวที่ใช้ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ

เลือกสวมใส่เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายที่สบาย

  • ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบาย และสะดวกต่อการเจาะเลือดที่บริเวณข้อพับแขน

เตรียมเอกสารที่สำคัญให้ครบ

  • เตรียมเอกสารสำคัญให้ครบ เช่น บัตรประชาชน ใบนัดตรวจสุขภาพ เพื่อการลงทะเบียนที่รวดเร็ว ควรเตรียมเอกสารยืนยันตัวตนให้พร้อมก่อนรับการตรวจสุขภาพ

แจ้งข้อมูลและประวัติส่วนตัวให้ครบถ้วน

  • แจ้งข้อมูลและประวัติส่วนตัวให้ครบถ้วนเช่น โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา ประวัติครอบครัว และสถานการตั้งครรภ์
  • หากมีโรคประจำตัวหรือประวัติสุขภาพอื่นๆ ควรนำผลการตรวจหรือรายงานจากแพทย์มาด้วยเพื่อประกอบการวินิจฉัย
  • ในสตรีที่ตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการเอกซเรย์ หรือการตรวจแมมโมแกรม
  • สำหรับผู้หญิง หากต้องการตรวจปัสสาวะ ตรวจภายใน รวมถึงตรวจมะเร็งปากมดลูก ควรเข้ารับการตรวจหลังจากมีประจำเดือนวันสุดท้าย 7 วัน

 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

 

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี ที่โรงพยาบาลรามคำแหง

โรงพยาบาลรามคำแหงตระหนักถึงความต้องการที่แตกต่างของแต่ละช่วงวัย เราจึงออกแบบโปรแกรมตรวจสุขภาพให้ตอบโจทย์และครอบคลุมทุกความต้องการการดูแลสุขภาพในทุกช่วงอายุ ทุกโปรแกรมดูแลและให้คำปรึกษาโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา และบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้ความสำคัญในการให้บริการอย่างจริงใจ ทำให้การตรวจสุขภาพมีความคุ้มค่า สะดวกสบาย และสามารถเข้ารับบริการได้ตลอดทั้งปี

 

ตรวจสุขภาพประจำปี ที่ไหนดี

 

บทสรุป

การตรวจสุขภาพประจำปี เปรียบได้กับการวางแผนสุขภาพในอนาคต เพราะไม่เพียงทำให้เราค้นพบปัจจัยเสี่ยงจากภายใน แต่ยังทำให้ตระหนักถึงปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทีละน้อย ดังนั้นการตรวจสุขภาพประจำปีเชิงป้องกันโดยทีมแพทย์และพยาบาลที่มีความชำนาญ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการดูแลสุขภาพ และยังทำให้ผู้เข้ารับการตรวจเรียนรู้ร่างกายตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นอย่างได้ผล

อ้างอิงจาก

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5625608/